283 episodes

ในพระไตรปิฏกมีอะไร ทำความเข้าใจไปทีละข้อ, เปิดไปทีละหน้า, ให้จบไปทีละเล่ม, พบกับพระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณโณ และ คุณเตือนใจ สินธุวณิก, ล้อมวงกันมาฟัง มั่วสุมกันมาศึกษา จะพบขุมทรัพย์ทางปัญญา ในช่วง "ขุดเพชรในพระไตรปิฏก". New Episode ทุกวันเสาร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏ‪ก‬ Panya Bhavana Foundation

    • Religion & Spirituality

ในพระไตรปิฏกมีอะไร ทำความเข้าใจไปทีละข้อ, เปิดไปทีละหน้า, ให้จบไปทีละเล่ม, พบกับพระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณโณ และ คุณเตือนใจ สินธุวณิก, ล้อมวงกันมาฟัง มั่วสุมกันมาศึกษา จะพบขุมทรัพย์ทางปัญญา ในช่วง "ขุดเพชรในพระไตรปิฏก". New Episode ทุกวันเสาร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    เครื่องสอบพรหมจรรย์ “เมถุนสังโยค” [6725-6t]

    เครื่องสอบพรหมจรรย์ “เมถุนสังโยค” [6725-6t]

    Q&A จากคำถามในสัญญาทั้ง 7 ประการ จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีลำดับในการเจริญสัญญา คำตอบ ไม่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น ต้นทองกวาวจะบอกว่ามีสีแสด.. ก็ใช่ หรือใบดก.. ก็ใช่ หรือจะมีลำต้นดำ.. ก็ใช่ คือทั้งหมดก็เป็นลักษณะของต้นทองกวาวเช่นเดียวกับสัญญา 7 ประการ เมื่อเจริญสัญญาอย่างหนึ่ง สัญญาอื่น ๆ ก็เจริญขึ้นมาด้วย เปรียบเสมือนทางที่จะขึ้นไปบนยอดเขา (นิพพาน) จะขึ้นจากทิศใดก็สามารถขึ้นไปถึงยอดเขาได้เหมือนกัน
     
    ข้อที่ #50_เมถุนสูตร ว่าด้วยเมถุนสังโยค 7 ระดับ เป็นเรื่องราวของชาณุสโสณิพราหมณ์ที่มีความสงสัยในพระพุทธเจ้าที่พูดว่าตนเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งที่เคยอยู่ครองเรือนมาก่อน มีปราสาทถึง 3 หลังและแวดล้อมด้วยนางรำ ซึ่งแตกต่างกับลัทธิของตนที่ต้องประพฤติพรหมจรรย์ตามระยะเวลาถึง 48 ปี จึงจะเรียกได้ว่า “บรรลุอรหันต์” 
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงผู้ใดผู้หนึ่งว่า “เขาประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์ บริบูรณ์ บุคคลนั้น เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงเรานั้นแล เพราะเราประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์ บริบูรณ์” และทรงได้แจกแจงเมถุนสังโยคทั้ง 7 ระดับแก่ ชาณุสโสณิพราหมณ์จนเกิดความปิติเลื่อมใสปฏิญาณตนขอเป็นอุบาสก
    *ถึงแม้ว่าการประพฤติพรมหมจรรย์นั้นจะไม่มีกิจกรรมของคนคู่ก็จริงอยู่ แต่ถ้ายังยินดีในสัมผัสทางกาย ยินดีในการพูดสนุกล้อเล่น ยังยินดีในเสียงที่ได้ยิน ยังยินดีในรูปที่ตาเห็น ยังหวนระลึกถึงรูปเสียงในคนนั้นอยู่ ยังนึกถึงกามคุณ 5 และยังยินดีในกามของเหล่าเทวดาทั้งหลายอยู่ เราเรียกผู้นั้นว่า ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริ

    • 55 min
    เหตุแห่งความสิ้นอาสวะ [6724-6t]

    เหตุแห่งความสิ้นอาสวะ [6724-6t]

    ข้อที่ #78_สุขโสมนัสสสูตร ผู้ประกอบด้วยธรรม 6 การนี้ต่อไปนี้ เป็นผู้ปรารภเหตุแห่งความสิ้นอาสวะและมากด้วยสุขโสมนัสในปัจจุบัน (สุขโสมนัสที่เกิดจากเนกขัมมะสุข คือ สุขที่เกิดจากความสงบในภายใน) ได้แก่
    1.    เป็นผู้ยินดีในธรรม (ยินดีในกุศลธรรม)
    2.    เป็นผู้ยินดีในภาวนา (ทำให้เจริญ / พัฒนา) – พัฒนาตรงจุดที่ยังไม่ดี ให้ดีขึ้นมา
    3.    เป็นผู้ยินดีในการละ (ละสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมทั้งหลาย)
    4.    เป็นผู้ยินดีในปวิเวก (สงัดจากเสียงและการคลุกคลีด้วยหมู่)
    5.    เป็นผู้ยินดีในความไม่พยาบาท (คิดปองร้ายเพ่งไปที่ภายนอก) เริ่มจากความไม่เพลินไปในปฏิฆะ(ความขัดเคือง) -> โกรธ(คิดอยู่ภายใน) -> พยาบาท (เพ่งไปที่ภายนอก)
    6.    เป็นผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเครื่องเนิ่นช้า (นิพพาน) พัฒนากุศลธรรมให้เจริญยิ่งขึ้น
     
    *ทัศนคติหรือความคิด (mindset) บางอย่างก็เป็นเหตุทำให้เกิดความเนิ่นช้าในกุศลธรรม เราจึงต้องมี “สติ” เพื่อแยกแยะว่า ความคิดใดทำให้เกิดกุศลธรรมก็ควรเจริญ ส่วนความคิดใดที่เป็นเหตุให้เกิดอกุศลก็ควรละ
     
    #79_อธิคมสูตร ธรรมที่เป็นเหตุให้บรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุหรือทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญได้ 
    เป็นผู้ฉลาดในความเจริญ (เหตุทำให้เกิดกุศลธรรม)เป็นผู้ฉลาดในความเสื่อม (เหตุทำให้เกิดอกุศลธรรม)เป็นผู้ฉลาดในอุบาย (วิธีการ / ทางแก้)สร้างฉันทะเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ (ความพอใจในการทำกุศลธรรม)รักษากุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้ว ทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อมด้วยการทำติดต่อ (ทำติดต่อต่อเนื่อง) 
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต อรหัตตวรรค

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 57 min
    สัญญาพาพ้นภัย [6723-6t]

    สัญญาพาพ้นภัย [6723-6t]

    ในข้อที่ 48_ปฐมสัญญาสูตร และ ข้อที่ 49_ทุติยสัญญาสูตร ทั้งสองพระสูตรนี้ ว่าด้วยสัญญา 7 ประการ ที่เมื่อเจริญทำให้มากแล้วจะมีนิพพานเป็นที่หยั่งลง เพราะอาศัยเหตุที่เมื่อเจริญให้มากพอใน
    (1) เจริญ อสุภสัญญา แล้ว จะละเมถุนธรรมได้
    (2) เจริญ มรณสัญญา แล้ว จะละความติดใจในชีวิตได้
    (3) เจริญ อาหาเร ปฏิกูลสัญญา แล้ว จะช่วยละความมัวเมาในรสอาหารได้
    (4) เจริญ สัพพโลเก อนภิรตสัญญา แล้ว จะละความไหลหลงในวิจิตรของโลกได้
    (5) เจริญ อนิจจสัญญา แล้ว จะละความหลงในลาภสักการะและเสียงสรรเสริญเยินย่อได้
    (6) เจริญ อนิจเจ ทุกขสัญญา แล้ว จะละความประมาทไม่ประกอบในความเพียรได้
    (7) เจริญ ทุกเข อนัตตสัญญา แล้ว จะละความยึดถือในตัวตนได้
     
    “สิ่งใดที่อาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยง สิ่งนั้นจึงเป็นทุกข์ (แปรเปลี่ยนทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้) เมื่อเป็นทุกข์เพราะอาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดดับ จึงเป็นอนัตตา เมื่อใดรู้เห็นตามความเป็นจริง (เห็นไตรลักษณ์) ในสิ่งที่เป็นทุกข์ (ขันธ์ 5) นี้แล้ว จะไม่กำหนัด ไม่มัวเมา ไม่เพลิดเพลินในสิ่งที่เป็นทุกข์ เพราะเห็นโทษภัยในทุกข์นั้น”
     
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต มหายัญญวรรค

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 54 min
    กองแห่งไฟ [6722-6t]

    กองแห่งไฟ [6722-6t]

    การมาทำความเข้าใจอย่างถูกต้องในเรื่องของจิตว่า “จิต และ วิญญาณ เป็นคนละอย่างกัน” โดยจิตมายึดถือวิญญาณโดยความเป็นตัวตน เมื่อวิญญาณไปตั้งอยู่ในรูป เวทนา สัญญา และสังขาร จิตก็ยึดถือสิ่งเหล่านั้นโดยความเป็นตัวตนขึ้นมา ซึ่งจะเห็นได้ใน สังคีติสูตร ที่ได้กล่าวถึงวิญญาณฐิติ 4 ประการ ตามนัยยะของท่านพระสารีบุตร และในข้อที่ #44_สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตรก็ได้อธิบายถึงวิญญาณฐิติ 7 ประการ (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) โดยประการที่ 1-4 พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแบ่งตามความละเอียดของรูปและนาม (สัญญา) และประการที่ 5-7 ทรงแบ่งตามอรูปฌาน การมาศึกษาตรงนี้จะทำให้เราเข้าใจอุปาทานขันธ์ 5 และวางความยึดถือลงได้
    ข้อที่ #45_สมาธิปริกขารสูตร ว่าด้วยบริขารแห่งสมาธิ หมายถึงองค์ประกอบของมรรคสมาธิ คือ สัมมาสมาธิที่แวดล้อมประกอบไปด้วยมรรคทั้ง 7 อย่าง
    ข้อที่ #46_ปฐมอัคคิสูตร และ ข้อที่ #47_ทุติยอัคคิสูตร ว่าด้วยไฟ สูตรที่ 1-2 กล่าวถึง ไฟที่ควรละอยู่ 3 กองได้แก่ ไฟ คือ ราคะ โทสะ และโมหะ และไฟที่บูชา (การบำรุง) ได้แก่ อาหุเนยยัคคิ คหปตัคคิ ทักขิเณยยัคคิ และไฟที่ต้องจุด คอยดู คอยดับ คอยเก็บตามกาลอันควรได้แก่ กัฏฐัคคิ (ไฟที่เกิดจากไม้)
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต มหายัญญวรรค

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 57 min
    ปรับทิฐิ ด้วยปัญญา [6721-6t]

    ปรับทิฐิ ด้วยปัญญา [6721-6t]

    เมื่อเราเห็นข้อปฏิบัติหรือสิ่งไม่ดีของผู้อื่นแล้ว เราเลือกที่จะใช้ความดีปฏิบัติตอบ ให้เขาได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นคนดีขึ้นมาได้ เป็นการรักษากันและกัน “ด้วยความดี”
    จากคำถามใน #ข้อ100 กกุธเถรสูตร “ศาสดาท่านนี้จักทำกรรมใด เขาเองก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น” เป็นอุบายการรักษาจิตของสาวก (ลูกศิษย์) ที่เมื่อเห็นอาจารย์ของตนปฏิบัติไม่ดีแล้ว เลือกที่จะรักษาจิตให้มีความดี ให้มีเมตตา
    สีลสูตร #ข้อ107 ภิกษุถึงพร้อม (จนสุดถึงขั้นผล) ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ความหมายเหมือนกันกับ อเสขสูตร#ข้อ108 ภิกษุประกอบด้วย อริยสีลขันธ์ (ขันธ์ คือ กอง กลุ่มก้อน) สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
    จาตุททิสสูตร #ข้อ109 ภิกษุผู้เที่ยวไปในทิศทั้ง 4 (พระอรหันต์) เป็นผู้มี ศีล พหูสูต สันโดษด้วยปัจจัย 4 ได้ฌาน 4 ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ ไส้ในเหมือนกันกับ อรัญญสูตร #ข้อ110 ภิกษุผู้ควรอยู่ในป่า (พระอรหันต์) ต่างกันประการที่ 3 คือ ปรารภความเพียร มีอาสวะสิ้นแล้ว จะอยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ จะไปที่ไหน ก็ไปได้
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ผาสุวิหารวรรค

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 51 min
    พ้นแล้วด้วยจิตและปัญญา [6720-6t]

    พ้นแล้วด้วยจิตและปัญญา [6720-6t]

    “ธรรม” ที่จะเป็นเหตุให้มีการบรรลุธรรมขั้นสูง คือ เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ (การหลุดพ้นด้วยจิตกับปัญญา) ซึ่งเมื่อเจริญให้มากซึ่งสมถะและวิปัสสนา จะเป็นผู้ถอนรากตัณหาและอวิชชาออกได้ 
     
    #ข้อ71_ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร และ #ข้อ72_ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร เมื่อปฏิบัติร่วมกัน (มีข้อธรรมที่เหมือนกันอยู่ 1 ข้อ คือ อนิจจสัญญา) จนมีเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติเป็นผลแล้ว ย่อมเป็นผู้ละอวิชชา, การเกิดในภพใหม่, ตัณหา, สังโยชน์เบื้องต่ำและเบื้องสูงได้หมดสิ้น
     
    #ข้อ73_ปฐมธัมมวิหารีสูตร การเป็นผู้ที่อยู่ด้วยธรรมคือ ต่อให้เป็นผู้ที่เรียนธรรมมามากจนเทศนาบอกต่อได้ ท่องจำ และใคร่ครวญในธรรมนั้น แต่ถ้าห่างเหินการหลีกเร้น ไม่ทำความสงบในจิตใจ ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม เน้นมาในเรื่องสมถะ 
     
    #ข้อ74_ทุติยธัมมวิหารีสูตร เน้นมาในวิปัสสนา ทำปัญญาให้ยิ่ง คือกิเลสต้องลดลง กำจัดกิเลสออกได้ โดยการนำหลักธรรมที่เหมือนกันกับในปฐมธัมมวิหารีสูตรนี้ นำมาปฏิบัติให้เข้าสู่จิตใจ จนให้ผลเป็นความสงบใจ แล้วให้เกิดปัญญา
     
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต โยธาชีวรรค ข้อที่ 71-74

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 52 min

Top Podcasts In Religion & Spirituality

محمد اللحيدان - رواية حفص عن عاصم -  Mohammed Al-Lohaidan - Rewayat Hafs A'n Assem |
موقع المكتبة الصوتية للقرآن الكريم
Ahmed Khedr القارئ أحمد خضر
Ahmed Khedr تلاوات القارئ أحمد خضر
Bishop Barron’s Sunday Sermons - Catholic Preaching and Homilies
Bishop Robert Barron
القارئ محمد اللحيدان
Unknown
القارئ محمد اللحيدان
Unknown
Prières inspirées EMCI TV
EMCI TV

You Might Also Like

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
5 นิทานพรรณนา
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
4 คลังพระสูตร
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
1 สมการชีวิต
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
3 ใต้ร่มโพธิบท
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
2 จิตตวิเวก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

More by วัดป่าดอนหายโศก

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
5 นิทานพรรณนา
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
4 คลังพระสูตร
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
3 ใต้ร่มโพธิบท
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
2 จิตตวิเวก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
1 สมการชีวิต
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana