296 episodes

การพูดคุยปรึกษา คือ สากัจฉาทำให้เกิดความไม่ประมาทและมีปัญญาได้, มีคำถามอยู่ที่ไหน ก็มีคำตอบอยู่ที่นี่, ตอบทุกข้อสงสัย ทั้งในการดำเนินชีวิต, หลักธรรม หรือการภาวนา โดย ร่วมพูดคุยกับคุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ในช่วง "ตามใจท่าน". New Episode ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา‪)‬ Panya Bhavana Foundation

    • Society & Culture
    • 5.0 • 14 Ratings

การพูดคุยปรึกษา คือ สากัจฉาทำให้เกิดความไม่ประมาทและมีปัญญาได้, มีคำถามอยู่ที่ไหน ก็มีคำตอบอยู่ที่นี่, ตอบทุกข้อสงสัย ทั้งในการดำเนินชีวิต, หลักธรรม หรือการภาวนา โดย ร่วมพูดคุยกับคุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ในช่วง "ตามใจท่าน". New Episode ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ความรู้คือวิชชา ความพ้นคือวิมุตติ [6716-7q]

    ความรู้คือวิชชา ความพ้นคือวิมุตติ [6716-7q]

    Q : อย่าเห็นแก่สั้นอย่าเห็นแก่ยาว (การผูกมิตร)
    A : การให้ทานเป็นหนึ่งในสังคหวัตถุ 4 เราสามารถรับและซื้อของให้กลับเพื่อผูกมิตร มิตรภาพมีค่าควรรับไว้ ทั้งนี้ให้ตรวจสอบสภาวะจิตว่าเราเป็นคนตระหนี่ไหม คือเค้าซื้อของให้แล้วไม่อยากซื้อให้กลับหรือไหม การให้ทานเป็นการลดความตระหนี่ เราควรรักษามิตรภาพไว้หากเขามีศรัทธากับเรา เราก็ดูว่าเราจะเป็นเนื้อนาบุญได้ไหม หรือแนะนำให้หยอดกระปุกชวนทำบุญร่วมกัน / คำว่า “อย่าเห็นแกสั้นอย่าเห็นแก่ยาว” หมายถึง อย่าแตกร้าวจากมิตรให้เร็วนัก อย่าจองเวรให้ยืดเยื้อนัก
     
    Q : คุณสมบัติของเนื้อนาบุญเปรียบกับช้างทรงของพระราชา
    A : อดทนต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ต้องเป็นช้างที่รู้ประหารคือกำจัดสิ่งที่เป็นอกุศล รู้รักษาคือสำรวมอินทรีย์ รู้ไปคือไปทางนิพพาน รู้ฟังคือฟังธรรมะ และรู้อดทนคืออดทนต่อเวทนาคำด่าคำว่า
     
    Q : ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์อุเบกขา วิมุต ต่างกันอย่างไร? 
    A : “ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์” มาจากศัพท์คำว่า “อทุกขมสุข” เป็นเวทนา คือถ้ามีผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกที่บอกไม่ได้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์มากระทบ ก็จะมีความรู้สึกที่จะบอกไม่ได้ว่าสุขหรือทุกข์เกิดขึ้น “อุเบกขา” คือความวางเฉย เป็นเวทนาที่เป็นหนึ่งในสติปัฎฐานสี่ เป็นหนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ “วิมุตติ” คือพ้นไม่เพลิน อยู่เหนือจากอุเบกขาขึ้นไป เมื่อวางได้จึงพ้น / ความต่างของอุเบกขาและวิมุตติคืออุเบกขา เป็นหนึ่งในสติปัฏฐานสี่หนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ ความเหมือนก็คือเป็นเวทนาเหมือนกัน มีความเพลินเหมือนกัน มีสติอยู่ด้วยเหมือนกัน / เมื่อเราเจริญสติปัฏฐานสี่ให้มากทำให้มากแล้ว เราจะมีองค์ธรร

    • 54 min
    การตั้งสติไว้ในกาย [6715-7q]

    การตั้งสติไว้ในกาย [6715-7q]

    Q : กายคตาสติหรือการตั้งสติไว้ในกายทำอย่างไร? 
    A : กายคตาสติคือการตั้งสติไว้ในกาย ใช้กายเป็นฐานที่ตั้งของสติ สามารถทำได้หลายรูปแบบเช่นนัยยะของการนั่งสมาธิแล้วพิจารณากาย การพิจารณากายในอิริยาบถ การพิจารณากายในความเป็นปฏิกูล หรือพิจารณากายจากสถานที่ / การตั้งสติสัมปชัญญะไว้ในกาย คือรู้ตัวทั่วพร้อมรอบคอบในอาการต่าง ๆ ในทุกอิริยาบถ หากเรามีอาการทางกาย เช่น การไอ อย่าให้จิตเราไม่พอใจขยะแขยงเกลียดชังไปกับอาการหรืออิริยาบถนั้น ๆ ให้เรารับรู้อยู่แต่ไม่คิดไปตาม ไม่เพลินไปตามความคิด ไม่เพลินไปตามอาการนั้นอิริยาบถนั้นการปรุงแต่งนั้น ให้รู้ตัวทั่วพร้อมมีสติสัมปชัญญะอยู่กับการไอ
     
    Q : รู้สึกผิดที่ไม่ได้ดูแลพ่อแม่ด้วยตัวเองควรวางใจอย่างไร?
    A : หน้าที่ที่เหมาะสมสำหรับลูกที่ควรกระทำคือเลี้ยงดูบิดามารดา การเลี้ยงดูมี 2 รูปแบบ คือการดูแลทางอามิสคือทางกาย และการตอบแทนที่จะพอเหมาะสม คือการให้ท่านมีศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา คือมี “โสตาปัตติยังคะ 4” ถึงพอจะเหมาะสมกัน ในเรื่องของการดูแลเราสามารถทำเองก็ได้หรือจัดให้ก็ได้ ในเรื่องของสภาพจิตใจต้องดูแลท่าน หมั่นไปเยี่ยมประดิษฐานท่านให้มีศีล ศรัทธา จาคะ และปัญญา ให้เรามองว่าเป็นโอกาสที่เราจะสร้างบุญใหญ่แล้วให้มีความมั่นใจทำจริงแน่วแน่จริง ธรรมะจะคุ้มครองผู้ปฏิบัติธรรมแน่นอน
     
    Q : ทำบุญที่ไหนก็ตามเทียบไม่ได้กับทำบุญกับพ่อแม่
    A : บุญที่เกิดจากการให้ทานอยู่ที่ลักษณะ 3 อย่างคือ ผู้ให้ผู้รับและสิ่งของที่ให้ผู้ให้คือเราผู้รับคือพ่อแม่หากเปรียบพ่อแม่เป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์ท่านไม่มีกิเลสแล้วแต่พ่อแม่ยังมีกิเลสอยู่นัยยะของการเกิดบุญจึงต่างกันอย่างไรก็ตา

    • 56 min
    ขายนิพพาน [6714-7q]

    ขายนิพพาน [6714-7q]

    Q : คอร์สออนไลน์ที่สอนให้บรรลุธรรมเป็นไปได้หรือไม่?
    A : การบรรลุธรรมได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับเหตุเงื่อนไขและปัจจัยเหตุแห่งการบรรลุธรรม คือการปฏิบัติตามมรรค 8 และเราจะไม่สามารถบรรลุธรรมได้แม้จะปฏิบัติตามมรรค 8 แล้วก็ตาม คือมีความเคลือบแคลงเห็นแย้งไม่ลงใจในมรรคในข้อปฏิบัติ หากเราได้ยินได้ฟังเรื่องใดมา เราต้องใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองใคร่ครวญเทียบเคียงกับคำสอนของท่าน ศรัทธาและปัญญาต้องไปคู่กันเสมอ
    Q : การออกเสียงปาฬิภาษาในพระไตรปิฎกให้แม่นยำสำคัญต่อการบรรลุธรรมอย่างไร?
    A : ในวิมุตยายตนสูตร 5 ประการที่เกี่ยวกับการบรรลุธรรมคือการฟัง, การแสดงธรรม, การสวด|สาธยายหมายถึงการสวดการออกเสียง "สัชฌายะ" การตรึกตรองและการทำสมาธิเมื่อเราปฏิบัติตามแล้ว จะทำให้จิตมีปิติ ปราโมทย์ สุข จิตตั้งมั่นมีความเพียรบรรลุธรรมได้ ดังนั้นการออกเสียงสัชฌายะให้ถูกต้องตามอักขระจึงมาตรงกับการสาธยายโดยพิสดาร จะทำให้เรารู้แจ้งอัตถะรู้แจ้งธรรมะได้ดี จะมีความเข้าใจบางประการเกิดขึ้นจากการได้ยินเสียงนั้น
    Q : ฌาน 4 มีคุณสมบัติอย่างไร?
    A : คุณสมบัติของฌาน 4 คือ มีแต่อุเบกขาล้วน ๆ การจะไปดูนรกสวรรค์ได้ก็ไปด้วยกำลังของฌานคือสมาธิ จะทำให้เกิดญาณคือความสามารถนี้ ซึ่งกำลังของญานจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่าสมาธิน้อยหรือมาก
    Q : ลักษณะของการตรัสรู้ธรรมเป็นอย่างไร?
    A : โพธิปักขิยธรรม เป็นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค ลักษณะธรรมะของท่านเปรียบเหมือนจุ่มแห เมื่อเราปฏิบัติตรงนี้ก็จะดึงส่วนอื่นเข้ามาด้วย เราทำส่วนไหนได้ก็ทำส่วนนั้น ทำจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งหมด ทำธรรมะในจิตขอ

    • 55 min
    ตรงผัสสะมีรอยต่อ [6713-7q]

    ตรงผัสสะมีรอยต่อ [6713-7q]

    Q : กิเลสมักเกิดขึ้นในใจ ในรูปแบบของความคิด ก่อนที่จะออกมาเป็นคำพูดหรือการกระทำใช่หรือไม่?    
    A : กิเลสเกิดจากจิตที่มีอวิชชาแฝงอยู่แล้วไม่มีสติรักษาเมื่อมีผัสสะมากระทบก็จะปรุงแต่งไปตามสิ่งที่พอใจหรือไม่พอใจออกมาในรูปแบบความคิดคำพูดการกระทำและเมื่อปรุงแต่งออกไปแล้วก็จะมีอาสวะกลับเข้ามาในจิต
     
    Q : มีสติ หมั่นตามเห็นความคิด (สัญญา) ที่ผ่านเข้ามา และเลือกที่จะไม่ตามมันไป จะช่วยให้เราไม่ตามและขูดเกลากิเลสได้ใช่หรือไม่?
    A : การที่เราแยกแยะได้รู้ว่าสิ่งนี้ดีสิ่งนี้ไม่ดีความรู้นั้นเป็น “สัมมาทิฐิ” เมื่อเรามีปัญญามีความเพียรมีสติสมาธิกิเลสก็จะอยู่ไม่ได้
     
    Q: แนวทางจากคำถามข้างต้น คือ มรรค8 คือ สัมมาสังกัปปะ ใช่หรือไม่?
    A : ล้วนเป็นแนวทางของมรรค8 ตามกันมา เราทำอันใดอันหนึ่งก็จะตามกันมาหมด ซึ่ง มรรค8 คือ ทางเดียว ที่มีองค์ประกอบ 8 อย่าง ไม่ใช่ทาง 8 สาย 
     
    Q: การเข้าฌานกับขณิกสมาธิ, อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ เกี่ยวกันอย่างไร?
    A : ฌานคือกิริยาการเพ่งจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งส่วนขณิกสมาธิ, อุปจารสมาธิ, อัปปนาสมาธินั้นเป็นระดับความลึกของสมาธิถ้าทำได้ไม่นานจัดเป็น “ขณิกสมาธิ” ถ้าพอจะเป็นที่อยู่ได้จัดเป็น “อุปจารสมาธิ” ถ้าทำสมาธิได้ลึกซึ้งนานจัดเป็น “อัปปนาสมาธิ”
     
    Q : สามารถตั้งสติหรือสมาธิจนถึงรอยต่อที่เราจะหลับไป ได้หรือไม่?
    A : ความตายเกิดขึ้นได้ตลอดไม่ใช่แค่เกิดขึ้นระหว่างรอยต่อตรงไหนมีผัสสะตรงนั้นมีรอยต่อเป็นกระแสเกิดและดับสิ่งสำคัญคือเมื่อกระแสดับแล้วจิตเราจะระลึกถึงอะไรคว้าอะไรเราจึงควรทำดีมีสติฝึกทำอยู่ตลอดตรงไหนที่กังวลใจก็ให้กำจัดอาสวะส่วนนี้ออกสมาธิเราก็จะเต็มก็จะไปขั้นสูงขึ้นไปได้อีก
     
    Q :

    • 56 min
    อัปปมัญญา 4 [6712-7q]

    อัปปมัญญา 4 [6712-7q]

    Q : ที่มาของ “ข้าวก้นบาตรพระ”
     A : คืออาหารที่เหลือจากการพิจารณาของพระได้มาจากสัมมาอาชีวะเป็นอาหารที่เกิดจากบุญจากศรัทธาของผู้นำมาถวายจากผู้รับคือพระสงฆ์พิจารณาแล้วจึงบริโภคอาหารนี้จึงเป็นอาหารทิพย์
     
    Q : รักษาจิตด้วยอัปปมัญญา พรหมวิหาร และทิศทั้ง 6
     A : “อัปปมัญญา” คือ การพ้นที่อาศัยพรหมวิหาร 4 ได้แก่ 1) เมตตาเจโตวิมุต จะกำจัดความเบียดเบียน คิดให้เค้าได้ไม่ดี ในจิตใจเรา ผลคือจะทำให้เกิดความสุขที่หลุดพ้นสุขในภายใน (สุภวิโมกข์) 2) กรุณาเจโตวิมุต จะกำจัดความเบียดเบียน คิดให้เค้าได้ไม่ดี ผลคือ จะทำให้เกิด “อากาสานัญจายตนะ” 3) มุทิตาเจโตวิมุต จะกำจัดความไม่ยินดีในความสำเร็จของเขา ผลคือจะทำให้เกิด “วิญญานัญจายตนะ” 4) อุเบกขาเจโตวิมุต จะกำจัดราคะในจิตใจเราถ้าเขาได้ไม่ดี ให้เราวางเฉย อุเบกขา ผลคือจะทำให้เกิด “อากิญจัญญายตนะ” จะมีผล มีอานิสงค์ ละธรรมะที่เป็นเสี้ยนหนาม 4 ประการนั้นได้

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 54 min
    ปัจจัยในการบรรลุธรรม [6711-7q]

    ปัจจัยในการบรรลุธรรม [6711-7q]

    Q : ปัจจัยการบรรลุธรรม?
    A : ตัวเราสำคัญที่สุด เพราะการบรรลุธรรมอยู่ที่จิต ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ทั้งกัลยาณมิตรและสถานที่ที่มีผลทำให้กิเลสเพิ่มขึ้นหรือลดลงเป็นสิ่งที่รองลงมา ถ้าเราอยู่ที่ไหนแล้วปัจจัยสี่ไม่ดี จิตใจไม่สงบ อาสวะเพิ่ม เราไม่ควรอยู่ตรงนั้น แต่หากอยู่ที่ไหนแล้วปัจจัยสี่ดี จิตใจสงบ อาสวะที่ละไม่ได้ก็ละได้ ให้อยู่ตรงนั้นไปตลอดชีวิต
     
    Q : การสร้างศรัทธาขึ้นมาทำอย่างไร?
    A : ศรัทธามีทุกข์เป็นที่ตั้งอาศัย คนที่ถูกความทุกข์ครอบงำแล้วแสวงหาทางออกของทุกข์ ศรัทธาจะเกิด เมื่อเราแสวงหาทางออกด้วยศรัทธา คือ ศรัทธาใน “ธัมโม” หมายถึง กระบวนการวิธีการคือ มรรค8 ศรัทธาใน “พุทโธ” หมายถึง ผู้ที่บรรลุแล้วมีพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลาย ศรัทธาใน “สังโฆ” หมายถึง การปฏิบัติของตัวเราว่า ถ้าคนอื่นเค้าทำได้ เราก็ต้องทำได้ ศรัทธาแล้วมีความเพียร ทำจริง แน่วแน่จริง เกิดสมาธิ ตั้งทิฐิไว้ชอบ ก็จะทำให้เกิดปัญญา ปล่อยวางได้ บรรลุธรรมได้ 
     
    Q : มีความคิดปรุงแต่งมากจะเรียกว่าฟุ้งซ่านไม่มีสมาธิ?
    A : อยู่ที่ว่าคิดปรุงแต่งแล้วกิเลสเพิ่มหรือลด ทั้งมิจฉามรรคหรือสัมมามรรคล้วนเป็นสังขตธรรม แต่ที่ไปคนละทาง สมาธิไม่ใช่ไม่คิดอะไรเลย มีลำดับขั้นของมัน
     
    Q : ศีล ศรัทธา ไม่ครบไม่มั่นคง จะเริ่มปฏิบัติได้อย่างไร?
    A : ศรัทธาจะเกิดเมื่อเห็นทุกข์ เห็นทุกข์ที่ควบคู่กับปัญญาจึงจะเห็นธรรม ควรมีกัลยาณมิตรแนะทางให้ 
     
    Q : ใครเป็นอรหันต์
    A : เป็นเรื่องยากที่ฆราวาสผู้ชุ่มอยู่ด้วยกามจะพึงรู้ จะดูแต่เพียงภายนอกไม่ได้ ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยวาจา กำลังจิตพึงรู้ได้เมื่อมีภัย ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการตอบ ที่สำคัญ คือ ตอบต

    • 52 min

Customer Reviews

5.0 out of 5
14 Ratings

14 Ratings

Top Podcasts In Society & Culture

People You May Know
FAROSE podcast
พี่อ้อยพี่ฉอด พอดแคสต์
CHANGE2561
Midnight Diary
Naphat's bedroom story
Open Relationship
THE STANDARD
Salmon Podcast
Salmon Podcast
เล่าเรื่องรอบโลก by กรุณา บัวคำศรี
karunabuakamsri

You Might Also Like

1 สมการชีวิต
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
5 นิทานพรรณนา
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
3 ใต้ร่มโพธิบท
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
4 คลังพระสูตร
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
2 จิตตวิเวก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

More by วัดป่าดอนหายโศก

5 นิทานพรรณนา
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
3 ใต้ร่มโพธิบท
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
2 จิตตวิเวก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
4 คลังพระสูตร
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
1 สมการชีวิต
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana