10 episodes

รับฟังความเคลื่อนไหว เศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน ที่น่าสนใจ

KResearch Podcast ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

    • Business
    • 5.0 • 4 Ratings

รับฟังความเคลื่อนไหว เศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน ที่น่าสนใจ

    คาดสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียยูเครนยังกดดันสินทรัพย์เสี่ยงต่อเนื่อง

    คาดสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียยูเครนยังกดดันสินทรัพย์เสี่ยงต่อเนื่อง

    KResearch: วิเคราะห์ข่าวเช้าเศรษฐกิจรายสัปดาห์ | 7 มี.ค. 2565

    คาดสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียยูเครนยังกดดันสินทรัพย์เสี่ยงต่อเนื่อง ขณะที่ ราคาน้ำมันพุ่งเหนือ 130$/barrel

    - สัปดาห์ที่ผ่านมารัสเซียยังคงโจมตียูเครนต่อเนื่อง แม้จะมีการเจรจากันแล้วถึงสองครั้งและมีการคว่ำบาตรที่รุนแรงขึ้นจากชาติตะวันตก ขณะที่ยูเครนได้สมัครเข้าเป็นสมาชิก EU ท่ามกลางสถานการ์ณความวุ่นวายดังกล่าว ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงเผชิญปัจจัยกดดันและปรับลดลงจากสถานการณ์ดังกล่าว
    - ดัชนีหุ้นญี่ปุ่น และจีนลดลงเป็นสัปดาห์ที่สามติดต่อกัน โดยบรรยากาศการซื้อขายในจีนได้รับปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากดัชนี PMI ที่ออกมาปรับตัวลดลงจากนโยบาย Zero Covid-19 ด้านตลาดหุ้นไทยปรับร่วงลงหนักในท้ายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากสถานการณ์โควิด-19 ภายในประเทศที่จำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับสูง โดยสธ.มองว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจะเริ่มลดลงในช่วงปลายเดือนพ.ค. ทั้งนี้ นลท.ต่างชาติยังซื้อสุทธิ
    - ตลาดหุ้นยุโรปปรับร่วงลงหนักในรอบ 1 ปี เนื่องจากยุโรปต้องพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย ค่าเงินยูโรดิ่งลงหนักในรอบเกือบ 2 ปี นอกจากนี้ ตัวเลขค้าปลีกยังออกมาอ่อนแอกว่าคาด ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดร่วงลงเช่นกัน แม้ว่าจะได้รับปัจจัยบวกจากถ้อยแถลงของประธาน Fed ที่ระบุว่ามีแนวโน้มจะขึ้นดอกเบี้ยน้อยกว่าที่คาดการณ์ ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ ยังออกมาแข็งแกร่งต่อเนื่องตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 678,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. และอัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 3.8%
    - นักลงทุนยังเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำโดยราคาทองคำปิดใกล้ระดับ 2,000 $/oz ขณะที่ราคาน้ำมัน Brent และ WTI ปรับเพิ่มขึ้นกว

    • 23 min
    ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงยังเสี่ยง...รอติดตามสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน

    ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงยังเสี่ยง...รอติดตามสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน

    KResearch: วิเคราะห์ข่าวเช้าเศรษฐกิจรายสัปดาห์ | 28 ก.พ. 2565

    ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงยังเสี่ยง...รอติดตามสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน และสัญญาณดอกเบี้ยจากถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาคองเกรส

    - ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกค่อนข้างผันผวนในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีแรงเทขายหุ้นอย่างหนักหลายตลาดท่ามกลางความขัดแย้งที่มีสัญญาณรุนแรงขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ระหว่างรัสเซียและยูเครน หลังรัสเซียเปิดฉากใช้กำลังทางการทหารกับยูเครน
    -ประเด็นรัสเซียและยูเครนนี้ยังคงลากยาวต่อเนื่องในช่วงสุดสัปดาห์ ซึ่งสหรัฐฯ และชาติตะวันตกประกาศมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติม โดยล่าสุด มีการประกาศตัดธนาคารของรัสเซียบางแห่งออกจากระบบ SWIFT
    -ราคาทองคำปรับตัวผันผวนตามสถานการณ์รัสเซียและยูเครน โดยราคาเคลื่อนไหวในกรอบเหนือระดับ 1,900 ดอลลาร์ฯ ต่อออนซ์ในระหว่างสัปดาห์ ก่อนจะเผชิญแรงเทขายกลับลงมาปิดต่ำกว่าแนวดังกล่าวเมื่อวันศุกร์ หลังมีรายงานข่าวว่า อาจจะมีการเจรจาระหว่างรัสเซีย-ยูเครน
    -ราคาน้ำมัน BRENT และ WTI ทะลุ 100 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้วรับข่าวรัสเซียบุกโจมตียูเครน ก่อนจะเผชิญแรงเทขายทำกำไรก่อนเข้าสู่ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนรอติดตามความเป็นไปได้ของการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเพื่อหาทางออกระหว่างรัสเซียและยูเครน
    - บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น โดยยีลด์อายุ 10 ปี ปิดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาที่ระดับ 1.991% ขณะที่ยีลด์อายุ 30 ปีปรับขึ้นไปที่ระดับ 2.294%
    - ปัจจัยติดตามสัปดาห์นี้ ได้แก่ 1) สถานการณ์ระหว่างรัสเซีย-ยูเครน 2) ถ้อยแถลงของประธานเฟด 3) ข้อมูลเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทย และ 4) ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ

    • 20 min
    สินทรัพย์ปลอดภัยยังมีโอกาสปรับขึ้น ตามสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครน

    สินทรัพย์ปลอดภัยยังมีโอกาสปรับขึ้น ตามสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครน

    KResearch: วิเคราะห์ข่าวเช้าเศรษฐกิจรายสัปดาห์ | 21 ก.พ. 2565

    สินทรัพย์ปลอดภัยยังมีโอกาสปรับขึ้น ตามสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครนที่อาจดันน้ำมันเข้าหา 100 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล

    - ตลาดหุ้นเอเชีย ยุโรป และสหรัฐฯ เผชิญแรงเทขายในสัปดาห์ที่แล้ว ท่ามกลางความกังวลจากหลายปัจจัย อาทิ การขึ้นดอกเบี้ยของเฟด และความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและสหรัฐฯ ในสถานการณ์ของยูเครน
    - เงินดอลลาร์ฯ ถูกกดดันในช่วงแรกจากการคาดการณ์เกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ยเฟดที่บันทึกการประชุมเฟดสะท้อนว่า จะดำเนินการตามข้อมูลที่เห็นในแต่ละรอบการประชุม แต่เงินดอลลาร์ฯ ฟื้นตัวกลับช่วงปลายสัปดาห์ จากปัจจัยความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้มองว่าเงินดอลลาร์ฯ เป็นสกุลเงินปลอดภัย
    - บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นในช่วงแรก ก่อนที่จะลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ จากแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยของนักลงทุนท่ามกลางจากความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตยูเครน นอกจากนี้ ทองคำก็เป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์ปลอดภัยที่ขยับขึ้นด้วยเช่นกัน โดยราคาทองคำปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สาม และระหว่างสัปดาห์ราคาทองคำทะยานข้ามแนว 1900 ดอลลาร์ฯ ต่อออนซ์ ก่อนจะย่อตัวลงตามแรงขายทำกำไรท้ายสัปดาห์ ด้านราคาน้ำมันขยับขึ้นจากวิกฤตยูเครน แต่กรอบขาขึ้นจำกัดเนื่องจากความเป็นไปได้ที่อิหร่านจะกลับมาส่งออกน้ำมัน
    - สถานการณ์ติดตามสัปดาห์นี้ ได้แก่ 1) สถานการณ์ยูเครน โดยเฉพาะโอกาสที่รัสเซียอาจบุกยูเครน ซึ่งอาจกระทบราคาน้ำมันให้กลับไปที่ 95 และ 100 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล 2) จีดีพีไตรมาส 4/2564 ของไทย 3) สถานการณ์โควิดในไทยที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโอมิครอนยังเพิ่มต่อเนื่อง 4) ข้อมูลเงินเฟ้อ PCE/Core PCE ของส

    • 24 min
    ปัจจัยสัปดาห์นี้ ยังติดตามวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน และแนวโน้มคุมเข้มดอกเบี้ยของสหรัฐฯ กันต่อ

    ปัจจัยสัปดาห์นี้ ยังติดตามวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน และแนวโน้มคุมเข้มดอกเบี้ยของสหรัฐฯ กันต่อ

    KResearch: วิเคราะห์ข่าวเช้าเศรษฐกิจรายสัปดาห์ | 14 ก.พ. 2565

    ปัจจัยสัปดาห์นี้ ยังติดตามวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน และแนวโน้มคุมเข้มดอกเบี้ยของสหรัฐฯ กันต่อเนื่อง

    - ตลาดหุ้นเอเชียและยุโรปปรับตัวขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาจากปัจจัยเฉพาะของแต่ละตลาด เช่น ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่แข็งแกร่งหนุนหุ้นญี่ปุ่นและยุโรป ขณะที่ตลาดหุ้นจีนได้รับแรงซื้ออย่างแข็งแกร่งหลังจากที่ตลาดกลับมาเปิดทำการอีกครั้งหลังหยุดในช่วงตรุษจีน โดยมีปัจจัยบวกจากความคาดหวังเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้านตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นเช่นกัน โดยมีแรงซื้อสุทธิอย่างมากจากนลท.ต่างชาติ โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มธนาคารและ ICT
    - ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลดลงรายสัปดาห์จากแรงกดดันเรื่องวิกฤตยูเครน และการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed หลังเงินเฟ้อสหรัฐฯ ออกมาพุ่งขึ้นมากกว่าตลาดคาด (เงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนม.ค. 65 พุ่งขึ้น 7.5% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นรายปีมากที่สุดในรอบ 40 ปี) นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดยังออกมาแสดงความคิดเห็นในเชิงสนับสนุนการเร่งขึ้นดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีแรกด้วยเช่นกัน
    - ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับขึ้น บอนด์ยีลด์อายุ 10 ปี แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ก.ค. 2562 หรือสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี ขณะที่ช่วงต่างระหว่างยีลด์อายุ 2 ปีและ 10 ปี แคบลง (Flattening Yield Curve) ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดพันธบัตรได้รับรู้ข่าวการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ไปค่อนข้างมาก
    - ดอลลาร์ฯ แข็งค่า จากเรื่องวิกฤตยูเครน-รัสเซียและโอกาสที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยเร็ว ขณะที่เงินบาทแข็งค่าจากเงินทุนไหลเข้าโดยเฉพาะพันธบัตรระยะสั้น และหุ้นไทย
    - ด้านราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ราคาน้ำมันยังบว

    • 21 min
    ภาษีคริปโทฯ กฎกติกาที่นักลงทุน...ต้องรู้

    ภาษีคริปโทฯ กฎกติกาที่นักลงทุน...ต้องรู้

    ภาษีคริปโทฯ กฎกติกาที่นักลงทุน...ต้องรู้

    สมัครสมาชิกอ่านฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ที่: https://www.kasikornresearch.com/TH/subscription/Pages/online-application.aspx?ID_Package=211

    • 4 min
    ตลาดหุ้นสัปดาห์หนี้ รอติดตามผลประกอบการ บจ. ต่อเนื่อง

    ตลาดหุ้นสัปดาห์หนี้ รอติดตามผลประกอบการ บจ. ต่อเนื่อง

    KResearch: วิเคราะห์ข่าวเช้าเศรษฐกิจรายสัปดาห์ | 7 ก.พ. 2565

    ตลาดหุ้นสัปดาห์หนี้ รอติดตามผลประกอบการ บจ. ต่อเนื่อง เงินเฟ้อของสหรัฐฯ และการประชุม กนง. ครั้งแรกของปี

    - ตลาดหุ้นสัปดาห์ก่อน เน้นความสนใจไปที่การรายงานผลประกอบการ บจ. เงินเฟ้อที่ส่งผลต่อมุมมองการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด ขณะที่ตลาดหุ้นฝั่งยุโรปปิดลดลงจากความกังวลต่อทิศทางการคุมเข้มนโยกายการเงินจากการประชุมธนากลางยุโรปและการขึ้นดอกเบี้ยของทางธนาคารกลางอังกฤษ ด้านสหรัฐฯ ได้ปัจจัยหนุนจากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนต่อเนื่อง
    - ราคาทองคำปรับขึ้นรายสัปดาห์มากที่สุดนับตั้งแต่กลางเดือน พ.ย. 2564 หลังข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ออกมาดี
    - ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง มาอยู่เหนือระดับ 90 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล โดยการประชุมของกลุ่ม OPEC+ ยังคงยึดการเพิ่มกำลังการผลิตตามแผนเดิม แม้สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรจะหนุนการเพิ่มกำลังการผลิตให้สูงขึ้นก็ตาม นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องพายุฤดูหนาวที่ค่อนข้างรุนแรงในสหรัฐฯ เพิ่มเติมซึ่งทำให้ปัญหาความไม่สมดุลระหว่างอุปทานและอุปสงค์น้ำมันรุนแรงขึ้น
    - ECB คงนโยบายอัตราดอกเบี้ย แต่เตรียมยุติ QE ตามกำหนดเดิมในเดือน มี.ค.2565 ซึ่งหนุนเงินยูโรให้แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ฯ ขณะที่ ธ.กลางอังกฤษ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่สองในรอบสามเดือนจาก 0.25% มาที่ 0.50% รวมถึงปรับลดขนาดงบดุล เพื่อดูแลปัญหาเงินเฟ้อ
    - ปัจจัยติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ 1) การประกาศผลประกอบการ บจ. 2) การดำเนินนโยบายธนาคารกลาง โดยเฉพาะ กนง.ในวันพุธ และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด 3) ข้อมูลเศรษฐกิจ อาทิ เงินเฟ้อสหรัฐฯ 4) สถานการณ์ความตึงเครียดในยูเครนและรัสเซีย 5) สถานกา

    • 21 min

Customer Reviews

5.0 out of 5
4 Ratings

4 Ratings

Top Podcasts In Business

The Secret Sauce
THE STANDARD
ลงทุนแมน
longtunman
แปดบรรทัดครึ่ง
ต้อง กวีวุฒิ
Morning Wealth
THE STANDARD
THE MONEY COACH
โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์
Nopadol’s Story
nopadolstory