
100 episodes

Prachatai Podcast prachataipodcast
-
- News
-
-
4.6 • 10 Ratings
-
ประชาไท พอดแคส | Prachatai Podcast | ใต้โต๊ะนักข่าว
-
โจ๊ะๆ แร็ปๆ ในธาตุทองซาวด์ | หมายเหตุประเพทไทย
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้พูดคุยกับกุลธีร์ บรรจุแก้ว ถึงเพลงธาตุทองซาวด์จากมุมของนักดนตรีวิทยา ทั้งจังหวะเปลี่ยนท่อนอย่างฉับพลันในบทเพลง และการนำดนตรีรถแห่มาเรียบเรียงกับเพลงฮิปฮอป พร้อมชวนมองวิวัฒนาการดนตรีสากลในอดีตจากดนตรีแจ๊ส ดิสโก้ ไปจนถึง House Music ที่เกิดจากแรงกดดันปิดกั้นสังคม LGBT ในทศวรรษที่ 1960 และในช่วงท้ายยังชวนตั้งคำถามเรื่องวงการผู้ฟังเพลงในประเทศไทย กำลังพาตัวเองก้าวเข้าสู่การรื้อถอนอาณานิคมดนตรีป็อบ (Decolonizing Pop Music) เหมือนที่อื่นๆ ในโลกหรือไม่?
-
ถอดรหัสงานประกาศรางวัล Grammy Awards | หมายเหตุประเพทไทย
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้พูดคุยกับกุลธีร์ บรรจุแก้ว เรื่องงานประกาศผลรางวัล Grammy Awards ครั้งที่ 65 ชวนอ่านว่าผู้จัดงานผลักดันประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรมผ่านงาน Grammy Awards อย่างไร ชวนคิดเรื่องภาพตัวแทนของศิลปินเมื่อมีศิลปินผิวสี ละติน LGBTQ+ รับรางวัลหลากหลายสาขาและหลายปีมาแล้ว ในอนาคต Grammy Awards จะมีพื้นที่สำหรับศิลปินเอเชียโดยเฉพาะศิลปิน K-Pop หรือไม่
-
’คนพิการ’ กับ ’สิทธิดิจิตัล’ ในการเลือกตั้ง #HumanOnTheLine | มนุษย์ออนไลน์ EP.5
"เราเกิดมาเป็นคนพิการในประเทศนี้ เราต้องการความเอ็นดูอย่างมากในสังคม เนื่องจากสภาพแวดล้อมมันแย่ เราจะไปไหนข้างนอกไม่ได้เลยนะ ถ้าไม่มีคนช่วย แต่ในระยาวความเอ็นดู ความสงสาร จิตอาสาหรืออะไรก็แล้วแต่ มันอยู่ไม่ได้ตลอดไป
คือสิ่งที่ทำให้คนพิการสามารถมีชีวิตอยู่ได้ด้วยตัวเองแบบมีศักดิศรีความเป็นมนุษย์ ไม่ได้ร้องขอความช่วยเหลือ...ทำไมคนพิการต้องพึ่งพาคนอื่นตลอดเวลา ทั้งๆ ที่เรามีโอกาสจะช่วยเหลือตัวเองได้ผ่านระบบโครงสร้างที่มันดี"
คุยกับ 'นลัทพร ไกรฤกษ์' จาก ThisAble.me กับเรื่อง 'คนพิการกับสิทธิดิจิตัลในการเลือกตั้ง' ในประเด็นคนพิการกับการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ที่เกิดปัญหาตั้งแต่การเดินทางไปเข้าคูหา ไปจนถึงการเข้าไม่ถึงนโยบายของพรรคการเมือง และจะทำอย่างไรที่จะทำให้คนพิการและคนทุกคนมีชีวิตที่ดีขึ้น
#สิทธิคนพิการ #HumanOnTheLine #มนุษย์ออนไลน์ #สิทธิดิจิทัล #thisAbleME #Prachatai -
กำเนิดเพลงลูกกรุง | หมายเหตุประเพทไทย
พูดคุยกับกุลธีร์ บรรจุแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีสากล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เรื่องกำเนิดเพลงไทยสากลอย่าง “เพลงลูกกรุง” เริ่มต้นจากอิทธิพลดนตรีตะวันตก กำเนิดวงดนตรีกรมโฆษณาการ-วงสุนทราภรณ์ และเมื่อมาถึงทศวรรษที่ 1970-80 ที่ดนตรีตะวันตกมีทั้งร็อคแอนด์โรลด์ ฮิปปี้ เมทัล ดิสโก้ ฯลฯ เพลงลูกกรุงก็มาถึงยุคการประกวดดนตรีสตริงคอมโบ และจุดเริ่มต้นของวงดนตรี The Impossible ฯลฯ และในปัจจุบันยังมีแนวดนตรีเรโทรอย่าง City Pop ซึ่งบางแง่มุมยังมีร่องรอยดนตรีลูกกรุงย้อนอดีตในยุคคุณพ่อคุณแม่อีกด้วย ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการ #หมายเหตุประเพทไทย #เพลงลูกกรุง
-
ส.ว. มีไว้ทำไม? : เสาหลักค้ำประกันการสืบทอดอำนาจให้ คสช. | อ่านให้ฟัง
“ส.ว. ชุดนี้มีอำนาจขี่คอ ส.ส. ไปเรียบร้อยแล้ว ขี่คออำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง ส.ว. ชุดผลัดกันเกาหลัง ท้ายที่สุดนั่นคือการค้ำประกันการสืบทอดอำนาจให้แก่ คสช. เป็นสิ่งแปลกปลอมในประชาธิปไตย เป็นอุปสรรคของประชาธิปไตยและเป็นเครื่องกีดขวางในการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย” - ปิยบุตร แสงกนกกุล กล่าวไว้ ดูจะอธิบายความจำเป็นของ ส.ว.นี้เป็นอย่างดี
อ่าน "ส.ว. มีไว้ทำไม? : เสาหลักค้ำประกันการสืบทอดอำนาจให้ คสช." ได้ที่ : https://prachatai.com/journal/2020/06/88071
ประชาไท #อ่านให้ฟัง หยิบบทความที่น่าสนใจมาอ่านให้คุณฟัง แบบไม่ต้องอ่าน -
ชุมชนในจินตกรรมของภาษาพาที | หมายเหตุประเพทไทย
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้พูดคุยกับยุกติ มุกดาวิจิตร กับแบบเรียนภาษาไทยชั้นประถมศึกษา “ภาษาพาที” ว่าสะท้อนชุมชนในจินตกรรมที่รัฐปรารถนาอย่างไร และนอกจากอุดมการณ์ราชาชาตินิยม พุทธศาสนานิยม มุมมองแบบกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางที่สะท้อนอยู่ในแบบเรียน นอกจากนี้ “ภาษาพาที” ยังสะท้อนภาพโหยหาชนบท และจุดเปลี่ยนเชิงอุดมการณ์ชนชั้นนำหลังวิกฤตเศรษฐกิจ “ต้มยำกุ้ง” ที่หันเหจากเสรีนิยม สู่อุดมการณ์ชนบทนิยมมากขึ้น