170 episodes

OPINION FOR THE BETTER. Support this podcast: https://podcasters.spotify.com/pod/show/themodernistth/support

THE MODERNIST THE MODERNIST

    • News

OPINION FOR THE BETTER. Support this podcast: https://podcasters.spotify.com/pod/show/themodernistth/support

    Article Sound EP.7 : เมื่อความรักในเมืองนี้มันหายาก สิ่งศักดิ์สิทธิ์จึงเป็นคำตอบ

    Article Sound EP.7 : เมื่อความรักในเมืองนี้มันหายาก สิ่งศักดิ์สิทธิ์จึงเป็นคำตอบ

    ถ้าต้องประกวดกันว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดในเมืองไทยทำงานหนักที่สุด ‘พระแม่ลักษมี’ คงจะเป็นหนึ่งชื่อที่เข้ารอบและอาจถึงขั้นชนะเลิศเนื่องจากความปังทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความรัก” มาส่องเหตุผลว่าทำไมเรื่องหัวใจเราต้องใช้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยได้ในบทความนี้

    ผู้ให้เสียงคำบรรยาย : นิธิกาญจน์ ชัยณรงค์


    ---

    Support this podcast: https://podcasters.spotify.com/pod/show/themodernistth/support

    • 6 min
    Article Sound EP.8 : ‘สิทธิสตรีกับการร่ำสุรา’ เมื่อความเมามายถูกผูกติดกับปิตาธิปไตย

    Article Sound EP.8 : ‘สิทธิสตรีกับการร่ำสุรา’ เมื่อความเมามายถูกผูกติดกับปิตาธิปไตย

    ในสังคมไทย ผู้หญิงและผู้ชายมีบทบาทหน้าที่ระหว่างเพศแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยแบ่งพื้นที่สำหรับงานหรือบทบาทของคนทั้งสองเพศออกเป็นโลกในบ้านกับโลกนอกบ้าน ที่ส่งผลกระทบต่อจารีต ประเพณี ค่านิยม มุมมองและความคิดของผู้คน

    หลายคนอาจไม่อยากปักใจเชื่อว่าพฤติกรรมการดื่มเหล้าในแบบปัจจุบันที่เห็นกันบ่อยครั้ง ส่วนหนึ่งถูกหล่อหลอมมาจากค่านิยมปิตาธิปไตย ไม่ว่าจะการจับคู่เครื่องดื่มเข้ากับเพศ ไปจนถึงทัศนคติที่มีต่อคนเพศต่างๆ เวลาดื่มเหล้าหรือออกไปสังสรรค์ยามค่ำคืน


    ---

    Support this podcast: https://podcasters.spotify.com/pod/show/themodernistth/support

    • 10 min
    Article Sound EP.7 : เศรษฐีนีผิวสีคนแรกของสหรัฐฯ "มาดาม ซี.เจ.วอล์กเกอร์"

    Article Sound EP.7 : เศรษฐีนีผิวสีคนแรกของสหรัฐฯ "มาดาม ซี.เจ.วอล์กเกอร์"

    ในโลกธุรกิจมี Case Study นักธุรกิจคนหนึ่งที่น่าสนใจ เธอเป็นสตรีผิวสี เกิดในยุคสมัยที่สหรัฐฯ เพิ่งประกาศเลิกทาส แต่บรรยากาศทางสังคม ณ ขณะนั้น ยังคงเต็มไปด้วยกลิ่นอายของการเหยียดสีผิวและเชื้อชาติ

    วันหนึ่งเมื่อเธอประสบปัญหากับหนังศีรษะ ผมร่วง จนสูญเสียความมั่นใน ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนคนผิวสีแทบทุกที่ในขณะนั้น เนื่องจากอากาศหนาวทำให้หลายคนไม่นิยมอาบน้ำและสระผม จนเกิดปัญหาสุขอนามัยบนหนังศีรษะ

    เธอจึงคิดค้นสูตรยาปลูกผมเพื่อรักษาหนังศรีษะและกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมขึ้นมา ประกอบกับคิดค้นแชมพูเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนในยุคสมัยนั้นหามาสระผมกันมากขึ้น

    เธอเดินสายไปทั่วตอนใต้ของสหรัฐฯ กับสามีคนที่สอง เพื่อโปรโมตสินค้าและสาธิตการดูแลเส้นผม

    ไม่กี่ปีให้หลัง เธอเปิดโรงงานและโรงเรียนสอนเสริมสวย พร้อมกับอบรมเทคนิคการขาย เพื่อพัฒนาผู้แทนสินค้ากว่าหมื่นรายออกขายไปทั่วสหรัฐฯ จนกลายเป็นเศรษฐีนีผิวสีคนแรกของอเมริกา

    ชื่อของเธอคือ ซาราห์ บรีดเลิฟ หรือเป็นที่รู้จักกันในนามผู้ก่อตั้งแบรนด์ ‘มาดาม ซี.เจ.วอล์กเกอร์’

    ผู้ให้เสียงคำบรรยาย : นิธิกาญจน์ ชัยณรงค์


    ---

    Support this podcast: https://podcasters.spotify.com/pod/show/themodernistth/support

    • 6 min
    Article Sound EP.6 : ‘Lazy Girl Job’ เทรนด์ทำงาน สไตล์คนขี้เกียจ

    Article Sound EP.6 : ‘Lazy Girl Job’ เทรนด์ทำงาน สไตล์คนขี้เกียจ

    เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินประโยคคุ้นหูที่ว่า “ลำบากวันนี้ สบายวันหน้า” แนวคิดการทำงานที่ถูกปลูกฝังจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งบางคนอาจมองว่าเป็นแนวคิดที่สามารถใช้ได้จริง เพราะเชื่อว่าความขยันตั้งใจทำงานจะทำพาไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จในวันข้างหน้าได้ ทว่าในโลกยุคปัจจุบันที่ไม่มีความแน่นอน เราไม่สามารถรู้ได้อย่างแม่นยำว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตบ้าง ทำให้คนบางกลุ่มเกิดคำถามกับแนวคิดดังกล่าวว่า “ลำบากวันนี้ สบายวันไหนกันแน่?”

    อย่างไรก็ตาม ความขยันอาจไม่ได้เป็นเครื่องมือสำคัญในการไปสู่เป้าหมายในการทำงานอีกต่อไป เมื่อ Gabrielle Judge คอนเทนต์ครีเอเตอร์ชื่อดังบน TikTok ได้ทำคลิปวิดีโอพูดถึงความคาดหวังใหม่ในการทำงานของคน Gen Z ยุคปัจจุบัน ผ่านเทรนด์การทำงานที่เรียกว่า “Lazy Girl Job” หรือเรียกว่า การทำงานแบบสาวขี้เกียจ โดยต้องบอกก่อนว่า ความขี้เกียจที่ปรากฏในเทรนด์นี้ ไม่ใช่การเกี่ยงงานหรือขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ แต่เป็นการเลือกทำงานอย่างชาญฉลาด เลือกงานที่ไม่จำเป็นต้องออกแรงเยอะแต่ได้ค่าจ้างที่คุ้มค่า

    นอกจากนั้น ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากในสหรัฐอเมริกามองว่า Lazy Girl Job ไม่ได้เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าคนรุ่นใหม่ขี้เกียจเสมอไป แต่เป็นเทรนด์การทำงานที่สะท้อนให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่มองหางานที่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าด้วยเงื่อนไขการทำงานที่มีความยืดหยุ่น นอกจากนั้นยังเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นมาเพื่อหักล้างความเชื่อที่ว่า การทำงานหนักจะทำให้คนประสบความสำเร็จ หรือตามที่วลีข้างต้นว่า “ลำบากวันนี้ สบายวันหน้า” นั่นเอง

    ผู้ให้เสียงคำบรรยาย : นิธิกาญจน์ ชัยณรงค์



    ---

    Support this podcast: https://podcasters.spotify.com/pod/show/themodernistth/support

    • 7 min
    Article Sound EP.5 : ‘Micromanagement’ บริหารงานจู้จี้มากไปจนลูกน้องใจไม่ดี

    Article Sound EP.5 : ‘Micromanagement’ บริหารงานจู้จี้มากไปจนลูกน้องใจไม่ดี

    “อย่าทำแบบนั้น ทำแบบพี่ดีกว่า”

    “งานง่ายๆ ทำไมใช้เวลานานจัง”

    “งานไปถึงไหนแล้ว ใกล้เสร็จหรือยัง”

    ชาวออฟฟิศทั้งหลายคงไม่มีใครชอบความจู้จี้จุกจิกในที่ทำงาน โดยเฉพาะการมีหัวหน้าที่คอยเช็คความเคลื่อนไหวว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ตลอดเวลา หากมองเผินๆ อาจเป็นเหมือนความใส่ใจลูกทีมแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทว่าความใส่ใจที่มีมากจนเกินไปอาจเป็นการก้าวก่ายในหน้าที่ จนถึงขั้นปิดกั้นโอกาสในการเติบโตในการทำงานของลูกทีมก็ว่าได้

    การบริหารงานยิบย่อยเป๊ะทุกกระเบียดนิ้วนี้มีชื่อเรียกว่า ‘Micromanagement’ โดยมักเกิดขึ้นกับหัวหน้าเจ้าระเบียบที่มีความคิดว่างานทุกอย่างต้องออกมาเนี้ยบที่สุด จึงเกิดการบังคับบัญชาลูกทีมให้ทำตามคำสั่งและควบคุมการทำงานไม่ต่างจากหุ่นเชิด สร้างความอึดอัดใจให้กับลูกทีมและอาจนำไปสู่บรรยากาศการทำงานที่เป็นพิษ (Toxic Workplace)

    BetterUp อธิบายว่า การบริหารแบบ Micromanagement ส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่หัวหน้ากลัวความผิดพลาดและขาดความเชื่อใจในตัวลูกทีมจนไม่สามารถให้อิสระกับลูกทีมได้เป็นเจ้าของผลงาน ทำให้เกิดการเข้าไปแทรกแซงกระบวนการทำงานทุกขั้นตอนและยึดตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง จนกลายเป็นหัวหน้าจอมจู้จี้จุกจิกกับทุกรายละเอียดของงาน อีกทั้งหัวหน้าประเภทนี้ยังก่อให้เกิดอุปสรรคในการสร้างทีมเวิร์คและทำให้ลูกทีมรู้สึกด้อยค่าในฐานะสมาชิกของทีมอีกด้วย

    จากการศึกษาของ Accountemps พบว่ามีผู้คนอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของหัวหน้าที่จู้จี้จุกจิก (59%) รู้สึกบั่นทอนจิตใจในการทำงาน (68%) และทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง (55%) จากการศึกษาอื่นยังพบว่า หัวหน้าจู้จี้จุกจิกยังเป็นสาเหตุทำให้พนักงานลาออก (36%)

    จูเลีย ดิกังจิ (Julia DiGangi)

    • 6 min
    Article Sound EP.4 : เมื่อผีป่ามาสู่เมือง "ครูกายแก้ว" ศรัทธาและชายของของจักรวาลความเชื่อของไทย

    Article Sound EP.4 : เมื่อผีป่ามาสู่เมือง "ครูกายแก้ว" ศรัทธาและชายของของจักรวาลความเชื่อของไทย

    จากกระแสโซเชียลมีเดียที่เป็นที่พูดถึงอยู่ช่วงนึง กับข่าวรูปปั้นติดสะพานลอยบริเวณถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นที่ทราบภายหลังว่าเป็น “ครูกายแก้ว” บรมครูผู้เรืองเวทย์ จนถึงพิธีบูชาครูกายแก้วที่โรงแรมย่านรัชดา เรียกทั้งเสียงฮือฮา ศรัทธา และเสียงวิจารณ์จากทุกฟากฝั่งของสังคม

    แถมภาพลักษณ์ของครูกายแก้ว ทั้งความเป็นสายดำ และรูปลักษณ์ที่น่ากลัว ยังมีผู้เชื่อมโยงไปสู่เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา ที่ว่า “ผีป่าจะวิ่งมาสิงเมือง ผีเมืองจะวิ่งมาสิงไพร” ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งที่บ่งบอกถึงความวิบัติของบ้านเมืองอีกต่างหาก

    ด้วยความที่ครูกายแก้วแตกต่างจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ ที่เป็นที่ยอมรับนับถือในสังคม เราจึงอาจมองได้ว่าครูกายแก้วเป็นเสมือน “ชายขอบ” ของจักรวาลความเชื่อของไทยที่มีทั้งศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ การนับถือผี แต่ถ้า “ครูกายแก้ว” เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ “ไม่ใช่” สำหรับสังคมไทย ผีแบบไหนที่จะได้รับการยอมรับ? และปรากฏการณ์แห่งศรัทธานี้จะนำไปสู่อะไร?

    ผู้ให้เสียงคำบรรยาย : อาดัม สังข์ศิลปชัย


    ---

    Support this podcast: https://podcasters.spotify.com/pod/show/themodernistth/support

    • 5 min

Top Podcasts In News

The Daily
The New York Times
Serial
Serial Productions & The New York Times
Up First
NPR
The Tucker Carlson Podcast
Tucker Carlson Network
Pod Save America
Crooked Media
Pivot
New York Magazine