
15 episodes

ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ THE STANDARD PODCAST
-
- Science
-
-
4.9 • 47 Ratings
-
พอดแคสต์วิทยาศาสตร์เนิร์ดๆ ที่พาไปเปิดโลกฟิสิกส์จากสิ่งรอบตัว โดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์
-
PHY15 ‘นาฬิกา’ สิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้เวลาจับต้องได้
ในทางฟิสิกส์ ‘เวลา’ ถือเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญในการคิดคำนวณปรากฏการณ์ต่างๆ โดยสิ่งประดิษฐ์สำคัญที่ทำให้เวลาสามารถจับต้องและวัดค่าได้ ก็คือ ‘นาฬิกา’ นั่นเอง
ทั้งนี้ หากย้อนไปในอดีต รูปลักษณ์และกลไกของนาฬิกาไม่ได้มีหน้าตาอย่างที่เราคุ้นเคยกันทุกวันนี้ โดยหนึ่งในนาฬิกาที่มีบทบาทพลิกโลกคือ Marine Chronometer นาฬิการูปร่างประหลาดที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อการเดินเรือสำรวจโลกโดยเฉพาะ
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปย้อนดูวิวัฒนาการของนาฬิกาในแต่ละยุค ตั้งแต่นาฬิกาแดด นาฬิกาลูกตุ้ม จนถึงนาฬิกาอะตอมที่วัดค่าได้ละเอียดที่สุดในโลก
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD -
PHY14 ความลับของ ‘เวลา’
เมื่อพูดถึงคำว่า ‘เวลา’ คุณนึกถึงอะไร?
ใครบางคนอาจนึกถึงนาฬิกา บางคนอาจนึกถึงการรอคอย และบางคนอาจนึกถึงวลีทำนองว่า “เราทุกคนต่างมีเวลาเท่าๆ กัน”
ทว่าในทางฟิสิกส์นั้น เวลาของทุกคนและทุกสรรพสิ่งในเอกภพอาจไม่เท่ากันเสมอไป ขึ้นอยู่กับ ‘ความเร็วในการเคลื่อนที่’ และ ‘แรงโน้มถ่วง’ ณ จุดนั้น ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์
รายการ ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจความลึกลับซับซ้อนของสิ่งที่เรียกว่า ‘เวลา’ ตั้งแต่ความเข้าใจพื้นฐาน ข้อถกเถียงเกี่ยวกับเวลาในทางฟิสิกส์และปรัชญา ไปจนถึงทฤษฎีเกี่ยวกับการเดินทางย้อนเวลาสู่อดีต
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD -
PHY13 ‘ระบบสุริยะ’ แบบประชิด
เคยสงสัยกันไหมว่า ‘ระบบสุริยะ’ ของเรานั้น มีขอบเขตสิ้นสุดตรงจุดไหน เหตุใดจู่ๆ ดาวพลูโตที่เคยถูกนับเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์จึงถูกลดสถานะ และเมื่อพ้นไปจากระบบสุริยะ เราจะเจอกับอะไรบ้าง?
ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปทำความรู้จัก ‘ระบบสุริยะ’ แบบประชิด ในฐานะที่มันเป็นเสมือน ‘บ้าน’ ของพวกเราในจักรวาลอันไพศาล
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD -
PHY12 ทำไม ‘ท้องฟ้า’ จึงมีสีสันอย่างที่ตาเราเห็น?
หลายต่อหลายครั้ง การค้นพบอันยิ่งใหญ่ของโลกใบนี้ ก็มีจุดเริ่มต้นจากคำถามที่เรียบง่าย
หนึ่งในนั้นคือคำถามที่ว่า ทำไมท้องฟ้าที่เราเห็น จึงเป็นสีฟ้า?
เชื่อหรือไม่ว่า ภาพที่เราเห็นชินตาอยู่ทุกวัน คือการเห็นท้องฟ้าตอนกลางวันเป็นสีฟ้า ตอนพระอาทิตย์ขึ้นและตกเป็นสีแสด และตอนกลางคืนเป็นสีมืดดำ กลับมีเหตุผลทางธรรมชาติอันลึกล้ำกว่าที่ใครคาดคิด
ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างสีสันบนท้องฟ้า แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องผ่านชั้นบรรยากาศ จนถึงกลไกในดวงตาของมนุษย์
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือจาก THE STANDARD -
PHY11 ‘ดาวเสาร์’ เท่าที่เข้าใจ
แม้ว่า ‘ดาวเสาร์’ จะเป็นดาวเคราะห์ลำดับที่ 6 ในระบบสุริยะ ซึ่งว่ากันตามตรงแล้ว ด้วยระยะทางถือว่ามันห่างไกลโลกของเรายิ่งนัก
แต่เหตุใดนักดาราศาสตร์จำนวนไม่น้อยจึงให้ความสนใจในการศึกษาดาวดวงนี้อย่างเอาจริงเอาจัง
ว่ากันว่าเหตุผลหนึ่งเป็นเพราะ ‘วงแหวน’ ของมันที่มีเสน่ห์เย้ายวน ชวนให้ค้นหาคำอธิบายว่ามันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร แล้วทำไมดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ จึงไม่มีวงแหวนที่ยิ่งใหญ่อลังการแบบนี้
ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจดาวเสาร์ในแง่มุมที่เราพอจะหาคำตอบได้ในปัจจุบัน พร้อมไขข้อข้องใจว่า คนธรรมดาสามัญอย่างเราๆ จะรู้เรื่องดาวเสาร์ไปทำไม? -
PHY10 ‘มนุษย์ต่างดาว’ สิ่งมีชีวิตที่ชาวโลกรู้จักเพียงน้อยนิด
นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์คนหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ไม่แน่ใจว่าสิ่งใดน่ากลัวกว่ากัน ระหว่างการค้นพบสัญญาณสิ่งมีชีวิตนอกโลก กับการไม่พบอะไรเลย”
เคยไหมที่มองขึ้นไปท้องฟ้า แล้วสงสัยว่าในความเวิ้งว้างว่างเปล่านั้น มีเผ่าพันธุ์อื่นๆ ที่ดำรงอยู่ร่วมเอกภพกับเราอีกไหม
ใดๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์ เอพิโสดนี้ พาไปสำรวจสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า ‘มนุษย์ต่างดาว’ รวมถึง ‘UFO’ ที่ยังคงหาข้อพิสูจน์ชัดเจนไม่ได้ว่ามีอยู่จริงหรือไม่ พร้อมหาคำตอบว่า การที่ชีวิตหนึ่งจะถือกำเนิดขึ้นมาได้นั้น ต้องอาศัยปัจจัยอะไรบ้าง
ดำเนินรายการโดย ป๋องแป๋ง-อาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา ครีเอทีฟมากฝีมือแห่ง THE STANDARD
Customer Reviews
ดีมากกก
เป็นอะไรที่ฟังง่ายเข้าใจง่ายติดตามทุกตอนครับ
รายการดี
เป็นรายการที่ช่วยเพิ่มมุมมองในชีวิตใหม่ๆได้เยอะและมีประโยชน์มากเลยครับ พิธีกรอธิบายเรื่องยากๆ ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเยอะเลย ขอเป็นกำลังใจให้ทำต่อไปเรื่อยๆนะครับ
ฟังเพลิน + ได้ความรู้
ฟังเพลินมากครับ เป็นอีกหนึ่งรายการดี ๆ จาก The Standard 👍👍😊