100 episodes

เสียงบรรยายธรรมของหลวงพ่อไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ

Luangpor Paisal Visalo‘s Podcast (ธรรมะ จาก หลวงพ่อไพศาล วิสาโล‪)‬ watpasukato

    • Religion & Spirituality

เสียงบรรยายธรรมของหลวงพ่อไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ

    25670331pm--ของดี ต้องพอดี จึงจะดีจริง

    25670331pm--ของดี ต้องพอดี จึงจะดีจริง

    31 มี.ค. 67 - ของดี ต้องพอดี จึงจะดีจริง : พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “ฉันใดก็ฉันนั้น ความเพียร ถ้าเพียรน้อยไปก็เกียจคร้าน แต่ถ้าเพียร (คือขยัน) มากไปก็ฟุ้งซ่าน” ฟุ้งซ่านก็รวมไปถึงความเครียดด้วย ต้องเพียรแต่พอดี พอพระพุทธเจ้าแนะนำเช่นนี้ พระโสณะก็เริ่มปรับ ปรับท่าทีเสียใหม่ ปรับใจเสียใหม่ ความเพียรก็กลับมาสู่ความพอดี

    ใจก็ไม่ได้คิดแต่จะทำด้วยอาการคร่ำเคร่ง คิดจะเอา จะเอาให้ได้ ใจก็ผ่อนคลาย แต่ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยหรือลืมตัว พอความเพียรปรับให้พอดี ปรากฏว่าการปฏิบัติธรรมของพระโสณะก็เห็นผลทันที ในที่สุดก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ อันนี้เป็นตัวอย่างว่าความเพียรแม้จะเป็นเรื่องดี แต่ถ้าเกินความพอดีไปก็จะไม่ดี
     


    พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนเรื่องความเพียรแต่พอดี ท่านใช้คำว่า วิริยสมตา ความเพียรแต่พอดี อันนี้ไม่เกี่ยวกับทางสายกลาง ทางสายกลางเป็นอันหนึ่ง แต่ความพอดีหมายถึงว่าเป็นเรื่องของปริมาณ ไม่น้อยแล้วก็ไม่มาก เช่น ความสบายไม่มากเกินไป แล้วก็ไม่น้อยเกินไป มีเงินมีทรัพย์ก็ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป
     


    สิ่งที่ดี ๆ หรือคุณธรรม เช่น ความเพียร ก็เหมือนกัน เราต้องรู้จักความพอดี เมื่อทำความพอดีให้เกิดขึ้นก็จะเกิดผลดี ของดีถ้าเกินความพอดีไปก็กลายเป็นไม่ดี
     


    อันนี้ต่างจากความเข้าใจของคนทั่วไปที่มองว่า อะไรที่ดี ยิ่งมากยิ่งดี แต่ว่าในโลกของความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพอนามัย หรือเรื่องของธรรมะ สุขภาพจิต หรือเรื่องของการปฏิบัติธรรม มีความพอดีของมัน ช่วงแรก ๆ มีมากก็ดี แต่พอถึงจุดหนึ่ง ยิ่งมากยิ่งไม่ดีแล้ว ฉะนั้น ต้องรู้จักหาความพอดี


    ฉะนั้น เวลาเราปฏิบัติธรรม เราต้องรู้จักความพอดี ถ้าเราห

    • 28 min
    25670330pm--ทำความทุกข์ ให้พ้นจิตพ้นใจ

    25670330pm--ทำความทุกข์ ให้พ้นจิตพ้นใจ

    30 มี.ค. 67 - ทำความทุกข์ ให้พ้นจิตพ้นใจ : “เมื่อรู้ทันมัน มันก็ดับไป” อาการที่ดับไปบางทีเราก็เรียกว่าหลุดจากอารมณ์หรือว่าปล่อยวางจากอารมณ์นั้นได้ ปล่อยวางไม่ใช่เรื่องยาก เราสามารถจะปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้

    แล้วคราวนี้พอเราเห็นความคิดหรือเห็นอารมณ์อยู่เรื่อยๆ เห็นความคิดและอารมณ์อยู่เรื่อยๆ มันจะทำอะไรจิตใจเราได้น้อยลง มันจะเกิดภาวะที่เรียกว่าหลุดจากความทุกข์ หลุดจากอารมณ์
     


    ที่เคยหนักอกหนักใจ มันก็จะไม่หนักอกหนักใจ ที่เคยหงุดหงิด รำคาญ เคียดแค้น จนจิตใจรุ่มร้อน มันก็จะเย็นขึ้น ก็ยังอยู่ที่เดิม ยังเจอกับลูกน้อง หรือว่าเจอกับเพื่อนร่วมงานคนเดิม หรือว่าเจอกับเพื่อนบ้านคนเดิม แต่ว่าใจมันไม่ทุกข์เหมือนก่อนแล้ว ไม่ใช่ว่าจะต้องไปจัดการกับคนเหล่านั้น ไม่ใช่ว่าจะต้องหาทางเอาคนเหล่านั้นให้มันหลุดออกไปจากชีวิต หรือว่าพ้นหูพ้นตา
     


    หลายคนคิดแค่นั้น ก็คือว่าทำยังไงก็ได้ให้มันพ้นหูพ้นตาเรา ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน แต่ว่าที่จริงเรามีวิธีที่ดีกว่านั้นที่ทำได้ ก็คือว่าทำให้อารมณ์เหล่านั้นมันไม่ครอบงำใจ หรือทำให้อารมณ์ที่เคยทำความทุกข์ให้กับเรามันพ้นไปจากใจของเรา ไม่ใช่พ้นหูพ้นตา แต่ว่าทำให้พ้นจากใจ ซึ่งวิธีนี้ทำได้ง่ายกว่าเยอะ ถ้าเรามีสติ เพราะว่าเราไม่ต้องทำอะไรกับใคร เราก็แค่มาทำให้ถูกต้องกับความคิดและอารมณ์ที่เกิดขึ้น อันนี้คือสิ่งที่จะช่วยทำให้เรายังคงความปกติสุขอยู่ได้ 

    • 27 min
    25670329pm--กายป่วย แต่ใจไม่ทุกข์

    25670329pm--กายป่วย แต่ใจไม่ทุกข์

    29 มี.ค. 67 - กายป่วย แต่ใจไม่ทุกข์ : แต่พอใจนี้ยอมรับได้ ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เพราะไม่กลัวแล้ว จะตายก็ตาย ใจก็สงบ กายก็ค่อยๆ ดีขึ้น ยิ่งถ้าเกิดว่ารู้จักเจริญสตินะ สตินี้มันช่วยทำให้ความตื่นตระหนกมันบรรเทาเบาบางลง แล้วยิ่งถ้ารู้จักเอามาใช้ในการมองพิจารณาความเจ็บความปวดยิ่งมีประโยชน์นะ เวลามันหงุดหงิด โมโห เพราะความเจ็บความปวด เห็นมัน เห็นมันตื่นตระหนก

    อย่างที่หลวงพ่อคำเขียนพูดอยู่บ่อยๆ เห็นมันกลัว เห็นมันตื่นตระหนก เห็นมันผลักไส อันนี้เรียกว่า ‘เห็นจิต’ หรือว่าเอามาดูเวทนา เห็นมันปวด เห็นมันปวด พอเห็นมันปวดนี้ มันก็ไม่เกิด ‘ผู้ปวด’ ขึ้นมาแล้ว พอเห็นมันตื่นตระหนก ความเป็น ‘ผู้ตื่นตระหนก’ ก็จะหายไป จิตก็เริ่มกลับมาเป็นปกติ
     


    เห็นมันปวด การผลักไสความปวด หรือ การเข้าไปเป็นผู้ปวด ก็จะเบาบางลง พอไม่เป็นผู้ปวดแล้ว ไอ้ความทุกข์ใจมันก็น้อยลง ฉะนั้นถ้าเราเอาสติมาใช้นะกับใจ กับทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น มันก็ทำให้ใจนี้เป็นปกติได้ แล้วมันทำให้ยอมรับ ให้ยอมรับทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับกายและใจ แม้กระทั่งเวลาใจตื่นตระหนกก็ยอมรับได้ว่า “เออ มันเป็นเช่นนั้นเอง”
     


    บางทีเราไม่เพียงแต่ต้องรู้จักยอมรับความเจ็บความปวดเท่านั้น แต่ต้องยอมรับใจที่มันยังไม่สามารถจะยอมรับความเจ็บปวดได้ บางทีใจมันตื่นตระหนก นักปฏิบัติหลายคนก็ผิดหวัง ทำไมใจเราเป็นอย่างนี้ เราปฏิบัติมาตั้งนาน ทำไมใจเรายังตื่นตระหนก ทำไมใจเรายังว้าวุ่นฟุ้งซ่าน ทำไมใจของเรายังกระวนกระวาย ถ้ายอมรับอาการของใจไม่ได้ ก็ยิ่งทุกข์เข้าไปใหญ่
     


    แต่ถ้ายอมรับได้ว่า เออ ใจมันเป็นอย่างนี้ คุมไม่ได้ ความทุกข์ก็น้อยลง ความผิดหวังในตัวเองหรือในการ

    • 27 min
    25670328pm--สัจธรรมต้องคู่กับจริยธรรม

    25670328pm--สัจธรรมต้องคู่กับจริยธรรม

    28 มี.ค. 67 - สัจธรรมต้องคู่กับจริยธรรม : ถ้าหากว่าเราต้องการที่จะเข้าถึงสัจธรรมความจริง ก็อย่าทิ้งธรรมะในระดับจริยธรรม ต้องฝึกด้วย จะเป็นบันได เป็นพื้นฐานให้เข้าถึงความจริงขั้นสูง และเช่นเดียวกัน เวลาเราทำความดีหรือปฏิบัติธรรมในระดับจริยธรรม ก็จำเป็นที่เราจะต้องมีความเข้าใจเรื่องสัจธรรมความจริงด้วย เพราะไม่อย่างนั้นเราก็จะท้อในการทำความดี ทำความดีไม่ตลอด

    เพราะฉะนั้น จริยธรรมกับสัจธรรม จึงเป็นของคู่กัน สัจธรรมเป็นตัวทำให้การปฏิบัติระดับจริยธรรมหรือการทำความดีเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และนำความสุขสวัสดีมาให้กับเราเป็นลำดับ
     


    ขณะเดียวกัน เมื่อจะปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงสัจธรรมขั้นสูงแล้ว การปฏิบัติระดับจริยธรรมก็อย่าไปมอง อย่าไปดูแคลนว่าเป็นเรื่องต่ำ เพราะอันที่จริงก็เป็นพื้นฐานที่จะช่วยรองรับให้จิตใจของเราพัฒนา จนกระทั่งเข้าถึงภาวะที่ไม่มีตัวไม่มีตน หรือไม่มีความยึดถือในตัวตนได้ เรียกว่าเข้าสู่ภาวะที่เป็นปรมัตถ์ หรือเข้าใจเรื่องปรมัตถ์ได้อย่างแท้จริงซึ่งก็ทำให้พัฒนาไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ 

    • 26 min
    25670327pm--ความเป็นจริงเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ

    25670327pm--ความเป็นจริงเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ

    27 มี.ค. 67 - ความเป็นจริงเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ : การที่คนเรารู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร เป็นเรื่องดี แต่ถ้าไปคาดหวังกับสิ่งที่ควรอยากให้สิ่งต่างๆ เป็นไปยังที่ควรจะเป็น แต่ไม่สามารถที่จะยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นได้ ตรงนี้มันเกิดปัญหาขึ้นมา เกิดความทุกข์ แล้วสุดท้ายมันก็ไปคาดหวังกับตัวเองด้วย ไม่ได้คาดหวังคนอื่นอย่างเดียว

    คนที่มาเจริญสติ ปฏิบัติที่นี่หลายคน เขาก็รู้ ว่าความสงบเป็นสิ่งที่ดี แต่พอมาปฏิบัติก็คาดหวังว่าจิตจะต้องสงบ ไม่คิดอะไร ไม่ฟุ้งซ่าน แต่พอมีความคิดขึ้นมาก็ยอมรับไม่ได้ รู้สึกหงุดหงิด ไม่พอใจตัวเอง หรือบางครั้งมันมีจิตคิดในทางลบต่อผู้มีพระคุณ
     


    หรือว่ามีอารมณ์บางอย่างซึ่งมันไม่ควรจะเกิดขึ้น เช่น ความโลภ ความโกรธ ราคะ พอมันเกิดขึ้นมาก็ทำใจยอมรับไม่ได้ เพราะมันไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น ความคิดแบบนี้ไม่ควรเกิดขึ้นกับเรา มันเกิดขึ้นได้อย่างไร ไม่สามารถยอมรับตัวเองอย่างที่เป็นได้
     


    แค่มีความฟุ้ง ความคิดมันผุดขึ้นมาเยอะแยะ มันไม่ควรเป็นอย่างนั้นเลย เราอุตส่าห์ปฏิบัติมาตั้งหลายวันแล้ว ทำไมยังเป็นอย่างนั้นอยู่ ความจริงกับความคาดหวังมันสวนทางกัน ในเมื่อยอมรับความจริงหรือความเป็นจริงไม่ได้ มันก็เลยเกิดความทุกข์ ทั้งที่ถ้าเกิดยอมรับความเป็นจริงได้ มันเกิดขึ้นก็แค่ยอมรับแล้วก็แค่รู้ แค่รู้เฉย ๆ การเจริญสติท่านก็สอนให้แค่รู้เฉย ๆ
     


    หลวงพ่อคำเขียนเคยบอกว่า คิดดีก็ช่าง คิดไม่ดีก็ช่าง บางคนพอมีความคิดไม่ดีเกิดขึ้นกับคนรอบข้าง กับพ่อแม่ กับครูบาอาจารย์ เป็นทุกข์มากเลย อันนี้เรียกว่าไม่รู้จักยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เพราะความเป็นจริงบางครั้งมันก็ห่างไกลจากส

    • 28 min
    25670326pm--ปล่อยเมื่อไหร่ ทุกข์หลุดเมื่อนั้น

    25670326pm--ปล่อยเมื่อไหร่ ทุกข์หลุดเมื่อนั้น

    26 มี.ค. 67 - ปล่อยเมื่อไหร่ ทุกข์หลุดเมื่อนั้น : ที่จริงแล้ว เพียงแค่ลิงคลายมือออก มันก็เป็นอิสระแล้ว เพราะพอคลายมือออกมันก็จะดึงมือออกมาจากช่องเล็ก ๆ นั้นได้ แต่ลิงไม่ยอมคลาย มันกำแน่น เพราะอะไร เพราะมันหวงถั่วในมือของมัน จึงถูกจับได้ในที่สุดจะว่าไปแล้ว ชะตากรรมของลิงเหล่านี้ไม่ได้ต่างจากคนเราเลย จริงอยู่คนเราอาจไม่ได้กำอะไรที่มือ แต่ใจนั้นกำไว้แน่น พอกำไว้แน่น ความทุกข์จึงตามมา ที่จริงเพียงแค่คลายหรือปล่อย เราก็เป็นอิสระจากทุกข์ได้ แต่คนเราส่วนใหญ่เหมือนกับลิง คือ ไม่ยอมปล่อย ไม่ยอมคลาย กำไว้อย่างนั้น ไม่ได้กำที่มือ แต่กำที่ใจ เรียกว่ายึดติด

    ความทุกข์ของคนเราเมื่อถึงที่สุดแล้วก็เกิดจากความยึดติด เป็นเพราะใจเรากำไว้ไม่ยอมปล่อย ทุกข์กายนั้นเกิดจากหลายสาเหตุ สารพัด เช่น อากาศร้อน อากาศหนาว เชื้อโรค อาหารเป็นพิษ มลภาวะ หรือภัยธรรมชาติ หรือมีคนมาทำร้าย แต่ถ้าเป็นทุกข์ใจแล้ว สาเหตุมีอยู่ประการเดียว ถ้าสาวไปให้ถึงที่สุด ก็คือความยึดติด
     


    หลวงพ่อชา สุภทฺโท สรุปไว้ดีมาก ท่านว่า “ทุกข์มีเพราะยึด ทุกข์ยืดเพราะอยาก ทุกข์มากเพราะพลอย ทุกข์น้อยเพราะหลุด ทุกข์หยุดเพราะปล่อย” คนเราก็เหมือนกับลิง ถ้าลิงเพียงแค่คลายมือ ปล่อยถั่ว มันก็เป็นอิสระได้ แต่เพราะคนเราไม่ยอมปล่อย ทั้งที่สิ่งที่ยึดเอาไว้นั้นบางครั้งเป็นอดีตไปแล้ว 

    • 25 min

Top Podcasts In Religion & Spirituality

Greg Laurie Podcast
Greg Laurie
Joel Osteen Podcast
Joel Osteen, SiriusXM
Jesus Image
Michael Koulianos
Through the ESV Bible in a Year with Jackie Hill Perry
Crossway
Things Unseen with Sinclair B. Ferguson
Ligonier Ministries
Jentezen Franklin at Free Chapel
Jentezen Franklin

You Might Also Like

หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม
dhamma.com
เกลา นิสัยอันตราย PODCAST
KLAOSHOW
The Library
THE LIBRARY
Roundfinger Channel
Roundfinger Channel
Mission To The Moon
Mission To The Moon Media
Good Mind | The Cloud Podcast |
The Cloud Podcast