142 episodes

รายการวิทยุออนไลน์ที่จะ ร้อยเรียง สาระ 1000 เรื่องราว สรรหามาเล่า โดย หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

SNC Library Podcast, an online radio, proud to present a variety of stories by Sanamchandra Palace Library. Silpakorn University, Thailand

SNC Library Podcast Sanamchandra Palace Library

    • Society & Culture

รายการวิทยุออนไลน์ที่จะ ร้อยเรียง สาระ 1000 เรื่องราว สรรหามาเล่า โดย หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

SNC Library Podcast, an online radio, proud to present a variety of stories by Sanamchandra Palace Library. Silpakorn University, Thailand

    เรือแววมยุรา กับงานโบราณคดีใต้น้ำ

    เรือแววมยุรา กับงานโบราณคดีใต้น้ำ

    ภารกิจ unseen ของเรือลำหนึ่งซึ่งมีชื่อเรียกขานอย่างลำลองอันไพเราะว่า แววมยุรา และมีชื่อเป็นทางการว่า เรือโบราณคดีใต้น้ำ อันมีภารกิจสำคัญคือ ประจำการเพื่อสำรวจและ
    ขุดตรวจแหล่งโบราณคดีใต้น้ำ และโดยที่มนุษย์เรานั้นมักเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ตลอดจนวัฒนธรรมอันหลากหลายผ่านโบราณวัตถุ ซึ่งมีมากมายบนผืนแผ่นดินของโลกใบนี้ แต่หากเราจะได้พิจารณาในสัดส่วนของผืนน้ำที่มีอยู่มากกว่าผืนดินเกือบ 2 เท่าตัวแล้วนั้น ก็จะพบว่าวัตถุสิ่งของ สิ่งก่อสร้าง ในอดีต มีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวที่จมอยู่ใต้น้ำ งานโบราณคดีใต้น้ำ จึงมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการค้นหาของเก่าที่ทรงคุณค่าบนบกหรือในดิน มาทำความรู้จักงานปิดทองใต้ผืนน้ำ ที่อาจมีความรับรู้เพียงในสังคมวงจำกัด ดุจเดียวกับงานปิดทองหลังพระกันค่ะ

    ขอบคุณข้อมูล

    - เรื่อง โบราณคดีใต้น้ำ : รู้จักภารกิจการสำรวจประวัติศาสตร์ใต้ผืนน้ำผ่าน ‘เรือแววมยุรา’
    โดย กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร เผยแพร่เมื่อ 4 เมษายน 2562
    จาก https://becommon.co/culture/explore-underwater-archaeology/

    - เรื่อง โบราณคดีใต้น้ำ : ‘แหล่งเรือจมโบราณ’ มรดกทางประวัติศาสตร์อันล้ำค่า
    โดย กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร เผยแพร่เมื่อ 23 พฤษภาคม 2562
    จาก https://becommon.co/culture/underwater-archaeology-ancient-ship/


    ---

    Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message

    • 19 min
    น้องดอม หมูป่าฯ เสียชีวิตที่โรงเรียนฟุตบอล: SNC Library Podcast S4 Eps.141

    น้องดอม หมูป่าฯ เสียชีวิตที่โรงเรียนฟุตบอล: SNC Library Podcast S4 Eps.141

    ถ้ำหลวง หรือ อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน ตั้งอยู่ที่ ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นถ้ำที่มีขนาดใหญ่และลึกมาก เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย มีความยาวถึง 10.3 กิโลเมตร ซึ่งก่อนหน้านั้นถ้ำแห่งนี้อาจไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวางนัก กระทั่งเกิดเหตุการณ์ระทึกขวัญที่ย้อนเวลากลับไปราว 5 ปีที่ผ่านมา เมื่อวันเสาร์ที่ 23 มิถนายน 2561 ที่มีเยาวชนทีมฟุตบอลแม่สาย ชื่อว่า "หมูป่าอะคาเดมี" ไปติดอยู่ในถ้ำ เพราะเกิดฝนตกอย่างหนักทำให้น้ำท่วมปิดปากถ้ำขณะที่พวกเขาอยู่ภายใน จนเกิดปฏิบัติการช่วยชีวิตที่ซับซ้อนและอันตรายที่สุดครั้งหนึ่งที่โลกต้องจดจำ ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นหลายภาคส่วนทั้งในประเทศและนานาชาติ ต่างระดมสรรพกำลังในทุก ๆ วิถีทาง โดยมีชีวิตของเยาวชนทั้ง 13 คนเป็นเดิมพัน บนเงื่อนไขของการมีโอกาสเพียงครั้งเดียวในการกู้ภัยนั้น และในที่สุดทั้ง 13 ชีวิต ก็รอดออกมาจากถ้ำราวปาฏิหาริย์ แต่แล้วปี 2566 อันนับย่างเข้าสู่ปีที่ 5 ของเหตุการณ์ ขณะที่น้องดอม หรือ นายดวงเพชร พรหมเทพ หนึ่งในสมาชิกของทีมหมูป่าวันนั้น กำลังก้าวตามความฝันที่เป็นจริง ด้วยการได้รับมอบทุนการศึกษาและได้เข้าเรียนที่โรงเรียนฟุตบอลบรูก เฮาส์ คอลเลจ ฟุตบอล อะคาเดมี (Brooke House College Football Academy) ที่เมืองเลสเตอร์ ประเทศอังกฤษ มัจจุราชก็ได้มาพรากเขาไปจากพ่อแม่อย่างไม่มีวันกลับ เมื่อเพื่อนของเขาพบว่าเขาหมดสติในหอพักและถูกนำส่งโรงพยาบาล โดยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนับแต่แรกเข้ารับการรักษาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ กระทั่งแพทย์ตัดสินใจถอดเครื่องช่วยหายใจในวันแห่งความรักอันสุดแสนจะใจสลายสำหรับพ่อและแม่ และไม่ว่าสิ่งนี้จะถูกกำหนดมาแล้วหรือไม่ก็ตาม ขอให้ด

    • 35 min
    ทับแก้ว Bookfair ครั้งที่ 15: SNC Library Podcast S4 Eps.140

    ทับแก้ว Bookfair ครั้งที่ 15: SNC Library Podcast S4 Eps.140

    หากจะกล่าวถึงงานหนังสือในส่วนภูมิภาค เชื่อว่างานทับแก้วบุ๊คแฟร์ มหกรรมหนังสือสื่อการเรียนรู้ งานหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก จะเป็นหนึ่งในใจของประชาชนในพื้นที่นครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง การจัดงาน “ทับแก้วบุ๊คแฟร์” มหกรรมหนังสือสื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 15 ในปีนี้จะจัดขึ้น วันที่ 6-12 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 9.00-20.30 น. การจัดงาน ทับแก้วบุ๊คแฟร์ นั้น ริเริ่มขึ้นนับแต่ปี พ.ศ. 2550 ด้วยความทุ่มเท ลองผิด ลองถูก ภายใต้ “ธงเดียวกัน” คือ ทำยังไงก็ได้ ให้งาน ดี โดยเราจะก้าวเดินและเติบโตไปด้วยกัน

    การจัดงานนับแต่ขวบปีเริ่มต้น จนเข้าสู่วัยรุ่นทีนเอจในปีนี้ ซึ่งหากไม่ว่างเว้นไป 2 ปี เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 เราจะมีอายุถึง 17 ปี ย่างใกล้เข้าวัยบรรลุนิติภาวะเต็มที แต่แม้จะต้องถอยวัยลงไป เราก็ยังคงมุ่งมั่นในการนำเสนอสิ่งดี ๆ เพื่อเป็นบริการวิชาการแก่ชุมชน ให้เกิดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไร้ขอบเขต ดังวิสัยทัศน์และนโยบายของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร เชิญรับฟังเบื้องลึก เบื้องหลัง ความเป็นมาของการจัดงานทับแก้วบุ๊คแฟร์” มหกรรมหนังสือสื่อการเรียนรู้ และรายละเอียดของกิจกรรมภายในงานตลอด 7 วัน ในปี 2566 นี้

    .
    ขอบคุณเพลงนำรายการ "Romance - Kiratinant Sodprasert”
    บรรเลงและเผยแพร่โดย Kiratinant Sodprasert
    เผยแพร่ทาง https://youtu.be/B2Etr_Ia3aI


    ---

    Send in a voice message: https://podcasters.spotify.com/pod/show/snclibrary/message

    • 22 min
    ก๋วยเตี๋ยว เมนูยอดฮิตยุครัฐนิยม: SNC Library Podcast S4 Eps. 139

    ก๋วยเตี๋ยว เมนูยอดฮิตยุครัฐนิยม: SNC Library Podcast S4 Eps. 139

    “ก๋วยเตี๋ยว” หรือ “ก๊วยเตี๋ยว” เป็นคำภาษาจีนแต้จิ๋วที่คนไทยมักออกเสียงเรียกเช่นนั้น หากชาวแต้จิ๋วจะออกเสียงว่า  “ก้วยเที่ยว”  ซึ่งหมายถึง อาหารประเภทเส้นที่ทำมาจากแป้งนึ่ง ความเป็นมาของก๋วยเตี๋ยว สันนิษฐานว่าอาจจะเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งในช่วงเวลานั้นไทยเป็นศูนย์กลางหรือทางผ่านทางการค้า มีชาวต่างชาติเข้ามาพำนักตั้งถิ่นฐาน ทำการค้าเป็นจำนวนมาก จึงเกิดการแลกเปลี่ยนผสมผสานวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ อาทิ วัฒนธรรมด้านอาหาร ซึ่งก๋วยเตี๋ยวอาหารของชาวจีนที่ชาวสยามเริ่มรู้จักก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก
    กระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เมื่อ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ขึ้นเป็นผู้นำประเทศ ด้วยความที่ท่านชื่นชอบในรสชาติของก๋วยเตี๋ยว จึงสถาปนาก๋วยเตี๋ยวให้เป็นอาหารที่คนไทยควรกิน เนื่องจากเป็นอาหารที่ทำง่าย กินง่าย ทั้งยังเป็นกุศโลบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่ตกต่ำ ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา หรือสงครามโลกครั้งที่ 2 และภาวะน้ำท่วมใหญ่เมื่อ พ.ศ.2485 ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวยากหมากแพงก๋วยเตี๋ยวจึงได้รับความนิยมแพร่หลาย นอกจากนี้ยังมีการระดมโฆษณาให้คนหันมากิน จนถึงกับมีการแต่งเพลงรณรงค์ให้ประชาชนกินก๋วยเตี๋ยว อาหารเส้นของชาวจีนชนิดนี้จึงแทรกซึมไปทุกหย่อมหญ้าของเมืองไทยนับแต่บัดนั้นมาจนทุกวันนี้

    ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ
    ชวนาท อินทวงศ์. (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2563). ก๋วยเตี๋ยวไทยสมัยก่อน. จดหมายข่าวหอภาพยนตร์, 10 (55), หน้า 6-7.
    ฉบับออนไลน์ เข้าถึงทางhttps://www.fapot.or.th/assets/upload/newsmail/1582002163_2030638739@2x.pdf

    ขอบคุณเพลงนำรายการ
    "เพลงก๋วยเตี๋ยว ของจอมพล ป.

    • 19 min
    ข้างชามข้าวมีอะไร: SNC Library Podcast S4 Eps. 138

    ข้างชามข้าวมีอะไร: SNC Library Podcast S4 Eps. 138

    จากแรงมาเป็นรวง และกว่าที่ข้าว 1 รวงจะแปลงมาสู่คนกินนั้น มีทั้งเรื่องราวของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและประเพณีที่แฝงอยู่ และในวัฒนธรรมการรับประทานข้าวของพี่น้องไทยเชื้อสายจีนนั้น ก็มีหลากเรื่องราวแฝงอยู่ข้างชามข้าวไม่น้อย ตัวอย่างเช่น ถ้อยคำที่เรามักได้ยินชาวจีนไถ่ถามทักทายกันจนเป็นคำเคยชิน "เจี่ยะ ปึ่ง บ่วย" แปลเป็นไทยได้ว่า "กินข้าวหรือยัง" แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกห่วงใยผ่านสายสัมพันธ์บนเมล็ดข้าวในชาม คำว่า "จ่อสัว" หรือ "เจ้าสัว" ซึ่งยังไม่เป็นที่ยุติว่าคำ ๆ นี้ เพี้ยนจาก "เจ้าขรัว" อันเป็นคำโบราณของไทยหรือไม่ เพราะยังไม่มีหลักฐานพบว่ามีคำนี้ใช้ในประเทศจีน แต่หากจะกล่าวถึงเจ้าสัวชาวจีนแล้ว เจ้าสัวค้าข้าวก็มักเป็นคำเรียกที่เราคุ้นเคย ของพ่อค้าชาวจีนผู้มีฐานะจากการค้าขายข้าว หรือ หากจะกล่าวถึงคำ "ซานเหวยฝานฉวน" ซึ่งแปลว่าสำเภาจีนนั้น ภาพของชาวจีนโพ้นทะเล ที่หอบเสื่อผืนหมอนใบโล้สำเภาฝ่าคลื่นลมมายังสยามประเทศ ก็นับเป็นฉากชีวิตที่เราคุ้นชิน และสำเภาจีนนั้นในอดีตก็นับเป็นพาหนะสำคัญด้านการค้า ที่เจ้าสัวหลายตระกูลในเมืองไทยต่างเติบโตแรกเริ่มจากธุรกิจค้าข้าว และคำแห่งยุคสมัยที่แปรเปลี่ยนบทบาทจากสถานที่พักเก็บสินค้า จุดแปรรูปและส่งต่อสินค้าไปยังแหล่งค้าขาย กลับกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและบันเทิงในยุคปัจจุบันอย่าง "ล้ง" หรือ โกดังสินค้า ที่ในอดีตริมฝั่งเจ้าพระยาแห่งเมืองบางกอก ทั้งสองฝากแม่น้ำล้วนเรียงรายไปด้วยล้งตลอดแนวลำน้ำ ที่มีผู้คนหลากชีวิตต่างฐานะมาอยู่รวมกัน ตั้งแต่จับกังผู้ใช้แรงงานแบกข้าวสารขึ้นลงเรือสินค้าลำแล้วลำเล่า ไปจนถึงเถ้าแก่โรงสี เจ้าสัวค้าข้าว สิ

    • 30 min
    10 การ์ตูน จินตนาการแห่งโลกวัยเยาว์: SNC Library Podcast S4 Eps. 137

    10 การ์ตูน จินตนาการแห่งโลกวัยเยาว์: SNC Library Podcast S4 Eps. 137

    สวัสดีวันเด็กแห่งชาติ 2566 ในวัยเยาว์เชื่อว่าไม่มีใครปฏิเสธว่าการ์ตูนเป็นเสมือนโลกของเด็กน้อยทุกคน ครอบครัวไม่น้อยต่างเปิดทีวีรับอรุณในวันหยุดให้ลูกน้อยได้เฝ้าดู ผ่านหน้าจอตู้สี่เหลี่ยมในอดีต จวบจนมาถึงยุคจอแบนผืนผ้ากว้างยาวต่างกันไปตามเศรษฐกิจของครัวเรือน กระทั่งถึงอุปกรณ์พกพาขนาดและรูปแบบต่าง ๆ กันไป การดูการ์ตูนนั้นสามารถช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านสมองให้กับเด็กน้อยได้เป็นอย่างดี เพียงแต่ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ต้องเลือกการ์ตูนให้เหมาะสมกับช่วงวัย มีเนื้อเรื่องที่เป็นประโยชน์เหมาะสม ทั้งในแง่ของการเสนอเนื้อหาตลอดจนถ้อยคำที่เหมาะสมกับเด็ก รวมไปถึงรูปภาพการ์ตูนที่สวยงาม คมชัด ลายเส้นสวยชวนดู เพื่อเสริมพัฒนาการทางสมอง ตลอดจนช่วยให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต เกิดการเรียนรู้ เกิดความอิ่มเอมด้วยสุนทรียะในเชิงศิลปะที่สร้างสรร
    มาติดตามกันค่ะ ว่าการ์ตูนสำหรับเด็ก 10 เรื่อง ที่เผยแพร่ผ่านหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นช้องทางคลาสสิคคือทีวี อย่างเจ้าแมวสีฟ้าตัวกลมหัวกลม ที่มาพร้อมกระเป๋าวิเศษ โดราเอมอน ที่เคยเผยแพร่ทางทีวีช่อง 9 และการ์ตูนยุคออนไลน์ที่เผยแพร่ผ่านหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะทาง YouTube เรื่อง Peppa Pig เรื่อง Thomas and Friends เรื่อง Pocoyo ทาง Boomerang ช่องออนไลน์ขวัญใจเด็กน้อย เรื่อง หนอน Larva เรื่อง My Little Pony ทางช่อง Netflix ช่องออนไลน์ที่กำลังมาแรง เรื่อง Strawberry Shortcake Berry Bitty Adventures ช่อง Family ออนไลน์ของครอบครัว เรื่อง The Adventures of Chuck & Friends หรือช่อง doonee.com เรื่อง Yo Gabba Gabba และ พี่สมาร์ท โลมาเจ้าปัญญา ผ่านทาง www.penta.center/th/channelplay/12951-P-SMART มีทีเด็ดน่าสนใจและชวนติดตามอย่างไร

    ขอบคุณข้อมูลต้นทาง
    10 การ์ตูนสำหรับเด็ก มีประโยชน์ พัฒนาสมอง
    โดย เว็ปไซต์หัวปูด เผยแพร่

    • 36 min

Top Podcasts In Society & Culture

The Interview
The New York Times
Inconceivable Truth
Wavland
Call It What It Is
iHeartPodcasts
Stuff You Should Know
iHeartPodcasts
Soul Boom
Rainn Wilson
This American Life
This American Life