121 Folgen

พี่ปุ๋มมีความหลงไหลอย่างลึกซึ้งในการศึกษา ในเรื่องของสุขภาพ การลดน้ำหนัก และ การย้อนวัย พี่ปุ๋มจึงอยากแบ่งปันความรู้ที่พี่ปุ๋มอ่านจากงานวิจัย หนังสือ และ สื่อต่างๆ นำมาเขียนเป็นบทความและไฟล์เสียงให้น้องๆฟัง ติดตามตอนต่อไปนะคะ

Fatoutkey Fatoutkey

    • Gesundheit und Fitness

พี่ปุ๋มมีความหลงไหลอย่างลึกซึ้งในการศึกษา ในเรื่องของสุขภาพ การลดน้ำหนัก และ การย้อนวัย พี่ปุ๋มจึงอยากแบ่งปันความรู้ที่พี่ปุ๋มอ่านจากงานวิจัย หนังสือ และ สื่อต่างๆ นำมาเขียนเป็นบทความและไฟล์เสียงให้น้องๆฟัง ติดตามตอนต่อไปนะคะ

    สรุปหนังสือ Why We Die: The Science of Aging and The Quest For Immortality ตอนที่ 2 (Live#77)

    สรุปหนังสือ Why We Die: The Science of Aging and The Quest For Immortality ตอนที่ 2 (Live#77)

    ไลฟ์ #77: สรุปหนังสือ Why We Die: The Science of Aging and The Quest For Immortality

    ผู้เขียน Prof. Venki Ramakrishnan ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาเคมี ในปี พ.ศ.2552 ร่วมกับ Thomas A Steitz และ Ada E. Yonath สำหรับการศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของไรโบโซม ซึ่งทำหน้าที่ในการอ่านข้อมูลทางพันธุกรรมเพื่อสร้างโปรตีนที่ถูกระบุ ไรโบโซมมีความซับซ้อนเชิงระดับโมเลกุลเพราะมีราวห้าแสนอะตอมที่ประกอบเป็นไรโบโซม


    ไลฟ์#76 ซึ่งตอนที่ 1 ของหนังสือเล่มนี้ เราสำรวจว่าวิวัฒนาการช่วยให้เข้าใจว่าทำไมความตายจึงเกิดขึ้น และวิวัฒนาการก็มีเป้าหมายที่จะ optimize fitness มากที่สุด จึงนำมาซึ่งความหลากหลายของอายุขัยในสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์


    นอกจากนั้นเรายังสำรวจด้วยว่าอายุขัยของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์มันมีข้อจำกัดหรือไม่ แต่ก็ยังไม่ได้คำตอบว่าความแก่ชราเกิดขึ้นและนำไปสู่การตายได้อย่างไร


    ในตอนที่ 2 ของไลฟ์#77 เราจะมาสำรวจกันต่อใน
    บทที่ 3: Destroying the master control
    บทที่ 4: The problem with end
    บทที่ 5: Resetting the biological clock
    พบกันในไลฟ์#77 นะคะ ❤️


    #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า#FatOutHealthspans

    • 1 Std. 23 Min.
    สรุปหนังสือ Why We Die: The New Science of Aging and The Quest For Immortality (Live#76)

    สรุปหนังสือ Why We Die: The New Science of Aging and The Quest For Immortality (Live#76)

    Prof. Venki Ramakrishnan ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาเคมี ในปี พ.ศ.2552 ร่วมกับ Thomas A Steitz และ Ada E. Yonath สำหรับการศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของไรโบโซม ซึ่งทำหน้าที่ในการอ่านข้อมูลทางพันธุกรรมเพื่อสร้างโปรตีนที่ถูกระบุ ไรโบโซมมีความซับซ้อนเชิงระดับโมเลกุลเพราะมีราวห้าแสนอะตอมที่ประกอบเป็นไรโบโซม

    Prof.Venki ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิจัยชีววิทยาโมเลกุลของสภาการวิจัยทางการแพทย์ในวิทยาเขตการแพทย์เคมบริดจ์ตั้งแต่ พ.ศ.2538 และเป็นสมาชิกของวิทยาลัยทรินิตี มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และเคยดำรงตำแหน่งนายกราชสมาคม (Royal Society) ตั้งแต่ พ.ศ.2558 จนถึง พ.ศ.2563

    พี่ปุ๋มสะสมหนังสือที่เกี่ยวข้องกับความชราไว้จำนวนมาก และก็ว่างเว้นจากการทำไลฟ์สรุปหนังสือดีมานานพอสมควร ที่ให้ความสนใจหนังสือเล่มนี้เพราะ

    1. Venki Ramakrishnan ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี และระบุปัญหาสำคัญในระดับชีวโมเลกุลว่า ข้อมูลทางพันธุกรรมถูกอ่านเพื่อจะสร้างโปรตีนที่เฉพาะเจาะจง ตามคำสั่งได้อย่างไร

    2. Venki มีความเชื่อพร้อมหลักฐานว่า Ribosome คือ organelle ภายในเซลล์ที่เป็นศูนย์กลางของ Molecular biology ที่เกี่ยวข้องกับความชรา ซึ่งแตกต่างจากนักวิทยาศาสตร์ความชราท่านอื่นที่ให้ความสำคัญกับ DNA

    หนังสือมีทั้งหมด 12 บท ก็จะทำไลฟ์แบ่งเป็นหลายตอนเลยค่ะ

    • 1 Std. 20 Min.
    The Cholesterol Wars หนังสือ และงานวิจัยของ Prof. Daniel Steinberg MD, PhD 5 ฉบับ (ตอนจบ)

    The Cholesterol Wars หนังสือ และงานวิจัยของ Prof. Daniel Steinberg MD, PhD 5 ฉบับ (ตอนจบ)

    ไลฟ์ #75: The Cholesterol Wars หนังสือ และงานวิจัยของ Prof. Daniel Steinberg MD, PhD จำนวน 5 ฉบับ (ตอนจบ)

    หลังจากที่พฤติกรรมของคนทั่วโลกเปลี่ยนเป็นเสพข้อมูลเกือบทุกประเภทผ่านทางโซเชียลมีเดีย การให้ข้อมูลที่ผิดจากการไม่รู้จริง (Misinformation) และ การจงใจบิดเบือนข้อมูล (Disinformation) กลายเป็นอันตรายอันดับที่ 2 ใน 2 ปีข้างหน้า จากรายงานของ World Economic Forum พี่ปุ๋มเคยเขียนโพสต์สรุปรายงานของ WEF ไปแล้วค่ะ

    อันตรายของการมีระดับ cholesterol และ ldl-cholesterol สูงเกินกว่าระดับทางสรีรวิทยา เป็นหัวข้อที่ดีเบตกันทางโซเชียลมีเดียในเรื่องสุขภาพมากที่สุดเรื่องหนึ่ง มีการให้ข้อมูลที่ผิดพลาดจากการไม่รู้จริงและหรือการจงใจบิดเบือนข้อมูลในโลกโซเชียลมีเดีย ซึ่งก่อให้เกิดความสับสนและทำให้คนบางคนที่มีระดับ ldl-cholesterol สูงลิ่ว ตัดสินใจปฏิเสธการได้รับยาลดไขมันในเลือด

    ถ้าจะว่าไปการดีเบตนี้ไม่ใช่เพิ่งมี แต่เกิดขึ้นนับย้อนกลับไปได้มากกว่า 50 ปี ในไลฟ์#74 นี้ พี่ปุ๋มจะพาน้องๆไปทำความรู้จัก Prof.Daniel Steinberg MD, PhD นักชีวเคมีและแพทย์ที่ได้รับการเทรนจาก Harvard Medical School ที่เข้าไปเริ่มต้นงานวิจัยที่ National Heart Institute ตั้งแต่เพิ่งเริ่มก่อตั้งในช่วงปี ค.ศ. 1950 เขาบุกเบิกงานวิจัยเรื่อง lipoproteins กับความเกี่ยวพันโรคหัวใจมาตลอดระยะเวลาการทำงาน 64 ปี แรงบันดาลใจมาจากงานวิจัยของ Prof.John Gofman MD, PhD Godfather ของ Clinical Lipidology ซึ่งค้นพบ plasma lipoproteins 3 ประเภท (VLDL, LDL, HDL) ในทศวรรษที่ 1950

    ผลงานวิจัยที่ถือว่าเป็นคุณูปการยิ่งใหญ่ต่อวงการ Clinical Lipidology คือการที่ Prof.Daniel และทีมนักวิจัย ค้นพบกระบวนการที่ LDL-particle เมื่อแทรกเข้าไปใต้ชั้นหลอดเลือดและติดกับ proteoglycan แล้ว จะต้องมีขั้นตอนการเกิด LDL-particle modification ซึ่งเกี่ยวข้องกับ lipid peroxidation ก่อนที่ scavenger receptor บน macrophage จะสามารถดูดคอเลสเตอรอลเข้าไปได้ เป็นที่มาของ The LDL Oxidation Hypothesis สำห

    • 1 Std. 25 Min.
    The Cholesterol Wars สรุปหนังสือ และงานวิจัยของ Prof.Daniel Steinberg MD, PhD จำนวน 5 ฉบับ (ตอนที่ 1)

    The Cholesterol Wars สรุปหนังสือ และงานวิจัยของ Prof.Daniel Steinberg MD, PhD จำนวน 5 ฉบับ (ตอนที่ 1)

    ไลฟ์ #74: The Cholesterol Wars สรุปหนังสือ และงานวิจัยของ Prof.Daniel Steinberg MD, PhD จำนวน 5 ฉบับ (ตอนที่ 1)

    หลังจากที่พฤติกรรมของคนทั่วโลกเปลี่ยนเป็นเสพข้อมูลเกือบทุกประเภทผ่านทางโซเชียลมีเดีย การให้ข้อมูลที่ผิดจากการไม่รู้จริง (Misinformation) และ การจงใจบิดเบือนข้อมูล (Disinformation) กลายเป็นอันตรายอันดับที่ 2 ใน 2 ปีข้างหน้า จากรายงานของ World Economic Forum พี่ปุ๋มเคยเขียนโพสต์สรุปรายงานของ WEF ไปแล้วค่ะ

    อันตรายของการมีระดับ cholesterol และ ldl-cholesterol สูงเกินกว่าระดับทางสรีรวิทยา เป็นหัวข้อที่ดีเบตกันทางโซเชียลมีเดียในเรื่องสุขภาพมากที่สุดเรื่องหนึ่ง มีการให้ข้อมูลที่ผิดพลาดจากการไม่รู้จริงและหรือการจงใจบิดเบือนข้อมูลในโลกโซเชียลมีเดีย ซึ่งก่อให้เกิดความสับสนและทำให้คนบางคนที่มีระดับ ldl-cholesterol สูงลิ่ว ตัดสินใจปฏิเสธการได้รับยาลดไขมันในเลือด

    ถ้าจะว่าไปการดีเบตนี้ไม่ใช่เพิ่งมี แต่เกิดขึ้นนับย้อนกลับไปได้มากกว่า 50 ปี ในไลฟ์#74 นี้ พี่ปุ๋มจะพาน้องๆไปทำความรู้จัก Prof.Daniel Steinberg MD, PhD นักชีวเคมีและแพทย์ที่ได้รับการเทรนจาก Harvard Medical School ที่เข้าไปเริ่มต้นงานวิจัยที่ National Heart Institute ตั้งแต่เพิ่งเริ่มก่อตั้งในช่วงปี ค.ศ. 1950 เขาบุกเบิกงานวิจัยเรื่อง lipoproteins กับความเกี่ยวพันโรคหัวใจมาตลอดระยะเวลาการทำงาน 64 ปี แรงบันดาลใจมาจากงานวิจัยของ Prof.John Gofman MD, PhD Godfather ของ Clinical Lipidology ซึ่งค้นพบ plasma lipoproteins 3 ประเภท (VLDL, LDL, HDL) ในทศวรรษที่ 1950

    ผลงานวิจัยที่ถือว่าเป็นคุณูปการยิ่งใหญ่ต่อวงการ Clinical Lipidology คือการที่ Prof.Daniel และทีมนักวิจัย ค้นพบกระบวนการที่ LDL-particle เมื่อแทรกเข้าไปใต้ชั้นหลอดเลือดและติดกับ proteoglycan แล้ว จะต้องมีขั้นตอนการเกิด LDL-particle modification ซึ่งเกี่ยวข้องกับ lipid peroxidation ก่อนที่ scavenger receptor บน macrophage จะสามารถดูดคอเลสเตอรอลเข้าไปได้ เป็นที่มาของ The LDL Oxidation Hypot

    • 1 Std. 28 Min.
    คำถาม 20 ข้อ เกี่ยวกับ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (ไลฟ์#73: )

    คำถาม 20 ข้อ เกี่ยวกับ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (ไลฟ์#73: )

    ไลฟ์#73: 20 คำถามเกี่ยวกับ Atherosclerosis

    วันอาทิตย์ 14 เม.ย.2567

    เวลา 20.00 น.



    เมื่อสองสามวันที่แล้วใน Twitter ก็มีการวิวาทะระหว่างกลุ่มที่เชื่อว่าโดยวิวัฒนาการแล้ว อาหารที่มีเนื้อสัตว์ ไขมันเป็นหลัก (Carnivore diet) เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับมนุษย์ และ คอเลสเตอรอลไม่ได้ทำให้เกิด Atherosclerosis ไม่เช่นนั้น สิงโต หรือสัตว์ที่เป็น carnivore ก็ต้องเกิด atherosclerosis ไปแล้ว กับกลุ่มที่เชื่อว่า อาหารที่มีพืชเป็นหลักคืออาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับมนุษย์ (Plant based diet)



    ในไลฟ์#73 นี้ เราจะมาทำความเข้าใจ Atherosclerosis ผ่านคำถามที่ถูกถามบ่อย 20 ข้อ โดยผู้ที่จะมาตอบคำถามคือ Prof.William C. Roberts แพทย์โรคหัวใจ เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศสหรัฐอเมริกาในด้านพยาธิวิทยาของหัวใจและหลอดเลือด อีกทั้งยังเป็นอดีต editor in chief ของวารสาร American Journal of Cardiology มา 40 ปี ท่านเพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อปี พ.ศ.2566 สิริอายุได้ 91 ปี



    คำถามที่น่าสนใจอย่างเช่น

    1. สุนัข สิงโต เสือ และแมว ซึ่งกินสัตว์อื่น ซึ่งเต็มไปด้วยไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล หลอดเลือดพัฒนา atherosclerosis ได้หรือไม่

    2. มนุษย์เป็นสัตว์กินพืช (Herbivores) หรือสัตว์กินสัตว์อื่น (Carnivores) กันแน่ แล้วทำไมหลอดเลือดมนุษย์จึงอ่อนไหวต่อการเกิด atherosclerosis

    3. พันธุกรรม เป็นต้นกำเนิดของ Atherosclerosis จริงหรือไม่

    4. Atherosclerosis เป็นเรื่องของคนชรา เป็นโรคของความเสื่อมของหลอดเลือดจริงหรือไม่



    น้องๆที่ไม่ได้ไปเที่ยวสงกรานต์ และสนใจอยากจะรู้คำตอบตอบคำถามทั้ง 20 ข้อที่เกี่ยวข้องกับ atherosclerosis ในไลฟ์#73 นี้ค่ะ

    #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า

    #FatOutHealthspans



    งานวืจัยอ้างอิง

    1. Twenty questions on atherosclerosis

    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1312295/pdf/bumc0013-0139.pdf



    2. Human species-specific loss of CMP-N-acetylneuraminic acid hydroxylase enhances atherosclerosis viaintrinsic and extrinsic mechanisms

    https://www.pnas.org/doi/pdf/10.1073/pnas.1902902116?download=true



    3. The Cause of Atherosclerosis

    https://moscow.sci-hub.ru/2641/e0e2d7c2febefd271d

    • 1 Std. 15 Min.
    สรุปเล็คเชอร์ The Evolving Narrative of HDL-C (ไลฟ์#72)

    สรุปเล็คเชอร์ The Evolving Narrative of HDL-C (ไลฟ์#72)

    ไลฟ์#72 : สรุปเล็คเชอร์ The Evolving Narrative of HDL-C

    หลังจากความล้มเหลวของงานวิจัยยา CSL112 ของบริษัท biotech CSL Behring ซึ่งเป็น Human Apolipoprotein A1 (apolipoprotein สำคัญบน HDL Particle) CSL112 ทำหน้าที่ผลักคอเลสเตอรอลออกจาก macrophage ของ plaque หลอดเลือด (Cholesterol Efflux Enhancer) และส่งเสริมเอ็นไซม์ LCAT ซึ่งหน้าที่สำคัญนี้ของ ApolipoproteinA1 บนผนัง HDL เป็นหน้าที่ที่นักวิจัยให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และเป็นความหวังสำคัญในการสร้างกลยุทธ์เพื่อลดความเสี่ยง/รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันให้ดียิ่งขึ้น
    งานวิจัยสำคัญที่ล้มเหลวนี้ทำให้ความเข้าใจบทบาทของ HDL เหมือนกลับไปตั้งต้นใหม่ เพราะงานวิจัยสารพัดในอดีตที่ทดสอบการเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลที่อยู่ใน HDL และทดสอบหน้าที่ของ HDL (functionality of HDL) ต่อการลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจดูเหมือนจะล้มเหลวไปหมด ไม่ว่าจะเป็น Niacin, Fibrate, Gemfibrozil, Hormone Replacement และ CETP inhibitors
    พี่ปุ๋มโชคดีที่ได้มีโอกาสฟังเล็กเชอร์เรื่อง The Evolving Narrative of HDL-C: Contemporary Insights on Quality vs Quantity for Targeting Cardio Protection เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2566 จัดโดย National Lipid Association เป็นเล็คเชอร์ที่ดีมาก (กอไก่ล้านตัว) โดยศาสตราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านโรคหลอดเลือดหัวใจและ Lipidology 3 ท่าน หัวข้อเป็นดังนี้ค่ะ

    1. Rethink the HDL Hypothesis: Then and Now โดย Professor Vera A. Bittner MD, MNLA University of Alabama
    2. More than a Number: Functional Role of HDL for Atheroprotection โดย Professor Robert S. Rosenson MD, FNLA, Mount Sinai New York
    3. Restoring confidence in HDL: Does CEC hold a promising as a potential therapeutic target? โดย Professor Christie M. Ballantyne MD, Baylor College of Medicine, Houston Texas (คนนี้เป็น Editor texbook สำคัญ Clinical Lipidology)

    แม้เนื้อหามันจะยาก แต่มันก็ท้าทายพี่ในการจะนำมาสรุปเป็นไลฟ์ #72 โพสต์นี้ไฮไลท์ประเด็นสำคัญจากเล็คเชอร์ HDL ที่พี่ได้ฟัง ให้อ่านเป็นน้ำจิ้มกันก่อน
    1. HDL Nomenclature: HDL =/= HDL-C แต่เกี่ยวข้องกับขนาดของ particle ความหนาแน่น รูปร่าง ประจุ จำนวน ที่สำคัญมากคือ ประเภทของ Apolipoprotein (AI, AII, CIII, E) โปรตีน มากกว่า 300 ชนิด ไขมัน มากกว่า 300 ชนิด micro RNA ที่อยู่บน HDL P

    • 1 Std. 43 Min.

Top‑Podcasts in Gesundheit und Fitness

Sexologie
Karo, Melina
Psychologie to go!
Dipl. Psych. Franca Cerutti
Huberman Lab
Scicomm Media
Stahl aber herzlich – Der Psychotherapie-Podcast mit Stefanie Stahl
RTL+ / Stefanie Stahl
So bin ich eben! Stefanie Stahls Psychologie-Podcast für alle "Normalgestörten"
RTL+ / Stefanie Stahl / Lukas Klaschinski
Dingue - RTS
RTS - Radio Télévision Suisse