273 episodes

ในพระไตรปิฏกมีอะไร ทำความเข้าใจไปทีละข้อ, เปิดไปทีละหน้า, ให้จบไปทีละเล่ม, พบกับพระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณโณ และ คุณเตือนใจ สินธุวณิก, ล้อมวงกันมาฟัง มั่วสุมกันมาศึกษา จะพบขุมทรัพย์ทางปัญญา ในช่วง "ขุดเพชรในพระไตรปิฏก". New Episode ทุกวันเสาร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏ‪ก‬ Panya Bhavana Foundation

    • Religion & Spirituality
    • 5.0 • 1 Rating

ในพระไตรปิฏกมีอะไร ทำความเข้าใจไปทีละข้อ, เปิดไปทีละหน้า, ให้จบไปทีละเล่ม, พบกับพระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณโณ และ คุณเตือนใจ สินธุวณิก, ล้อมวงกันมาฟัง มั่วสุมกันมาศึกษา จะพบขุมทรัพย์ทางปัญญา ในช่วง "ขุดเพชรในพระไตรปิฏก". New Episode ทุกวันเสาร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    อปริหานิยธรรม-ความเจริญของอุบาสก [6715-6t]

    อปริหานิยธรรม-ความเจริญของอุบาสก [6715-6t]

    การได้พบหรือได้ไปเยี่ยมเยียนพระสงฆ์นั้น จะเป็นทางมาแห่งกุศลบุญหลายประการ ทำให้มีโอกาสได้กราบไหว้ ถวายทานในพระสงฆ์ ได้ฟังธรรมและสอบถามธรรมะ โดยในข้อที่ #29_ทุติยปริหานิสูตร ข้อที่ #30_วิปัตติสูตร และ ข้อที่ #31_ปราภวสูตร มีนัยยะทิศทางเดียวกัน คือ ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความไม่เสื่อมโดยเน้นมาที่อุบาสกและอุบาสิกา ได้แก่ ไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนพระสงฆ์ การฟังธรรมโดยไม่คิดเพ่งโทษ ศึกษาในอธิศีล ได้ให้ทานและมีความเลื่อมใส่ในสงฆ์ 
     
    ข้อที่ 32-33-34-35 มีเนื้อหาธรรมะเหมือนกันในห้าข้อแรกแตกต่างกันในสองข้อท้าย โดยมีเนื้อหาปรารภถึงเทวดาองค์หนื่งมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลถึง “ธรรม 7 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ” โดยประการที่เหมือนกัน ได้แก่ เป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ และที่แตกต่างกันในแต่ละหัวข้อ ได้แก่ เป็นผู้ไม่ประมาท มีปฏิสันถาร (การต้อนรับ) / มีหิริ โอตตัปปะ / เป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร 
     
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วัชชิสัตตกวรรค เทวตาวรรค

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 55 min
    อปริหานิยธรรม – สัญญาที่เป็นไปเพื่อลดกิเลส [6714-6t]

    อปริหานิยธรรม – สัญญาที่เป็นไปเพื่อลดกิเลส [6714-6t]

    เมื่อเราลองพิจารณาดูธรรมทั้งหลาย (สิ่งทั้งหลาย) ที่เรารับรู้ได้นั้น ล้วนต่างอาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้น มีอยู่ และดับไปของสิ่งเหล่านั้น เมื่อธรรมทั้งหลายไม่เที่ยงมีสภาพแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยจึงว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน คือตกอยู่ภายใต้กฏของ “ไตรลักษณ์”
    “อปริหานิยธรรม และ ปริหานิยธรรม” ก็เช่นเดียวกัน ล้วนต่างมีเหตุที่ทำให้เจริญและเหตุที่ทำให้เสื่อม ว่าให้เข้าใจได้โดยง่ายคือ ต่างอาศัยเหตุปัจจัยในการมีอยู่และดับไปนั่นเอง
     
    ข้อที่ #27_สัญญาสูตร ว่าด้วยสัญญาที่เป็นอปริหานิยธรรม กล่าวคือ สัญญา (การกำหนดหมายรู้) ที่เป็นไปเพื่อลดกิเลส เพิ่มกุศลธรรมให้เกิดเจริญขึ้นมี 7 ประการ ได้แก่ กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร, ความเป็นอนัตตาในธรรมทั้งหลาย, ความไม่งามในกาย, โทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่าง ๆ ละอกุศลวิตก กำหนดหมายวิราคะ (คลายกำหนัด) และนิโรธ (ความดับทุกข์) ว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต
     
    ข้อที่ #28_ปฐมปริหานิสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม ในหัวข้อนี้เน้นมาที่พระเสขะ (ผู้ที่ยังต้องศึกษาอยู่) โดยธรรมประการสุดท้ายได้กล่าวไว้น่าสนใจ เมื่อเห็นพระผู้บวชมานานรับภาระกิจในสงฆ์อยู่ พระผู้เป็นเสขะจะปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อไม่ให้ถึงความเสื่อม คือต้องอาศัยการวางจิตและการพิจารณาในกิจนั้นว่าเป็นเหตุทำให้กุศลธรรมเสื่อมหรือเจริญ
     
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วัชชิสัตตกวรรค
     

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 50 min
    “ผู้นำ” เพื่อประโยชน์สุข [6713-6t]

    “ผู้นำ” เพื่อประโยชน์สุข [6713-6t]

    สิ่งดีงามต่างๆ ถ้าได้ไปอยู่ในมือของผู้ที่มีความเห็นที่ถูกต้อง เป็น “สัมมาทิฏฐิ” สิ่งนั้นจะเป็นไป “เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข เพื่อประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น” 
    และในสิ่งดีงามที่มีอยู่เช่นเดิม ถ้าไปอยู่ในมือของผู้ที่มีความเห็นผิด เป็น “มิจฉาทิฏฐิ” สิ่งนั้นจะ “เป็นทุกข์ ไม่เกื้อกูล ไม่เป็นประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น” 
     
    ปฏิสัมภิทาปัตตสูตร #ข้อ 86 ผู้ที่ประกอบด้วย ปฏิสัมภิทา 4 (ได้แก่ 1. ปัญญาแตกฉานใน อรรถ, 2.ธรรม, 3. นิรุตติ, 4.ปฏิภาณ) และ มีความขยัน ไม่เกียจคร้าน “ย่อมเป็นที่รัก ที่น่าเคารพยกย่อง”
     
    สีลวันตสูตร #ข้อ 87 ธรรม “ย่อมเป็นที่รัก ที่น่าเคารพยกย่อง” ได้แก่ เป็นผู้มีความงามของศีล, เป็นพหูสูต เวลาบอกสอนมีข้อมูลพร้อม, พูดจาไพเราะ, มีสมาธิ, มีปัญญา
     
    เถรสูตร #ข้อ 88 ธรรมที่ไม่เกื้อกูล ไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก คือ เป็นผู้บวชมานาน, มีชื่อเสียง ยศ บริวาร, ร่ำรวยด้วยปัจจัย 4, เป็นพหูสูต, เป็น มิจฉาทิฏฐิ (อกุศลเพิ่ม) และธรรมที่เกื้อกูล เป็นประโยชน์แก่คนหมู่มาก จะเหมือนกันใน 4 ประการแรก แตกต่างกันในประการที่ 5 คือ เป็น สัมมาทิฏฐิ คืออกุศลลด กุศลเพิ่ม วางความยึดถือลงได้ 
     
    ปฐมเสขสูตร #ข้อ 89 ธรรมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ผู้ที่เป็นเสขะ (ยังต้องศึกษา) คือ ชอบการงาน, พูดคุย, หาความสุขในการนอน, ชอบคลุกคลี, ไม่พัฒนาคุณธรรมให้สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป และธรรมเพื่อความเจริญ คือ ตรงข้ามกับที่กล่าวมา
     
    ทุติยเสขสูตร #ข้อ 90 มีกิจมาก, ปล่อยเวลาล่วงไป, คลุกคลีกับคฤหัสถ์, ออกบิณฑบาตเช้า-กลับสายนัก, ไม่ประกอบด้วยธรรมกถาต่างๆ แล้วละการหลีกเร้น จิตไม่เป็นสมาธิ เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ผู้ที่เป็นเสขะ และธรรมเพื่อความเจริญ คือ ตรงข้ามกับที่

    • 56 min
    อดทนให้เป็นปัญญา [6712-6t]

    อดทนให้เป็นปัญญา [6712-6t]

    ทบทวน #ข้อ 215 - #ข้อ 126 ว่าด้วยความไม่อดทน โดยได้ยกเอา เวปจิตติสูตร มาอธิบายเสริมทำความแจ่มแจ้งในเรื่องของการวางจิตในความอดทนเพื่อให้เป็นปัญญา
    “ผู้ใดแล.. เป็นคนมีกำลัง อดกลั้นต่อคนพาลไว้ได้ ความอดกลั้นของผู้นั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นขันติอย่างยิ่ง”
    ปฐม-ทุติยอปาสาทิกสูตร #ข้อ 217 - 218 โทษของบุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส(ทำผิดวินัย) สูตร 1-2 คือ แม้ตนก็ติเตียนตนเอง ผู้รู้ติเตียน ชื่อสียงไม่ดีกระฉ่อนไป หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในอบาย คนที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส ผู้ที่เลื่อมใสแล้วกลายเป็นอื่น ไม่ปฏิบัติตามคำสอน คนรุ่นหลังเอาแบบอย่างได้
    อัคคิสูตร #ข้อ 219 โทษของไฟ คือ ทำให้ตาฝ้าฟาง ผิวหยาบกร้าน อ่อนกำลัง เพิ่มการคลุกคลีด้วยหมู่ สนทนาดิรัจฉานกถา
    มธุราสูตร #ข้อ 220 นครมธุรา มีโทษคือ พื้นดินไม่เรียบ มีฝุ่นละออง สุนัขดุ มียักษ์ร้าย อาหารหาได้ยาก ถ้าเราอยู่ที่ไหนแล้วมีจิตไม่เป็นสมาธิ ละอาสวกิเลสไม่ได้ ไม่ควรอยู่ที่นั่น
    ปฐม-ทุติยทีฆจาริกสูตร #ข้อ221 - 222 ผู้จาริกไปนาน ไม่มีกำหนดมีโทษ คือ จะไม่ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ไม่เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว ไม่แกล้วกล้าในเรื่องที่ได้ฟัง เป็นโรคร้ายแรง ไม่มีมิตร
    อตินิวาสสูตร-มัจฉรีสูตร #ข้อ223 - 224 การอยู่ประจำที่นานมีโทษ คือ มีสิ่งของ และเภสัชสะสมมาก มีกิจมาก คลุกคลีอย่างคฤหัสถ์ ห่วงใยและตระหนี่ในอาวาส ตระหนี่ในตระกูล ในลาภ วรรณะ และในธรรม
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อักโกสกวรรค ทีฆจาริกวรรค

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 53 min
    สัญญาในสิ่งทั้งสอง [6711-6t]

    สัญญาในสิ่งทั้งสอง [6711-6t]

    อวชานาติสูตร #ข้อ141 บุคคล 5 จำพวก (ปุถุชน) มีปรากฏอยู่ คือ 1) บุคคลให้แล้วดูหมิ่นผู้รับ 2) อยู่ร่วมกันแล้วดูหมิ่นในศีล 3) เป็นคนเชื่อง่าย หูเบา 4) เป็นคนโลเล ศรัทธาหัวเต่า และ 5) ผู้เขลา ไม่รู้จักธรรมดำธรรมขาว
     
    อารภติสูตร #ข้อ142 บุคคล 5 จำพวก คือ บุคคลจำพวกที่ 1-4 มี ศีล สมาธิ สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์บ้าง และมีปัญญาพอประมาณ เมื่อละอาสวะที่เกิดจากการต้องอาบัติและวิปปฏิสาร และเจริญซึ่งสมถะกับวิปัสสนา ก็จะทัดเทียมจำพวกที่ 5 คือ อรหันต์
     
    สารันททสูตร #ข้อ143 เจ้าลิจฉวี ได้สนทนากันเรื่อง “แก้ว 5 ประการ ที่หาได้ยากในโลก” โดยมีนัยยะมุ่งไปในทางกาม ส่วนนัยยะของพระผู้มีพระภาคนั้น คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อริยบุคคล และผู้กตัญญูกตเวที เป็นสิ่งหาได้ยากในโลก
     
    ติกัณฑกีสูตร #ข้อ144 พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ป่าติกัณฑกีวัน ได้ตรัสเรื่อง การกำหนดหมายรู้ในสิ่งที่เป็นปฎิกูลและไม่ปฏิกูลเพื่อ ละความกำหนัด ความขัดเคือง และความหลง 
     
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ติกัณฑกีวรรค

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    • 55 min
    อปริหานิยธรรม – ธรรมของภิกษุผู้เจริญ [6710-6t]

    อปริหานิยธรรม – ธรรมของภิกษุผู้เจริญ [6710-6t]

    อปริหานิยธรรม 7 ประการ ของภิกษุ หรือ ภิกขุปริหานิยธรรม 7 (ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียวสำหรับภิกษุทั้งหลาย) ซึ่งได้แสดงจำแนกไว้หลายนัยยะ
    ข้อที่ 23_ปฐมสัตตกสูตร (สูตรที่ ๑)
    หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์  พร้อมเพรียงกันประชุม - เลิกประชุม - ทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายตามที่บัญญัติไว้ เคารพนับถือภิกษุผู้เป็นผู้ใหญ่ เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง ไม่ลุอำนาจตัณหาคือความอยากที่เกิดขึ้นยินดีในเสนาสนะป่าตั้งสติระลึกไว้ว่า เพื่อนพรหมจารีผู้มีศีลงาม ซึ่งยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่ผาสุก  
    ข้อที่ 24_ทุติยสัตตกสูตร (สูตรที่ ๒)
    ไม่ยินดีในการงาน เช่น การทำจีวร หรืองานก่อสร้างต่าง ๆไม่ชอบการพูดคุย - ไม่สนทนาเรื่องนอกธรรมวินัย (เรื่องกาม)ไม่ชอบการนอนหลับ – อันเป็นเหตุแห่งความหดหู่และเซื่องซึมไม่คลุกคลีด้วยหมู่ไม่ปรารถนาชั่วไม่มีมิตรชั่วไม่หยุดชงักเสียในระหว่างเพียงเพราะได้บรรลุคุณวิเศษชั้นต่ำ 
    ข้อที่ 25_ตติยสัตตกสูตร (สูตรที่ ๓) คือ ศรัทธา – ศรัทธาอันมั่นคงในพระรัตนตรัย / หิริ / โอตตัปปะ / พหูสูต - สดับฟังธรรม / ความเพียร / สติ / ปัญญา
     
    ข้อที่ 26_โพชฌังคสูตร ว่าด้วยโพชฌงค์ที่เป็นอปริหานิยธรรม ก็คือยกโพชฌงค์ทั้ง 7 ประการมา (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้)
     
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วัชชิสัตตกวรรค
    ......................................................................................
    เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี วันประสูติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโล

    • 57 min

Customer Reviews

5.0 out of 5
1 Rating

1 Rating

Top Podcasts In Religion & Spirituality

The Bible in a Year (with Fr. Mike Schmitz)
Ascension
The Bible Recap
Tara-Leigh Cobble
Curiously Kaitlyn
Kaitlyn Schiess
Girls Gone Bible
Girls Gone Bible
Through the ESV Bible in a Year with Jackie Hill Perry
Crossway
BibleProject
BibleProject Podcast

You Might Also Like

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
4 คลังพระสูตร
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
5 นิทานพรรณนา
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
1 สมการชีวิต
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
3 ใต้ร่มโพธิบท
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
2 จิตตวิเวก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

More by วัดป่าดอนหายโศก

3 ใต้ร่มโพธิบท
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
2 จิตตวิเวก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
5 นิทานพรรณนา
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
1 สมการชีวิต
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
4 คลังพระสูตร
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana