
285 episodes

a day Podcast a day
-
- Arts
-
-
4.2 • 67 Ratings
-
a day Podcast, podcast for all things creative.
-
กองหนังสือที่ทำให้ เน PERSES มองเห็นโลกในความเป็นจริง | บันทึกการอ่าน EP.3
#บันทึกการอ่าน EP.03 เราชวน ‘เน—ณรัณ วิกัยรุ่งโรจน์’ ชายหนุ่มผู้เป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งในศิลปินจากวง PERSES มาเล่าถึงประสบการณ์การอ่าน จากจุดเริ่มต้นที่ชอบอ่านมังงะและการ์ตูนตามพี่ชายตั้งแต่เด็กๆ ก่อนจะค่อยๆ ขยับมาอ่านวรรณกรรมมากขึ้นในช่วงเรียนฟิล์มในมหาวิทยาลัย ซึ่งเหมือนได้เปิดโลกของการดูหนังและหนังสือด้วยเพื่อนในคณะไปพร้อมๆ กัน ทำให้เนสนใจประเด็นโลกทุนนิยม เฟมินิสต์ และความเป็นมนุษย์อย่างลึกซึ้ง
-
ภาพวาดเด็กสาวที่ถูกเรียกว่า ‘ปีศาจ’ คอลเลกชันส่วนตัวในราชวงศ์สเปน ระหว่างของเล่นหรืองา
หนึ่งในภาพของคอลเลกชันส่วนตัวในราชวงศ์สเปนที่เก็บมานานหลายร้อยปี นั้นมีภาพของเด็กสาวคนหนึ่งที่สวมชุดสีแดงร่างกายอวบอ้วนที่ถูกเรียกว่า “ปีศาจสวมเสื้อผ้า” ข้างๆ กันมีภาพของเธอในอีกอิริยาบถ เนื้อตัวเปลือยเปล่าสวมเพียงแค่มงกุฏเถาองุ่น ภาพนี้ถูกเรียกด้วยชื่อที่มีแนวคิดคล้ายกันว่า “ปีศาจไม่สวมเสื้อผ้า”
.
ทำไมเด็กผู้หญิงคนนี้ถึงถูกเรียกว่าปีศาจละ?
.
อดีตของปัจจุบันตอนนี้ เราจะพาไปไขปริศนาภาพวาดปีศาจของเด็กสาวคนนี้ ถึงจุดเริ่มต้นชีวิตของเธอคนนี้มีจริงหรือไม่ และถูกกลายมาเป็นปีศาจได้อย่างไร รวมถึงบทสรุปของเรื่องนี้จะจบลงตรงไหน เตย-มนสิชา และ ยุ้ย-กนกพรรณ จะมาเล่าให้ฟังในอดีต / ของ / ปัจจุบัน EP. 45 -
สร้อยข้อมือเพชรของพระนางมารี อ็องตัวเน็ตมรดกแสนเศร้าที่ถูกสืบทอด | อดีต / ของ / ปัจจุบัน EP.43
เรื่องราวและสิ่งของของพระนางมารี อ็องตัวเน็ต ราชินีผู้โชคร้ายยังคงจับใจคนในปัจจุบันอยู่เสมอ หนึ่งในนั้นคือสร้อยข้อมือเพชร มรดกตกทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นมาอย่างยาวนาน
.
เมื่อปี 2021 มีการประมูลเครื่องเพชรของพระนางมารี อ็องตัวเน็ต อดีตราชินีฝรั่งเศส ซึ่งในบรรดาของที่มาประมูลในครั้งนั้นมีไฮไลท์คือสร้อยข้อมือทั้งสองเส้น โดยสร้อยข้อมือทั้งสองเส้นนี้นอกจากจะถูกพูดถึงยกย่องในแง่ความสวยงามอลังการ ยังมีประวัติศาสตร์น่าสนใจ เพราะเชื่อกันว่าเป็นของแทนใจที่ลูกสาวคนเดียวของมารี อ็องตัวเน็ต คือมารี-เตเเรซ เหลือไว้ดูต่างหน้าคุณแม่ผู้เป็นที่รักด้วย
.
การเดินทางของสร้อยข้อมือที่ว่านี้จะเป็นอย่างไร ชวนทุกคนไปติดตามพร้อมกันได้ในรายการ อดีต / ของ / ปัจจุบัน EP. 44 โดย เตย มนสิชา และยุ้ย กนกพรรณ แห่งเพจ พื้นที่ให้เล่า -
พัฒนาพื้นที่เพื่อโลกที่เรารัก และสอนคนให้ยืนได้ด้วยตัวเอง กับ วิสิษฐ์อร รัชตะนาวิน มูลน
เราสามารถพัฒนา ‘คน’ และ ‘พื้นที่’ ไปพร้อมกันอย่างยั่งยืนได้ไหม?
.
การเรียนรู้ที่ดีคือ การสอนให้พวกเขายืนหยัดได้ด้วยตัวเองไม่ว่าจะเป็นการถ่ายทอดวิธีการหรือให้ความรู้ รวมถึงให้โอกาสในการลงมือทำ เหมือนอย่างที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในแต่ละบริบทพื้นที่ โดยส่งเสริมคนที่ขาดโอกาสให้สามารถสร้างอาชีพและรายได้เลี้ยงชีพในระยะยาว รวมทั้งช่วยพัฒนาพื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน
.
เบื้องหลังแนวคิดของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ มีวิธีการอย่างไรจนเกิดเป็นโมเดลธุรกิจนี้ a day Podcast ชวนฟังรายการ SE Talk with a day X สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) เปิดโลก Social Enterprise ธุรกิจที่สร้างด้วยหัวใจ แปลงกำไรคืนสู่สังคม ตอนที่ 10: พัฒนาพื้นที่เพื่อโลกที่เรารัก และสอนคนให้ยืนได้ด้วยตัวเอง กับ วิสิษฐ์อร รัชตะนาวิน ผู้อำนวยการฝ่ายศูนย์พัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระราชูปถัมภ์ -
อดีต / ของ / ปัจจุบัน EP.43 เสื้อขาวและคราบเลือดของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ในวันที่เกือบถูกลอบส
หนึ่งในราชวงศ์ที่เผชิญหน้าการลอบสังหารหลายรูปแบบ คือราชวงศ์โรมานอฟของรัสเซีย แต่ไม่มีครั้งไหนที่แปลกและงงที่สุดเท่านิโคลัส จนถึงขนาดมีข่าวลือว่าเป็นชนวนสงครามของรัสเซียและญี่ปุ่น
.
การลอบสังหารนี้เกิดขึ้นระหว่างที่ นิโคลัส ดำรงตำแหน่งซาเรวิช (เจ้าชายรัชทายาท) และเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่น ปี 1891 ช่วงเวลานั้นมีชายชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งพุ่งดาบใส่เจ้าชายรัชทายาท จนเกิดเป็นรอยแผลเล็กๆ หยดลงบนเสื้อขาว หลังจากนั้นเกิดเป็นมหากาพย์การแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งของราชวงศ์ญี่ปุ่นกับรัสเซียเพื่อหลีกเลี่ยงความบาดหมางระหว่างสองประเทศ ซึ่งเกิดจากการกระทำของชายธรรมดาเพียงคนเดียว
.
แต่ในความโชคร้ายก็กลายเป็นความโชคดีเล็กๆ จากเหตุการณ์นั้นก็ได้มีการเก็บเสื้อเปื้อนเลือดของนิโคลัสไว้อย่างดี และกลายเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญเพื่อระบุตัวตนของพระองค์จากร่างที่พบหลังการปฎิวัติรัสเซีย
.
แรงจูงใจการลอบสังหารของชายชาวญี่ปุ่นคืออะไร เหตุการณ์หลังจากนั้นเกิดอะไรขึ้นกับราชวงศ์รัสเซียบ้าง ติดตามได้ในรายการ อดีต / ของ / ปัจจุบัน EP.43 โดย เตย มนสิชา และ ยุ้ย กนกพรรณ แห่งเพจพื้นที่ให้เล่า -
คุยธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ กับเจนวิทย์ วิโสจสงคราม บริษัท บัดดี้โฮมแคร์ จำกัด | SE TALK with a day EP.9
ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุจะช่วยเหลือสังคมได้อย่างไร?
.
ทุกวันนี้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเรียบร้อยแล้ว และจะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ขณะเดียวกันปัญหาสังคม อย่างเด็กที่ขาดโอกาสเข้าถึงการศึกษาก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ เจนวิทย์ วิโสจสงคราม ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท บัดดี้โฮมแคร์ จำกัด และสมาชิก เล็งเห็นโอกาสทำธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ โดยสอนวิชาให้คนที่ขาดโอกาสได้มีความรู้ อาชีพ และรายได้เลี้ยงดูตัวเองในระยะยาว
.
เบื้องหลังธุรกิจดังกล่าวจะมีแนวคิดและวิธีการอย่างไรจนเกิดเป็นโมเดลธุรกิจนี้ a day Podcast ชวนฟังรายการ SE Talk with a day X สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) เปิดโลก Social Enterprise ธุรกิจที่สร้างด้วยหัวใจ แปลงกำไรคืนสู่สังคม ตอนที่ 9: ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ การวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับสังคมผู้สูงวัยในอนาคต กับ เจนวิทย์ วิโสจสงคราม บริษัท บัดดี้โฮมแคร์ จำกัด
Customer Reviews
ถึงพี่สิงห์
พี่สิงห์เก่งมากๆหนูโคตรชอบพี่เลย เป็นผู้ชายในอุดมคติ