314 episodes

เรียนรู้หัวข้อธรรมะ ที่เป็นแผนที่แม่บท เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้วยสูตร 15+45 คือนั่งสมาธิ 15 นาที แล้วตามด้วยการอธิบายหัวข้อธรรมะ 45 นาที เพื่อให้ตกผลึกความคิดเป็นสัมมาทิฏฐิ มีปัญญาเดินทางแผนที่คำสอนได้. New Episode ทุกวันพุธ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

3 ใต้ร่มโพธิบ‪ท‬ Panya Bhavana Foundation

    • Society & Culture

เรียนรู้หัวข้อธรรมะ ที่เป็นแผนที่แม่บท เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้วยสูตร 15+45 คือนั่งสมาธิ 15 นาที แล้วตามด้วยการอธิบายหัวข้อธรรมะ 45 นาที เพื่อให้ตกผลึกความคิดเป็นสัมมาทิฏฐิ มีปัญญาเดินทางแผนที่คำสอนได้. New Episode ทุกวันพุธ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    กิจจญาณ : กิจที่ควรทำในอริยสัจ4 [6726-3d]

    กิจจญาณ : กิจที่ควรทำในอริยสัจ4 [6726-3d]

    ความจริงโดยทั่วๆ ไปที่เป็นข้อเท็จจริง ตามสมมุติของโลกนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขปัจจัยตามบริบทของสังคมหรือเวลา เช่น ข่าว งานวิจัย สิ่งของ เสื้อผ้า ที่สมมุติเรียกตามบริบทของเวลานั้น แต่อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 อย่างนี้ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แสดงถึง สัจธรรมความจริง ที่ไม่เกี่ยวเนื่องด้วยเวลา
    กิจในอริยสัจ 4 (กิจญาณ) คือ หน้าที่ที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ
    1. ทุกข์ คือ ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หน้าที่คือ “ปริญญา” ควรรอบรู้ เข้าใจ ยอมรับมัน
    2. สมุทัย คือ ตัณหา หน้าที่คือ “ปหานะ” ควรละ กำจัด ขว้างทิ้ง ไม่ถือเอา
    3. นิโรธ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ หน้าที่คือ “สัจฉิกิริยา” ควรทำให้แจ้ง
    4. มรรค คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ หน้าที่คือ “ภาวนา” ควรเจริญ พัฒนา ทำให้มาก
    การแยกแยะสิ่งต่างๆ ตามหลักอริยสัจ 4 คือ เมื่อเราเจอสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตของเรา ให้เรารู้จักแยกแยะสิ่งนั้นก่อนว่าคืออะไรในอริยสัจ 4 เมื่อแยกแยะแล้วก็ทำกิจให้ถูกต้อง กระบวนการแยกแยะนี้ เมื่อทำให้เกิดขึ้นได้อยู่บ่อยๆ จะทำให้เกิดญาณหยั่งรู้หรือญาณทัสสนะ (สัจจญาณ, กิจจญาณ, กตญาณ)

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 55 min
    ธรรมเพื่อการพัฒนาตนเอง [6725-3d]

    ธรรมเพื่อการพัฒนาตนเอง [6725-3d]

    ภาวนา คือ การพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นทุกด้าน คนเราต้องมีการพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้า ให้เจริญงอกงาม หมวดธรรมะที่จะสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาตนเองที่จะนำมากล่าวในที่นี้ได้แก่
    วุฑฒิธรรม 4 : ธรรมเป็นเครื่องเจริญงอกงามแห่งปัญญา 4 ประการ
    1.สัปปุริสังเสวะ: การคบหาสัตบุรุษ
    2.สัทธัมมัสสวนะ: ฟังสัทธรรม,เอาใจใส่เล่าเรียน
    3.โยนิโสมนสิการ: การทำในใจโดยแยบคาย
    4.ธัมมานุธัมมปฏิบัติ: ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
    วัฒนมุข 6 ธรรมอันเป็นประตูแห่งประโยชน์ที่จะเปิดออกไปให้ก้าวหน้าสู่ความเจริญงอกงามของชีวิต ที่พระพุทธเจ้าได้เคยกล่าวไว้ในครั้งที่เป็นโพธิสัตว์ ได้แก่
    1.อาโรคยะ : ความไม่มีโรค
    2.ศีล : ความมีระเบียบวินัย
    3.พุทธานุมัต : ศึกษาแนวทางแบบอย่างจากผู้เป็นบัณฑิต
    4.สุตะ : การใฝ่ฟังศึกษาหาความรู้
    5.ธรรมานุวัติ : การดำเนินชีวิตในทางชอบธรรม
    6.อลีนตา : ความเพียรพยายามไม่ย่อหย่อน
    อธิษฐานธรรม 4 คือ ธรรมเป็นฐานที่มั่นคงของบุคคล เป็นธรรมที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จสูงสุดที่หมายไว้ได้ ได้แก่
    1.ปัญญา : หยั่งรู้ชัดในเหตุผล
    2.สัจจะ : พูดอย่างไรทำอย่างนั้น
    3.จาคะ : การสละความไม่ดีออก
    4.อุปสมะ: ความสงบ
    ธรรม 3 หมวดนี้เป็นธรรมที่เป็นไปในแนวเดียวกัน ที่เมื่อได้นำไปประพฤติปฏิบัติแล้วก็จะเกิดการพัฒนา ก้าวหน้า และนำไปสู่ความเจริญงอกงามในชีวิตได้

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 56 min
    อปริหานิยธรรม : ธรรมะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม [6724-3d]

    อปริหานิยธรรม : ธรรมะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม [6724-3d]

    อปริหานิยธรรม คือธรรมะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นธรรมที่อาศัยการรักษาเหตุปัจจัยแห่งความไม่เสื่อมและเหตุปัจจัยแห่งความเจริญ โดยแบ่งเป็นหลายนัยยะได้แก่
    นัยยะแรก
    1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
    2. พร้อมเพรียงกันประชุม
    3. ศึกษาและไม่ล้มล้างสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
    4. เคารพภิกษุผู้เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก
    5. ไม่ลุอำนาจตัณหาคือความอยากที่เกิดขึ้น
    6. ยินดีในเสนาสนะป่า
    7. ตั้งสติระลึกไว้ในใจว่า เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลงาม ซึ่งยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่ผาสุก
    นัยยะที่ 2 คือคุณธรรมในตนเองจะเจริญขึ้นหรือถอยลงด้วย 7 ประการนี้ คือ ไม่ยินดีการงาน ไม่ยินดีการคุย ไม่ยินดีความหลับ ไม่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่คบมิตรชั่ว ไม่ถึงความท้อถอยในระหว่างที่บรรลุคุณวิเศษเพียงเล็กน้อย
    นัยยะที่ 3 อริยะทรัพย์ 7 ประการได้แก่ เป็นผู้มีศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีหิริ เป็นผู้มีโอตตัปปะ เป็นพหุสูต ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีปัญญา
    นัยยะที่ 4 เจริญโพชฌงค์ 7ได้แก่ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
    นัยยะที่ 5 เจริญสัญญา 7 ประการ ได้แก่ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา จวิราคสัญญา นิโรธสัญญา
    นัยยะที่ 6 คือเจริญสาราณียธรรม 6 ประการ
    นี่คือนัยยะต่างๆของ อปริหานิยธรรม ถ้าเรามีเหตุเงื่อนไขปัจจัยเหล่านี้แล้ว จะมีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว ความเสื่อมจะไม่ปรากฎขึ้นเลย


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 58 min
    สาราณียธรรม [6723-3d]

    สาราณียธรรม [6723-3d]

    บทสวด สาราณียะธัมมะสูตตัง เป็นบทที่กล่าวถึงสาราณียธรรม6 ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นไปเพื่อความระลึกถึงกันและกัน คือธรรมแห่งการสร้างความสามัคคี เป็นบทสวดที่มาจากพระสูตรที่พระภิกษุจะมักสวดกันในวันเข้าพรรษา บทสวดนี้พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับภิกษุไว้ที่เมืองสาวัตถี ณ วัดเชตวัน โดยกล่าวถึงธรรม 6 ประการ ที่เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วจะเป็นธรรมเครื่องก่อให้เกิดอานิสงส์ 7 ประการ คือ  
    1.สาราณียา(ระลึกถึงกัน)
    2.ปิยะกะระณา(เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รักกัน)
    3.คะรุกะระณา(เป็นที่เคารพซึ่งกันและกัน)
    4.สังคะหายะ(เป็นไปเพื่อ ความสงเคราะห์ เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล)
    5.อะวิวาทายะ(ไม่วิวาทกัน)
    6.สามัคคิยา(เกิดความพร้อมเพรียงกัน)
    7.เอกีภาวายะ(ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน)
    โดยองค์ประกอบของสาราณียธรรม 6 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงคือ
    1.เมตตาทางกายทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    2.เมตตาทางวาจาทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    3.เมตตาทางใจทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    4.การแบ่งปันลาภที่ได้มาโดยธรรม
    5.มีศีลเสมอกัน ศีลไม่ทะลุไม่ด่างพร้อย
    6.มีทิฏฐิอันประเสริฐ คือรู้เจาะจงในอริยสัจ 4


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 57 min
    ความฉลาดในธาตุ และอายตนะ [6722-3d]

    ความฉลาดในธาตุ และอายตนะ [6722-3d]

    การทำอะไรซ้ำๆ ย้ำๆ อยู่บ่อยๆ จะทำให้เราเกิดความชำนาญในสิ่งนั้น เช่นเดียวกับการพิจารณาใคร่ครวญธรรม ถ้าเราใคร่ครวญทำย้ำๆซ้ำๆ อยู่บ่อยๆ อยู่เรื่อยๆ จะทำให้เกิดปัญญา(ญาณ)รู้ชัดขึ้นมา เป็นผู้ฉลาดรู้แจ้งในธรรมนั้น
    วิธีการพิจารณาใคร่ครวญโดยความเป็นธาตุ คือ ธาตุ 6 โดยพิจารณาเจาะแยกลงไป แยกออกๆจนเหลือหน่วยเล็กที่สุดและพิจารณาประกอบกันเข้ามาแล้วจึงมีหน่วยใหญ่ขึ้น
    วิธีการพิจารณาใคร่ครวญโดยความเป็นอายตนะ คืออายตนะภายใน และภายนอกเชื่อมต่อกันทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น โดยพิจารณาจากการที่อาศัยเหตุปัจจัยอื่นปรุงแต่งแล้วจึงเกิดขึ้น มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์
    เมื่อพิจารณาใคร่ครวญอยู่บ่อยๆจะเกิด “กุสลตา”คือ ความฉลาดรู้แจ้งชัดซึ่งธาตุ และอายตนะ จะเป็นผลทำให้คลายกำหนัด และปล่อยวาง


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 57 min
    ฐานะที่พึงพิจารณาเพื่อการหลุดพ้น [6721-3d]

    ฐานะที่พึงพิจารณาเพื่อการหลุดพ้น [6721-3d]

    ปัญญาการรอบรู้ในทุกข์ของผู้ถึงซึ่งพระนิพพานหรือกล่าวอีกนัยยะหนึ่งได้ว่าเป็นปัญญาของพระอรหันต์นั่นเองโดยได้ยก “สัตตัฎฐานสูตร” ว่าด้วย ผู้มีปัญญาฉลาดรอบรู้ขันธ์ 5 ในฐานะ 7 ประการได้แก่
    1. รู้ชัดซึ่ง (รู้ลักษณะ) รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    2. รู้ถึงเหตุเกิดขึ้น ของ รูป...ฯ คืออาศัยเหตุเกิด
    3. รู้ถึงความดับ ของ รูป...ฯ คือ เมื่อเหตุดับ-ผลย่อมดับ
    4. วิธีข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ ของ รูป..ฯ คือ มรรค 8
    5. รู้ชัดซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย/ข้อดี) ของ รูป...ฯ คือ สุขที่เกิดขึ้น
    6. รู้ชัดซึ่งอาทีนวะ (โทษ/ข้อเสีย) ของ รูป...ฯ คือ ไม่เที่ยง
    7. รู้ชัดซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องสลัดออก) จาก รูป...ฯ คือ ปัญญาเห็นความไม่เที่ยง

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 56 min

Top Podcasts In Society & Culture

NerdCast
Jovem Nerd
Rádio Novelo Apresenta
Rádio Novelo
Bom dia, Obvious
Marcela Ceribelli
É nóia minha?
Camila Fremder
A Grande Fúria do Mundo
Wondery
Noites Gregas
Cláudio Moreno & Filipe Speck

You Might Also Like

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
1 สมการชีวิต
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
5 นิทานพรรณนา
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
4 คลังพระสูตร
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
2 จิตตวิเวก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

More by วัดป่าดอนหายโศก

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
5 นิทานพรรณนา
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
4 คลังพระสูตร
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
2 จิตตวิเวก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
1 สมการชีวิต
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana