305 episodios

การพูดคุยปรึกษา คือ สากัจฉาทำให้เกิดความไม่ประมาทและมีปัญญาได้, มีคำถามอยู่ที่ไหน ก็มีคำตอบอยู่ที่นี่, ตอบทุกข้อสงสัย ทั้งในการดำเนินชีวิต, หลักธรรม หรือการภาวนา โดย ร่วมพูดคุยกับคุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ในช่วง "ตามใจท่าน". New Episode ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา‪)‬ Panya Bhavana Foundation

    • Sociedad y cultura

การพูดคุยปรึกษา คือ สากัจฉาทำให้เกิดความไม่ประมาทและมีปัญญาได้, มีคำถามอยู่ที่ไหน ก็มีคำตอบอยู่ที่นี่, ตอบทุกข้อสงสัย ทั้งในการดำเนินชีวิต, หลักธรรม หรือการภาวนา โดย ร่วมพูดคุยกับคุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ในช่วง "ตามใจท่าน". New Episode ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    เห็นความยึดถือด้วยปัญญา [6725-7q]

    เห็นความยึดถือด้วยปัญญา [6725-7q]

    Q: อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้นตรงไหน?
     A: อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรียกสั้น ๆ ว่า “ไตรลักษณ์” เป็นคุณสมบัติที่มีอยู่กับทุกสิ่งทุกอย่าง คือสิ่งที่เป็นระบบสมมุติทั้งหมด ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติ ทั้งสิ่งที่จับต้องได้ ทั้งสิ่งที่เป็นนามธรรม ทุกอย่างที่เป็นขันธ์ 5 เป็น อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา เรียกว่า “สังขตธรรม” คือ ธรรมที่ยังอยู่ในการปรุงแต่งได้ทั้งหมด จะมีคุณสมบัติของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ทุกที่อยู่แล้ว ไม่ว่าเราจะยึดถือหรือไม่ยึดถือ ลักษณะของสังขตธรรม คือ มีการเกิดปรากฏ มีความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่มีภาวะอื่น ๆ ปรากฏ ส่วนธรรมะที่ไม่มีการปรุงแต่ง (นิพพาน) เรียกว่า “อสังขตธรรม” ลักษณะของอสังขตธรรม คือ ไม่มีการเกิดปรากฏ ไม่มีความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ไม่มีภาวะอื่น ๆ ปรากฏ   
     
    Q: จะเห็นปัญญาแท้จริงได้ในสิ่งที่เรายึดถือเราจะเห็นได้อย่างไร? ใครเป็นผู้เห็น ?
     A: การที่เราไม่เห็น มี 2 แบบ คือ 1) ไม่เห็นเพราะเราไม่ยึดในสิ่งนั้น 2) ไม่เห็นแล้วเราจึงยึด ยึดเพราะเราไม่เห็น เพราะเราเพลินพอใจ พอเราเพลินเราพอใจในสิ่งใด สิ่งนั้นคืออุปาทาน (ความยึดถือ) การที่เราจะรู้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ ก็ต้องตรงที่เราไม่รู้ ตรงที่เรายึดถืออยู่ เราจะเห็นตรงที่เรายึดถือได้ ก็ด้วยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา คือ “ภาวนามยปัญญา” เราจะมีภาวนามยปัญญาได้ ก็ด้วยการที่เรามีศรัทธา อาศัยการฟัง (สุตตมยปัญญา) การฝึกสติ สมาธิ ทำความเพียร (วิริยะ) ทำความเข้าใจ ใคร่ครวญ (จินตมยปัญญา) เราต้องทำตามมรรค 8 เพื่อปัญญาที่เป็น “โลกุตรปัญญา” เกิดขึ้น เราจึงจะเห็นสิ่งที่เป็นนิจจัง ว่าเป็นอนิจจัง จึงจะเห็นสิ่งที่เป็นส

    • 55 min
    เข้าใจทุกข์ด้วยปัญญา [6724-7q]

    เข้าใจทุกข์ด้วยปัญญา [6724-7q]

    Q : คิดนึกโกรธด่าว่าอยู่ในใจแต่ไม่ได้พูดออกมา จะถือว่าบาปแต่ไม่ผิดศีลใช่หรือไม่?
    A : อยู่ที่ว่าเรานับสัมมาวาจาอีก 3 ข้อ คือ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อ เข้ามาเป็นศีลด้วยหรือไม่ การเตือนตนด้วยตนเป็นสิ่งดี ให้เราฝึกปฏิบัติให้ละเอียดยิ่ง ๆ ขึ้นไป จะเกิดการพัฒนารักษากายวาจาใจได้

    Q : จากนิทานพรรณา "ผู้รู้เสียงสัตว์" ถ้าไม่มีญาณวิเศษนี้เราจะดำรงตนในธรรมได้อย่างไร?
    A : การพ้นทุกข์ได้จริง ๆ ไม่จำเป็นต้องรู้เสียงสัตว์ก็ได้ ถ้าเราจะรอดปลอดภัยจากวัฎฎะต้อง “อาสวักขยญาณ” คือญาณในการรู้อริยสัจสี่ เป็นทางเอกเป็นทางเดียวที่จะรอดพ้นจากวัฏสงสารได้

    Q : การละวาง การปล่อยวาง การวางเฉย มีความหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
    A : สามคำนี้เป็นคนละคำคำว่า “ละวาง” ในที่นี้หมายถึง การละคือปหานะ คือกำจัดทิ้งเสีย ใช้กับตัณหากับสิ่งที่เป็นอกุศลเท่านั้น คำว่า“ปล่อยวาง” (ใช้กับขันธ์ 5) หมายถึง การวิราคะคือวิมุต คือพ้นแล้วก็ปล่อยวาง ซึ่งจะเป็นส่วนของมรรค 8 ใช้ตามสายของมรรค คำว่า “วางเฉย” หมายถึง อุเบกขาเวลามีอะไรมากระทบแล้ววางเฉยได้ / ละวางกับปล่อยวาง การจะละวางขันธ์ 5 ต้องเข้าใจขันธ์ 5 เข้าใจกายโดยความเป็นของปฏิกูล พอเข้าใจกายโดยความเป็นของปฏิกูลแล้วเห็นตามความเป็นจริง จะมีนิพพิทาคือความหน่าย มีวิราคะคือความคลายกำหนัด ปล่อยวางได้ ละได้ ตรงนี้คือวิมุตคือพ้น ระหว่างนิพพิทากับวิมุตก็ต้องมีการปล่อยวางตรงนี้ซึ่งเกิดขึ้นกับขันธ์ 5

    Q : "ชวนจิต"มีความสัมพันธ์กับการทำสมาธิและวิปัสสนาอย่างไร ทำไมต้องมี 7 ขณะ?
    A : เป็นเรื่องของอภิธรรม

    Q : ควรมีความอดทนหรือปล่อยไปตามกรรม?
    A : หน้าที่ของพ่อแม่ที่ควรมีต่อลูก คือ ห้ามลูกเสียจาก

    • 59 min
    ตายอย่างผาสุก [6723-7q]

    ตายอย่างผาสุก [6723-7q]

    Q : การมีอายุยืน (Longevity) และการตายแบบสบายๆ (Pin Pin Korori)
    A : การมีอายุยืน (Longevity) ที่ประเทศญี่ปุ่น บนเกาะโอกินาว่า หมู่บ้านโอกิมิ มีคนที่อายุเกิน 100 ปี อยู่หนาแน่น โดยมีสุขภาพแข็งแรง หูไม่ตึง สามารถทำงานได้ ขี่จักรยานได้ สายตาเห็นชัดเจน / การตายแบบสบาย ๆ (Pin Pin Korori) เป็นการตายไปเฉย ๆ ไม่ใช่อุบัติเหตุ ไม่ทุรนทุรายหรือป่วย เป็นการไหลตายไปเฉย ๆ เป็นท่าที่เขาตายเป็นลีลาการตายในลักษณะนั้น
     
    Q : การตายอย่างผาสุกในทางพุทธศาสนา
    A : การตายอย่างผาสุกนั้นไม่เกี่ยวกับลีลาหรือท่าทางการตาย แต่ขึ้นอยู่กับจิตเป็นสำคัญ ที่ว่าเมื่อความตายมาถึงแล้วจะยังเป็นความตายอย่างผาสุกได้ ท่านสอนไว้ถึงเรื่อง “ความเพียร ที่พึงกระทำ ปรารภภัยในอนาคต 5 ประการ” เมื่อความตายมาถึงแล้วธรรมะอะไรที่เราควรที่จะต้องบรรลุควรจะต้องรู้ควรจะต้องเข้าใจควรจะต้องทำให้แจ้งธรรมะนั้นคือ “มรรค 8”  
     
    Q : ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ
    A : ถ้าชีวิตของเราจะอยู่ไม่พ้นคืนนี้ มีราตรีนี้เป็นคืนสุดท้าย สิ่งที่จะรีบทำจิตใจเลยคือ (1) ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว (2) ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง (3) ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมปัจจุบัน พึงพิจารณาธรรมนั้นพึงทำความเพียรเสียในวันนี้ มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน เรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ว่า “ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ”
     
    Q : จะมีวิธีระงับอารมณ์ไม่ให้ระเบิดความโกรธออกมาโดยเรียกสติกลับมาได้อย่างไร?
    A : ถ้าเรารู้ว่าเรามีปัญหาตรงไหน เราจะสามารถแก้ได้แน่ การที่เราสังเกตเห็นนั่นแสดงว่าเรามีสติ ถ้ามีสติตรงไหนจะละได้ตรงนั้น มีสติตรงไหนจะพัฒนาความดีให้เกิดได้ตรงนั้น ให้เราฝึกพัฒนาสติทั้งในรูปแบบนั่งสมาธิให้สติมีกำลัง แ

    • 56 min
    คิดให้ถูก คิดให้เป็น [6722-7q]

    คิดให้ถูก คิดให้เป็น [6722-7q]

    Q: ให้ทานกับขอทานที่ยากจน ได้บุญมากกว่าขอทานที่ร่ำรวยใช่หรือไม่?
    A: การที่จะได้บุญมากหรือน้อยไม่ได้เกี่ยวกับปริมาณเงินของผู้ให้หรือฐานะของผู้รับ แต่ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผู้ให้และผู้รับ คุณสมบัติของผู้ให้ คือ ต้องมีศรัทธา ทั้งก่อนให้ ระหว่างให้และหลังให้ คุณสมบัติของผู้รับ คือ เป็นผู้ที่มีราคะ โทสะ โมหะน้อย
     
    Q: ความเศร้าหมองจากการให้ทานเกิดจากอะไร?
    A: ความเศร้าหมองของบุญ อยู่ที่ 3 องค์ประกอบ คือ “ผู้ให้” (มีศรัทธาแล้วมีศีลหรือไม่) “ผู้รับ”(มีศีลหรือไม่) และ “สิ่งของ” (หากสิ่งที่นำมาถวาย เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง บุญก็จะเศร้าหมอง)
     
    Q: ทำบุญเอาหน้า จะได้บุญมากหรือน้อย?
    A: หากทำบุญอาศัยความโลภ บุญก็จะได้น้อย แต่ทำ ดีกว่าไม่ทำ เราควรสละออก ตั้งจิตให้ดี ทำดี ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
     
    Q: ฝันว่ากระทำไม่ดี จะเป็นบาปหรือไม่?
    A: เมื่อเราไม่ได้ลงมือทำจริง ๆ ก็ไม่ได้เป็นบาปของเรา แต่หากเรามีอารมณ์ร่วม คือเราเพลินไปตามแล้ว นั่นเป็นกรรม เป็นมโนกรรม
     
    Q: การที่สามีภรรยาอยู่กันคนละที่ ควรจะพิจารณาและทำให้เป็นไปตามหน้าที่ของทิศเบื้องหลังต่อกันอย่างไร?
    A: ฝ่ายภรรยา ควรจัดการงานให้เหมาะสมเรียบร้อย, สงเคราะห์คนข้างเคียงสามี เช่น พ่อ แม่ ลูกน้อง, ไม่นอกใจ, รักษาทรัพย์ที่หามาได้, ขยันไม่เกียจคร้านในการงานทั้งปวง ฝ่ายสามี ควรยกย่องภรรยา, ไม่ดูหมิ่น, ไม่นอกใจ, มอบความเป็นใหญ่ในหน้าที่ให้, ให้เครื่องประดับ ทั้งฝ่ายภรรยาและสามี ควรบริหารจัดการ ป้องกันให้ดี เพื่อไม่ให้ต้องทะเลาะกัน
     
    Q: ในทางธรรมจะอธิบายคำว่า "ต้องคิดเป็น" อย่างไร?
    A: ท่านให้แนวทางไว้ว่า ถ้าจะคิด อย่าคิดเบียดเบียนคนอื่น อย่าคิดเบียดเบียนตนเอง ถ้าจะคิด ให้คิดเรื่องที่เป็นกุศ

    • 56 min
    คุณสมบัติของทุกข์ [6721-7q]

    คุณสมบัติของทุกข์ [6721-7q]

    Q : ธรรมะ 5 ข้อ ที่เมื่อผู้ฟังอยู่สามารถที่จะหยั่งลงสู่ความเห็นที่ถูกต้องได้ จำเป็นต้องมีครบทั้ง 5 ข้อหรือไม่ ?
    A : ธรรมะ 5 ข้อ คือ1) ไม่วิพากษ์วิจารณ์คำพูด 2) ไม่วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด 3) ไม่วิพากษ์วิจารณ์ตน 4) เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน 5) ฟังธรรมมนสิการโดยแยบคาย หากไม่สามารถปฎิบัติได้ทั้ง 5 ข้อ ก็ควรปฏิบัติในข้อที่มีจิตไม่ฟุ้งซ่านคือจิตเป็นสมาธิ และข้อที่ฟังธรรมมนสิการโดยแยบคายคือวิปัสสนา ประกอบกัน 2 ส่วนทั้งสมถะและวิปัสสนา แต่ถ้าหากปฏิบัติได้ครบทุกข้อจะดีที่สุด
     
    Q : คำว่า อีโก้ (Ego) สูง เจ้ายศเจ้าอย่าง ยึดถืออัตตาตัวตนสูง อุปาทานในขันธ์ 5 มีความหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
    A : คำว่าอีโก้สูง เจ้ายศเจ้าอย่าง อัตตาตัวตนสูงในทางคำสอน หมายถึง ความมี “มานะ” คือความรู้สึกเป็นตัวตน “อุปาทาน” หมายถึง ความยึดถือ “ขันธ์ 5” หมายถึง กองของทุกข์ 5 กอง (กองของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) / อุปาทานขันธ์ 5 ไม่ใช่มานะ แต่เพราะมีความยึดถือในขันธ์ 5 จึงเกิดมานะ อุปทานเกิดจากตัณหา อุปาทานก็ตาม ตัณหาก็ตามเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เพราะมีตัณหาจึงมีอุปาทาน เพราะมีอุปาทานจึงมีภพ เพราะมีภพจึงมีการเกิด (การก้าวลง) หมายถึง จิตดิ่งปักลงไปว่า “สิ่งนี้มีในตน ตนมีในสิ่งนั้น สิ่งนั้นเป็นตน ตนเป็นสิ่งนั้น” เมื่อมีการก้าวลงจึงมีอัตตาขึ้นมา  
     
    Q : ถ้าเรามีอุปาทานความยึดถือควรแก้ไขอย่างไร?
    A : ปฎิบัติตามมรรค 8 ถ้าเรามีศีล สมาธิ ปัญญา เราจะไม่เพลินไม่พอใจ เมื่อไม่เพลินไม่พอใจความยึดถือก็จะไม่เกิด เมื่อเกิดไม่ได้ความยึดถือก็ดับไป ความเป็นตัวตนมานะก็ดับไป  
     
    Q : วิธีละสักกายทิฏฐิอัตตาตัวตน?
    A : ถ้าเรามีสัมมาทิฎฐิมีปัญญาที่จะเข้าใจว่า มันไม่ใช่อัตตาตัวตนของเร

    • 52 min
    แก้ความคิดอกุศล [6720-7q]

    แก้ความคิดอกุศล [6720-7q]

    Q : เมื่อมีความคิดในทางลบทางอกุศล ควรทำอย่างไร?
    A : จิตเมื่อตริตรึกไปในสิ่งไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง หากเราลืมเผลอเพลินนั่นคือเราไม่มีสติ เราต้องตั้งสติด้วยการเจริญอนุสติ 10 เจริญสติปัฎฐาน 4 เมื่อสติเรามีกำลังก็จะสามารถสังเกตแยกแยะ จะทำให้ความคิดที่ผ่านเข้า-ออกถูกป้องกันให้อยู่ในกุศลธรรมได้ดีมากขึ้น เปรียบดังกับยาม (สติ) จะอยู่ที่ประตู (ใจ) ได้ ก็ต้องมีป้อมยาม (ลมหายใจ) สังเกตดูคนเข้า-ออก (ความคิดที่ผ่านไป-มาดีบ้างไม่ดีบ้าง, กลิ่นอาหารที่ผ่านเข้า-ออกทางรูจมูก, เสียงที่ผ่านเข้าออกทางช่องทางหู) ซึ่งยามจะสังเกตดูได้ก็ในป้อมยามนี้
     
    Q : จิตกับความคิดไม่ใช่อย่างเดียวกัน
    A : จิตก็อย่างหนึ่งความคิดก็อย่างหนึ่งใจก็อย่างหนึ่ง เราจะเลือกที่จะให้จิตคิดหรือไม่คิดเราต้องเลือกได้ เราจะคิดหรือหยุดคิดเราต้องเลือกได้ เราต้องตั้งสติสังเกตได้ จุดที่เราตั้งไม่ได้เพราะเราเพลินไป พอเรายับยั้งได้ฉุกคิดได้ตั้งสติได้นั่นคือไม่เผลอไม่เพลิน 
     
    Q : โลกียฌานและโลกุตรฌานเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
    A : ทั้งโลกียฌานและโลกุตรฌานล้วนต้องอาศัยสติมีสมาธิเหมือนกัน ฌานคือการเพ่งการเอาจิตจดจ่อ สมาธิคือการรวมลงเป็นอารมณ์อันเดียว ส่วนโลกียฌานคือสมาธิที่ยังเกี่ยวเนื่องกับโลกกับของหนักมีทั้งสัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิ โลกุตรฌานคือการนำสมาธิที่เป็นสัมมาทิฐิมาใช้ให้อยู่ในลักษณะเหนือบุญเหนือบาป เห็นโดยความเป็นของปฏิกูล เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา เห็นตามอริยสัจสี่แบบนี้คือจะไปสู่ระดับเหนือโลกเหนือบุญเหนือบาป
     
    Q : จิตตั้งมั่น สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน 4 เหมือนกัน เข้าใจถูกหรือไม่? 
    A : สัมมาสติคือสติปัฏฐาน 4 จะทำให้

    • 54 min

Top podcasts en Sociedad y cultura

Seminario Fenix | Brian Tracy
matiasmartinez16
El Estoico | Estoicismo en español
El Estoico
Modern Wisdom
Chris Williamson
Se Regalan Dudas
Dudas Media
Despertando
Dudas Media
TED en Español
TED

También te podría interesar

1 สมการชีวิต
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
5 นิทานพรรณนา
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
3 ใต้ร่มโพธิบท
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
2 จิตตวิเวก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
4 คลังพระสูตร
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

Más de วัดป่าดอนหายโศก

5 นิทานพรรณนา
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
4 คลังพระสูตร
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
3 ใต้ร่มโพธิบท
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
2 จิตตวิเวก
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
1 สมการชีวิต
ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana