88 episodes

Talk 'True' History

ฤๅ - Lue History ฤๅ - Lue History

    • History
    • 5.0 • 1 Rating

Talk 'True' History

    Lue Podcast Ep85 - จริงหรือไม่? สยามจงใจสร้างคุกทับ ‘เวียงแก้ว’

    Lue Podcast Ep85 - จริงหรือไม่? สยามจงใจสร้างคุกทับ ‘เวียงแก้ว’

    การเล่าประวัติศาสตร์นั้นหากเล่าโดยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนั้นแม้จะมีข้อกระทบกระทั่งกันบ้าง แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่รับได้ เพราะความจริงคือสิ่งที่มิอาจบิดผันเป็นสิ่งอื่น ความจริงที่หลากหลายจึงเป็นความจริงที่ยังไม่พบข้อเท็จจริงเท่านั้น และในบางครั้งการเล่าประวัติศาสตร์ก็อาจมีความเชื่อและอุดมการณ์มาผสมอยู่จำนวนมากจนน่าเสียดายที่บางงานนั้นควรจะออกมาได้ดีกว่าที่เป็นอยู่



    กระแสท้องถิ่นนิยมนั้นเป็นสิ่งที่เข้าใจได้และไม่ใช่สิ่งที่แย่ กระนั้นก็ตามการนิยมสิ่งใดมาก ก็สามารถก่อให้เกิดการใช้ประวัติศาสตร์โดยไม่ถูกต้องได้ (และไม่จำเป็นว่าต้องเป็นท้องถิ่นนิยมเท่านั้น)



    ประเด็นหนึ่งก็คือการ “สร้างคุกทับเวียงแก้ว” ของเมืองเชียงใหม่ที่มักจะมีเรื่องเล่าในทำนองว่าสยามตั้งใจสร้างคุกทับเวียงแก้วไว้และเป็นการหยามคนท้องถิ่นอย่างมาก จนนักวิชาการบางท่านเรียกคุกว่าเป็น “ขึด” ของเชียงใหม่



    ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ถึงพิราลัย เจ้าอุปราชอินทนนท์ซึ่งได้รับสถาปนาเป็นเจ้านครเชียงใหมที่ 7 (พระเจ้าอินทวิชยานนท์) ได้สร้างคุ้มหลวงแห่งใหม่ขึ้นที่ข่วงหลวงบริเวณหน้าศาลาสนามที่เป็นที่ตั้งตึกยุพราพในปัจจุบัน "เวียงแก้ว" ซึ่งเป็นที่พำนักของเจ้านครเชียงใหม่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2339 จึงสิ้นสภาพการเป็นคุ้มหลวงนับแต่ พ.ศ. 2413 และถูกปล่อยให้รกร้างจนถูกน้ำท่วมมานานกว่า 40 ปี จนกลายเป็น “หอพระแก้วร้าง” ก่อนที่จะมีการใช้ประโยชน์อย่างอื่นในภายหลัง



    และนอกจากนี้เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ก็ไม่ได้ยกพื้นที่เวียงแก้วทั้งหมดให้เป็นที่ตั้งเรือนจำดังที่เจ้าดารารัศมีทรงเล่าประทานว่า “‘เวียงแก้ว’ เ

    • 7 min
    เรื่องของฤๅ EP 84 - ‘เสือป่า’ กลุ่มผู้กล้าอาสาป้องกันชาติ

    เรื่องของฤๅ EP 84 - ‘เสือป่า’ กลุ่มผู้กล้าอาสาป้องกันชาติ

    มีงานบางชิ้นได้กล่าวว่า "กองกำลังเสือป่า" ที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เป็นกองกำลังที่พระองค์ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นกองกำลังส่วนพระองค์เนื่องจากความไม่ไว้วางใจและความแตกแยกระหว่างพระองค์กับกองทัพ ดังนั้นกองเสือป่าจึงเป็นเสมือนกองทัพซ้อนเข้าไปอีกทีทั่วประเทศในขณะนั้นจนทำให้เกิดความตึงเครียดในรัชสมัยขึ้น



    การวิเคราะห์เช่นนี้เป็นการวิเคราะห์ที่น่าจะไม่ถูกต้อง เพราะสาเหตุของการตั้งกองเสือป่าขึ้นนั้นไม่อาจมองขาดได้จากบริบทที่มีความต่อเนื่องก่อนหน้า โดยสิ่งที่รุนแรงที่สุดคือเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ที่มีบันทึกว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น “เสวยไม่ได้ บรรทมไม่หลับ เป็นเวลานานนับเดือนนับปี”



    เหตุการณ์ ร.ศ. 112 ได้ฝังอยู่ในพระราชหฤทัยของเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เพราะเมื่อถึงอังกฤษ พระองค์ตั้งพระราชหฤทัยที่จะศึกษาวิชาทหารเรือ หากแต่ในระหว่างการเตรียมพระองค์นั้นทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทำให้ต้องเปลี่ยนมาเรียนวิชาทหารบกและพลเรือนเพื่อเตรียมพระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อไปและฝ่ากระแสอาณานิคมต่อจากพระราชบิดาของพระองค์



    เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาและกลับมายังสยาม พระองค์ได้ยกร่าง ‘พระราชบัญญัติลักษณเกณฑ์ทหาร’ ขึ้นและจัดการวางกองกำลังใหม่ร่วมกับพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ แต่ที่ปักษ์ใต้นั้นเนื่องจากรัฐบาลสยามได้ทำสัญญาลับกับอังกฤษเมื่อครั้งกู้เงินจาก Federal Malay States เพื่อทำทางรถไฟสายใต้โดยมีเงื่อนไขคือสยามจะไม่ส่งทหารลงไปประจำที่คาบสมุทรมลายูตั้งแต่บางสะพานน้อย ประจวบคีรี

    • 6 min
    เรื่องของฤๅ EP 83 - ดีลลับกลับประเทศ ที่พลิกล่มสลายไปต่อหน้าของ ปรีดี พนมยงค์

    เรื่องของฤๅ EP 83 - ดีลลับกลับประเทศ ที่พลิกล่มสลายไปต่อหน้าของ ปรีดี พนมยงค์

    มีข้อมูลและหลักฐานจำนวนมากมายยืนยันว่า แม้ทั้งป.และปรีดีจะขัดแย้งกันจริง หากแต่ในช่วงก่อนการรัฐประหาร 2500 ไม่นานนัก เขาทั้งสองต่างมีแผนการหรือ ‘ดีลลับ’ ที่จะกลับมาคืนดีกัน อันมีสาเหตุมาจากความผันผวนจากกระแสทางการเมืองของฝ่ายจอมพล ป. ที่ตกต่ำลง การนำปรีดีในฐานะตัวแทนของ ‘ฝ่ายก้าวหน้า’ (ตามทัศนะของพวกเขา) มาค้ำยันกับปีกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ที่กำลังสูงเด่นขึ้นพร้อมด้วยการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา น่าจะเป็นทางออกเดียวของจอมพล ป. ในสถานการณ์ชิงอำนาจดังกล่าว



    จากเอกสารของสถานทูตอังกฤษในไทย ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ระบุความเคลื่อนไหวของฝ่ายจอมพล ป. ไว้ว่า เผ่า ศรียานนท์พยายามที่ให้ปรีดีกลับประเทศไทย และเขาอยู่เบื้องหลังการสนับสนุนฝ่ายของปรีดีที่กลับมาอยู่ในไทยแล้ว (เช่น เฉียบ และชม) และที่สำคัญ เอกสารของอังกฤษระบุไว้ชัดเจนว่า “เผ่าคือสถาปนิกผู้มีบทบาทสำคัญในการวางแผนการนี้” (แผนเอาปรีดีกลับไทยมาต่อสู้คดีสวรรคต) เอกสารฉบับนี้เขียนไว้อย่างไม่ปิดบังว่า เผ่าได้ริเริ่มกระบวนการใส่ร้ายต่อต้านพระบรมวงศานุวงศ์ (Royal family) ด้วยการจะทำให้ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็น “แพะรับบาป” (scapegoat) แทนปรีดีในกรณีสวรรคต



    แต่อย่างไรก็ดี แผนการหรือ ‘ดีลลับ’ ระหว่าง 2 ป. คือ ป. พิบูลสงคราม และปรีดี ต้องถึงการฝันสลายลง หลังจากที่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการรัฐประหารที่เรียกกันว่า ‘การรัฐประหาร 2500’ แล้วขับไล่จอมพลป. และเผ่าออกไปจากประเทศไทย อันเป็นการจบสิ้นการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งที่ 2 ของจอมพลผู้มีฉายาว่า ‘พิบูลตลอดกาล’ อีกทั้งยังเป็นการ ‘ดับฝัน’ ของปรีดีที่จะกลับมายังประเทศไทยโดยดุษณี

    • 8 min
    เรื่องของฤๅ EP 82 - อย่าเผลอเป็น Absolutist ‘รอยัลลิสต์หลงยุค’

    เรื่องของฤๅ EP 82 - อย่าเผลอเป็น Absolutist ‘รอยัลลิสต์หลงยุค’

    ‘ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข’ คือการอยู่ร่วมกันได้อย่างทันสมัย และไม่เป็นปัญหาระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากระบอบการปกครองนี้มีเสถียรภาพมากที่สุด และเหมาะสมที่สุดสำหรับประเทศไทย อีกทั้งยังสามารถธำรงรักษาสถาบันหลักของชาติได้โดยที่ไม่ขัดกับคุณค่าประชาธิปไตยสากล



    หลายครั้งที่มีคนบางกลุ่มมีความรู้สึกว่า ต้องการให้มีการเพิ่มพระราชอำนาจ (prerogative) ในการบริหารจัดการรัฐแก่พระมหากษัตริย์ แต่สิ่งเหล่านี้กลับกลายเป็นการทำร้าย ‘สถาบันพระมหากษัตริย์’ ทางอ้อม เพราะเท่ากับว่า แทนที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของพระองค์ กลับต้องการให้พระองค์รับภาระเพิ่มมากขึ้นโดยมิจำเป็น และทรงจะรอดพ้นจากข้อครหามิได้หากทรงบริหารผิดพลาดหรือโดนใส่ร้ายมา



    ประเทศไทยนั้นหมดเวลาของ ‘รอยัลลิสต์’ ที่เป็น ‘ฝ่ายนิยมระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์’ แล้ว สำหรับใครก็ตามที่มีความจงรักภักดี และหวังดีต่อสถาบันฯ ควรสนับสนุน ‘รอยัลลิสต์’ ในรูปแบบ ‘วิก’ (Whigs) ซึ่งหมายถึงกลุ่มที่สนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เหมาะสมต่อประเพณีการปกครอง มิใช่เรียกร้องให้ทวนเข็มนาฬิกากลับไปสู่ระบอบเก่าที่ทั้งโลกเห็นว่าเป็นรูปแบบที่ล้าสมัยไปแล้ว

    #LueHistory #รอยัลลิสต์

    • 7 min
    เรื่องของฤๅ EP 81 - จาก ‘สมเด็จย่า’ ถึง ‘พระราชินีสุทิดา’ จากสามัญชน สู่ไอดอลของคนรุ่นใหม่

    เรื่องของฤๅ EP 81 - จาก ‘สมเด็จย่า’ ถึง ‘พระราชินีสุทิดา’ จากสามัญชน สู่ไอดอลของคนรุ่นใหม่

    ในประวัติศาสตร์ราชวงศ์จักรี บุคคลผู้ได้รับการโปรดเกล้าฯ จากสามัญชนขึ้นเป็นพระบรมศานุวงศ์ชั้นสูงบุคคลแรกคือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ ‘สมเด็จย่า’ ของคนไทย เด็กหญิงจากตระกูลช่างทอง โดยมีพระนามเดิมว่า ‘สังวาลย์’ สู่การเป็นพระมารดาของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินของไทยถึง 2 พระองค์



    สมเด็จย่าทรงอุทิศทุ่มเทพระวรกาย และทรงงานเพื่อคนไทยมาโดยตลอด แม้จะมีพระชนมายุมากแล้วก็ตาม แต่พระองค์ยังเสด็จไปยังท้องที่ทุรกันดารต่างๆ เพื่อฟื้นฟูผืนป่าและพลิกฟื้นโอกาสให้คนในพื้นที่เหล่านั้นได้มีชีวิตที่ดีขึ้น จนชาวบ้านในถิ่นทุรกันดารต่างเรียกพระองค์ว่า “แม่ฟ้าหลวง”



    ผ่านมาหลายทศวรรษ ประวัติศาสตร์ดั่งเทพนิยายก็ได้เริ่มต้นบทบันทึกอีกครั้ง…



    สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า ‘สุทิดา ติดใจ’ คือสามัญชนคนที่สอง ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ขึ้นเป็นพระบรมศานุวงศ์ชั้นสูงของราชวงศ์จักรี หลังจากที่ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชินีสุทิดา ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี



    พระราชินีผู้มาจากสามัญชน หากแต่มีทั้งความเข้มแข็ง แข็งแกร่ง และมีพระจริยวัตรอ่อนน้อมถ่อมตน มีความสง่างดงามบนความทันสมัย กระทั่งทรงกลายเป็นไอดอลของเด็กรุ่นใหม่บางกลุ่ม และทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของเยาวชนไทยยุคใหม่อีกด้วย



    เรื่องราวดั่งเทพนิยายของทั้งสองพระองค์เป็นอย

    • 9 min
    เรื่องของฤๅ EP 80 - ย้อนมองประวัติศาสตร์ 14 ตุลา 2516 บทบาทของในหลวง ร.9 ในการยุติความขัดแย้งของคนไ

    เรื่องของฤๅ EP 80 - ย้อนมองประวัติศาสตร์ 14 ตุลา 2516 บทบาทของในหลวง ร.9 ในการยุติความขัดแย้งของคนไ

    14 ตุลาคม 2516 วันแห่งปรากฏการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย จากการรวมตัวกันของนิสิตนักศึกษา อาชีวะ และประชาชนจากทุกภาคส่วน เพื่อต่อต้านอำนาจเผด็จการของ จอมพลถนอม กิตติขจร, จอมพลประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยึดครองอำนาจบริหารที่ส่งไม้ต่อกันมาตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์



    การชุมนุมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เริ่มขึ้นในวันนที่ 9 ตุลาคม 2516 นําโดยสองนักศึกษาชายหญิง เสกสรรค์ ประเสริฐกุล และเสาวนีย์ ลิมมานนท์ มีการปราศรัยโจมตีรัฐบาลอย่างเผ็ดร้อน โดยมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงนักเรียนมัธยมและนักเรียนอาชีวะ ทั้งจากวิทยาลัยและสถาบันในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เดินทางมาเข้าร่วมสมทบอย่างล้นหลาม



    สถานการณ์ชุมนุมเริ่มถึงจุดตึงเครียดในวันที่ 12 ตุลาคม เมื่อศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ยื่นคําขาดว่าให้รัฐบาลปล่อยตัวอาจารย์และนักศึกษาจำนวน 13 คน ที่ถูกจับกุมไป



    13 ตุลาคม การเจรจาระหว่างตัวแทนของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ กับจอมพลประภาส จารุเสถียร ได้เกิดขึ้นและนำไปสู่การยอมรับข้อเสนอ โดยรัฐบาลยอมปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมทั้ง 13 คน และจะประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ในปีต่อไป ส่งผลให้กลุ่มผู้ชุมนุมเตรียมยุติการชุมนุมในช่วงหลังเที่ยงคืนของวันที่ 13 ตุลาคม



    แต่ทว่ากลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น เมื่อเกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณถนนราชวิถี



    จากจุดปะทะเล็ก ๆ นี้เอง เหตุการณ์ก็ได้บานปลายลุกลามไปอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน มีการใช้กําลังทหารและตํารวจเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงอย่างร

    • 10 min

Customer Reviews

5.0 out of 5
1 Rating

1 Rating

Top Podcasts In History

8 Minute History
THE STANDARD
Myth Universe
Salmon Podcast
WEALTH HISTORY
Wealth History
หลงไปในประวัติศาสตร์
ชัชพล
You're Dead to Me
BBC Radio 4
คน ลวง โลภ
กลต. x Salmon Podcast