280 episodes

ในพระไตรปิฏกมีอะไร ทำความเข้าใจไปทีละข้อ, เปิดไปทีละหน้า, ให้จบไปทีละเล่ม, พบกับพระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณโณ และ คุณเตือนใจ สินธุวณิก, ล้อมวงกันมาฟัง มั่วสุมกันมาศึกษา จะพบขุมทรัพย์ทางปัญญา ในช่วง "ขุดเพชรในพระไตรปิฏก". New Episode ทุกวันเสาร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏ‪ก‬ Panya Bhavana Foundation

    • Religion & Spirituality

ในพระไตรปิฏกมีอะไร ทำความเข้าใจไปทีละข้อ, เปิดไปทีละหน้า, ให้จบไปทีละเล่ม, พบกับพระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณโณ และ คุณเตือนใจ สินธุวณิก, ล้อมวงกันมาฟัง มั่วสุมกันมาศึกษา จะพบขุมทรัพย์ทางปัญญา ในช่วง "ขุดเพชรในพระไตรปิฏก". New Episode ทุกวันเสาร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    กองแห่งไฟ [6722-6t]

    กองแห่งไฟ [6722-6t]

    การมาทำความเข้าใจอย่างถูกต้องในเรื่องของจิตว่า “จิต และ วิญญาณ เป็นคนละอย่างกัน” โดยจิตมายึดถือวิญญาณโดยความเป็นตัวตน เมื่อวิญญาณไปตั้งอยู่ในรูป เวทนา สัญญา และสังขาร จิตก็ยึดถือสิ่งเหล่านั้นโดยความเป็นตัวตนขึ้นมา ซึ่งจะเห็นได้ใน สังคีติสูตร ที่ได้กล่าวถึงวิญญาณฐิติ 4 ประการ ตามนัยยะของท่านพระสารีบุตร และในข้อที่ #44_สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตรก็ได้อธิบายถึงวิญญาณฐิติ 7 ประการ (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) โดยประการที่ 1-4 พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแบ่งตามความละเอียดของรูปและนาม (สัญญา) และประการที่ 5-7 ทรงแบ่งตามอรูปฌาน การมาศึกษาตรงนี้จะทำให้เราเข้าใจอุปาทานขันธ์ 5 และวางความยึดถือลงได้
    ข้อที่ #45_สมาธิปริกขารสูตร ว่าด้วยบริขารแห่งสมาธิ หมายถึงองค์ประกอบของมรรคสมาธิ คือ สัมมาสมาธิที่แวดล้อมประกอบไปด้วยมรรคทั้ง 7 อย่าง
    ข้อที่ #46_ปฐมอัคคิสูตร และ ข้อที่ #47_ทุติยอัคคิสูตร ว่าด้วยไฟ สูตรที่ 1-2 กล่าวถึง ไฟที่ควรละอยู่ 3 กองได้แก่ ไฟ คือ ราคะ โทสะ และโมหะ และไฟที่บูชา (การบำรุง) ได้แก่ อาหุเนยยัคคิ คหปตัคคิ ทักขิเณยยัคคิ และไฟที่ต้องจุด คอยดู คอยดับ คอยเก็บตามกาลอันควรได้แก่ กัฏฐัคคิ (ไฟที่เกิดจากไม้)
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต มหายัญญวรรค

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 57 min
    ปรับทิฐิ ด้วยปัญญา [6721-6t]

    ปรับทิฐิ ด้วยปัญญา [6721-6t]

    เมื่อเราเห็นข้อปฏิบัติหรือสิ่งไม่ดีของผู้อื่นแล้ว เราเลือกที่จะใช้ความดีปฏิบัติตอบ ให้เขาได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นคนดีขึ้นมาได้ เป็นการรักษากันและกัน “ด้วยความดี”
    จากคำถามใน #ข้อ100 กกุธเถรสูตร “ศาสดาท่านนี้จักทำกรรมใด เขาเองก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น” เป็นอุบายการรักษาจิตของสาวก (ลูกศิษย์) ที่เมื่อเห็นอาจารย์ของตนปฏิบัติไม่ดีแล้ว เลือกที่จะรักษาจิตให้มีความดี ให้มีเมตตา
    สีลสูตร #ข้อ107 ภิกษุถึงพร้อม (จนสุดถึงขั้นผล) ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ความหมายเหมือนกันกับ อเสขสูตร#ข้อ108 ภิกษุประกอบด้วย อริยสีลขันธ์ (ขันธ์ คือ กอง กลุ่มก้อน) สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
    จาตุททิสสูตร #ข้อ109 ภิกษุผู้เที่ยวไปในทิศทั้ง 4 (พระอรหันต์) เป็นผู้มี ศีล พหูสูต สันโดษด้วยปัจจัย 4 ได้ฌาน 4 ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ ไส้ในเหมือนกันกับ อรัญญสูตร #ข้อ110 ภิกษุผู้ควรอยู่ในป่า (พระอรหันต์) ต่างกันประการที่ 3 คือ ปรารภความเพียร มีอาสวะสิ้นแล้ว จะอยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ จะไปที่ไหน ก็ไปได้
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ผาสุวิหารวรรค

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 51 min
    พ้นแล้วด้วยจิตและปัญญา [6720-6t]

    พ้นแล้วด้วยจิตและปัญญา [6720-6t]

    “ธรรม” ที่จะเป็นเหตุให้มีการบรรลุธรรมขั้นสูง คือ เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ (การหลุดพ้นด้วยจิตกับปัญญา) ซึ่งเมื่อเจริญให้มากซึ่งสมถะและวิปัสสนา จะเป็นผู้ถอนรากตัณหาและอวิชชาออกได้ 
     
    #ข้อ71_ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร และ #ข้อ72_ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร เมื่อปฏิบัติร่วมกัน (มีข้อธรรมที่เหมือนกันอยู่ 1 ข้อ คือ อนิจจสัญญา) จนมีเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติเป็นผลแล้ว ย่อมเป็นผู้ละอวิชชา, การเกิดในภพใหม่, ตัณหา, สังโยชน์เบื้องต่ำและเบื้องสูงได้หมดสิ้น
     
    #ข้อ73_ปฐมธัมมวิหารีสูตร การเป็นผู้ที่อยู่ด้วยธรรมคือ ต่อให้เป็นผู้ที่เรียนธรรมมามากจนเทศนาบอกต่อได้ ท่องจำ และใคร่ครวญในธรรมนั้น แต่ถ้าห่างเหินการหลีกเร้น ไม่ทำความสงบในจิตใจ ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม เน้นมาในเรื่องสมถะ 
     
    #ข้อ74_ทุติยธัมมวิหารีสูตร เน้นมาในวิปัสสนา ทำปัญญาให้ยิ่ง คือกิเลสต้องลดลง กำจัดกิเลสออกได้ โดยการนำหลักธรรมที่เหมือนกันกับในปฐมธัมมวิหารีสูตรนี้ นำมาปฏิบัติให้เข้าสู่จิตใจ จนให้ผลเป็นความสงบใจ แล้วให้เกิดปัญญา
     
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต โยธาชีวรรค ข้อที่ 71-74

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 52 min
    ธรรมที่เป็นเหตุให้ชื่อว่า “นิททสภิกษุ” [6719-6t]

    ธรรมที่เป็นเหตุให้ชื่อว่า “นิททสภิกษุ” [6719-6t]

    คำว่า “นิททส” แปลว่า มีอายุไม่ถึง 10 ปี (บวชไม่ถึง 10 พรรษา) เป็นคำที่พวกเดียรถีย์ใช้เรียกนิครนถ์ผู้ประพฤติพรหมจรรย์กำหนดครบ 12 ปีแล้วจะสำเร็จเป็นอรหันต์ แต่ถ้าตายลงก่อนที่จะครบกำหนด ก็จะกลับมาเกิดใหม่ในจำนวนปีที่เหลือแล้วได้ความเป็นอรหันต์ในภพนั้น โดยความเป็นอรหันต์จะวัดจากระยะเวลาในการประพฤติพรหมจรรย์ครบ 12 ปี
     
    “นิททสภิกษุ” ตามความหมายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ไว้คือ พระอรหันต์ ไม่มีการกลับมาเกิดอีก และไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลาในการประพฤติธรรม แต่ขึ้นอยู่กับหลักคุณธรรม 7 ประการ ซึ่งได้ทรงแสดงไว้ 2 วาระด้วยกัน คือ วาระของท่านพระสารีบุตรในข้อที่ #42_ปฐมนิททสสูตร และ วาระของท่านพระอานนท์ในข้อที่ #43_ทุติยนิททสสูตร ว่าด้วยนิททสวัตถุ โดยทั้งสูตรที่ 1 และสูตรที่ 2 นี้ ได้แสดงถึงทางปฏิบัติ (เหตุ) คือ อรหัตมรรค ให้ไปสู่ผล คือ อรหัตผล และในทุติยนิททสสูตรนั้นมีหลักธรรมที่เหมือนกันกับสัปปุริสธรรม 7 ประการ ตามนัยยะของเสขปฏิปทาสูตรซึ่งบรรยายโดยพระอานนท์ 
     
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต เทวตาวรรค

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 51 min
    ผู้ทำ “จิต” ให้อยู่ในอำนาจ [6718-6t]

    ผู้ทำ “จิต” ให้อยู่ในอำนาจ [6718-6t]

    การไม่ให้จิตตกไปตามอำนาจของกิเลสแต่จะให้มาอยู่ในอำนาจของมรรค 8 ได้นั้น ต่างต้องอาศัยเหตุปัจจัย ซึ่งเหตุปัจจัยหลักนั้นก็คือการมี “สติ” คือจะต้องมีสติสัมปชัญญะเห็นเหตุปัจจัยแห่งการเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดับไปของสมาธิในขั้นต่าง ๆ กล่าวคือจะต้องเป็นผู้ฉลาดในสมาธิและกระทำสมาธิโดยชำนาญในทุกอริยบถ มีสติปัฏฐาน 4 มีสติรู้ชัดเห็นการเกิด-ดับในทุกสภาวะ จะเป็นผู้ทำจิตให้ตกอยู่ในอำนาจหรือมีอำนาจเหนือจิตได้
     
    ในข้อที่ #40_ปฐมวสสูตร และ ข้อที่ #41_ทุติยวสสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้จิตตกอยู่ในอำนาจ สูตรที่ ๑ และสูตรที่ ๒ ประกอบด้วยธรรม 7 ประการเหมือนกัน แต่ทุติยวสสูตรจะเป็นนัยยะของท่านพระสารีบุตร ธรรม 7 ประการ คือ
     
    1.    เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ - รู้เหตุปัจจัย คุณลักษณะ และคุณสมบัติของสมาธิ
    2.    เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ - รู้เหตุที่ทำให้เข้าสมาธิได้โดยง่าย ความเป็นสัปปายะ และความอดทนต่ออายตนะ 
    3.    เป็นผู้ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้ - มีสติสัมปชัญญะเต็ม เห็นเหตุเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของสมาธิ
    4.    เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ - เห็นข้อเสียในสมาธิในจุดที่ตนเองอยู่ ละข้อเสียนั้น เห็นคุณในสมาธิขั้นต่อไป แล้วเลื่อนขึ้น
    5.    เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ - ทำสมาธิโดยเอื้อเฟื้อกัน 
    6.    เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ - รู้ความเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนสมาธิสมถะและวิปัสสนา
    7.    เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ - ผลคืออภิญญา 6 ที่เกิดจากสมาธิ 
     
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 43 min
    ขึ้นชื่อว่า “มิตร” [6717-6t]

    ขึ้นชื่อว่า “มิตร” [6717-6t]

    คำว่า “มิตรแท้ หรือ กัลยาณมิตร” มีความสำคัญและมีคุณค่ายิ่ง “มิตร” ที่เรามีอยู่เป็นแบบไหน และเราควรจะปฏิบัติตนหรือเลือกคบมิตรแบบใด 
     
    ในข้อที่ #36_ปฐมมิตตสูตร และ #37_ทุติยมิตตสูตร ว่าด้วยองค์แห่งมิตร 7 ประการ คือ บุคคลที่ประกอบด้วยฐานะ 7 ประการนี้ ควรเข้าไปคบหาเป็นมิตรด้วย โดยในปฐมมิตตสูตร หมายถึง กัลยาณมิตรทั่วไป ส่วนในทุติยมิตตสูตร หมายถึง ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์
     
    “มิตร” ที่เรามีอยู่ไม่ว่าจะเป็นมิตรแบบไหน.. จิตของเราจะต้องประกอบไปด้วยกับเมตตา มองกันด้วยสายตาแห่งความรักใคร่เอ็นดู มีจิตไม่คิดปองร้าย ไม่คิดผูกเวรกับใคร ๆ ถ้าเป็นมิตรเทียมก็ให้มีระยะห่างที่จะไม่คบ ไม่ใช่ด้วยการผูกเวร
     
    #38_ปฐมปฏิสัมภิทาสูตร และ #39_ทุติยปฏิสัมภิทาสูตร (นัยยะของท่านพระสารีบุตร) ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้บรรลุปฏิสัมภิทา (มีปัญญาแตกฉาน) ได้แก่ การมีสติเห็นจิตตามความเป็นจริงว่า จิตหดหู่ ท้อแท้ ฟุ้งซ่านหรือไม่ เห็นเวทนา สัญญา ความวิตกแห่งจิตว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป และ การรู้อุบายในการเกิดและการดับของสภาวะนั้น 
     
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต เทวตาวรรค

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 57 min

Top Podcasts In Religion & Spirituality

Mufti Menk
Muslim Central
Omar Suleiman
Muslim Central
Ustaz Wadi Anuar - Umat Akhir Zaman
AFR
Nouman Ali Khan
Muslim Central
Yasmin Mogahed
Muslim Central
Belal Assaad
Belal Assaad

You Might Also Like

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
5 นิทานพรรณนา
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
4 คลังพระสูตร
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
1 สมการชีวิต
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
3 ใต้ร่มโพธิบท
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
2 จิตตวิเวก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

More by วัดป่าดอนหายโศก

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
2 จิตตวิเวก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
5 นิทานพรรณนา
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
4 คลังพระสูตร
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
3 ใต้ร่มโพธิบท
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
1 สมการชีวิต
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana