300 episodes

การพูดคุยปรึกษา คือ สากัจฉาทำให้เกิดความไม่ประมาทและมีปัญญาได้, มีคำถามอยู่ที่ไหน ก็มีคำตอบอยู่ที่นี่, ตอบทุกข้อสงสัย ทั้งในการดำเนินชีวิต, หลักธรรม หรือการภาวนา โดย ร่วมพูดคุยกับคุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ในช่วง "ตามใจท่าน". New Episode ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา‪)‬ Panya Bhavana Foundation

    • Society & Culture

การพูดคุยปรึกษา คือ สากัจฉาทำให้เกิดความไม่ประมาทและมีปัญญาได้, มีคำถามอยู่ที่ไหน ก็มีคำตอบอยู่ที่นี่, ตอบทุกข้อสงสัย ทั้งในการดำเนินชีวิต, หลักธรรม หรือการภาวนา โดย ร่วมพูดคุยกับคุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ในช่วง "ตามใจท่าน". New Episode ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    แก้ความคิดอกุศล [6720-7q]

    แก้ความคิดอกุศล [6720-7q]

    Q : เมื่อมีความคิดในทางลบทางอกุศล ควรทำอย่างไร?
    A : จิตเมื่อตริตรึกไปในสิ่งไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง หากเราลืมเผลอเพลินนั่นคือเราไม่มีสติ เราต้องตั้งสติด้วยการเจริญอนุสติ 10 เจริญสติปัฎฐาน 4 เมื่อสติเรามีกำลังก็จะสามารถสังเกตแยกแยะ จะทำให้ความคิดที่ผ่านเข้า-ออกถูกป้องกันให้อยู่ในกุศลธรรมได้ดีมากขึ้น เปรียบดังกับยาม (สติ) จะอยู่ที่ประตู (ใจ) ได้ ก็ต้องมีป้อมยาม (ลมหายใจ) สังเกตดูคนเข้า-ออก (ความคิดที่ผ่านไป-มาดีบ้างไม่ดีบ้าง, กลิ่นอาหารที่ผ่านเข้า-ออกทางรูจมูก, เสียงที่ผ่านเข้าออกทางช่องทางหู) ซึ่งยามจะสังเกตดูได้ก็ในป้อมยามนี้
     
    Q : จิตกับความคิดไม่ใช่อย่างเดียวกัน
    A : จิตก็อย่างหนึ่งความคิดก็อย่างหนึ่งใจก็อย่างหนึ่ง เราจะเลือกที่จะให้จิตคิดหรือไม่คิดเราต้องเลือกได้ เราจะคิดหรือหยุดคิดเราต้องเลือกได้ เราต้องตั้งสติสังเกตได้ จุดที่เราตั้งไม่ได้เพราะเราเพลินไป พอเรายับยั้งได้ฉุกคิดได้ตั้งสติได้นั่นคือไม่เผลอไม่เพลิน 
     
    Q : โลกียฌานและโลกุตรฌานเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
    A : ทั้งโลกียฌานและโลกุตรฌานล้วนต้องอาศัยสติมีสมาธิเหมือนกัน ฌานคือการเพ่งการเอาจิตจดจ่อ สมาธิคือการรวมลงเป็นอารมณ์อันเดียว ส่วนโลกียฌานคือสมาธิที่ยังเกี่ยวเนื่องกับโลกกับของหนักมีทั้งสัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิ โลกุตรฌานคือการนำสมาธิที่เป็นสัมมาทิฐิมาใช้ให้อยู่ในลักษณะเหนือบุญเหนือบาป เห็นโดยความเป็นของปฏิกูล เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา เห็นตามอริยสัจสี่แบบนี้คือจะไปสู่ระดับเหนือโลกเหนือบุญเหนือบาป
     
    Q : จิตตั้งมั่น สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน 4 เหมือนกัน เข้าใจถูกหรือไม่? 
    A : สัมมาสติคือสติปัฏฐาน 4 จะทำให้

    • 54 min
    การระลึกชาติ [6719-7q]

    การระลึกชาติ [6719-7q]

    Q : การระลึกชาติได้ มีจริงไหม?
    A : การระลึกถึงไม่ว่าจะระลึกถึงอดีตหรืออนาคตก็ระลึกถึงอยู่ในปัจจุบัน ถ้าเรามีอดีตนั่นก็หมายความว่าเรามีปัจจุบันและอนาคต ในตำราไว้ว่าการระลึกชาติก่อนได้เป็นความสามารถในส่วนของปัญญาเรียกว่า “บุพเพนิวาสานุสติญาณ” คือปัญญาที่ทำให้ระลึกตามได้ว่าเมื่อก่อนเป็นอะไรอยู่ที่ไหน โดยเหตุแห่งการระลึกชาติได้นั้นคือสมาธิต้องมีสมาธิจึงจะมีปัญญา ในข้อนี้ท่านกล่าวถึง “อภิญญา5” เตือนเอาไว้ว่าหากคนไม่ศรัทธาไม่เชื่อก็จะบอกว่านั่นเป็นเพียงมายากลคือมีปัญญาแต่ไม่มีศรัทธา หากคนที่ศรัทธาอย่างเดียวก็จะถูกหลอกได้ง่ายคือมีศรัทธาแต่ไม่มีปัญญา เพราะฉะนั้นศรัทธาและปัญญาจึงต้องไปด้วยกันสองอย่างต้องพอ ๆ กันเราจึงจะเข้าใจรู้เห็นสิ่งของที่พิเศษนี้ได้
     
    Q : ทำบุญให้ทานเพราะโลภได้บุญหรือไม่?
    A : การให้ทานนั้นได้บุญ แต่หากให้ทานแล้วมีความโลภ บุญที่ได้นั้นจะเศร้าหมอง การเดินตามมรรค 8 จะทำให้ความเศร้าหมองลดลง เป็นกระบวนการที่เมื่อเราทำแล้วความอยากก็จะลดลงไปด้วย ดั่งที่พระอานนท์ท่านกล่าวไว้ว่า “เจริญฉันทะเพื่อลดฉันทะ” 
     
    Q : สมาธิที่มากเกินไปทำให้เกียจคร้าน ไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติขั้นสูงขึ้นไป จริงหรือไม่ ?
    A : สมาธิถ้ามันไม่สมดุลกับความเพียร ความเพียรน้อยไปสมาธิมากไปก็จะทำให้เกียจคร้าน แต่ถ้าความเพียรมากไปสมาธิน้อยไปก็จะทำให้ฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้นมันต้องประกอบกันทั้งหมดให้เหมาะสม ในลักษณะที่ให้จิตเราละอาสวะกิเลสได้ 
     
    Q : คนมักใช้คำว่า "อนิจจังไม่เที่ยง" เพื่อปลอบใจให้คลายทุกข์แต่พอสบายใจแล้วก็ปล่อยปะละเลยไป
    A : ท่านยกเรื่อง “โลกธรรม 8” เราต้องเข้าใจทั้ง 2 ฝั่ง ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ

    • 57 min
    คาถาชนะมาร [6718-7q]

    คาถาชนะมาร [6718-7q]

    Q : คาถาใดใช้ขจัดมาร และพระไพรีพินาศ ศัตรูพินาศจริงหรือ?
    A : มารคือสิ่งที่จะมาขัดขวางให้เราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่สำเร็จ ท่านสอนว่ามารมี 5 ประเภท คือมารที่เป็นคน กิเลสมาร มารที่เป็นขันธ์และกรรมก็เป็นมาร วิสัยของมารคือจะคอยขัดขวางล้างผลาญความดี หากเราไม่ให้อาหารแก่มาร เช่น ใครมาด่ามาว่า เราก็ยังดำรงตนอยู่ในมรรค 8 ได้ ไม่โกรธไม่ขัดใจ ไม่ด่าตอบ นั่นคือจิตเราไม่ไปตามกระแสของมาร มารก็จะทำอะไรเราไม่ได้ ไม่ใช่ว่ามารไม่มี และหากเราเห็นพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งแล้วเรายังระลึกถึงคำสอนของท่านอยู่รวมลงในองค์ 8 อันประเสริฐ มารทำอะไรเราไม่ได้ก็จะไปเอง
     
    Q : วิธีชนะมารที่ตัวเรา?
    A : ชนะมารได้ด้วยการไม่ให้อาหารมารไม่ทำตาม มารพอเราไม่ไปตามอำนาจของมันเดี๋ยวมันก็ไปเอง การชนะมารคือชนะตัวเราเอง พอเราควบคุมจิตเราให้อยู่ในธรรมะได้ ทรงอยู่ในธรรมได้ เราชนะตรงนี้ได้ เราก็จะชนะทุกอย่าง
     
    Q : เพิ่มพลังให้จิต? 
    A : วิธีเพิ่มพลังให้จิตเรามีกำลัง คือให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้เป็นผู้ที่มีกำลังใจสูง เข้าใจว่ามีทุกข์มีสุข ให้ทำความดีต่อไป
     
    Q : นอนสวดมนต์ได้หรือไม่?
    A : หากเราทำกิริยาใด ๆ แล้วประกอบด้วยความขี้เกียจ นั่นเป็นบาป เราควรตั้งอยู่ในกิริยาที่สำรวมเหมาะสม
     
    Q : กระดูกกับความดี?  
    A : การที่เราจะระลึกถึงบรรพบุรุษหรือใครที่ทำดีกับเราเป็นสิ่งที่ทำได้ การระลึกถึงผู้มีพระคุณต่อเราเรียกว่าเทวตานุสติ
     
    Q : พูดความจริงกับบาป
    A : หากมีเจตนาโกหกนั่นเป็น “บาป” เช่น เห็นบอกไม่เห็น ได้ยินบอกไม่ได้ยิน คือมีเจตนาโกหก หรืออีกนัยยะหนึ่งคือพอมีคนถามถึงความไม่ดีของคนอื่นด้วยเจตนาที่จะให้เขาระวัง ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เขาแตก

    • 1 hr 1 min
    สิ่งที่เป็นไปได้ยาก 3 สิ่ง [6717-7q]

    สิ่งที่เป็นไปได้ยาก 3 สิ่ง [6717-7q]

    Q: การยอมรับความจริงเป็นทางออกของหลายปัญหาจริงหรือไม่?
    A : ทุกข์ เวทนา นั้น มันไม่ได้เป็นของจริง เปรียบดังพยับแดดที่เหมือนจะมีจริงแต่มันไม่มีจริง พอเราเข้าใจว่ามันไม่ใช่ความจริง ยอมรับด้วยปัญญา เราก็จะไม่ทุกข์อีกต่อไป ให้เรานำธรรมะมาทำ มาปฏิบัติ มาใช้ในชีวิตประจำวัน พยามเดินตามมรรค อย่าออกนอกมรรค
     
    Q: การสะสมอาสวะใหม่ให้เข้ามาอยู่ในจิตใจจึงจะได้ผล?
    A : ไม่ใช่ว่าเป็นการสะสมอาสวะใหม่ แต่ที่จริงแล้วเป็นอาสวะเก่ามันลอกออก เพราะอาสวะมันเป็นสิ่งสะสม มีกามาสวะ คือ เมื่อเราชอบพอสิ่งใด กามาสวะก็จะเพิ่มพูน ปฏิฆาสวะ คือเมื่อเราไม่พอใจขัดใจ ปฏิฆาสวะก็จะเพิ่มพูน และอวิชชาสวะ คือเมื่อไม่เข้าใจสถานการณ์ ง่วงซึม เห็นแก่ตัว อวิชชาสวะก็จะเพิ่มพูน แต่หากมีสถานการณ์ที่มากระตุ้นให้เกิดอาสวะเดิม แล้วเราไม่ทำตามเดิม เรามาเดินตามมรรค ปฏิบัติตามมรรคได้ อาสวะเดิมมันก็จะหลุดลอกออกทันที
     
    Q: การมีปีติ สงบ มีสมาธิ หรือการไม่ยินดียินร้าย อันไหนดีกว่ากัน สุขจากภายในคือสุขจากสมาธิใช่หรือไม่? 
    A : สุขในภายในคือสุขจากสมาธิ (สมาธิ 9 ขั้น) สมาธิ มี 2 ส่วน คือสมถะและวิปัสสนา แยกต่อไปอีก ได้ 3 ส่วน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา แยกต่อไปอีกได้ 8 ส่วน คือมรรค 8 สมถะและวิปัสสนา เรียกอันเดียวกันว่า “สติ” เมื่อมีสติแล้ว ก็จะทำให้เกิดสมาธิเกิดปัญญาได้ คือทำแล้วจะรวมลง ลงรับกันทั้งหมด ส่วนไม่ยินดียินร้ายน่าจะเน้นมาเรื่องอุเบกขา (สมาธิขั้นที่ 3 ขึ้นไป)
     
    Q: ฝึกที่จะไม่พูดในสิ่งที่ไม่จำเป็นเป็นอย่างไร?
    A: สิ่งที่ไม่จำเป็นต้องพูด คือ คำโกหก หลอกลวง เพ้อเจ้อ นินทา ไม่มีสาระหาแก่นสารไม่ได้ ส่อเสียด ยุยงให้แตกกัน รวมถึงคำหยาบทั้งหลาย 
     
    Q: การเกิดเป็นมนุษย์เป

    • 55 min
    ความรู้คือวิชชา ความพ้นคือวิมุตติ [6716-7q]

    ความรู้คือวิชชา ความพ้นคือวิมุตติ [6716-7q]

    Q : อย่าเห็นแก่สั้นอย่าเห็นแก่ยาว (การผูกมิตร)
    A : การให้ทานเป็นหนึ่งในสังคหวัตถุ 4 เราสามารถรับและซื้อของให้กลับเพื่อผูกมิตร มิตรภาพมีค่าควรรับไว้ ทั้งนี้ให้ตรวจสอบสภาวะจิตว่าเราเป็นคนตระหนี่ไหม คือเค้าซื้อของให้แล้วไม่อยากซื้อให้กลับหรือไหม การให้ทานเป็นการลดความตระหนี่ เราควรรักษามิตรภาพไว้หากเขามีศรัทธากับเรา เราก็ดูว่าเราจะเป็นเนื้อนาบุญได้ไหม หรือแนะนำให้หยอดกระปุกชวนทำบุญร่วมกัน / คำว่า “อย่าเห็นแกสั้นอย่าเห็นแก่ยาว” หมายถึง อย่าแตกร้าวจากมิตรให้เร็วนัก อย่าจองเวรให้ยืดเยื้อนัก
     
    Q : คุณสมบัติของเนื้อนาบุญเปรียบกับช้างทรงของพระราชา
    A : อดทนต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ต้องเป็นช้างที่รู้ประหารคือกำจัดสิ่งที่เป็นอกุศล รู้รักษาคือสำรวมอินทรีย์ รู้ไปคือไปทางนิพพาน รู้ฟังคือฟังธรรมะ และรู้อดทนคืออดทนต่อเวทนาคำด่าคำว่า
     
    Q : ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์อุเบกขา วิมุต ต่างกันอย่างไร? 
    A : “ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์” มาจากศัพท์คำว่า “อทุกขมสุข” เป็นเวทนา คือถ้ามีผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกที่บอกไม่ได้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์มากระทบ ก็จะมีความรู้สึกที่จะบอกไม่ได้ว่าสุขหรือทุกข์เกิดขึ้น “อุเบกขา” คือความวางเฉย เป็นเวทนาที่เป็นหนึ่งในสติปัฎฐานสี่ เป็นหนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ “วิมุตติ” คือพ้นไม่เพลิน อยู่เหนือจากอุเบกขาขึ้นไป เมื่อวางได้จึงพ้น / ความต่างของอุเบกขาและวิมุตติคืออุเบกขา เป็นหนึ่งในสติปัฏฐานสี่หนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ ความเหมือนก็คือเป็นเวทนาเหมือนกัน มีความเพลินเหมือนกัน มีสติอยู่ด้วยเหมือนกัน / เมื่อเราเจริญสติปัฏฐานสี่ให้มากทำให้มากแล้ว เราจะมีองค์ธรร

    • 54 min
    การตั้งสติไว้ในกาย [6715-7q]

    การตั้งสติไว้ในกาย [6715-7q]

    Q : กายคตาสติหรือการตั้งสติไว้ในกายทำอย่างไร? 
    A : กายคตาสติคือการตั้งสติไว้ในกาย ใช้กายเป็นฐานที่ตั้งของสติ สามารถทำได้หลายรูปแบบเช่นนัยยะของการนั่งสมาธิแล้วพิจารณากาย การพิจารณากายในอิริยาบถ การพิจารณากายในความเป็นปฏิกูล หรือพิจารณากายจากสถานที่ / การตั้งสติสัมปชัญญะไว้ในกาย คือรู้ตัวทั่วพร้อมรอบคอบในอาการต่าง ๆ ในทุกอิริยาบถ หากเรามีอาการทางกาย เช่น การไอ อย่าให้จิตเราไม่พอใจขยะแขยงเกลียดชังไปกับอาการหรืออิริยาบถนั้น ๆ ให้เรารับรู้อยู่แต่ไม่คิดไปตาม ไม่เพลินไปตามความคิด ไม่เพลินไปตามอาการนั้นอิริยาบถนั้นการปรุงแต่งนั้น ให้รู้ตัวทั่วพร้อมมีสติสัมปชัญญะอยู่กับการไอ
     
    Q : รู้สึกผิดที่ไม่ได้ดูแลพ่อแม่ด้วยตัวเองควรวางใจอย่างไร?
    A : หน้าที่ที่เหมาะสมสำหรับลูกที่ควรกระทำคือเลี้ยงดูบิดามารดา การเลี้ยงดูมี 2 รูปแบบ คือการดูแลทางอามิสคือทางกาย และการตอบแทนที่จะพอเหมาะสม คือการให้ท่านมีศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา คือมี “โสตาปัตติยังคะ 4” ถึงพอจะเหมาะสมกัน ในเรื่องของการดูแลเราสามารถทำเองก็ได้หรือจัดให้ก็ได้ ในเรื่องของสภาพจิตใจต้องดูแลท่าน หมั่นไปเยี่ยมประดิษฐานท่านให้มีศีล ศรัทธา จาคะ และปัญญา ให้เรามองว่าเป็นโอกาสที่เราจะสร้างบุญใหญ่แล้วให้มีความมั่นใจทำจริงแน่วแน่จริง ธรรมะจะคุ้มครองผู้ปฏิบัติธรรมแน่นอน
     
    Q : ทำบุญที่ไหนก็ตามเทียบไม่ได้กับทำบุญกับพ่อแม่
    A : บุญที่เกิดจากการให้ทานอยู่ที่ลักษณะ 3 อย่างคือ ผู้ให้ผู้รับและสิ่งของที่ให้ผู้ให้คือเราผู้รับคือพ่อแม่หากเปรียบพ่อแม่เป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์ท่านไม่มีกิเลสแล้วแต่พ่อแม่ยังมีกิเลสอยู่นัยยะของการเกิดบุญจึงต่างกันอย่างไรก็ตา

    • 56 min

Top Podcasts In Society & Culture

Thrift
RNZ
MID
Mamamia Podcasts
Between Two Beers Podcast
Steven Holloway & Seamus Marten
Stuff You Should Know
iHeartPodcasts
What It Was Like
Superreal
The Louis Theroux Podcast
Spotify Studios

You Might Also Like

6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
1 สมการชีวิต
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
5 นิทานพรรณนา
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
3 ใต้ร่มโพธิบท
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
4 คลังพระสูตร
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
2 จิตตวิเวก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

More by วัดป่าดอนหายโศก

3 ใต้ร่มโพธิบท
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
5 นิทานพรรณนา
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
4 คลังพระสูตร
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
2 จิตตวิเวก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
1 สมการชีวิต
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana