เมื่อมาสคอตขับเคลื่อนเศรษฐกิจทำให้ทั้งแบรนด์และเมืองเข้าถึงคน | Capital City EP.17

Capital City

‘น่ารักมั้ยไม่รู้ แต่รอให้รักอยู่นะรู้ไหม ดูแลแบบไม่พัก เพราะหวังได้รักไม่ใช่ผลักไส’ ช่วงนี้หลายๆ คนน่าจะได้ยินเพลงนี้กันมาบ้าง เสียงใสๆ ดูเข้าถึงง่ายนี้เป็นผลงานของ Butterbear หรือน้องหมีเนยประจำร้านขนม Butterbear Cafe

น้องหมีเนยคือหนึ่งในวิธีการสร้างสัญลักษณ์เพื่อให้คนจดจำสินค้าและบริการได้ อย่างเมืองเองก็มีการสร้างสัญลักษณ์เพื่อให้คนเห็นแล้วรู้ว่าคือที่ไหนเช่นกัน นั่นก็คือการสร้างมาสคอต (mascot) หรือสิ่งมีชีวิตที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด เมือง องค์กร หรือทีมกีฬาขึ้นมา โดยมาสคอตมักจะถูกออกแบบมาให้มีลักษณะน่ารัก จดจำง่าย และสร้างความเชื่อมโยงกับผู้คน ยกตัวอย่างมาสคอตที่ทุกคนน่าจะรู้จักกันดี เช่น คุมะมง หมีดำแห่งจังหวัดคุมาโมโตะ หรืออย่างปาปา-ทูทู้ มาสคอตปลาทูแม่กลองต่างดาว ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม

การมีมาสคอตที่สื่อสารตัวตนของเมืองนั้นดียังไง และมาสคอตช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ยังไงบ้าง รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง (Healthy Space Forum) พร้อมไขคำตอบแล้วในรายการพ็อดแคสต์ Capital City EP.17 ตอนนี้

หากต้องการฟังตอนที่มีเนื้อหาไม่สุภาพ โปรดลงชื่อเข้า

รับทราบข่าวสารล่าสุดจากรายการนี้

ลงชื่อเข้าหรือลงทะเบียนเพื่อติดตามรายการ บันทึกตอน และรับข้อมูลอัปเดตล่าสุด

เลือกประเทศหรือภูมิภาค

แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอินเดีย

เอเชียแปซิฟิก

ยุโรป

ละตินอเมริกาและแคริบเบียน

สหรัฐอเมริกาและแคนาดา