14 episodes

พอดคาสต์ที่พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการจัดการข้อมูล ข่าวสาร เทคโนโลยีและสังคมดิจิทัล การอ่าน วรรณกรรม วัฒนธรรม และความรู้ทางด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ กับผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา

ผลิตโดยภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่มาเพลงประกอบ jingle: Wirklich Wichtig (CB 27) โดย Checkie Brown อัลบั้ม hey

/iz/: information is all around /iz/ information is all around

    • Society & Culture

พอดคาสต์ที่พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการจัดการข้อมูล ข่าวสาร เทคโนโลยีและสังคมดิจิทัล การอ่าน วรรณกรรม วัฒนธรรม และความรู้ทางด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ กับผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา

ผลิตโดยภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่มาเพลงประกอบ jingle: Wirklich Wichtig (CB 27) โดย Checkie Brown อัลบั้ม hey

    Ep. 14 มองอคติใน Machine Learning ผ่านมุมมอง Data Visualization

    Ep. 14 มองอคติใน Machine Learning ผ่านมุมมอง Data Visualization

    การเรียนรู้ของเครื่องหรือ Machine Learning ได้ถูกนำมาใช้ในการประกอบการตัดสินใจทั้งในชีวิตประจำวันและนโยบายในหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคบริการประชาชน การเงินการธนาคาร สุขภาพอนามัย รวมไปถึงการตัดสินคดีความ อย่างไรก็ตามกลไกการทำงานของ Machine Learning บางประการเป็นสิ่งอธิบายได้ยาก เนื่องจากมีความซับซ้อน ในตอนนี้ อาจารย์ ดร.ภูริพันธ์ รุจิขจร ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแสดงข้อมูลเป็นภาพ (Data Visualization) จากภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับอคติที่มักเกิดขึ้นในกลไกต่าง ๆ ของการนำการเรียนรู้ด้วยเครื่องมาใช้ ทั้งในมุมมองทางด้านข้อมูลและเทคนิค รวมไปถึงหลักการโดยทั่วไปที่จะช่วยทำให้ผู้มีส่วนได้เสียสามารถเข้าใจกลไกการทำงานเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความโปร่งใส (transparency) รวมไปถึงข้อถกเถียงและการพัฒนาวิธีการทำความเข้าใจการเรียนรู้ด้วยเครื่องจากการแสดงเป็นภาพ

    • 24 min
    EP.13 Metadata and Social Justice

    EP.13 Metadata and Social Justice

    Metadata can be broadly defined as a representative or a surrogate data/information to describe an entity of interest (e.g., person, organization, animal, objects, and concepts). Not only library and information professionals, everyone are often manage and manipulate metadata constantly in different contexts and capacities.  In many contexts, including library and information science, standardization of description practices and knowledge representation (e.g., controlled vocabulary), particularly based on the euro-american perspective, is one of the most common and active practices in metadata organization. In this first English episode, Dr.Hollie White from the School of Media, Creative Arts and Social Inquiry, Curtin University in Perth, Australia shares her interests in studying the influence of metadata creation and organization on social justice and how her studies applies to Thai cataloging practices. Recommendations for library and information professionals to improve fairness and promote social justice are also discussed.

    • 22 min
    EP.12 วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และการจัดการสารสนเทศทางวัฒนธรรม

    EP.12 วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และการจัดการสารสนเทศทางวัฒนธรรม

    ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากมายและต่างก็มีความเชื่อและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ปัจจัยทางสังคมและเทคโนโลยีเข้ามามีผลต่อวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เปลี่ยนไป แต่รากความเชื่อและขนบธรรมเนียมปฏิบัติกลุ่มชาติพันธุ์ยังคงมีอยู่ ทำอย่างไรจึงรวบรวมและรักษาความเชื่อและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความหลากหลายนี้ไว้เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างความแตกต่างทางวัฒนธรรม และส่งต่อไปยังคนอีกรุ่นได้ คุณศิราพร แป๊ะเส็ง นักวิชาการด้านชาติพันธุ์ และคุณสิทธิศักดิ์ รุ่งเจริญสุขศรี นักวิชาการด้านการจัดการสารสนเทศทางวัฒนธรรม จากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) มาร่วมพูดคุยและแบ่งปันประสบการณ์การจัดการสารสนเทศทางวัฒนธรรมรวมถึงความท้าทายเกิดขึ้นเมื่อสารสนเทศทางวัฒนธรรมเช่นนี้มักอยู่ในลักษณะของคำบอกเล่า นิทาน เพลงพื้นถิ่น และประเด็นที่ควรคำนึงถึงเมื่อต้องจัดการและเผยแพร่สารสนเทศทางวัฒนธรรมนี้  

    • 39 min
    EP.11 การแพร่ระบาดของข่าวปลอม/ข้อมูลเท็จ

    EP.11 การแพร่ระบาดของข่าวปลอม/ข้อมูลเท็จ

    การแพร่ระบาด (pandemic) ของไวรัส COVID-19 ส่งผลต่อปรากฎการณ์การแพร่ระบาดของข่าวปลอมและข้อมูลเท็จ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เกิดการท่วมท้นของข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ในตอนนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพยา จินตโกวิท ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะของข่าวปลอมและข้อมูลเท็จที่แพร่กระจายในปัจจุบัน รวมไปถึงปัจจัยที่ทำให้ข่าวปลอม/ข้อมูลเท็จแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว

    • 26 min
    EP.10 ทำไมต้องอ้างอิงแบบ APA

    EP.10 ทำไมต้องอ้างอิงแบบ APA

    การอ้างอิงทางวิชาการมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุมชนวิชาการ อย่างไรก็ตามเรามักจะเห็นว่าสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่มักเลือกใช้การอ้างอิงแบบ APA (American Psychology Association) เป็นแบบแผนในการเรียนการสอนและการเขียนผลงานวิชาการและวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรนุช เศวตรัตนเสถียรจะมาช่วยไขข้อข้องใจว่าทำไมสถาบันการศึกษาหลายแห่งจึงมักเลือกใช้ APA เป็นแบบแผน รวมถึงข้อมูลใหม่เกี่ยวกับ APA ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ 7 ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนตุลาคม 2562

    • 24 min
    EP.9 วาทศิลป์ของผู้นำท้องถิ่นในอินเดียในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19

    EP.9 วาทศิลป์ของผู้นำท้องถิ่นในอินเดียในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19

    ประเทศที่มีจำนวนประชากรเป็นอันดับสองของโลกอย่างประเทศอินเดียได้รับความสนใจไม่น้อยในช่วงสถานการณ์วิกฤตทางสาธารณสุขระดับโลกเช่นนี้ อินเดียเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูงมาก การสื่อสารในช่วงวิกฤต COVID-19 จึงเป็นเรื่องท้าทายไม่น้อย อาจารย์กิตติพงษ์ บุญเกิด อาจารย์สาขาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งกำลังศึกษาต่อที่ประเทศอินเดีย เล่าถึงสภาพสังคมวัฒนธรรมในเมืองชีลอง รัฐเมฆาลัย ประเทศอินเดีย รวมถึงการสื่อสารภาครัฐ และวาทศิลป์ของผู้นำในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรค COVID-19 ที่มีการหยิกยกเรื่องราวใกล้ตัวมาเพื่อสอดแทรกประเด็นสำคัญที่ต้องการสื่อสาร รวมไปถึงการใช้ภาษาและทำนองการสื่อสารเพื่อสร้างความเชื่อมั่น ความเข้าใจ ความสามัคคี รวมไปถึงการปฏิบัติตามของประชาชนในพื้นที่

    • 25 min

Top Podcasts In Society & Culture

TON PIED MON PIED
Muhammad et Goundo
Hot Girls Only
Chloe Gervais
When the migos created and invented the crazy style of rapping and flows, etc
Prince K
Fail Better with David Duchovny
Lemonada Media
La Vie d'avant
INA
Shots de Philo
SciencesPistes