
280 episodes

4 คลังพระสูตร Panya Bhavana Foundation
-
- Religion & Spirituality
-
-
4.8 • 32 Ratings
-
ดื่มด่ำ ซึมซาม ด้วยการฟังบทพยัญชนะที่มีความงดงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด เป็นข้อมูลโดยตรงจากพระสูตรในพระไตรปิฏก เพื่อให้มีการตกผลึกความคิด เกิดเป็นความคลองปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็นได้.New Episode ทุกวันพฤหัส เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ donhaisok.fm
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
-
ธรรมของสัตบุรุษ (คนดี)-จูฬปุณณมสูตร สัปปุริสสูตร และธัมมัญญสูตร [6648-4S]
สูตร1# จูฬปุณณมสูตร พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ในบุพพาราม กรุงสาวัตถี ประทับนั่ง ณ ที่แจ้ง ในคืนพระจันทร์เต็มดวงขึ้น 15 ค่ำ มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ทรงตรัสสอนภิกษุเรื่อง อสัตบุรุษ (คนชั่ว) และ สัตบุรุษ (คนดี)
สูตร2# สัปปุริสสูตร พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี รับสั่งเรียกภิกษุเพื่อแสดงธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ
สูตร3 #วาจาของสัตบุรษ อสัตบุรุษ และหญิงสะใภ้ใหม่ ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุว่าด้วยธรรม 4 ประการของคนดี ให้พึงรักษาความละอายใจและความกลัว เหมือนหญิงที่ออกเรือนใหม่ เข้าสู่ตระกูลสามี
สูตร4 # ธัมมัญญสูตร ผู้รู้ธรรม หากรู้จักธรรม (ธัมมัญญู) 7 ประการ นี้ได้รับการสรรเสริญจากพระผู้มีพระภาคว่าเป็นผู้ควรได้รับการยกย่อง ควรเคารพ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. -
ความเพียรที่ถูกต้องเพื่อพ้นทุกข์-เทวทหสูตร [6647-4s]
พระผู้มีพระภาค ครั้นประทับอยู่ในนิคมเทวทหะ แคว้นสักกายะ ได้แสดงธรรมกับภิกษุว่า มีสมณพราหมณ์บางพวกมีความเห็นทุกข์ทั้งหลายเกิดขึ้น เพราะกรรมในชาติก่อน จะหมดทุกข์ได้ต้องบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก ตรัสว่าการเชื่ออย่างนั้นเป็นความเชื่ออย่างหลงงมงาย เพราะพิสูจน์ไม่ได้
ทรงแสดงวิธีที่ความพยายาม ความเพียรจะมีผล คือ ไม่ปล่อยตัวให้ทุกข์ครอบงำไม่สละสุขที่ถูกธรรม ไม่ติดอยู่ในสุขนั้น มีปัญญารู้เห็นตามเป็นจริง ก็จะคลายความกำหนัดยินดีเสียได้ ความทุกข์ก็จะหมดไปได้ ความพยายาม ความเพียร จึงชื่อว่ามีผล
ทรงแสดงในที่สุดว่า พระคถาคตได้เสวยสุขเวทนาอันไม่มีอาสวะ (ตรงกันข้ามกับนิครนถ์ที่เสวยทุกขเวทนาอันหนัก) จึงได้รับการสรรเสริญ (ตรงกันข้ามกับการพวกสมณพราหมณ์ถูกติเตียน)
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. -
แก่นแห่งพรหมจรรย์-จูฬสาโรปมสูตร และจูฬโคสิงคสาลสูตร [6646-4s]
สูตร#1 จูฬสาโรปมสูตร ทรงแสดงแก่พราหมณ์ชื่อปิงคลโกจฉะ ขณะประทับอยู่ ณ พระเชตวัน พราหมณ์ได้กราบทูลถามเรื่องสมณพราหมณ์ที่มีชื่อเสียงว่า ท่านเหล่านั้นรู้ยิ่งตามปฏิญญาของตนหรือไม่ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงตอบ ทรงตรัสแสดงธรรม อุปมานักบวชกับผู้แสวงหาแก่นไม้ เมื่อทรงแสดงธรรมจบ ปิงคลโกจฉพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
สูตร#2 จูฬโคสิงคสาลสูตร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแก่ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ในคราวที่เสด็จไปเยี่ยมที่ป่าโคสิงคสาลวัน ท่านอยู่กันด้วยความสามัคคี มีเมตตาให้กันทั้งต่อหน้า และลับหลัง ทั้งทางกาย วาจา และใจ พยายามที่จะเก็บจิตของตนเองแล้วทำตามจิตของผู้อื่น จึงสามารถอยู่เป็นสุขได้ พระผู้มีพระภาคทรงยกย่องพระเถระทั้ง 3 รูป
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. -
ทำมารให้ตาบอด-นิวาปสูตร เทวาสุรสังคามสูตร และมาคัณฑิยสูตร [6645-4s]
สูตร#1 นิวาปสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงตรัสว่า พรานเนื้อที่ปลูกหญ้าไว้ในทุ่งหญ้ามิได้หวังให้ฝูงเนื้อมากินเพื่อจะได้อายุยืน ผิวพรรณดี มีชีวิตอยู่นานแต่ปลูกไว้เพื่อล่อจับเนื้อ ทรงอธิบายว่า มีเนื้ออยู่ 4 ฝูง ฝูงเนื้อที่ 1-3 เป็นเนื้อที่ถูกพรานเนื้อ และบริวารจับได้ ส่วนฝูงเนื้อที 4 พรานเนื้อ และบริวารจับไม่ได้ อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบนักบวช 4 ประเภทกับเนื้อ 4 ฝูง ซึ่งนักบวชประเภทที่ 1-3 นั้น ถูกมารทำอะไร ๆ ได้ตามใจชอบ ส่วนนักบวชประเภทที่ 4 งดเว้นจากการบริโภคกามได้เด็ดขาด และไม่ยึดติดอยู่กับทิฏฐิใด ๆ จึงเป็นผู้ข้ามพ้นโลกามิสได้ จึงพ้นจากเงื้อมมือมาร และทรงตรัสแสดงข้อปฏิบัติ คือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 และสัญญาเวทยิตนิโรธ ที่มาร และบริษัทของมารมองไม่เห็น ข้ามพ้นตัณหาได้
สูตร#2 เทวาสุรสังคามสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ว่าด้วยสงครามระหว่างเทวดากับอสูร ที่รบกันถึง 3 ครั้ง และพวกอสูรชนะทุกครั้ง พวกเทวดาที่พ่ายแพ้จึงหนีไปยังเทพบุรี พวกอสูรทำอะไรพวกเทวดาไม่ได้ ต่อมาเทวดากับอสูรรบกันอีก พวกอสูรพ่ายแพ้หนีไปยังอสูรบุรี พวกเทวดาทำอะไรพวกอสูรไม่ได้ ทำให้ต่างได้เครื่องป้องกันภัย ทรงเปรียบเทียบกับภิกษุได้บรรลุธรรมแต่ละอย่าง คือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 และสัญญาเวทยิตนิโรธ 1 ทำให้ตนได้เครื่องป้องกันภัย มารทำอะไรภิกษุไม่ได้ ทำให้มารสิ้นสุดปิดตามารจนมองไม่เห็น ข้ามพ้นตัณหาได้
สูตร#3 มาคัณฑิยสูตร (บางส่วน) ทรงแสดงแก่มาคัณฑิยปริพาชก ทรงเปล่งอุทานว่า “ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรม ทางมีองค์ 8 เป็นทางอันเกษม"
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. -
ปฏิปทาเพื่อความสำเร็จ-อากังเขยสูตร สังขารูปปัตติสูตร และนคโรปมสูตร [6644-4s]
สูตร#1 อากังเขยสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน ทรงตรัสเรื่อง ให้สำรวมในปาฏิโมกข์ (ศีลที่เป็นประธาน) เพียบพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร คือ ความสำรวมระวังในศีลทั้งปวง และไม่เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาอาชีวะที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ รวมถึงการรู้จักไปในที่อันควร เห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย
ต่อจากนั้นได้ทรงแสดงว่า ถ้าภิกษุพึงหวังประการใดใน 17 ข้อนี้ เริ่มตั้งแต่ความหวังให้เป็นที่รักเคารพของเพื่อนพรหมจารีขึ้นไปจนถึงความหวังขั้นสูงสุด คือ การทำให้แจ้งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ คือ เป็นพระอรหันต์ ก็จงทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบความสงบจิตในภายใน หมั่นเจริญฌานประกอบด้วยวิปัสสนา และเพิ่มพูนเรือนว่าง (การเรียนกัมมัฏฐาน คือ สมถะ และวิปัสสนา) ข้อปฏิบัติที่แสดงในที่นี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
สูตร#2 สังขารูปปัตติสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน ทรงตรัสว่า การที่ภิกษุประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ซึ่งเมื่อเจริญและทำให้มากแล้ว เมื่อปราถนาจะไปเกิดในสิ่งที่ดี ๆ อย่างไร ให้ตั้งจิต อธิษฐานจิต และเจริญจิตนั้น ก็จะเกิดในฐานะนั้น ๆ ได้ตามปรารถนา ตั้งแต่ความเป็นกษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล จนถึงเทพ พรหมทั้งรูปพรหม และอรูปพรหม และในที่สุด ถึงทำอาสวะให้สิ้นได้
สูตร#3 นคโรปมสูตร ทรงแสดงคุณสมบัติของพระอริยสาวก 7 ประการ ที่ทำให้ละอกุศล เจริญกุศลได้ เปรียบเทียบกับเครื่องป้องกันนคร 7 อย่าง ที่ทำให้นครที่ตั้งอยู่ชายแดนปราศจากภัยอันตรายได้ และทรงแสดงฌาน 4 ประการ ที่เป็นคุณสมบัติภายในของอริยสาวกซึ่งทำให้บรรลุคุณพิเศษชั้นสูงได้ เปรียบเทียบกับคุณสมบัติภายในของนครชายแดน 4 ประการ ที่ทำให้ชาวเมืองอยู่ผาสุก -
ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต-พหุธาตุกสูตร และสฬายตนวิภังคสูตร [6643-4s]
สูตร#1 พหุธาตุกสูตร ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ พระเชตวัน ทรงตรัสว่า ภัย อุปัททวะ และอุปสรรคล้วนเกิดจากคนพาลมิใช่เกิดจากบัณฑิต เหมือนไฟที่ลุกไหม้จากเรือนไม้อ้อ ไหม้เรือนยอดที่มีประตูหน้าต่างปิดสนิทได้ฉะนั้น ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า ด้วยเหตุเท่าไร จึงสมควรเรียกว่าภิกษุผู้เป็นบัณฑิต ตรัสตอบว่า เพราะเป็นผู้ฉลาดในธาตุ เป็นผู้ฉลาดในอายตนะ เป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท และเป็นผู้ฉลาดในฐานะ อฐานะ จากนั้นทรงจำแนกธรรมเหล่านี้โดยละเอียด
สูตร#2 สฬายตนวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกอายตนะ 6 ประการ ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ขณะประทับอยู่พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี โดยมีพระประสงค์ให้ ภิกษุได้ศึกษาเรื่องอายตนะโดยละเอียดลึกซึ้ง ทรงตรัสอธิบาย เรื่อง อายตนะภายใน 6, อายตนะภายนอก 6, หมวดวิญญาณ 6, หมวดผัสสะ 6, มโนปวิจาร 18, สัตตบท 36 และสติปัฏฐาน 3
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
Customer Reviews
สาธุครับ
กราบพระอาจารย์ครับ
ดีมากๆเลยครับ
กราบขอบพระคุณอาจารย์และทีมงาน ได้ฟังพระสูตรเป็นplaylistsยาว และแปลคำบางคำที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้นครับ