303 episodes

การพูดคุยปรึกษา คือ สากัจฉาทำให้เกิดความไม่ประมาทและมีปัญญาได้, มีคำถามอยู่ที่ไหน ก็มีคำตอบอยู่ที่นี่, ตอบทุกข้อสงสัย ทั้งในการดำเนินชีวิต, หลักธรรม หรือการภาวนา โดย ร่วมพูดคุยกับคุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ในช่วง "ตามใจท่าน". New Episode ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา‪)‬ Panya Bhavana Foundation

    • Society & Culture

การพูดคุยปรึกษา คือ สากัจฉาทำให้เกิดความไม่ประมาทและมีปัญญาได้, มีคำถามอยู่ที่ไหน ก็มีคำตอบอยู่ที่นี่, ตอบทุกข้อสงสัย ทั้งในการดำเนินชีวิต, หลักธรรม หรือการภาวนา โดย ร่วมพูดคุยกับคุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ในช่วง "ตามใจท่าน". New Episode ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ตายอย่างผาสุก [6723-7q]

    ตายอย่างผาสุก [6723-7q]

    Q : การมีอายุยืน (Longevity) และการตายแบบสบายๆ (Pin Pin Korori)
    A : การมีอายุยืน (Longevity) ที่ประเทศญี่ปุ่น บนเกาะโอกินาว่า หมู่บ้านโอกิมิ มีคนที่อายุเกิน 100 ปี อยู่หนาแน่น โดยมีสุขภาพแข็งแรง หูไม่ตึง สามารถทำงานได้ ขี่จักรยานได้ สายตาเห็นชัดเจน / การตายแบบสบาย ๆ (Pin Pin Korori) เป็นการตายไปเฉย ๆ ไม่ใช่อุบัติเหตุ ไม่ทุรนทุรายหรือป่วย เป็นการไหลตายไปเฉย ๆ เป็นท่าที่เขาตายเป็นลีลาการตายในลักษณะนั้น
     
    Q : การตายอย่างผาสุกในทางพุทธศาสนา
    A : การตายอย่างผาสุกนั้นไม่เกี่ยวกับลีลาหรือท่าทางการตาย แต่ขึ้นอยู่กับจิตเป็นสำคัญ ที่ว่าเมื่อความตายมาถึงแล้วจะยังเป็นความตายอย่างผาสุกได้ ท่านสอนไว้ถึงเรื่อง “ความเพียร ที่พึงกระทำ ปรารภภัยในอนาคต 5 ประการ” เมื่อความตายมาถึงแล้วธรรมะอะไรที่เราควรที่จะต้องบรรลุควรจะต้องรู้ควรจะต้องเข้าใจควรจะต้องทำให้แจ้งธรรมะนั้นคือ “มรรค 8”  
     
    Q : ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
    A : ถ้าชีวิตของเราจะอยู่ไม่พ้นคืนนี้ มีราตรีนี้เป็นคืนสุดท้าย สิ่งที่จะรีบทำจิตใจเลยคือ (1) ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว (2) ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง (3) ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมปัจจุบัน พึงพิจารณาธรรมนั้นพึงทำความเพียรเสียในวันนี้ มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน เรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ว่า “ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ”
     
    Q : จะมีวิธีระงับอารมณ์ไม่ให้ระเบิดความโกรธออกมาโดยเรียกสติกลับมาได้อย่างไร?
    A : ถ้าเรารู้ว่าเรามีปัญหาตรงไหน เราจะสามารถแก้ได้แน่ การที่เราสังเกตเห็นนั่นแสดงว่าเรามีสติ ถ้ามีสติตรงไหนจะละได้ตรงนั้น มีสติตรงไหนจะพัฒนาความดีให้เกิดได้ตรงนั้น ให้เราฝึกพัฒนาสติทั้งในรูปแบบนั่งสมาธิให้สติมีกำลัง แ

    • 56 min
    คิดให้ถูก คิดให้เป็น [6722-7q]

    คิดให้ถูก คิดให้เป็น [6722-7q]

    Q: ให้ทานกับขอทานที่ยากจน ได้บุญมากกว่าขอทานที่ร่ำรวยใช่หรือไม่?
    A: การที่จะได้บุญมากหรือน้อยไม่ได้เกี่ยวกับปริมาณเงินของผู้ให้หรือฐานะของผู้รับ แต่ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผู้ให้และผู้รับ คุณสมบัติของผู้ให้ คือ ต้องมีศรัทธา ทั้งก่อนให้ ระหว่างให้และหลังให้ คุณสมบัติของผู้รับ คือ เป็นผู้ที่มีราคะ โทสะ โมหะน้อย
     
    Q: ความเศร้าหมองจากการให้ทานเกิดจากอะไร?
    A: ความเศร้าหมองของบุญ อยู่ที่ 3 องค์ประกอบ คือ “ผู้ให้” (มีศรัทธาแล้วมีศีลหรือไม่) “ผู้รับ”(มีศีลหรือไม่) และ “สิ่งของ” (หากสิ่งที่นำมาถวาย เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง บุญก็จะเศร้าหมอง)
     
    Q: ทำบุญเอาหน้า จะได้บุญมากหรือน้อย?
    A: หากทำบุญอาศัยความโลภ บุญก็จะได้น้อย แต่ทำ ดีกว่าไม่ทำ เราควรสละออก ตั้งจิตให้ดี ทำดี ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
     
    Q: ฝันว่ากระทำไม่ดี จะเป็นบาปหรือไม่?
    A: เมื่อเราไม่ได้ลงมือทำจริง ๆ ก็ไม่ได้เป็นบาปของเรา แต่หากเรามีอารมณ์ร่วม คือเราเพลินไปตามแล้ว นั่นเป็นกรรม เป็นมโนกรรม
     
    Q: การที่สามีภรรยาอยู่กันคนละที่ ควรจะพิจารณาและทำให้เป็นไปตามหน้าที่ของทิศเบื้องหลังต่อกันอย่างไร?
    A: ฝ่ายภรรยา ควรจัดการงานให้เหมาะสมเรียบร้อย, สงเคราะห์คนข้างเคียงสามี เช่น พ่อ แม่ ลูกน้อง, ไม่นอกใจ, รักษาทรัพย์ที่หามาได้, ขยันไม่เกียจคร้านในการงานทั้งปวง ฝ่ายสามี ควรยกย่องภรรยา, ไม่ดูหมิ่น, ไม่นอกใจ, มอบความเป็นใหญ่ในหน้าที่ให้, ให้เครื่องประดับ ทั้งฝ่ายภรรยาและสามี ควรบริหารจัดการ ป้องกันให้ดี เพื่อไม่ให้ต้องทะเลาะกัน
     
    Q: ในทางธรรมจะอธิบายคำว่า "ต้องคิดเป็น" อย่างไร?
    A: ท่านให้แนวทางไว้ว่า ถ้าจะคิด อย่าคิดเบียดเบียนคนอื่น อย่าคิดเบียดเบียนตนเอง ถ้าจะคิด ให้คิดเรื่องที่เป็นกุศ

    • 56 min
    คุณสมบัติของทุกข์ [6721-7q]

    คุณสมบัติของทุกข์ [6721-7q]

    Q : ธรรมะ 5 ข้อ ที่เมื่อผู้ฟังอยู่สามารถที่จะหยั่งลงสู่ความเห็นที่ถูกต้องได้ จำเป็นต้องมีครบทั้ง 5 ข้อหรือไม่ ?
    A : ธรรมะ 5 ข้อ คือ1) ไม่วิพากษ์วิจารณ์คำพูด 2) ไม่วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด 3) ไม่วิพากษ์วิจารณ์ตน 4) เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน 5) ฟังธรรมมนสิการโดยแยบคาย หากไม่สามารถปฎิบัติได้ทั้ง 5 ข้อ ก็ควรปฏิบัติในข้อที่มีจิตไม่ฟุ้งซ่านคือจิตเป็นสมาธิ และข้อที่ฟังธรรมมนสิการโดยแยบคายคือวิปัสสนา ประกอบกัน 2 ส่วนทั้งสมถะและวิปัสสนา แต่ถ้าหากปฏิบัติได้ครบทุกข้อจะดีที่สุด
     
    Q : คำว่า อีโก้ (Ego) สูง เจ้ายศเจ้าอย่าง ยึดถืออัตตาตัวตนสูง อุปาทานในขันธ์ 5 มีความหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
    A : คำว่าอีโก้สูง เจ้ายศเจ้าอย่าง อัตตาตัวตนสูงในทางคำสอน หมายถึง ความมี “มานะ” คือความรู้สึกเป็นตัวตน “อุปาทาน” หมายถึง ความยึดถือ “ขันธ์ 5” หมายถึง กองของทุกข์ 5 กอง (กองของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) / อุปาทานขันธ์ 5 ไม่ใช่มานะ แต่เพราะมีความยึดถือในขันธ์ 5 จึงเกิดมานะ อุปทานเกิดจากตัณหา อุปาทานก็ตาม ตัณหาก็ตามเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เพราะมีตัณหาจึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานจึงมีภพ เพราะมีภพจึงมีการเกิด (การก้าวลง) หมายถึง จิตดิ่งปักลงไปว่า “สิ่งนี้มีในตน ตนมีในสิ่งนั้น สิ่งนั้นเป็นตน ตนเป็นสิ่งนั้น” เมื่อมีการก้าวลงจึงมีอัตตาขึ้นมา  
     
    Q : ถ้าเรามีอุปาทานความยึดถือควรแก้ไขอย่างไร?
    A : ปฎิบัติตามมรรค 8 ถ้าเรามีศีล สมาธิ ปัญญา เราจะไม่เพลินไม่พอใจ เมื่อไม่เพลินไม่พอใจความยึดถือก็จะไม่เกิด เมื่อเกิดไม่ได้ความยึดถือก็ดับไป ความเป็นตัวตนมานะก็ดับไป  
     
    Q : วิธีละสักกายทิฏฐิอัตตาตัวตน?
    A : ถ้าเรามีสัมมาทิฎฐิมีปัญญาที่จะเข้าใจว่า มันไม่ใช่อัตตาตัวตนของเร

    • 52 min
    แก้ความคิดอกุศล [6720-7q]

    แก้ความคิดอกุศล [6720-7q]

    Q : เมื่อมีความคิดในทางลบทางอกุศล ควรทำอย่างไร?
    A : จิตเมื่อตริตรึกไปในสิ่งไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง หากเราลืมเผลอเพลินนั่นคือเราไม่มีสติ เราต้องตั้งสติด้วยการเจริญอนุสติ 10 เจริญสติปัฎฐาน 4 เมื่อสติเรามีกำลังก็จะสามารถสังเกตแยกแยะ จะทำให้ความคิดที่ผ่านเข้า-ออกถูกป้องกันให้อยู่ในกุศลธรรมได้ดีมากขึ้น เปรียบดังกับยาม (สติ) จะอยู่ที่ประตู (ใจ) ได้ ก็ต้องมีป้อมยาม (ลมหายใจ) สังเกตดูคนเข้า-ออก (ความคิดที่ผ่านไป-มาดีบ้างไม่ดีบ้าง, กลิ่นอาหารที่ผ่านเข้า-ออกทางรูจมูก, เสียงที่ผ่านเข้าออกทางช่องทางหู) ซึ่งยามจะสังเกตดูได้ก็ในป้อมยามนี้
     
    Q : จิตกับความคิดไม่ใช่อย่างเดียวกัน
    A : จิตก็อย่างหนึ่งความคิดก็อย่างหนึ่งใจก็อย่างหนึ่ง เราจะเลือกที่จะให้จิตคิดหรือไม่คิดเราต้องเลือกได้ เราจะคิดหรือหยุดคิดเราต้องเลือกได้ เราต้องตั้งสติสังเกตได้ จุดที่เราตั้งไม่ได้เพราะเราเพลินไป พอเรายับยั้งได้ฉุกคิดได้ตั้งสติได้นั่นคือไม่เผลอไม่เพลิน 
     
    Q : โลกียฌานและโลกุตรฌานเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
    A : ทั้งโลกียฌานและโลกุตรฌานล้วนต้องอาศัยสติมีสมาธิเหมือนกัน ฌานคือการเพ่งการเอาจิตจดจ่อ สมาธิคือการรวมลงเป็นอารมณ์อันเดียว ส่วนโลกียฌานคือสมาธิที่ยังเกี่ยวเนื่องกับโลกกับของหนักมีทั้งสัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิ โลกุตรฌานคือการนำสมาธิที่เป็นสัมมาทิฐิมาใช้ให้อยู่ในลักษณะเหนือบุญเหนือบาป เห็นโดยความเป็นของปฏิกูล เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา เห็นตามอริยสัจสี่แบบนี้คือจะไปสู่ระดับเหนือโลกเหนือบุญเหนือบาป
     
    Q : จิตตั้งมั่น สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน 4 เหมือนกัน เข้าใจถูกหรือไม่? 
    A : สัมมาสติคือสติปัฏฐาน 4 จะทำให้

    • 54 min
    การระลึกชาติ [6719-7q]

    การระลึกชาติ [6719-7q]

    Q : การระลึกชาติได้ มีจริงไหม?
    A : การระลึกถึงไม่ว่าจะระลึกถึงอดีตหรืออนาคตก็ระลึกถึงอยู่ในปัจจุบัน ถ้าเรามีอดีตนั่นก็หมายความว่าเรามีปัจจุบันและอนาคต ในตำราไว้ว่าการระลึกชาติก่อนได้เป็นความสามารถในส่วนของปัญญาเรียกว่า “บุพเพนิวาสานุสติญาณ” คือปัญญาที่ทำให้ระลึกตามได้ว่าเมื่อก่อนเป็นอะไรอยู่ที่ไหน โดยเหตุแห่งการระลึกชาติได้นั้นคือสมาธิต้องมีสมาธิจึงจะมีปัญญา ในข้อนี้ท่านกล่าวถึง “อภิญญา5” เตือนเอาไว้ว่าหากคนไม่ศรัทธาไม่เชื่อก็จะบอกว่านั่นเป็นเพียงมายากลคือมีปัญญาแต่ไม่มีศรัทธา หากคนที่ศรัทธาอย่างเดียวก็จะถูกหลอกได้ง่ายคือมีศรัทธาแต่ไม่มีปัญญา เพราะฉะนั้นศรัทธาและปัญญาจึงต้องไปด้วยกันสองอย่างต้องพอ ๆ กันเราจึงจะเข้าใจรู้เห็นสิ่งของที่พิเศษนี้ได้
     
    Q : ทำบุญให้ทานเพราะโลภได้บุญหรือไม่?
    A : การให้ทานนั้นได้บุญ แต่หากให้ทานแล้วมีความโลภ บุญที่ได้นั้นจะเศร้าหมอง การเดินตามมรรค 8 จะทำให้ความเศร้าหมองลดลง เป็นกระบวนการที่เมื่อเราทำแล้วความอยากก็จะลดลงไปด้วย ดั่งที่พระอานนท์ท่านกล่าวไว้ว่า “เจริญฉันทะเพื่อลดฉันทะ” 
     
    Q : สมาธิที่มากเกินไปทำให้เกียจคร้าน ไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติขั้นสูงขึ้นไป จริงหรือไม่ ?
    A : สมาธิถ้ามันไม่สมดุลกับความเพียร ความเพียรน้อยไปสมาธิมากไปก็จะทำให้เกียจคร้าน แต่ถ้าความเพียรมากไปสมาธิน้อยไปก็จะทำให้ฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้นมันต้องประกอบกันทั้งหมดให้เหมาะสม ในลักษณะที่ให้จิตเราละอาสวะกิเลสได้ 
     
    Q : คนมักใช้คำว่า "อนิจจังไม่เที่ยง" เพื่อปลอบใจให้คลายทุกข์แต่พอสบายใจแล้วก็ปล่อยปะละเลยไป
    A : ท่านยกเรื่อง “โลกธรรม 8” เราต้องเข้าใจทั้ง 2 ฝั่ง ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ

    • 57 min
    คาถาชนะมาร [6718-7q]

    คาถาชนะมาร [6718-7q]

    Q : คาถาใดใช้ขจัดมาร และพระไพรีพินาศ ศัตรูพินาศจริงหรือ?
    A : มารคือสิ่งที่จะมาขัดขวางให้เราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่สำเร็จ ท่านสอนว่ามารมี 5 ประเภท คือมารที่เป็นคน กิเลสมาร มารที่เป็นขันธ์และกรรมก็เป็นมาร วิสัยของมารคือจะคอยขัดขวางล้างผลาญความดี หากเราไม่ให้อาหารแก่มาร เช่น ใครมาด่ามาว่า เราก็ยังดำรงตนอยู่ในมรรค 8 ได้ ไม่โกรธไม่ขัดใจ ไม่ด่าตอบ นั่นคือจิตเราไม่ไปตามกระแสของมาร มารก็จะทำอะไรเราไม่ได้ ไม่ใช่ว่ามารไม่มี และหากเราเห็นพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งแล้วเรายังระลึกถึงคำสอนของท่านอยู่รวมลงในองค์ 8 อันประเสริฐ มารทำอะไรเราไม่ได้ก็จะไปเอง
     
    Q : วิธีชนะมารที่ตัวเรา?
    A : ชนะมารได้ด้วยการไม่ให้อาหารมารไม่ทำตาม มารพอเราไม่ไปตามอำนาจของมันเดี๋ยวมันก็ไปเอง การชนะมารคือชนะตัวเราเอง พอเราควบคุมจิตเราให้อยู่ในธรรมะได้ ทรงอยู่ในธรรมได้ เราชนะตรงนี้ได้ เราก็จะชนะทุกอย่าง
     
    Q : เพิ่มพลังให้จิต? 
    A : วิธีเพิ่มพลังให้จิตเรามีกำลัง คือให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้เป็นผู้ที่มีกำลังใจสูง เข้าใจว่ามีทุกข์มีสุข ให้ทำความดีต่อไป
     
    Q : นอนสวดมนต์ได้หรือไม่?
    A : หากเราทำกิริยาใด ๆ แล้วประกอบด้วยความขี้เกียจ นั่นเป็นบาป เราควรตั้งอยู่ในกิริยาที่สำรวมเหมาะสม
     
    Q : กระดูกกับความดี?  
    A : การที่เราจะระลึกถึงบรรพบุรุษหรือใครที่ทำดีกับเราเป็นสิ่งที่ทำได้ การระลึกถึงผู้มีพระคุณต่อเราเรียกว่าเทวตานุสติ
     
    Q : พูดความจริงกับบาป
    A : หากมีเจตนาโกหกนั่นเป็น “บาป” เช่น เห็นบอกไม่เห็น ได้ยินบอกไม่ได้ยิน คือมีเจตนาโกหก หรืออีกนัยยะหนึ่งคือพอมีคนถามถึงความไม่ดีของคนอื่นด้วยเจตนาที่จะให้เขาระวัง ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เขาแตก

    • 1 hr 1 min

Top Podcasts In Society & Culture

Estelle Midi
RMC
Open Relationship
THE STANDARD
Radio Rental
Tenderfoot TV & Audacy
How To Destroy Everything
HTDE
情感电台|夜听|电台|轻松入睡|成长|治愈|故事
竹同兰极
บันทึกนึกขึ้นได้
ง่วง

You Might Also Like

6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
1 สมการชีวิต
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
5 นิทานพรรณนา
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
3 ใต้ร่มโพธิบท
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
4 คลังพระสูตร
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
2 จิตตวิเวก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

More by วัดป่าดอนหายโศก

5 นิทานพรรณนา
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
2 จิตตวิเวก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
3 ใต้ร่มโพธิบท
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
1 สมการชีวิต
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
4 คลังพระสูตร
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana