7 episodes

Visual Telling Thailand Podcast
สรุปเป็นภาพ ให้ภาพเล่าเรื่อง

VisualtellingTH Visual Telling Thailand

    • Education

Visual Telling Thailand Podcast
สรุปเป็นภาพ ให้ภาพเล่าเรื่อง

    EP7 : สำรวจสมุดโน๊ตของคุณแล้วเริ่มตีกรอบความคิด

    EP7 : สำรวจสมุดโน๊ตของคุณแล้วเริ่มตีกรอบความคิด

    หลังจากที่โพสต์ก่อนหน้านี้เราพูดถึงลักษณะของการจดบันทึก 5 แบบที่ถ่วงความเจริญไปแล้ว

    ก่อนจะไปเริ่มต้นปรับเปลี่ยนกันอยากจูนความคิดให้ตรงกันเกี่ยวกับเรื่องการคิดว่าตัวเองเป็นคนเก่งหรือไม่เก่งแตกต่างกันที่ตรงไหน

    คนที่ถูกมองว่าไม่เก่ง
    มีลักษณะแบบเดียวเลยค่ะ คือ ไม่คิดตาม

    ส่วนคนที่ถูกมองว่าเก่ง
    >> ลักษณะทางโครงสร้างความคิด มักจะเป็นคนที่เรียบเรียงความคิดในหัวได้ (ถ้าไม่สามารถทำได้ต้องเขียนเพื่อให้เห็นภาพและทิศทางของข้อมูลชัดเจนขึ้น)
    >> ไม่เขียนตามแบบโน๊ต copy and paste แต่มักจะเรียบเรียงข้อมูลใหม่เป็นคำพูดของตัวเอง ในรูปแบบที่ตัวเองเข้าใจ
    >> มีกรอบความคิดเป็นของตัวเอง ทำให้การจดบันทึกแต่ละครั้งแม้ว่าหลายหมื่นจะไม่ดีแต่ก็อ่านออก เขียนเป็นระเบียบ จับต้นชนปลายได้

    เริ่มต้นเปลี่ยนมาเขียนโน้ตส่งเสริมความสามารถสามารถเริ่มต้นง่ายๆด้วยการตีกรอบความคิด
    📖 Blog >> https://visualtellingthschool.teachable.com/blog
    - - - - - - - - - - - - - - - - - -

    การมีกรอบความคิดจะทำให้การเขียนบันทึกลงเป็นระเบียบมากขึ้น

    เจ้าของความคิดนี้พูดง่ายๆ ก็คือ การตีตาราง

    การตีกรอบเพื่อไม่ให้ข้อมูลปะปนกัน เวลาจะมองข้อมูลช่องไหน เวลามองๆรู้ว่ามาจากหัวข้อไหน ทำให้หยิบข้อมูลมาใช้งานได้ง่าย

    สมองจะคัดกรองข้อมูลได้ดี เห็นประเด็นสำคัญได้ง่าย รู้ว่าข้อมูลส่วนใดสำคัญ ส่วนใดไม่สำคัญ

    เปรียบเทียบง่ายๆเหมือนการจัดชั้นหนังสือ หรือตู้เสื้อผ้า หาข้อมูลถูกจัดไว้เป็นหมวดหมู่ มีช่องมีลิ้นชักแบ่งกันชัดเจนเวลาจะเรียกใช้ข้อมูล ก็หยิบใช้ได้ง่าย รู้ว่าหยิบข้อมูลออกมาจากช่องไหน

    ซึ่งแตกต่างจากการจดสะเปะสะปะ ข้อมูลที่หยิบออกมาใช้ ก็ต้องกลับไปย้อนดูว่าควรจะมาจากหัวข้อไหน แต่มีข้อมู

    • 13 min
    EP6 : สมุดโน๊ตที่คุณเขียนกำลังถ่วงความเจริญของคุณอยู่หรือเปล่า?

    EP6 : สมุดโน๊ตที่คุณเขียนกำลังถ่วงความเจริญของคุณอยู่หรือเปล่า?

    " สมุดโน๊ตที่คุณใช้กำลังถ่วงความเจริญของคุณอยู่หรือเปล่า? "​

    เปิดหัวมาอาจจะแรงนิดนึง แต่มันเป็นความจริงนะคะ หลายๆครั้งที่เราเข้าค่ายสัมมนา หรืออยู่ในห้องประชุม แล้วได้แต่ก้มหน้าก้มตาจดบันทึกอย่างเดียว โดยหวังแค่ว่าต้องจดให้ทัน

    Read more... https://visualtellingthschool.teachable.com/blog/223727/ep6

    • 32 min
    EP5 : คุณค่าที่แท้จริงของการเขียนบันทึกด้วยภาพคือขบวนการจัดระเบียบความคิด

    EP5 : คุณค่าที่แท้จริงของการเขียนบันทึกด้วยภาพคือขบวนการจัดระเบียบความคิด

    คุณค่าการเขียน Visaul Note คือ กระบวนการจัดระบบความคิด ความสวยคือผลพลอยได้
    แต่เมื่อใดที่คุณให้ค่า Visual Note แค่ความสวย ข้อมูลที่คุณเขียนอยู่จะหมดคุณค่าทันที เพราะคุณให้ค่าความสวยของภาพที่วาดมากกว่าข้อมูลที่สำคัญ

    🗨️ นี่คือ 1 ข้อความ
    ที่เป้อยากจะพูดเชิงสร้างความตระหนักและให้กำลังใจกับหลายๆคนที่กำลังคิดว่าอยากจะเริ่มเขียนบันทึกเป็นภาพ

    เพราะจุดเริ่มต้นของการเขียนบันทึกเป็นภาพของเป้เองก็ไม่ได้เริ่มต้นจาก ความคิดที่อยากจะวาดภาพให้สวย โดดเด่น และน่ารัก แต่เกิดจากความที่ตัวเองเป็นคนที่สมองไม่ดี เข้าใจข้อมูลอะไรยากและความสามารถในการจดจำค่อนข้างน้อย

    ตัวช่วยสำคัญของเป้ก็คือการเขียน ถ้าใครเคยได้ร่วมงานหรือเรียนกับเป้จะจับสังเกตได้ว่าเป้เป็นคนที่ชอบจดบันทึกตาม

    จริงๆแล้วไม่ใช่นิสัยรักการเขียนนะคะ อะไรที่เราจำได้แล้วก็ไม่เขียนเท่าไหร่ เป้ก็ไม่ค่อยทำนะ แต่เมื่อมีไปอบรมสัมมนาหรือพูดคุยประชุมอะไรกันก็แล้วแต่ เป้มักจะเป็นคนที่ต้องจดบันทึกอยู่ตลอด พ่อบันทึกนี้จะช่วยจัดระเบียบข้อมูลวัดที่ผ่านมาเรารับข้อมูลอะไรมาบ้าง แล้วสามารถรีเช็คได้ตอนจบว่าเราเข้าใจข้อมูลได้ถูกต้องหรือเปล่า

    จุดเด่นในการเขียนบันทึกของเป้เริ่มจากการต้องมีภาพประกอบ ซึ่งอาจจะเขียนเป็นโฟชาร์ตก้อนข้อมูลต่างๆ หรือเขียนเป็นกราฟแท่งแนวนอนแล้วเขียนส่วนประกอบของสิ่งต่างๆ ไว้เสมอ เพื่อสร้างภาพจำในสมองของตัวเอง ว่า..เออ!!ว่าสิ่งที่ทำเนี่ยมีอะไรบ้าง และจะมีขั้นตอนไปทิศทางไหน

    เวลาที่ไม่ได้เขียนบันทึกออกมาเป้ก็จะไม่ได้ทำเป็นบรรทัดแบบที่คุณกำลังอ่านนี้นะคะ แต่จะจำเป็นแผนที่ ว่าพิกัดแต่ละจุดอยู่ตรงไหน แล้วลิงค์กับหน้า

    • 20 min
    EP4 : 5 ขั้นตอนฝึกทักษะการพูดแสดงความคิดเห็น

    EP4 : 5 ขั้นตอนฝึกทักษะการพูดแสดงความคิดเห็น

    บางครั้งความไม่กล้าแสดงความคิดเห็นอาจทำให้เราพลาดการแสดงไอเดียเจ๋งๆไปก็ได้ เรามาฝึกSkillนี้กันเถอะ ฝึกได้ง่ายๆแค่5ขั้นตอน เราสังเกตกันไหมคะว่าฝรั่งทำไมเขาถึงกล้าแสดงความคิดเห็นจนบางครั้งเราอาจจะดูว่าเขาไม่มีมารยาทหรือไม่ถนอมน้ำใจผู้ร่วมงานเอาซะเลย ตามวัฒนธรรมของชาวตะวันตกนี้ไม่ใช่ว่าอยู่ๆพวกเขาเกิดมาแล้วเถียงเก่งเลยนะคะ แต่เขาบรรจุวิชานี้ลงไปตั้งแต่สมัยเรียนและถูกฝึกฝนมาแบบนี้มากกว่าทำให้เขากล้าที่จะแสดงความคิดเห็นมากกว่าชาวเอเชียอย่างเรา ซึ่งทักษะเหล่านี้สามารถฝึกกันได้ค่ะ ในหนังสือ The power of output ได้พูดถึงประเด็นนี้ด้วยการแนะนำ 5 วิธีการฝึกพูดแสดงความคิดเห็นผ่านการ discussions หรือการดีเบตไว้ง่ายๆและน่าสนใจดังนี้ค่ะ 1 ให้เริ่มจากฝึกแสดงความคิดเห็นทุกครั้งกับตัวเองก่อน อาจจะเป็นตอนอ่านหนังสือหรือเข้าร้านอาหาร ว่าเรารู้สึกอย่างไร หรือถ้าเป็นเราจะจัดการเรื่องนี้อย่างไร 2 ฝึกตัดสินความรู้สึกส่วนตัวออกจากเครื่องที่เป็นการแสดงความเห็น เช่นอารมณ์เศร้า เหงา โกรธ ให้นึกถึงเป้าหมายไว้ก่อนถ้าเป็นการทำงาน พยายามตัดประโยชน์ส่วนตัวเองออกแล้วนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมให้มาก 3 ก่อนจะแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมควรเตรียมข้อมูลและเอกสารอ้างอิงให้พร้อมสำหรับ support ความคิดเห็นของเราด้วยเวลาเข้าประชุมจะได้ดูน่าเชื่อถือและมีน้ำหนักและที่สำคัญไม่แปลกด้วยค่ะ 4 ควรเตรียมคำถามและคำตอบล่วงหน้าในกรณีที่เราเป็นฝ่ายนำเสนอ มีงานวิจัยบ่งชี้ว่า โดยส่วนใหญ่แล้วการเตรียมคำถาม 10 ข้อมักจะครอบคลุมเนื้อหาประมาณ 70% ของข้อมูลหรือในหัวข้อนั้นๆ แต่ถ้าเราเตรียมตอบคําถามไว้ 30 ข้อมักจะครอบคลุมเนื้อหาประมาณ 90 เปอร์เ

    • 12 min
    EP3 : การระบายความรู้สึกทำให้แก้ปัญหาได้ดีขึ้น

    EP3 : การระบายความรู้สึกทำให้แก้ปัญหาได้ดีขึ้น

    การระบายความรู้สึกกับใครสักคน สมองจะเรียบเรียงความรู้สึกนึกคิด เหตุและผล ออกมาเป็นขั้นตอน สมองจะเริ่มMappingเรื่องราว ทำให้เห็นปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาชัดขึ้น รวมถึงการระบายความรู้สึกออกมาทำให้เรารู้สึกโล่งขึ้น สยายใจขึ้นเพราะรู้สึกว่า โอเค ระบายละ สบายใจขึ้นละ เอ้อ! มีคนรับฟังเราอยู่นี่นา ความเครียดสะสมก็ลดลง สำหรับคนที่สะสมความเครียดไว้เยอะต้องพึงสำรวจตัวเองด้วยนะคะ ว่าป่วยบ่อยขึ้นหรือเปล่า เพราะความเครียดส่งผลโดยตรงกับอาการเจ็บป่วยเลยล่ะ

    • 15 min
    EP2 : Sketchnote เทคนิคการจดบันทึกของคนหัวไม่ดี

    EP2 : Sketchnote เทคนิคการจดบันทึกของคนหัวไม่ดี

    สเก็ตโน๊ตเทคนิคการจดบันทึกของคนที่หัวไม่ดี!!!

    คุณจะประเมินคนที่มีลักษณะแบบนี้ว่าเป็นคนแบบไหนคะ?
    คุณสมบัติ คือ เป็นคนที่หัวช้า เรียนไม่ทันเพื่อน การประมวลผลต่ำ ฟังข้างหน้าเสร็จก็ลืมข้างหลัง ตั้งข้างหลังเสร็จก็ลืมไปหมด เรียนหรืออบรมอะไรไม่ทันเพื่อนสักที

    ระหว่าง...
    "คนโง่และหัวไม่ดี" กับ "คนขี้เกียจที่ไม่ยอมเตรียมตัว"

    การเขียน sketch note จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการเขียนข้อมูลให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม

    #คีย์สำคัญ ของ #การทำความเข้าใจข้อมูลหรือการจับประเด็นข้อมูล ก็คือ

    ✔️การหาให้เจอว่าข้อมูลนั้นใครกำลังทำอะไร
    ✔️เห็นความเป็นไปของข้อมูลว่าเริ่มต้นจากตรงไหนและสิ้นสุดที่ตรงไหน
    ✔️หาเหตุผลให้ได้ว่าทำไมมันถึงเป็นแบบนี้

    เท่านั้นเองค่ะ !!!

    #ทำความเข้าใจข้อมูลเฉยๆก็ได้ไม่เห็นจำเป็นต้องเขียนบันทึกเป็นภาพเลย?

    คำพูดที่ไปมักจะได้ยินจากหลายๆคนที่เข้ามาคุยด้วย แล้วยังไม่เข้าใจว่าการเขียนมันช่วยอะไร

    จะเล่าให้ฟังแบบนี้ค่ะ...

    เวลาที่เราเขียนข้อมูลลงไปบนกระดาษ📝

    มันจะเอื้อให้คนที่สมองไม่ดี ที่มีปัญหาเรื่องการประมวลผลข้อมูลอยู่แล้ว (มักนึกภาพในหัวแบบเป็นขั้นตอนไม่ออก) ได้เห็นข้อมูลที่ชัดๆอย่างเป็นรูปประธรรมมากขึ้น เวลาที่สายตาจ้องลงไปมองข้อมูลแต่ละจุดจะทำให้จดจำข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลที่ถูกย่อยออกมาเป็นภาพ ไม่ว่าจะเป็น โฟชาร์ต หรือภาพที่แยกส่วนประกอบออกมาด้วยเส้น มันก็ทำให้เราเห็นข้อมูลแต่ละส่วนชัดขึ้น

    พอแยกส่วนประกอบของข้อมูลออกมาเป็นต่อนๆได้ชัดเจนขึ้น การจะบรรจุลงในโครงสร้างของความทรงจำก็ง่ายขึ้นตามไปด้วย

    ลองคิดภาพดูนะคะว่าถ้าคุณเป็นคนที่ไม่เคยรู้เรื่องราวของอะไรสัก

    • 29 min

Top Podcasts In Education

The Mel Robbins Podcast
Mel Robbins
The Daily Stoic
Daily Stoic | Wondery
By All Accounts. . .
ACCA
TED Talks Daily
TED
Life Lessons with Siobhan O'Hagan
Siobhan O'Hagan
The Rich Roll Podcast
Rich Roll