24 episodes

Podcast by Faculty of Science, Mahidol University / พอร์ดแคสต์ โดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

SIMPLE SCIENCE Faculty of Science, Mahidol University

    • Science

Podcast by Faculty of Science, Mahidol University / พอร์ดแคสต์ โดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    Radiation safety...save ใจ รู้ไว้ปลอดภัยถ้วนหน้า

    Radiation safety...save ใจ รู้ไว้ปลอดภัยถ้วนหน้า

    ประเดิมเรื่องแรกกับเรื่องน่ารู้ความปลอดภัยทางรังสี (Radiation Safety) แบบสั้น ๆ คัดมาเน้น ๆ เพราะเรื่องรังสี ไม่ได้อยู่ไกลตัวอีกต่อไป จากเหตุการณ์ซีเซียม-137 ซึ่งเป็นวัตถุกัมมันตรังสี ที่ส่งผลต่อสุขภาพ หายไปจากโรงงาน แล้วพบว่าถูกถลุงเป็นฝุ่นแดงเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

    • 11 min
    เกร็ดน่ารู้วัคซีนโควิด - 19

    เกร็ดน่ารู้วัคซีนโควิด - 19

    ปัจจุบันการระบาดของโควิด-19 ทำได้เราได้เห็นถึงเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนที่น่าทึ่ง มีการผลิตวัคซีนหลากหลายประเภทออกมาเพื่อหยุดยั้งการระบาดของโรค ไม่ว่าจะเป็น Inactivated vaccine Viral vector vaccine Subunit vaccine หรือ mRNA vaccine แต่รู้หรือไม่เทคโนโลยีการผลิตวัคซีนบางชนิดมีมาก่อนที่จะเกิดการระบาดครั้งใหญ่ และบางเทคโนโลยีก็ต่อยอดมาจากเทคโนโลยีอื่น เช่น ยีนบำบัด (gene therapy) มาฟังเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีน ทั้งความเป็นมา หลักการทำงาน และความพิเศษของเทคนิคการผลิตวัคซีนแต่ละชนิด พร้อมอัปเดตวัคซีนไทยที่น่าจับตามอง กับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ผู้มากความสามารถ หนึ่งในผู้เขียนหนังสือ Vaccine War สมรภูมิวัคซีนโควิด-19 ผู้แปลหนังสือ เมื่อโลกติดเชื้อ ฉบับกระชับ บรรณาธิการหนังสือ ไวรัส ฉบับกระชับ คอลัมน์นิสต์ประจำมติชนสุดสัปดาห์ กรุงเทพธุรกิจ ทั้งยังฝากผลงานไว้บนนิตยสาร อาทิ สาระวิทย์ สารคดี Update Science World รวมถึง Facebook page ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ย่อยง่ายอีกหลายแห่ง















    01:50 ความเป็นมาของการมีวัคซีน และที่มาที่ไปของวัคซีนเชื้อตาย (Inactivated vaccine)







    รูปภาพอธิบายหลักการผลิตวัคซีนเชื้อตาย







    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ เล่าถึงวัตถุประสงค์และความเป็นมาของการฉีดวัคซีน ว่าเป็นการทำให้ร่างกายรู้จักเชื้อก่อโรคก่อน โดยมีวิธีการหนึ่งก็คือการทำให้เชื้อก่อโรคตายแล้วฉีดเข้าไปในร่างกาย ซึ่งเทคนิคนี้มีการพัฒนาขึ้นมาก่อนจะมีการระบาดของโรคโปลิโอแต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก จนกระทั่งมีการใช้ควบคุมการระบาดของโปลิโอ ส่วนโรคโควิด-19 ได้ยกตัวอย่างประเภทเชื้อตายที่มีการใช้กันมา

    • 37 min
    พลิกหลังกล่องหน้ากากอนามัย

    พลิกหลังกล่องหน้ากากอนามัย

    ปฏิเสธไม่ได้ว่าหน้ากากอนามัย กลายเป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นในยุคนี้ไปเสียแล้ว เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งมีการกลายพันธุ์และแพร่กระจายเป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่อง เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการพูดถึงประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัยในการป้องกันโควิด-19 และตัวย่อ BFE, PFE, VFE บนกล่องหน้ากากอนามัยกันเป็นวงกว้างในโซเชียลมีเดีย จนทำให้หลายคนเกิดความวิตกกังวลว่าหน้ากากอนามัยที่เราใส่อยู่สามารถป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่







    มาพลิกหลังกล่องหน้ากากอนามัย ไขความหมายของตัวย่อ BFE, PFE, VFE ทำความเข้าใจประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโควิด-19 ไปกับ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล















    01:12 BFE, PFE, VFE บนกล่องหน้ากากอนามัยหมายถึงอะไร







    รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย กล่าวถึงความหมายของ BFE, PFE, VFE บนกล่องหน้ากากอนามัยอย่างคร่าว ๆ















    02:14 ต้องเป็นหน้ากากอนามัยที่ได้ VFE 99% เท่านั้นไหม ถึงจะป้องกันไวรัสได้







    รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย อธิบายถึงรายละเอียดภายใต้มาตรฐาน BFE, PFE, VFE ประเภทละอองในอากาศ (Arosol Type) ที่ใช้ในการทดสอบ ขนาดอนุภาคที่สามารถกรองได้ และข้อมูลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกรองของหน้ากากอนามัยมาตรฐานแบบต่าง ๆ ตามผลงานวิจัยเรื่อง A comparison of facemask and respirator filtration test methods โดย Samy Rengasamy, Ronald Shaffer, Brandon Williams & Sarah Smit ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Journal of Occupational and Environmental Hygiene















    11:28 ละอองในอากาศที่จัดว่าเป็นละอองฝอยขนาดเล็ก (Airborne) มีขนาดเท่าไหร่







    รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย กล่าวถึงขนาดโดยประมาณของละอองฝอยขนาดเล็ก (Airborne) เช่น PM10 PM 2.5 แบคทีเรีย ไวรัสก่อโรค

    • 24 min
    ไขความลับพลังความเร็ว 100 เมตร ในการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิกเกมส์ 2020

    ไขความลับพลังความเร็ว 100 เมตร ในการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิกเกมส์ 2020

    มาพูดคุยกันต่อเนื่องถึงเบื้องหลังที่ทำให้นักกีฬา วิ่งได้เร็วกว่าคนทั่ว ๆ ไป ความอัศจรรย์ของร่างกายมนุษย์ และปัจจัยที่พานักวิ่งไปสู่เหรียญทองโตเกียวโอลิมปิกเกมส์ ในสนามการแข่งขันวิ่ง 100 เมตรไปกับ รองศาสตราจารย์ ดร.เทพมนัส บุปผาอินทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาสรีรวิทยา ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล















    00:46 ทำไมนักวิ่งถึงทำเวลาได้น้อยกว่าคนทั่วไป







    รองศาสตราจารย์ ดร.เทพมนัส บุปผาอินทร์ เกริ่นถึง 4 ปัจจัยที่ทำให้นักวิ่งทำเวลาได้น้อยกว่าคนทั่วไป และสามารถคว้าชัยในการแข่งขันได้ และปูความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเคลื่อนที่เบื้องต้น ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่เชื่อมโยงกับปัจจัยทั้ง 4 อย่างที่ส่งผลต่อการวิ่งระยะสั้นโดยตรง







    หลักการในการเคลื่อนที่เบื้องต้น







    ลักษณะการถีบตัวเพื่อเคลื่อนที่ต้านแรงโน้มถ่วงของโลก และความหนาแน่นอากาศ (แรงลม)















    04:18 ปัจจัยทางสรีรวิทยา (Physiological Factor)







    เมื่อการวิ่งคือการออกแรงผลักตัวเองให้เคลื่อนไปข้างหน้า ทำอย่างไรเราจึงจะสร้างแรงถีบพื้นส่งตัวให้พุ่งออกไปข้างหน้าได้แรงที่สุด และสร้างความเร็วได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที รองศาสตราจารย์ ดร.เทพมนัส บุปผาอินทร์ อธิบายถึงกล้ามเนื้อและระบบพลังงานที่ร่างกายใช้ในการวิ่งระยะสั้น และระบบประสาทและการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นซึ่งส่งผลโดยตรงกับการออกตัวของนักกีฬาพร้อมยกกรณีตัวอย่าง นอกจากนั้นยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงพันธุกรรม การฝึกฝนที่มีส่วนในการเพิ่มปริมาณกล้ามเนื้อ และอิทธิพลของฮอร์โมนเพศต่อการเพิ่มขนาดกล้ามเนื้ออีกด้วย







    ปัจจัยทางสรี

    • 33 min
    ส่องสถิตินักวิ่งลมกรด 100 เมตรในโตเกียวโอลิมปิกเกมส์ 2020

    ส่องสถิตินักวิ่งลมกรด 100 เมตรในโตเกียวโอลิมปิกเกมส์ 2020

    การแข่งขันวิ่งอยู่คู่กับกีฬาโอลิมปิกเกมส์มาตั้งแต่ครั้งยุคโบราณ และโอลิมปิกเกมส์ยุคใหม่ซึ่งเริ่มจัดขึ้นในปี ค.ศ. 1896 จนกระทั่งปัจจุบัน ผ่านมากว่า 125 ปี การแข่งขันวิ่งก็ยังเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของกีฬากรีฑา ที่ผู้คนจับตามองเป็นอย่างมากว่าใครจะถูกจารึกชื่อเป็นมนุษย์ที่เร็วที่สุดในโลก ในการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิกส์เกมส์ 2021 ซึ่งได้ทำการแข่งขันประเภทวิ่งทุกรายการเสร็จสิ้นในวันที่ 8 สิงหาคม 2564 นี้















    แน่นอนว่า ความตื่นเต้น ระทึกใจ นับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของการเชียร์นักวิ่งทุกประเภท โดยเฉพาะการแข่งขันประเภทวิ่งประเภท 100 เมตร ซึ่งนักวิ่งลมกรดทั้งหลายต่างฝึกซ้อมกันนานแรมปี เพื่อเค้นพลังชิงชัยกันในเวลาไม่กี่วินาทีเท่านั้น ส่องสถิตินักวิ่ง 100 เมตร ในโตเกียวโอลิมปิกเกมส์ และสถิติวิ่ง 100 เมตร ที่ดีที่สุดของการแข่งโอลิมปิกเกมส์ยุคใหม่ รวมถึงสถิติของนักวิ่งระยะ 100 เมตร ที่ชาวไทยเคยทำไว้ในการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ไปกับ รองศาสตราจารย์ ดร.เทพมนัส บุปผาอินทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาสรีรวิทยา ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสรีรวิทยาการออกกำลังกาย (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล















    01:38 การแข่งวิ่งกับโอลิมปิกเกมส์







    การแข่งขันโอลิมปิกเกมส์เริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ ที่ไหน รองศาสตราจารย์ ดร.เทพมนัส บุปผาอินทร์ เล่าถึงความเป็นมาของการแข่งกีฬากีรฑาทั้งประเภทลาน และประเภทลู่ซึ่งรวมถึงการวิ่ง ที่อยู่คู่กับโอลิมปิกเกมส์มาตั้งแต่ยุคโบราณ จนกระทั่งเปลี่ยนผ่านสู่การโอลิมปิกเกมส์สมัยใหม่ในปี ค.ศ. 1896  รวมถึงผู้ชนะการแข่งขันวิ่ง 100 เมตร ชายและหญิงในโอลิมปิกเกมส์ยุคใหม่ครั้งแรก















    04:2

    • 15 min
    ฉลามไทยน่ารักษ์

    ฉลามไทยน่ารักษ์

    ใต้ท้องทะเลที่สวยงาม มีสิ่งมีชีวิตแสนพิเศษนานาชนิดอาศัยอยู่ รวมถึง ฉลาม ปลากระดูกอ่อนที่มีวิวัฒนาการมายาวนานอย่างที่น่าทึ่ง หนึ่งในนักล่าแห่งท้องทะเล ซึ่งกำลังถูกคุมคามทั้งจากการบริโภคของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงในปัจจุบัน















    เราอาจจะคิดว่าเดิมทีน่านน้ำประเทศไทยมีฉลามอาศัยอยู่น้อย แต่รู้หรือไม่ว่าน่านน้ำทะเลไทยก็จัดเป็นพื้นที่มีความหลากหลายทางชนิดของปลากระดูกอ่อนมากแห่งหนึ่งของโลก โดยมีปลากระดูกอ่อนอย่างน้อย 187 ชนิด แบ่งเป็นฉลามกว่า 87 ชนิด กระเบน 95 ชนิด และไคเมรา 5 ชนิด ซึ่งในจำนวนนี้ยังมี 13 ชนิดที่ยังไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการเนื่องจากมีลักษณะบางส่วนที่แตกต่างจากชนิดที่เคยมีการศึกษามาก่อนซึ่งต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกด้วย















    เปิดโลกใต้ทะเลไปรู้จักฉลามไทย ซึ่งกำลังลดจำนวนลง และต้องการการปกป้องอนุรักษ์เอาไว้ไม้แพ้สัตว์ชนิดอื่น ๆ ในวัน Shark Awareness Day ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคม นี้ ไปกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจนจิต คูดำรงสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา















    01:30 ทะเลในประเทศไทยมีฉลามอยู่ไหม







    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจนจิต คูดำรงสวัสดิ์ กล่าวถึงน่านน้ำประเทศไทยตามการแบ่งเขตภูมิศาสตร์ทางทะเลแบบต่าง ๆ ว่าเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของปลากระดูกอ่อนและฉลามมากแห่งหนึ่งของโลกแต่ยังขาดการสำรวจอยู่มาก















    03:36 ฉลามไทยมีกี่สายพันธุ์







    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจนจิต คูดำรงสวัสดิ์ เล่าถึงสายวิวัฒนาการ ความแตกต่างของปลาประดูกอ่อนทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ ฉลาม กระเบน และไคเมรา จำนวนชนิดพันธุ์ปลากระดูกอ่อนในประเทศไทยซึ่งมีการเก็บข้อมูลมาอย่างยาวนานโดยค

    • 31 min

Top Podcasts In Science

Ratio Podcast
Ratio Podcast
Radiolab
WNYC Studios
Reinvent Yourself with Dr. Tara
Dr. Tara Swart Bieber
Ologies with Alie Ward
Alie Ward
BBC Inside Science
BBC Radio 4
The Psychology Podcast
iHeartPodcasts