268 episódios

สารพันเรื่องราวว่าด้วยพื้นที่การเรียนรู้สร้างสรรค์และการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จุดประกายแนวคิดว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล

TK Podcast TK Park

    • Educação

สารพันเรื่องราวว่าด้วยพื้นที่การเรียนรู้สร้างสรรค์และการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จุดประกายแนวคิดว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล

    KnowledgeExchange EP 56. Residents - Tourists Sharing, Beautiful Life Enjoying - Practice...

    KnowledgeExchange EP 56. Residents - Tourists Sharing, Beautiful Life Enjoying - Practice...

    ไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนเปิดตัวห้องสมุดหลายแห่งซึ่งสร้างกระแสฮือฮาในโลกอินเทอร์เน็ต ห้องสมุดกลายเป็นหมุดหมายห้ามพลาดสำหรับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะคนวัยหนุ่มสาว เงื่อนไขสำคัญคือ ในปี 2018 กระทรวงวัฒนธรรมและสำนักการท่องเที่ยวของจีน ได้ถูกควบรวมเป็นหน่วยงานเดียวกันชื่อว่า กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวแห่งชาติ ทำให้เกิดการบูรณาการกันอย่างกลมกลืนระหว่างสถาบันด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวในภูมิทัศน์แบบใหม่
    .
    สถิติ ปี 2019 ระบุว่า จำนวนคนเข้าห้องสมุดมีมากกว่าจำนวนคนซึ่งไปสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมถึง 2 เท่า ห้องสมุดมีข้อได้เปรียบด้านการเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรต่างๆ และสามารถช่วยเสริมสร้างบริการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้แข็งแกร่ง ปัจจุบันทั้งภาครัฐและเอกชนหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านห้องสมุดมากขึ้น กรณีที่น่าสนใจ ได้แก่ ห้องสมุดซิ่วโจว ห้องสมุดฉิงเหอ และห้องสมุดคุนหมิง
    .
    ดัชนีหรือองค์ประกอบความสำเร็จในการเชื่อมโยงห้องสมุดกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว สามารถจำแนกได้เป็น 4 ด้าน ด้านแรก สิ่งดึงดูดใจด้านธรรมชาติหรือกายภาพ เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อาคาร สถาปัตยกรรม ด้านที่สอง สิ่งดึงดูดใจเกี่ยวกับตัวบุคคล เช่น บุคคลมีชื่อเสียงในอดีต นักปราชญ์ นักเขียน เซเลบริตี้ ถัดมาคือ สิ่งดึงดูดใจเชิงสังคม คือ การบูรณาการห้องสมุดเข้ากับภาคส่วนอื่นๆ เช่น ห้องสมุดร่วมมือกับที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว หรือสายการบิน จัดทำคอลเลกชันพิเศษเพื่อให้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวหรือบริการ และด้านสุดท้ายคือ สิ่งดึงดูดใจจากการให้บริการ เช่น การจัดกิจกรรม ให้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว จุดชมทิวทัศน์
    .
    ฟัง… ก

    • 18 min
    KnowledgeExchange EP. 55 ตลาดหนังสือไทย อะไรเป็นอุปสรรคการเข้าถึงการอ่าน

    KnowledgeExchange EP. 55 ตลาดหนังสือไทย อะไรเป็นอุปสรรคการเข้าถึงการอ่าน

    หนังสือราคาแพงเกินไปหรือไม่?
    .
    หนังสือในตลาดมีความหลากหลายมากพอไหม?
    .
    นี่คือสองประเด็นที่มักจะถูกหยิบยกมาเอ่ยถึง เมื่อมีการตั้งคำถามว่า “คนไทยมีโอกาสเข้าถึงหนังสือได้มากน้อยแค่ไหน” และ “อะไรคืออุปสรรคในการเข้าถึงหนังสือ”
    .
    สื่ออิเล็กทรอนิกส์ Data Storytelling ชุด “LOOK AROUND THE SHELF” รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตลาดหนังสือของไทยในฝั่งผู้ผลิตมานำเสนอให้เข้าใจง่าย เริ่มด้วยการนำข้อมูลมาอธิบายพฤติกรรมการอ่าน แม้ยอดขายหนังสือจะมีขึ้นลงตามปัจจัยที่ต่างกันไปในแต่ละปี แต่แนวโน้มที่เห็นได้ชัดคือ คนไทยอ่านหนังสือเล่มลดลง
    .
    ตามมาด้วยการเจาะประเด็นความหลากหลายในเชิงหมวดหมู่หนังสือ ที่ข้อมูลชี้ให้เห็นว่า นวนิยาย การศึกษา และหนังสือเด็ก ครองสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดมานานหลายปี แม้หลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะบ่งบอกว่า มีความหลากหลายของเนื้อหาหรือไม่
    .
    ประเด็นสำคัญคือ ราคาหนังสือ ที่ในภาพรวมถือว่าสูงเมื่อนำมาเทียบกับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยไม่สามารถตัดสินใจซื้อหาได้ทันที โดยปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการกำหนดราคาคือขนาดของสำนักพิมพ์
    .
    ในเมื่อมีปัจจัยราคาเป็นโจทย์สำคัญ ภาคส่วนต่างๆ ควรทำอย่างไร เพื่อขับเคลื่อนให้คนไทยมีโอกาสเข้าถึงหนังสือและการอ่านได้อย่างเท่าเทียม?
    .
    ฟัง “ตลาดหนังสือไทย อะไรเป็นอุปสรรคการเข้าถึงการอ่าน” โดย วัฒนชัย วินิจจะกูล รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันอุทยานการเรียนรู้ บันทึกในโอกาสงานเสวนาและเปิดตัวสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ Data Storytelling ชุด “LOOK AROUND THE SHELF”

    • 50 min
    Knowledge Exchange EP. 54 To Reside in Creativity: UTS Library Creative in Residence

    Knowledge Exchange EP. 54 To Reside in Creativity: UTS Library Creative in Residence

    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ (UTS) มีแต่อาคารเรียน ไม่มีพื้นที่ว่างและสวน ส่วนห้องสมุดตั้งอยู่นอกมหาวิทยาลัย โจทย์สำคัญคือ จะทำอย่างไรให้นักศึกษาเดินทางไปใช้บริการห้องสมุด โครงการ ‘นักสร้างสรรค์ในพำนัก’ ถูกริเริ่มขึ้นเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้คนและชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มศิลปิน เข้ามาร่วมออกแบบ แก้ปัญหา หรือพัฒนาห้องสมุดให้มีภาพลักษณ์อบอุ่นและเป็นมิตรมากยิ่งขึ้น
    .
    โครงการนี้ดำเนินมาแล้วประมาณ 10 ปี แต่ละปีจะมีการตั้งธีมแตกต่างกัน และเปิดรับสมัครผู้สนใจโดยไม่จำกัดเฉพาะนักศึกษาในมหาวิทยาลัย คณะกรรมการจะพิจารณาคุณสมบัติจากเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ประกอบกับพอร์ตโฟลิโอแสดงผลงาน ผู้ผ่านการคัดเลือกจะได้รับเงินสนับสนุน 10,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย ค่าวัสดุปกรณ์ พื้นที่ทำงานในห้องสมุด และการอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ จากเจ้าหน้าที่ เป็นระยะเวลา 6 เดือน
    .
    เมื่อผ่านการคัดเลือกแล้ว นักสร้างสรรค์ทั้งหลายจะได้รับรายการ ‘ปัญหาและความต้องการ’ จากห้องสมุด เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์มากที่สุด ที่ผ่านมามีรูปแบบผลงานมากมาย เช่น เก้าอี้ซึ่งได้รับการออกแบบเฉพาะสำหรับห้องสมุด UTS การตกแต่งพื้นที่มุมอับเพื่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น แผนที่ระบุชนิดพันธุ์พืช หรือแม้กระทั่งการทาสีตกแต่งห้องสมุดตามรหัสสีสอดคล้องกับระบบทศนิยมดิวอี้ เพื่อให้ผู้ใช้งานค้นหาหนังสือได้ง่ายขึ้น
    .
    คุณค่าของโครงการ ‘นักสร้างสรรค์ในพำนัก’ คือ ห้องสมุดได้ผู้มีศักยภาพมาร่วมแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ขณะเดียวกันศิลปินก็มีโอกาสผลิตผลงานตามจินตนาการ โดยได้รับความสะดวกอย่างครบครัน และสามารถต่อยอดให้เกิดมูลค่าในอนาคต
    .
    ฟัง… ก

    • 23 min
    Knowledge Exchange EP.53 The Role of Public Libraries in the Small Business Ecosystem

    Knowledge Exchange EP.53 The Role of Public Libraries in the Small Business Ecosystem

    สมาคมห้องสมุดอเมริกันได้ริเริ่มโครงการ “Library Build Business” ในปี 2020 โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กและผู้ประกอบการทั่วประเทศ โครงการนี้เชื่อว่า หากผู้ที่ต้องการตั้งเนื้อตั้งตัวเข้าถึงทรัพยากรที่พวกเขาต้องการ ก็จะสามารถสร้างรายได้เพื่อเลี้ยงดูครอบครัว เมื่อนั้นชุมชนท้องถิ่นก็จะได้รับประโยชน์จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าวด้วย
    .
    โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก “google.org” มีห้องสมุดนำร่องร่วมโครงการ 13 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้บริการทรัพยากรและปัจจัยที่จำเป็นแก่ผู้ประกอบการ ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานสามารถช่วยเหลือสมาชิกเกือบ 15,000 คน ทั้งธุรกิจที่ตั้งอยู่ในชุมชนขนาดใหญ่ ชนบท และชนเผ่า
    .
    โมเดลการดำเนินงานประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การจัดการทรัพยากรให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและธุรกิจ มองหาพันธมิตรที่ช่วยทำให้โครงการเข้มแข็งขึ้น และสร้างระบบนิเวศธุรกิจขนาดเล็ก โดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งเชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ
    .
    ประสบการณ์จากการดำเนินงานทั้งหมดถูกถ่ายทอดไว้ในหนังสือ “Libraries that Build Business: Advancing Small Business and Entrepreneurship in Public Libraries” และคู่มือ “Libraries Build Business Playbook” เนื้อหาว่าด้วยชุมชนห้องสมุดที่มาร่วมแบ่งปันแนวทางปฏิบัติ ว่าจะจัดกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยได้อย่างไร
    .
    ทั้งนี้ แต่ละพื้นที่อาจจะมีโจทย์ไม่เหมือนกัน เช่น บางแห่งอาจต้องการความช่วยเหลือด้านไอที หรือการเขียนโค้ด ขณะที่บางแห่งอาจต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ประกอบการด้วยกัน
    .
    ฟัง… การบรรยายเรื่อง “The Role of Public Libraries in the Small Business Ecosystem” บรรยายโดย เมแกน จานิกกี (Megan Janicki) ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์ สมาคมห้องสมุดอเมริกัน สหรัฐ

    • 18 min
    KnowledgeExchange EP.52 กองทุนพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้แห่งชาติ

    KnowledgeExchange EP.52 กองทุนพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้แห่งชาติ

    ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำด้านนิเวศการเรียนรู้ อาทิ จำนวนหนังสือที่มีอยู่ในแต่ละบ้าน และการเข้าถึงเทคโนโลยีของเด็กๆ ครอบครัวที่มีฐานะดีกว่าสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้มากกว่าครอบครัวที่ยากจน และหนังสือมีราคาสูง ในขณะที่งบประมาณที่ใช้สำหรับพัฒนาเรื่องการเรียนรู้กลับลดลงอย่างต่อเนื่อง
    .
    โจทย์ดังกล่าวนำไปสู่ข้อเสนอเรื่อง ‘กองทุนพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้แห่งชาติ’ ซึ่งมีกรอบงบประมาณร้อยละ 5 ของงบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษาของประเทศ หรือประมาณ 40,000 ล้านบาท แบ่งสำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน ซึ่งได้แก่ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เวิร์กชอปการเรียนรู้ และการพัฒนาทักษะอาชีพใหม่ๆ รวมทั้งงบประมาณรายหัวสำหรับสนับสนุนให้นักเรียนและครูเลือกเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ตามที่ตนเองสนใจ
    .
    หลักการสำคัญของกองทุนพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้แห่งชาติ ประกอบด้วย การเรียนรู้ที่ไม่จำกัดเพียงในโรงเรียนแต่ครอบคลุมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเน้นการกระจายอำนาจในการจัดการให้ผู้คนในพื้นที่มีส่วนร่วม การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ และการให้ผู้เรียนมีอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้นในการเลือกเรียนรู้ในสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเอง
    .
    ฟัง… การบรรยายเรื่อง “กองทุนพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้แห่งชาติ” บรรยายโดย ดร. เดชรัต สุขกำเนิด อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บันทึกในโอกาสการประชุม TK Forum 2022 หัวข้อ “Learning City and Lifelong Learning Ecosystem”

    • 30 min
    KnowledgeExchange EP. 51 ระบบนิเวศการเรียนรู้กับความเปลี่ยนแปลงของโลกการงานอาชีพและทักษะใหม่

    KnowledgeExchange EP. 51 ระบบนิเวศการเรียนรู้กับความเปลี่ยนแปลงของโลกการงานอาชีพและทักษะใหม่

    โลกเศรษฐกิจไทยในอนาคตกำลังมีความเปลี่ยนแปลงไปใน 3 รูปแบบ คือ โลกเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โลกเศรษฐกิจใส่ใจ ซึ่งเน้นเรื่องของสุขภาพกายและใจ และโลกเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเน้นการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
    .
    โลกใหม่ต้องการแรงงานที่มีทักษะแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง คนจำนวนหนึ่งอาจตกงาน ในขณะที่บางงานเป็นที่ต้องการมากขึ้น เช่น นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ช่างซ่อมรถยนต์ไฟฟ้า ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ นักจิตวิทยา นักเทคนิคด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ นักการตลาดสีเขียว ฯลฯ การรู้ลึกเพียงศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป แรงงานในอนาคตจะต้องมีทั้งความรู้ลึก รู้กว้าง มีความสามารถในการวิเคราะห์และคิดเชื่อมโยง
    .
    TDRI ได้วิจัยถึงทักษะแรงงานที่ผู้ประกอบการทั่วประเทศต้องการ พบว่า นอกจากทักษะวิชาชีพแล้ว นายจ้างยังต้องการทักษะภาษาอังกฤษ ทักษะดิจิทัล ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ รวมทั้ง Soft Skill ต่างๆ เช่น ความสามารถในการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม การมีความคิดสร้างสรรค์ การมีความเป็นมืออาชีพ และความสามารถในการปรับตัว
    .
    ในขณะที่ ผลการสำรวจของ World Economic Forum และ SEA พบว่า หนุ่มสาวในประเทศไทย 30% เชื่อว่าทักษะที่ตนเองมีอยู่สามารถใช้ได้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับการสำรวจของ OECD ที่พบว่า เด็กไทยกว่า 40% ขาด Growth Mindset คือไม่เชื่อว่าสติปัญญาและความสามารถของตนเองเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งจะส่งผลให้คนรุ่นใหม่ไม่เห็นความจำเป็นในการปรับตัวหรือการเรียนรู้ตลอดชีวิต
    .
    โจทย์ที่สำคัญของประเทศไทยคือ สถาบันการศึกษาไม่สามารถผลิตผู้เรียนให้มีทักษะตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นเพราะสถาบันการศึกษามีรายได้ส่วนใหญ่มาจากงบประมาณ

    • 38 min

Top podcasts em Educação

Flow Podcast
Estúdios Flow
Top Áudio Livros
Top Áudio Livros
Psicologia na Prática
Alana Anijar
6 Minute English
BBC Radio
Inglês do Zero
Jader Lelis
Histórias em Inglês com Duolingo
Duolingo