ก๋วยเตี๋ยว เมนูยอดฮิตยุครัฐนิยม: SNC Library Podcast S4 Eps. 139

SNC Library Podcast

“ก๋วยเตี๋ยว” หรือ “ก๊วยเตี๋ยว” เป็นคำภาษาจีนแต้จิ๋วที่คนไทยมักออกเสียงเรียกเช่นนั้น หากชาวแต้จิ๋วจะออกเสียงว่า  “ก้วยเที่ยว”  ซึ่งหมายถึง อาหารประเภทเส้นที่ทำมาจากแป้งนึ่ง ความเป็นมาของก๋วยเตี๋ยว สันนิษฐานว่าอาจจะเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งในช่วงเวลานั้นไทยเป็นศูนย์กลางหรือทางผ่านทางการค้า มีชาวต่างชาติเข้ามาพำนักตั้งถิ่นฐาน ทำการค้าเป็นจำนวนมาก จึงเกิดการแลกเปลี่ยนผสมผสานวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ อาทิ วัฒนธรรมด้านอาหาร ซึ่งก๋วยเตี๋ยวอาหารของชาวจีนที่ชาวสยามเริ่มรู้จักก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก
กระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เมื่อ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ขึ้นเป็นผู้นำประเทศ ด้วยความที่ท่านชื่นชอบในรสชาติของก๋วยเตี๋ยว จึงสถาปนาก๋วยเตี๋ยวให้เป็นอาหารที่คนไทยควรกิน เนื่องจากเป็นอาหารที่ทำง่าย กินง่าย ทั้งยังเป็นกุศโลบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่ตกต่ำ ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา หรือสงครามโลกครั้งที่ 2 และภาวะน้ำท่วมใหญ่เมื่อ พ.ศ.2485 ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวยากหมากแพงก๋วยเตี๋ยวจึงได้รับความนิยมแพร่หลาย นอกจากนี้ยังมีการระดมโฆษณาให้คนหันมากิน จนถึงกับมีการแต่งเพลงรณรงค์ให้ประชาชนกินก๋วยเตี๋ยว อาหารเส้นของชาวจีนชนิดนี้จึงแทรกซึมไปทุกหย่อมหญ้าของเมืองไทยนับแต่บัดนั้นมาจนทุกวันนี้

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ
ชวนาท อินทวงศ์. (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2563). ก๋วยเตี๋ยวไทยสมัยก่อน. จดหมายข่าวหอภาพยนตร์, 10 (55), หน้า 6-7.
ฉบับออนไลน์ เข้าถึงทางhttps://www.fapot.or.th/assets/upload/newsmail/1582002163_2030638739@2x.pdf

ขอบคุณเพลงนำรายการ
"เพลงก๋วยเตี๋ยว ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม”
เผยแพร่โดย Wartime Asia เมื่อ 21 ม.ค. 2021
เผยแพร่ทาง https://youtu.be/lwni9L13-I8

To listen to explicit episodes, sign in.

Stay up to date with this show

Sign in or sign up to follow shows, save episodes, and get the latest updates.

Select a country or region

Africa, Middle East, and India

Asia Pacific

Europe

Latin America and the Caribbean

The United States and Canada