170 episodes

OPINION FOR THE BETTER. Support this podcast: https://podcasters.spotify.com/pod/show/themodernistth/support

THE MODERNIST THE MODERNIST

    • News

OPINION FOR THE BETTER. Support this podcast: https://podcasters.spotify.com/pod/show/themodernistth/support

    Article Sound EP.7 : เมื่อความรักในเมืองนี้มันหายาก สิ่งศักดิ์สิทธิ์จึงเป็นคำตอบ

    Article Sound EP.7 : เมื่อความรักในเมืองนี้มันหายาก สิ่งศักดิ์สิทธิ์จึงเป็นคำตอบ

    ถ้าต้องประกวดกันว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดในเมืองไทยทำงานหนักที่สุด ‘พระแม่ลักษมี’ คงจะเป็นหนึ่งชื่อที่เข้ารอบและอาจถึงขั้นชนะเลิศเนื่องจากความปังทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความรัก” มาส่องเหตุผลว่าทำไมเรื่องหัวใจเราต้องใช้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยได้ในบทความนี้

    ผู้ให้เสียงคำบรรยาย : นิธิกาญจน์ ชัยณรงค์


    ---

    Support this podcast: https://podcasters.spotify.com/pod/show/themodernistth/support

    • 6 min
    Article Sound EP.8 : ‘สิทธิสตรีกับการร่ำสุรา’ เมื่อความเมามายถูกผูกติดกับปิตาธิปไตย

    Article Sound EP.8 : ‘สิทธิสตรีกับการร่ำสุรา’ เมื่อความเมามายถูกผูกติดกับปิตาธิปไตย

    ในสังคมไทย ผู้หญิงและผู้ชายมีบทบาทหน้าที่ระหว่างเพศแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยแบ่งพื้นที่สำหรับงานหรือบทบาทของคนทั้งสองเพศออกเป็นโลกในบ้านกับโลกนอกบ้าน ที่ส่งผลกระทบต่อจารีต ประเพณี ค่านิยม มุมมองและความคิดของผู้คน

    หลายคนอาจไม่อยากปักใจเชื่อว่าพฤติกรรมการดื่มเหล้าในแบบปัจจุบันที่เห็นกันบ่อยครั้ง ส่วนหนึ่งถูกหล่อหลอมมาจากค่านิยมปิตาธิปไตย ไม่ว่าจะการจับคู่เครื่องดื่มเข้ากับเพศ ไปจนถึงทัศนคติที่มีต่อคนเพศต่างๆ เวลาดื่มเหล้าหรือออกไปสังสรรค์ยามค่ำคืน


    ---

    Support this podcast: https://podcasters.spotify.com/pod/show/themodernistth/support

    • 10 min
    Article Sound EP.7 : เศรษฐีนีผิวสีคนแรกของสหรัฐฯ "มาดาม ซี.เจ.วอล์กเกอร์"

    Article Sound EP.7 : เศรษฐีนีผิวสีคนแรกของสหรัฐฯ "มาดาม ซี.เจ.วอล์กเกอร์"

    ในโลกธุรกิจมี Case Study นักธุรกิจคนหนึ่งที่น่าสนใจ เธอเป็นสตรีผิวสี เกิดในยุคสมัยที่สหรัฐฯ เพิ่งประกาศเลิกทาส แต่บรรยากาศทางสังคม ณ ขณะนั้น ยังคงเต็มไปด้วยกลิ่นอายของการเหยียดสีผิวและเชื้อชาติ

    วันหนึ่งเมื่อเธอประสบปัญหากับหนังศีรษะ ผมร่วง จนสูญเสียความมั่นใน ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนคนผิวสีแทบทุกที่ในขณะนั้น เนื่องจากอากาศหนาวทำให้หลายคนไม่นิยมอาบน้ำและสระผม จนเกิดปัญหาสุขอนามัยบนหนังศีรษะ

    เธอจึงคิดค้นสูตรยาปลูกผมเพื่อรักษาหนังศรีษะและกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมขึ้นมา ประกอบกับคิดค้นแชมพูเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนในยุคสมัยนั้นหามาสระผมกันมากขึ้น

    เธอเดินสายไปทั่วตอนใต้ของสหรัฐฯ กับสามีคนที่สอง เพื่อโปรโมตสินค้าและสาธิตการดูแลเส้นผม

    ไม่กี่ปีให้หลัง เธอเปิดโรงงานและโรงเรียนสอนเสริมสวย พร้อมกับอบรมเทคนิคการขาย เพื่อพัฒนาผู้แทนสินค้ากว่าหมื่นรายออกขายไปทั่วสหรัฐฯ จนกลายเป็นเศรษฐีนีผิวสีคนแรกของอเมริกา

    ชื่อของเธอคือ ซาราห์ บรีดเลิฟ หรือเป็นที่รู้จักกันในนามผู้ก่อตั้งแบรนด์ ‘มาดาม ซี.เจ.วอล์กเกอร์’

    ผู้ให้เสียงคำบรรยาย : นิธิกาญจน์ ชัยณรงค์


    ---

    Support this podcast: https://podcasters.spotify.com/pod/show/themodernistth/support

    • 6 min
    Article Sound EP.6 : ‘Lazy Girl Job’ เทรนด์ทำงาน สไตล์คนขี้เกียจ

    Article Sound EP.6 : ‘Lazy Girl Job’ เทรนด์ทำงาน สไตล์คนขี้เกียจ

    เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินประโยคคุ้นหูที่ว่า “ลำบากวันนี้ สบายวันหน้า” แนวคิดการทำงานที่ถูกปลูกฝังจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งบางคนอาจมองว่าเป็นแนวคิดที่สามารถใช้ได้จริง เพราะเชื่อว่าความขยันตั้งใจทำงานจะทำพาไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จในวันข้างหน้าได้ ทว่าในโลกยุคปัจจุบันที่ไม่มีความแน่นอน เราไม่สามารถรู้ได้อย่างแม่นยำว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตบ้าง ทำให้คนบางกลุ่มเกิดคำถามกับแนวคิดดังกล่าวว่า “ลำบากวันนี้ สบายวันไหนกันแน่?”

    อย่างไรก็ตาม ความขยันอาจไม่ได้เป็นเครื่องมือสำคัญในการไปสู่เป้าหมายในการทำงานอีกต่อไป เมื่อ Gabrielle Judge คอนเทนต์ครีเอเตอร์ชื่อดังบน TikTok ได้ทำคลิปวิดีโอพูดถึงความคาดหวังใหม่ในการทำงานของคน Gen Z ยุคปัจจุบัน ผ่านเทรนด์การทำงานที่เรียกว่า “Lazy Girl Job” หรือเรียกว่า การทำงานแบบสาวขี้เกียจ โดยต้องบอกก่อนว่า ความขี้เกียจที่ปรากฏในเทรนด์นี้ ไม่ใช่การเกี่ยงงานหรือขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ แต่เป็นการเลือกทำงานอย่างชาญฉลาด เลือกงานที่ไม่จำเป็นต้องออกแรงเยอะแต่ได้ค่าจ้างที่คุ้มค่า

    นอกจากนั้น ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากในสหรัฐอเมริกามองว่า Lazy Girl Job ไม่ได้เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าคนรุ่นใหม่ขี้เกียจเสมอไป แต่เป็นเทรนด์การทำงานที่สะท้อนให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่มองหางานที่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าด้วยเงื่อนไขการทำงานที่มีความยืดหยุ่น นอกจากนั้นยังเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นมาเพื่อหักล้างความเชื่อที่ว่า การทำงานหนักจะทำให้คนประสบความสำเร็จ หรือตามที่วลีข้างต้นว่า “ลำบากวันนี้ สบายวันหน้า” นั่นเอง

    ผู้ให้เสียงคำบรรยาย : นิธิกาญจน์ ชัยณรงค์



    ---

    Support this podcast: https://podcasters.spotify.com/pod/show/themodernistth/support

    • 7 min
    Article Sound EP.5 : ‘Micromanagement’ บริหารงานจู้จี้มากไปจนลูกน้องใจไม่ดี

    Article Sound EP.5 : ‘Micromanagement’ บริหารงานจู้จี้มากไปจนลูกน้องใจไม่ดี

    “อย่าทำแบบนั้น ทำแบบพี่ดีกว่า”

    “งานง่ายๆ ทำไมใช้เวลานานจัง”

    “งานไปถึงไหนแล้ว ใกล้เสร็จหรือยัง”

    ชาวออฟฟิศทั้งหลายคงไม่มีใครชอบความจู้จี้จุกจิกในที่ทำงาน โดยเฉพาะการมีหัวหน้าที่คอยเช็คความเคลื่อนไหวว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ตลอดเวลา หากมองเผินๆ อาจเป็นเหมือนความใส่ใจลูกทีมแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทว่าความใส่ใจที่มีมากจนเกินไปอาจเป็นการก้าวก่ายในหน้าที่ จนถึงขั้นปิดกั้นโอกาสในการเติบโตในการทำงานของลูกทีมก็ว่าได้

    การบริหารงานยิบย่อยเป๊ะทุกกระเบียดนิ้วนี้มีชื่อเรียกว่า ‘Micromanagement’ โดยมักเกิดขึ้นกับหัวหน้าเจ้าระเบียบที่มีความคิดว่างานทุกอย่างต้องออกมาเนี้ยบที่สุด จึงเกิดการบังคับบัญชาลูกทีมให้ทำตามคำสั่งและควบคุมการทำงานไม่ต่างจากหุ่นเชิด สร้างความอึดอัดใจให้กับลูกทีมและอาจนำไปสู่บรรยากาศการทำงานที่เป็นพิษ (Toxic Workplace)

    BetterUp อธิบายว่า การบริหารแบบ Micromanagement ส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่หัวหน้ากลัวความผิดพลาดและขาดความเชื่อใจในตัวลูกทีมจนไม่สามารถให้อิสระกับลูกทีมได้เป็นเจ้าของผลงาน ทำให้เกิดการเข้าไปแทรกแซงกระบวนการทำงานทุกขั้นตอนและยึดตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง จนกลายเป็นหัวหน้าจอมจู้จี้จุกจิกกับทุกรายละเอียดของงาน อีกทั้งหัวหน้าประเภทนี้ยังก่อให้เกิดอุปสรรคในการสร้างทีมเวิร์คและทำให้ลูกทีมรู้สึกด้อยค่าในฐานะสมาชิกของทีมอีกด้วย

    จากการศึกษาของ Accountemps พบว่ามีผู้คนอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของหัวหน้าที่จู้จี้จุกจิก (59%) รู้สึกบั่นทอนจิตใจในการทำงาน (68%) และทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง (55%) จากการศึกษาอื่นยังพบว่า หัวหน้าจู้จี้จุกจิกยังเป็นสาเหตุทำให้พนักงานลาออก (36%)

    จูเลีย ดิกังจิ (Julia DiGangi)

    • 6 min
    Article Sound EP.4 : เมื่อผีป่ามาสู่เมือง "ครูกายแก้ว" ศรัทธาและชายของของจักรวาลความเชื่อของไทย

    Article Sound EP.4 : เมื่อผีป่ามาสู่เมือง "ครูกายแก้ว" ศรัทธาและชายของของจักรวาลความเชื่อของไทย

    จากกระแสโซเชียลมีเดียที่เป็นที่พูดถึงอยู่ช่วงนึง กับข่าวรูปปั้นติดสะพานลอยบริเวณถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นที่ทราบภายหลังว่าเป็น “ครูกายแก้ว” บรมครูผู้เรืองเวทย์ จนถึงพิธีบูชาครูกายแก้วที่โรงแรมย่านรัชดา เรียกทั้งเสียงฮือฮา ศรัทธา และเสียงวิจารณ์จากทุกฟากฝั่งของสังคม

    แถมภาพลักษณ์ของครูกายแก้ว ทั้งความเป็นสายดำ และรูปลักษณ์ที่น่ากลัว ยังมีผู้เชื่อมโยงไปสู่เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา ที่ว่า “ผีป่าจะวิ่งมาสิงเมือง ผีเมืองจะวิ่งมาสิงไพร” ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งที่บ่งบอกถึงความวิบัติของบ้านเมืองอีกต่างหาก

    ด้วยความที่ครูกายแก้วแตกต่างจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ ที่เป็นที่ยอมรับนับถือในสังคม เราจึงอาจมองได้ว่าครูกายแก้วเป็นเสมือน “ชายขอบ” ของจักรวาลความเชื่อของไทยที่มีทั้งศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ การนับถือผี แต่ถ้า “ครูกายแก้ว” เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ “ไม่ใช่” สำหรับสังคมไทย ผีแบบไหนที่จะได้รับการยอมรับ? และปรากฏการณ์แห่งศรัทธานี้จะนำไปสู่อะไร?

    ผู้ให้เสียงคำบรรยาย : อาดัม สังข์ศิลปชัย


    ---

    Support this podcast: https://podcasters.spotify.com/pod/show/themodernistth/support

    • 5 min

Top Podcasts In News

The Daily
The New York Times
Up First
NPR
The Ben Shapiro Show
The Daily Wire
Pod Save America
Crooked Media
The Megyn Kelly Show
SiriusXM
The Dan Bongino Show
Cumulus Podcast Network | Dan Bongino