48 afleveringen

รอยจารึก...บันทึกสยาม

รอยจารึก...บันทึกสยา‪ม‬ Thai PBS Podcast

    • Tv en film

รอยจารึก...บันทึกสยาม

    รอยจารึก...บันทึกสยาม EP. 48: 90 ปี สถาปนาระบอบรัฐธรรมนูญ

    รอยจารึก...บันทึกสยาม EP. 48: 90 ปี สถาปนาระบอบรัฐธรรมนูญ

    หลังจากประเทศสยามก้าวสู่การเป็นประชาธิปไตยและมีการประกาศใช้ #รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 แต่แล้วในปี พ.ศ. 2476 สยามต้องเผชิญกับความผันผวนทางการเมืองอยู่หลายอย่าง ตั้งแต่ความพยาบามที่จะมีคณะพรรคการเมือง การเสนอเค้าโครงการเศรษฐกิจ การปิดสภาฯ การงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราที่เปรียบเสมือนการถูกยึดอำนาจครั้งแรก การยึดอำนาจโดยทหารฝ่ายคณะราษฎร เพื่อกลับมาใช้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง การเกิดกบฏบวรเดช จนมาถึงการเลือกตั้งครั้งแรก

    เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปีนั้นหลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญเพียงไม่นาน แต่ละเหตุการณ์มีเส้นทางอย่างไรที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเมืองอย่างสำคัญ ฟังในรายการ รอยจารึก...บันทึกสยาม ค่ะ

    • 27 min.
    รอยจารึก...บันทึกสยาม EP. 47: ทองอยู่ พุฒพัฒน์ เส้นทางการเมือง ประชาธิปไตยและพระเจ้าตากสินมหาร

    รอยจารึก...บันทึกสยาม EP. 47: ทองอยู่ พุฒพัฒน์ เส้นทางการเมือง ประชาธิปไตยและพระเจ้าตากสินมหาร

    28 ธันวาคม ในทางประวัติศาสตร์เป็นวันที่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ปราบดาภิเษก "ทองอยู่ พุฒพัฒน์" อดีต ส.ส. จังหวัดธนบุรีคนแรกเมื่อปี พ.ศ. 2476 เป็นผู้ผลักดันให้มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์ที่วงเวียนใหญ่ซึ่งใช้เวลายาวนานถึง 20 ปีนับตั้งแต่ริเริ่มจนก่อสร้างเสร็จ

    ทองอยู่ พุฒพัฒน์ ยังมีบทบาททางการเมืองและการเรียกร้องประชาธิปไตยโดยเฉพาะการเป็นดาวไฮด์ปาร์ค ขึ้นกล่าวโจมตีการทำงานของรัฐบาลในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม รวมถึงการถูกจับกุมในเหตุการณ์ กบฏอดข้าว เบื้องหลังการก่อสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี, เส้นทางการเมือง, การเรียกร้องประชาธิปไตย และบั้นปลายชีวิตของการเข้าสู่เส้นทางธรรม เป็นอย่างไร รายการ รอยจารึก...บันทึกสยาม เล่าให้ฟังค่ะ

    • 29 min.
    รอยจารึก...บันทึกสยาม EP. 46: เบื้องหลังชีวิต พระยาอนุมานราชธน - เสฐียร โกเศศ

    รอยจารึก...บันทึกสยาม EP. 46: เบื้องหลังชีวิต พระยาอนุมานราชธน - เสฐียร โกเศศ

    สำหรับคนที่ชอบอ่านหนังสือคงจะรู้จักนามปากกา เสฐียรโกเศศ เป็นอย่างดีซึ่งเป็นนามปากกาของ พระยาอนุมานราชธน นักปราชญ์ นักเขียนและบุคคลสำคัญของโลกที่ได้รับการยกย่องจากยูเนสโก (UNESCO) เมื่อปี พ.ศ. 2531 มีงานเขียนที่คุ้นและรู้จักกันเป็นอย่างดีเช่น กามนิต, หิโตปเทศ (ซึ่งเขียนร่วมกับ นาคะประทีป) และ ฟื้นความหลัง
    นอกจากงานเขียนหนังสือ ยังดำรงตำแหน่งในหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรมศิลปากร, ราชบัณฑิตยสถาน ฯลฯ แต่เบื้องหลังการดำเนินชีวิตรวมถึงข้อความบนพินัยกรรมที่ส่งต่อไปยังลูกน้อยคนนักที่รู้ รายการ รอยจารึก...บันทึกสยาม เล่าเรื่องนี้ให้ฟังค่ะ

    • 27 min.
    รอยจารึก...บันทึกสยาม EP. 45: เบื้องหลัง ปรีดี พนมยงค์ กับ คอมมิวนิสต์

    รอยจารึก...บันทึกสยาม EP. 45: เบื้องหลัง ปรีดี พนมยงค์ กับ คอมมิวนิสต์

    การเสนอร่างโครงการพัฒนาเศรษฐกิจเมื่อปลายปี พ.ศ. 2475 (ปฏิทินเก่า) ของ "ปรีดี พนมยงค์" ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นมันสมองของคณะราษฎร ถูกกล่าวหาว่าเป็น #คอมมิวนิสต์ ทั้งที่เบื้องหลัง ปรีดีก็มีความขัดแย้งคนของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย รวมถึงการถูกกล่าวหาว่าฝักใฝ่คอมมิวนิสต์หลังลี้ภัยไปยังประเทศจีนทั้งที่จริงแล้ว ปรีดีลี้ภัยไปจีนก่อนทีฝ่ายคอมมิวนิสต์จะได้รับชัยชนะ

    เบื้องหลังความขัดแย้งและการถูกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ของ "ปรีดี พนมยงค์" เกิดขึ้นได้อย่างไร

    • 29 min.
    รอยจารึก...บันทึกสยาม EP. 44: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

    รอยจารึก...บันทึกสยาม EP. 44: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

    คนไทยคนแรกที่ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกจากยูเนสโก (UNESCO) ในวาระ 100 ปีประสูติ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2505 คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงมีคุณูปการทางการศึกษาโดยเฉพาะเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ไม่เพียงเท่านั้นยังมีบทบาททางการเมืองการปกครองในสมัยนั้นอีกด้วย

    • 26 min.
    รอยจารึก...บันทึกสยาม EP. 43: เวนิสวานิช พระอัจฉริยาภาพด้านภาษาและงานแปลในรัชกาลที่ 6

    รอยจารึก...บันทึกสยาม EP. 43: เวนิสวานิช พระอัจฉริยาภาพด้านภาษาและงานแปลในรัชกาลที่ 6

    พระราชนิพนธ์และผลงานแปลของพระมหากษัตริย์หลายเรื่อง ถูกนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในวิชาภาษาไทยมาอย่างยาวนาน หนึ่งในนั้นคือเรื่อง เวนิสวานิช ผลงานแปลในรัชกาลที่ 6 ต้นฉบับของ วิลเลียม เชกส์เปียร์ (William Shakespeare) ที่แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาที่ทรงแปลได้ตรงตามความหมายจากต้นฉบับออกมาเป็นกลอนเมื่อ พ.ศ. 2459 สำหรับเรื่องนี้มีประโยคที่เราต่างคุ้นหูคือ "อันความกรุณาปรานี จะมีใครมาบังคับก็หาไม่..."

    พระอัจฉริยภาพในรัชกาลที่ 6 ทางด้านภาษาต่างประเทศและการแปลภาษาจากบทประพันธ์ต่างประเทศให้เป็นภาษาไทย มีแง่มุมอะไรน่าสนใจ รวมถึงความเกี่ยวข้องกับการปกครองในยุคสมัยนั้นอย่างไร

    • 33 min.

Top-podcasts in Tv en film

De mediameiden
Tamar Bot & Fanny van de Reijt
AD Media Podcast
AD
Het Mediaforum
NPO Radio 1 / KRO-NCRV
De Lesbische Liga Podcast
NPO 3FM / NTR
Culturele bagage
de Volkskrant
Tina's TV Update
Audiohuis

Suggesties voor jou