
21 episodes

มิตรLife Thai PBS Podcast
-
- TV & Film
มิตรLife
-
มิตรLife EP. 21: Universal Design เพื่อทุกคน ‘อยู่ดี’
อุบัติเหตุการจากพลัดตกหกล้ม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน/ วัน และมีคนไม่ตายแต่บาดเจ็บเข้าโรงพยาบาล หรือต้องรักษาตัวในระยะยาวอีกหลักหมื่นคน ดังนั้นการปรับสภาพแวดล้อมในบ้านและชุมชนที่เหมาะสมกับทุกวัย เป็นเรื่องไม่เล็กที่แก้ได้ ลดความเสี่ยงต่าง ๆ จากการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นได้ดูแลประชาชน ออกแบบโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อให้ทุกคน ‘อยู่ได้(อย่าง)ดี’
-
มิตรLife EP. 20: Policy จากระบบอุปถัมภ์-ประชานิยม
วิเคราะห์สังคมไทยในแนวดิ่ง กับการเมืองที่โยงยึดกับระบบอุปถัมภ์ ถึง (นโยบาย)ประชานิยมในการเลือกตั้ง 2566
รู้หรือไม่ ? ชนบทระบบอุปถัมภ์เข้มข้นกว่าในเมือง เพราะในเมืองมีระบบ มีโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้เราต่างพึ่งตัวเองได้มากกว่า ดังนั้นท่ามกลางการเมืองในแนวดิ่งของไทย เราต้องสร้างระบบที่ทำให้คนพึ่งตัวเองได้ -
มิตรLife EP. 19: DEBATE ต่างเวที บนโจทย์เลือกตั้ง
ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งกำลังเข้มข้น สื่อหลายสำนักจัดเวทีดีเบตเพื่อให้พรรคการเมืองได้ประชันวิสัยทัศน์และเสนอนโยบาย มิตรLife ชวนมฟังเวทีดีเบตจากยุคแรกถึงวันนี้ จากประสบการณ์ของรองศาสตราจารย์ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ในฐานะคนที่จัดเวทีดีเบตว่าที่นายกฯ คนแรกในไทย ถึงความท้าทายที่แตกต่างกัน
-
มิตรLife EP. 18: Welfare (รัฐ/สังคม)สวัสดิการ
ในโลกนี้ประเทศไหนบ้างที่มีสวัสดิการดี ๆ แน่นอนประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ประชากรจ่ายภาษีในอัตราที่สูงเพื่อให้รัฐทำหน้าที่บริหารจัดการสวัสดิการตลอดช่วงชีวิต
ส่วนในสหรัฐอเมริกาเป็นระบบสังคมสวัสดิการ รัฐเลือกทำสวัสดิการบางประเภท บางประเภทวางระบบให้เอกชนเข้ามาดูแล แบบนี้เรียกว่ารัฐอำนวยความสะดวกจัดระบบให้เอกชนเข้ามาร่วมสร้างสวัสดิการ
แล้วประเทศไทยต้องทำอย่างไร ถึงจะมีสวัสดิการดี ๆ มากขึ้น คุณอาเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง แนะว่าต้องแก้ 3ป. ก่อน 1.ปฏิรูประบบราชการ 2.ปฏิรูปภาษี และ 3.เปลี่ยนโครงสร้างรายได้ ทั้งหมดนี้ต้องทำพร้อมกันแยกกันทำไม่ได้
-
มิตรLife EP. 17: Extending: How to แก่ช้า เจ็บสั้น
รายการมิตรLife ชวนมานิยามความแก่กันใหม่ ความแก่ไม่ใช่นับที่อายุ 60+ แต่วัดกันที่ความสามารถในการพึ่งพาตัวเอง
หากพึ่งตัวเองได้นานนั้นหมายถึง 'แก่ช้าลง'
คนยุคนี้แข็งแรงและอายุยืนยาวมากขึ้น มีศักยภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้นด้วย แต่หลายองค์กรยังกำหนดให้คนเกษียณอายุงานที่ 60 ปี ขณะที่สวัสดิการของคนทำงานก็ไม่ได้อำนวยให้ชีวิตหลังเกษียณมีคุณภาพที่ดีได้ กว่า 40 ปี สวัสดิการยังไม่เปลี่ยน เธอและเราจะอยู่ยังไง ? จะดีกว่าไหม ? ถ้าอย่างน้อย ขอเวลาให้เราทำงานอีกหน่อย -
มิตรLife EP. 16: Relationships ความสัมพันธ์เปลี่ยน สถิติประชากรเปลี่ยน
หากถามว่าคนยุคนี้อยากมีลูกหรือไม่?
ในใจหลายคนคง 'อยากมี' แต่ในสภาพสังคมแบบนี้ เลือก "ไม่มี.." (จะดีกว่า)
ปัจจุบันอัตราการเกิดลดลง เมื่อก่อนอัตรการเกิดปีละไม่ต่ำกว่าล้านคน แต่วันนี้อัตราการเกิดลดลงเหลือ 5 แสนกว่าคน เท่ากับว่า ภาพอนาคตของสังคมไทยโดยเฉพาะคนในวัยแรงงานจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
จาก 1 ครอบครัวที่เคยมีลูก 4-5 คน วันนี้ครอบครัวละคนยังยาก หลายครอบครัวตั้งเป้าหมายไม่มีลูก หรือ บางครัวเรือนมีลูกแต่ก็ไม่พร้อม หลายประเด็นพันกันสะเทือนถึงโครงสร้างประชากรของประเทศ
เปิดมุมจากการมองความเชื่อเรื่องพรหมจรรย์ของประเทศในฝั่งตะวันออก รู้หรือไม่? การฝังความเชื่อเรื่องรักนวลสงวนตัว ต้องรักษาพรหมจรรย์ เป็นหนึ่งในฟังก์ชันการคุมกำเนิดเพื่อตีกรอบการข้ามชนชั้น
แต่วันนี้ ! ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการคุมกำเนิด และ เส้นแบ่งชนชั้นที่จางลงในหลายประเทศ ทำให้ฟังก์ชันถูกควบคุมด้วยระบบ เอ๊ะ ยังไงต่อนะ ชวนฟังกันเพลิน ๆ กับรายการมิตรLife