3 ใต้ร่มโพธิบท

3 ใต้ร่มโพธิบท Podcast

เรียนรู้หัวข้อธรรมะ ที่เป็นแผนที่แม่บท เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้วยสูตร 15+45 คือนั่งสมาธิ 15 นาที แล้วตามด้วยการอธิบายหัวข้อธรรมะ 45 นาที เพื่อให้ตกผลึกความคิดเป็นสัมมาทิฏฐิ มีปัญญาเดินทางแผนที่คำสอนได้. New Episode ทุกวันพุธ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  1. 2 DAYS AGO

    ภัยอันตรายที่พึงพิจารณา [6739-3d]

    พระพุทธเจ้าได้ทรงแบ่งภัยในโลกนี้ไว้ 2 อย่างคือ ภัยที่ช่วยเหลือกันได้ และภัยที่ช่วยกันไม่ได้ 1.ภัยที่พอช่วยเหลือกันได้ ได้แก่ 1.ภัยน้ำท่วม 2.ภัยเกิดจากไฟไหม้ 3.ภัยเกิดจากโจรขโมยและสงคราม ภัยเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วยังพอช่วยเหลือให้ผ่อนหนักเป็นเบาได้บ้าง มากบ้างน้อยบ้าง ตามสถานการณ์ 2.ภัยที่ช่วยกันไม่ได้ ถึงแม้จะเป็น พ่อ แม่ ลูก ที่รักและห่วงใยกันแค่ไหนก็ไม่สามารถช่วยกันได้เลย ได้แก่ 1. ภัยจากความแก่(ชราภัย) 2.ภัยจากความเจ็บไข้(พยาธิภัย) 3. ภัยจากความตาย(มรณะภัย) ภัยเหล่านี้เป็นภัยที่หากเกิดขึ้นแก่ผู้แล้วไม่มีใครที่จะสามารถช่วยแบ่งเบา หรือรับเอาภัยนั้นมาแทนกันได้เลย พระพุทธองค์ทรงชี้ทางออกไว้ให้ว่าหากผู้ใดเป็นผู้ที่มีอริยมรรคมีองค์ 8 ประกอบอยู่ในจิตของตน ผู้นั้นก็จะสามารถพ้นจากภัยอันตรายที่เกิดขึ้นจาก ความแก่ ความเจ็บ และความตายในอนาคตได้อย่างแน่นอน โดยอริยมรรคมีองค์ 8 นี้ได้แก่ 1.ศีล คือสัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ,สัมมาอาชีวะ 2.สมาธิ คือสัมมาวายามะ,สัมมาสติ,สัมมาสมาธิ 3.ปัญญา คือ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ ภัยต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประสบภัยนั้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในที่นี้จะกล่าวถึงหมวดธรรมที่ทำให้เห็นว่าสุข-ทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นสิ่งใดทำให้เกิด โดยจะกล่าวหมวดธรรม 3 ข้อที่เป็นมิจฉาทิฐิ ได้แก่ 1.สุข ทุกข์ เกิดจากผู้อื่นทำให้ 2.สุข ทุกข์ เกิดจาก กรรมเก่า 3.สุข ทุกข์ เกิดจาก ไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย หากผู้ใดมีมิจฉาทิฐิทั้ง 3 ข้อนี้ ก็จะเป็นผู้ที่ไม่ได้ทำสิ่งที่ควรทำ ไม่ได้ละในสิ่งที่ควรละ จะทำให้อกุศลเกิดขึ้นในจิตใจได้ และเมื่อใดก็ตามที่อกุศลเกิด แต่กุศลไม่เกิดในจิตใจ เมื่อนั

    57 min
  2. 17 SEPT

    สังคหวัตถุ 4 [6738-3d]

    ธรรมะที่ช่วยประสานประโยชน์ให้เกิดความสามัคคี ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เป็นเครื่องช่วยขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทำให้คนอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ให้เกิดความสงเคราะห์กัน เข้าใจกันลงกันได้ สามารถนำไปใช้ได้ตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับสังคม หมวดธรรมที่ว่านี้นั่นก็คือ “สังคหวัตถุ 4” อันประกอบไปด้วย 1. ทาน คือ การรู้จักให้ รู้จักเสียสละ การเผื่อแผ่ แบ่งปัน ให้ความช่วยเหลือสงเคราะห์ 2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ อ่อนหวาน ไม่พูดหยาบคาย และมีความจริงใจ ไม่โกหกเสแสร้ง ไม่พูดส่อเสียดยุยงให้เตกร้าว พูดแต่ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ 3. อัตถจริยา คือ การทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น 4. สมานัตตตา คือ การวางตัวเสมอต้นเสมอปลาย หนักแน่น ให้ความเสมอภาคกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    59 min
  3. 10 SEPT

    เบญจศีลและเบญจธรรม [6737-3d]

    พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง หลักคำสอนและวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ สรุปเป็นใจความสำคัญว่าไว้ 3 ขั้น คือ ให้ละเว้นความชั่ว ให้ทำความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ นี่คือเส้นทางที่จะนำไปสู่ทางหลุดพ้นได้ ซึ่งในครั้งนี้จะกล่าวถึงหลักธรรมที่เป็นขั้นของการชี้แนวทางแห่งโลกุตระ นั่นคือเบญจศีลและเบญจธรรม เบญจศีลและเบญจธรรม เป็นธรรมคู่กัน คนที่มีเบญจธรรมจึงจะเป็นผู้มีเบญจศีล ซึ่งหากคนมีศีลและธรรมดังกล่าวแล้ว จะเว้นจากการทำความชั่ว รู้จักควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความดี ไม่เบียดเบียนตนและคนอื่น และประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ  เบญจศีล คือ ศีล 5 ข้อ เป็นการรักษาเจตนาที่จะควบคุมกายและวาจาให้เป็นปกติ คือ ไม่ทำบาป โดยการละเว้น 5 ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักขโมย ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ละเว้นจากการพูดปด ละเว้นจากการเสพสุรา เบญจธรรม เป็นหลักธรรมที่ควรปฏิบัติ มี 5 ประการ ได้แก่ เมตตากรุณา คือ บุคคลใดที่มีเมตตาย่อมไม่ฆ่า หรือเบียดเบียนสัตว์ เมตตากรุณาจึงเป็นจิตที่สามารถเพิ่มพูนพัฒนาได้จากการเว้นจากการฆ่า สัมมาอาชีวะ คือ ประกอบอาชีพที่สุจริต มีรายได้ รู้จักใช้จ่าย และที่สำคัญรู้จักคำว่าพอดี และมีหิริโอตตัปปะ คือ ความละอาย และเกรงกลัวต่อผลของบาป จึงทำให้ไม่ลักขโมยของผู้อื่นกามสังวร คือ ความสำรวมอินทรีย์ ระมัดระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ทำให้ ความใคร่ในกามคุณ คือ การติดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ลดน้อยลง เมื่อความสำรวมเกิดขึ้น จึงทำให้ไม่ประพฤติผิดในกามสัจจะ คือ การพูดความจริง เป็นสิ่งที่ทำให้ไม่เกิดการมุสาวาท สติสัมปชัญญะ คือ การรู้สึกตัว การไม่ประมาท เพราะรู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว ทำให้ไม่เกลือ

    57 min
  4. 3 SEPT

    กถาวัตถุ 10 ประการ [6736-3d]

    คำพูดเป็นสิ่งสำคัญ พระพุทธเจ้าท่านจึงทรงบัญญัติไว้ถึง ‘กถาวัตถุ 10’ คือ เรื่องที่ควรพูด นอกเหนือจาก คำพูดที่เว้นขาดจากการพูดโกหก ส่อเสียด หยาบคาย และพูดเพ้อเจ้อ และ ‘อักโกสวัตถุ 10’ คือ เรื่องที่ไม่ควรพูด เพราะไม่มีประโยชน์ และทำความเจ็บช้ำน้ำใจแก่ผู้อื่น ได้แก่ ชาติกำเนิด ชื่อ โคตร อาชีพ ศิลปะ (ฝีมือ) โรค รูปพรรณสัณฐาน กิเลส อาบัติ และคำสบประมาทอื่น ๆ ส่วน ‘กถาวัตถุ 10’ เรื่องที่สมควรพูด ได้แก่ ถ้อยคำให้เกิดความมักน้อย คือ ไม่โอ้อวด ความสันโดษ เกิดความสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร ให้ตั้งอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งการพูด ‘กถาวัตถุ 10’ ให้ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลาได้นั้น นอกจากจะเป็นสัมมาวาจาแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างสัมมาสติ สัมมาวายามะ และสัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ ไปตามทางมรรค 8 พร้อมกันอีกด้วย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    59 min
  5. 27 AUG

    ปัจจัย 24 ประการ [6735-3d]

    คัมภีร์มหาปัฏฐาน เป็น 1 ใน 7 คัมภีร์ที่ใช้สวดในงานศพ ได้แก่ 1.ธัมมสังคณี 2.วิภังคปกรณ์ 3.ธาตุกถา 4. ปุคคลบัญญัติ 5. กถาวัตถุ 6.ยมกปกรณ์ และ 7.มหาปัฏฐาน โดยบทสวดมหาปัฏฐาน เป็นบทสวดที่กล่าวถึง ปัจจัย 24 ประการที่แสดงความเป็นไปของสภาวธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน หรือเป็นองค์ประกอบที่ช่วยเอื้อ เกื้อหนุน ค้ำจุน เป็นเหตุ หรือเป็นเงื่อนไขให้สิ่งอื่น หรือสภาวธรรมอย่างอื่น เกิดขึ้น คงอยู่ หรือเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยปัจจัย 24 ประการได้แก่ 1.เหตุปัจจะโย (ปัจจัยโดยเหตุ) 2.อารัมมะณะปัจจะโย( ปัจจัยโดยเป็นอารมณ์) 3.อธิปะติปัจจะโย (ปัจจัยความเป็นใหญ่) 4.อนันตะระปัจจะโย (ปัจจัยโดยความต่อเนื่อง) 5.สะมะนันตะระปัจจะโย( ปัจจัยเป็นภาวะต่อเนื่องทันที ) 6.สะหะชาตะปัจจะโย( ปัจจัยที่เกิดร่วมกัน) 7.อัญญะมัญญะปัจจะโย (ปัจจัยที่อาศัยซึ่งกันและกัน) 8.นิสสะยะปัจจะโย ( ปัจจัยโดยเป็นที่อาศัย) อาศัยอะไรจีงจะดีหรือชั่วขึ้นมาได้ 9.อุปะนิสสะยะปัจจะโย (ปัจจัยโดยเเป็นเครื่องหนุนให้เกิดอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า) 10.ปุเรชาตะปัจจะโย (ปัจจัยที่เกิดก่อน) 11.ปัจฉาชาตะปัจจะโย (ปัจจัยที่เกิดทีหลัง) 12.อาเสวะนะปัจจะโย (ปัจจัยโดยการซ้ำบ่อยหรือทำให้ชิน) 13.กัมมะปัจจะโย (ปัจจัยโดยเป็นกรรมคือเจตจำนง) 14.วิปากาปัจจะโย ( ปัจจัยโดยเป็นวิบาก) 15.อาหาระปัจจะโย (ปัจจัยโดยเป็นอาหาร) คือเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง 16.อินทริยะปัจจะโย (ปัจจัยโดยเป็นเจ้าของการเป็นใหญ่) 17.ฌานะปัจจะโย ( ปัจจัยโดยเป็นภาวะจิตที่เป็นฌาน) 18.มัคคะปัจจะโย ( ปัจจัยโดยเป็นมรรค) 19.สัมปะยุตตะปัจจะโย (ปัจจัยโดยประกอบกัน) เช่นความคิด อารมณ์ 20.วิปปะยุตตะปัจจะโย (ปัจจัยโดยแยกกันแตกต่างกัน) เช่นนามกับรูป 21.อัตถิปัจจะโย ( ปัจจัย

    59 min
  6. 20 AUG

    อธิษฐาน4 พละ4 [6734-3d]

    การจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิดความสำเร็จขึ้นได้ ต้องอาศัยความตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้า ในทีฆนิกาย กล่าวถึง ‘อธิษฐาน’ ซึ่งไม่ใช่การร้องขอ แต่หมายถึง ธรรม 4 ประการ ที่ควรตั้งมั่นไว้ในใจ ได้แก่ ปัญญา (ใช้พิจารณา) สัจจะ (ทำให้เกิดขึ้นจริง) จาคะ (สละความเคยชินที่ไม่ดีออก) และอุปสมะ (ความสงบ) ซึ่งสัมพันธ์กับหมวดธรรมในอังคุตรนิกาย ที่กล่าวถึง ‘พละ 4’ คือ กำลัง ได้แก่ ปัญญาพละ (ปัญญา) วิริยพละ (ความเพียร) อนวัชชพละ (กรรมที่ไม่มีโทษ) และสังคหพละ (การสงเคราะห์) กล่าวคือ ‘อธิษฐาน 4’ และ ‘พละ 4’ นั้น เริ่มจากปัญญาเหมือนกัน อาทิ เห็นสิ่งที่เป็นกุศล-อกุศล คุณ-โทษ เกิด-ดับ เป็นต้น โดยสามารถตั้ง ‘อธิษฐาน’ เป็นวิริยพละ หรือนำ ‘พละ’ ไปเกื้อหนุนอธิษฐานในการทำสิ่งนั้น ที่เป็นกุศลด้วยกาย วาจา และใจ ให้สำเร็จเป็นจริงขึ้นมาได้ ยิ่งกว่านั้น ผู้ที่มีพละ 4 นี้ จะทำให้ไม่หวั่นไหวต่อภัย 5 ประการในการดำเนินชีวิตอีกด้วย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    58 min
  7. 13 AUG

    ปาฏิปุคคลิกทาน (6733-3d]

    ปาฏิปุคคลิกทาน 14 อย่าง คือทานที่ให้จำเพาะบุคคล เรียงตามอานิสงส์ที่ได้จากน้อยไปหามากได้ดังนี้ - ให้ทานแก่สัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑๐๐ เท่า - ให้ทานแก่ผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑,๐๐๐ เท่า - ให้ทานแก่บุคคลผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑๐๐,๐๐๐ เท่า - ให้ทานแก่บุคคลนอกศาสนาพุทธ ที่ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑๐๐,๐๐๐โกฏิ เท่า - ให้ทานแก่บุคคลที่จะทำโสดาบันให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้ - ให้ทานแก่บุคลลที่เป็นโสดาบัน พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้ - ให้ทานแก่บุคลลที่จะทำสกทาคามีให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้ - ให้ทานแก่บุคลลที่เป็นสกทาคามี พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้ - ให้ทานแก่บุคลลที่จะทำอนาคามีให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้ - ให้ทานแก่บุคลลที่เป็นอนาคามี พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้ - ให้ทานแก่บุคลลที่จะทำอรหันต์ให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้ - ให้ทานแก่บุคลลที่เป็นอรหันต์ พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้ - ให้ทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้ - ให้ทานแก่พระพุทธเจ้าพึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้ ปาฏิปุคคลิกทานนั้น พระพุทธเจ้ากล่าวว่ามีผลไม่มากเท่าทานที่ให้ในหมู่สงฆ์ (สังฆทาน) สังฆทาน 7 ที่พระพุทธเจ้ากล่าวไว้คือรูปแบบของการให้ทานดังนี้ 1. ให้ทานในสงฆ์ 2 ฝ่าย (ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข 2. ให้ทานในสงฆ์ 2 ฝ่าย ในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 3. ห้ทานในหมู่ภิกษุสงฆ์ 4. ให้ทานในหมู่ภิกษุณีสงฆ์ 5. ขอให้จัดตัวแทนภิกษุและภิกษุณี แล้วให้ทาน (ให

    57 min
  8. 6 AUG

    บทสวดแด่ผู้ล่วงลับ [6732-3d]

    บทสวดที่นิยมสวดในงานทำบุญบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับนั้น มักจะมีเนื้อหาที่กล่าวให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ให้เกิดการปล่อยวาง ให้เห็นถึงความสังเวช ปลงได้ ให้เห็นถึงความละเอียดลงไป ให้เห็นถึงอริยทรัพย์จะมีบทหลักๆที่สวดอยู่ประมาณ 3-4 บท ในที่นี้จะกล่าวถึงบทหลักๆ 4 บท โดยบทสวดทั้ง 4 นี้มีทั้งที่เป็นคาถาและพระสูตร คือ ปัพพโตปมคาถา เป็นคาถาที่กล่าวถึงภูเขาหินใหญ่ คาถาบทนี้อุปมาถึงภูเขาหินใหญ่ที่กลิ้งบดขยี้ทุกสิ่งอย่างมาทั้ง 4 ทิศ เราจะทำอย่างไรก็ไม่ได้ เปรียบกับความแก่ความตายที่ครอบงำเราอยู่ไม่เว้นผู้ใดเลย ผู้เป็นบัณฑิตเท่านั้นที่จะรู้ว่าต้องมีพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์เป็นที่พึ่งจึงจะผาสุกอยู่ได้แม้ภัยนี้มาถึง อริยธนาคาถา อริยทรัพย์อันประเสริฐเป็นบทสวดที่กล่าวถึงทรัพย์ 5 ประการ ได้แก่ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ถ้าเราตายจากไปจะเอาทรัพย์อะไรติดตัวไปไม่ได้เลย ยกเว้นอริยทรัพย์ทั้ง 5 นี้ ธัมมนิยามสุตตุง บทแสดงธรรมนิยามเป็นบทที่นำเอาพระสูตรที่มีชื่อว่าธัมมะนิยามะสุตตัง บทสวดที่แสดงถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของสิ่งต่างๆ ของธรรมะต่างๆ ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะมาอุบัติขึ้นหรือไม่ จะมีคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ก็ตาม ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อนัตตาก็มีอยู่ ภัทเทกรัตตคาถา ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ เป็นบทสวดที่กล่าวถึงความที่เราไม่ควรคิดถึงอดีต อนาคต แต่ให้อยู่กับปัจจุบันถ้าจะมีชีวิตเหลืออยู่แค่วันเดียวถ้าได้ทำความดีก็ถือว่าคุ้มแล้วในชีวิตนี้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    57 min

About

เรียนรู้หัวข้อธรรมะ ที่เป็นแผนที่แม่บท เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้วยสูตร 15+45 คือนั่งสมาธิ 15 นาที แล้วตามด้วยการอธิบายหัวข้อธรรมะ 45 นาที เพื่อให้ตกผลึกความคิดเป็นสัมมาทิฏฐิ มีปัญญาเดินทางแผนที่คำสอนได้. New Episode ทุกวันพุธ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

To listen to explicit episodes, sign in.

Stay up to date with this show

Sign in or sign up to follow shows, save episodes and get the latest updates.

Select a country or region

Africa, Middle East, and India

Asia Pacific

Europe

Latin America and the Caribbean

The United States and Canada