Fatoutkey

Fatoutkey
Podcast de Fatoutkey

พี่ปุ๋มมีความหลงไหลอย่างลึกซึ้งในการศึกษา ในเรื่องของสุขภาพ การลดน้ำหนัก และ การย้อนวัย พี่ปุ๋มจึงอยากแบ่งปันความรู้ที่พี่ปุ๋มอ่านจากงานวิจัย หนังสือ และ สื่อต่างๆ นำมาเขียนเป็นบทความและไฟล์เสียงให้น้องๆฟัง ติดตามตอนต่อไปนะคะ

  1. คืนความเป็นธรรม ให้ Ancel Key กับ The Seven Countries Study (Live 81)

    24 JUL

    คืนความเป็นธรรม ให้ Ancel Key กับ The Seven Countries Study (Live 81)

    หนึ่งในงานวิจัยที่สำคัญและมีอิทธิพลใน Nutrition Science ก็คืองานวิจัยของ Ancel Keys และคณะ The Seven Countries Study (SCS) ซึ่งเป็น observational cohort study เริ่มต้นในปีค.ศ.1957 เพื่อสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างไลฟ์สไตล์ biomarkers และโรคหัวใจ SCS เป็นโครงการระดับอภิมหาโปรเจคซึ่งต้องการความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลกินเวลาหลายสิบปี SCS จุดประกายให้มีการทำงานวิจัยเชิงสังเกตุการที่สำคัญออกมาหลายโครงการ ที่สำคัญมากคือ The Framingham Heart Study ในที่สุด SCS ก็ได้ข้อสรุปว่า มีความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคไขมันอิ่มตัวและโรคหัวใจ Ancel Keys กับ SCS ถูกวิพากษ์วิจารณ์หลังจากการเสียชีวิตของเขาในปีค.ศ. 2004 และมักจะเป็นการใช้เรื่องเล่าโดย Health Influencers ทางโซเชียลมีเดีย กล่าวหา Ancel Keys และ SCS ว่าผิดพลาดอย่างมโหฬาร ทำให้เป็นต้นกำเนิดของอาหารไขมันต่ำ มีอิทธิพลต่อการจัดทำ Nutrition Guidelines รวมถึงนโยบายโภชนาการของประเทศ ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย ข้อกล่าวหา Ancel Keys กับ SCS มีอยู่ 4 ประเด็น ซึ่งพี่ปุ๋มจะนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ดีมากหลายแหล่ง เพื่อคืนความเป็นธรรมให้กับ Ancel Keys กับ SCS ค่ะ 1. ประเทศที่ถูกเลือกและคัดออกจาก SCS ทำโดยพื้นฐานของอคติที่ Keys อยากให้ผลลัพธ์ออกมาตามที่ตัวเองต้องการ 2. ข้อมูลประเทศฝรั่งเศสถูกเอาออกไปจาก SCS โดยเจตนา 3. ข้อมูลโภชนาการของประเทศกรีซได้รับมาในช่วงเวลาถือศีลอดทำให้ข้อมูลของ SCS เกิดการบิดเบือน 4. น้ำตาลไม่ถูกนำมาพิจารณาใน SCS ว่าเป็นตัวการที่เป็นไปไปได้ในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ มาคืนความเป็นธรรมให้ Ancel Keys กัน วันพฤหัสที่ 11 ก.ค. เวลา 20.00 น.ค่ะ 😊 #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า #FatOutHealthspans

    1 h y 51 min
  2. กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนถูกทำให้เป็นผู้ร้ายได้อย่างไร ตอนจบ (Live 80)

    7 JUL

    กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนถูกทำให้เป็นผู้ร้ายได้อย่างไร ตอนจบ (Live 80)

    ในท่ามกลางกระแสการใช้เรื่องเล่าและหลักฐานงานวิจัยที่ไม่มีคุณภาพ เพื่อทำให้สารอาหารตัวใดตัวหนึ่งเป็นผู้ร้ายนั้น มีมานานตลอด 70 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียกันอย่างกว้างขวาง ทำให้การแพร่กระจายข้อมูลผิดๆเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว หนึ่งในเรื่อง Top Hit ที่มีการแพร่กระจายข้อมูลกันอย่างผิดๆทางโซเชียลมีเดีย คือเรื่องอันตรายของน้ำมันพืช (กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนโดยเฉพาะ Linoleic Acid) ถึงแม้ว่าหน่วยงานสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็น American Heart Association, European Society of Cardiology, WHO, National Lipid Association จะออกคำแนะนำสนับสนุนการบริโภคน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนโดยเฉพาะ Linoleic Acid เป็นส่วนประกอบ ก็ยังไม่สามารถทำลายมายาคติของความเชื่อที่ผิดๆนี้ได้ ในไลฟ์#80 ซึ่งเป็นตอนจบ พี่ปุ๋มจะพาน้องๆไปทำความเข้าใจถึงที่มาของการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดๆนี้และลงรายละเอียดถึงหลักฐานที่ไม่หนักแน่นซึ่งนำมาสนับสนุนว่าน้ำมันพืชอันตรายอันตรายต่อสุขภาพ อย่างเช่น Sydney Diet Heart Study, Minnesota Coronary Experiment, เปรียบเทียบกับหลักฐานงานวิจัยที่มีคุณภาพ ซึ่งสนับสนุนการบริโภคน้ำมันพืชพืชซึ่งมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนเป็นส่วนประกอบเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะสุขภาพหัวใจ

    1 h y 44 min
  3. กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนถูกทำให้เป็นผู้ร้ายได้อย่างไร ตอนที่ 1 (Live 79)

    2 JUL

    กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนถูกทำให้เป็นผู้ร้ายได้อย่างไร ตอนที่ 1 (Live 79)

    ในท่ามกลางกระแสการใช้เรื่องเล่าและหลักฐานงานวิจัยที่ไม่มีคุณภาพ เพื่อทำให้สารอาหารตัวใดตัวหนึ่งเป็นผู้ร้ายนั้น มีมานานตลอด 70 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียกันอย่างกว้างขวาง ทำให้การแพร่กระจายข้อมูลผิดๆเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว หนึ่งในเรื่อง Top Hit ที่มีการแพร่กระจายข้อมูลกันอย่างผิดๆทางโซเชียลมีเดีย คือเรื่องอันตรายของน้ำมันพืช (กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนโดยเฉพาะ Linoleic Acid) ถึงแม้ว่าหน่วยงานสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็น American Heart Association, European Society of Cardiology, WHO, National Lipid Association จะออกคำแนะนำสนับสนุนการบริโภคน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนโดยเฉพาะ Linoleic Acid เป็นส่วนประกอบ ก็ยังไม่สามารถทำลายมายาคติของความเชื่อที่ผิดๆนี้ได้ ในไลฟ์#79 พี่ปุ๋มจะพาน้องๆไปทำความเข้าใจถึงที่มาของการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดๆนี้และลงรายละเอียดถึงหลักฐานที่ไม่หนักแน่นซึ่งนำมาสนับสนุนว่าน้ำมันพืชอันตรายอันตรายต่อสุขภาพ อย่างเช่น Sydney Diet Heart Study, Minnesota Coronary Experiment, เปรียบเทียบกับหลักฐานงานวิจัยที่มีคุณภาพ ซึ่งสนับสนุนการบริโภคน้ำมันพืชพืชซึ่งมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนเป็นส่วนประกอบเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะสุขภาพหัวใจ พบกันในไลฟ์#79 (ตอนที่ 1) วันจันทร์ที่ 1 ก.ค. เวลา 20.00 น. ค่ะ ❤️ #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า #FatOutHealthspans

    1 h y 27 min
  4. คุณภาพของไขมันในอาหารส่งผลกระทบต่อการเป็นต้นเหตุของการความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจอุด

    22 JUN

    คุณภาพของไขมันในอาหารส่งผลกระทบต่อการเป็นต้นเหตุของการความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจอุด

    พบกับไลฟ์#78: คุณภาพของไขมันในอาหารส่งผลกระทบต่อการเป็นต้นเหตุของการความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันหรือไม่ วันพฤหัสบดี 20 มิ.ย. เวลา 20.00 น. ในท่ามกลางข้อมูลขัดแย้งที่ปรากฏอยู่ในโซเชียลมีเดียต่อคำถามที่ว่า คุณภาพของไขมันในอาหารส่งผลกระทบต่อการเป็นต้นเหตุของการเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจหรือไม่ ถือเป็นหัวข้อที่มีงานวิจัยและมีการดีเบตกันอย่างกว้างขวางหัวข้อหนึ่งเลยทีเดียว การมีภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน (Atherosclerosis) ซึ่งหมายถึงการมีตะกรัน (plaque) ในหลอดเลือดนั้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ภาวะหัวใจวาย และ stroke หลักปฏิบัติเดิมมุ่งเน้นที่การลดการบริโภคปริมาณไขมันในอาหารโดยรวม แต่งานวิจัยใหม่ใหม่ได้เปลี่ยนโฟกัสจากปริมาณไขมัน ไปเป็นโฟกัสที่คุณภาพของไขมันที่มีอยู่ในอาหารแทน ในไลฟ์ #78 พี่ปุ๋มได้นำ paper สำคัญชื่อ “Dietary fat quality, plasma atherogenic lipoproteins, and atherosclerotic cardiovascular disease: An overview of the rationale for dietary recommendations for fat intake โดย Dr.Jacob J. Christensen และคณะ ตีพิมพ์ในวารสาร Atherosclerosis 389 (2024) 117433 เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2566 paper ดีงามมาก Dr.Jacob จะพาเราไปทำความเข้าใจงานวิจัยสำคัญๆใน area นี้ และข้อสรุปที่ว่า เราสามารถพูดได้หรือไม่ว่าคุณภาพของไขมันที่รับประทาน ส่งผลกระทบต่อการเป็นต้นเหตุของการเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน นอกจากนั้น Dr.Jacob จะชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่าง Low-density lipoprotein (LDl) particles และ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ความเชื่อมโยงระหว่างคุณภาพไขมันในอาหารกับ LDL-particles พี่ว่างานวิจัยฉบับนี้ที่สุดละในการตอบข้อสงสัยทุกประการที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของไขมันที่รับประทาน ต่อการเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน พบกันวันพฤหัสนี้ เวลา 20.00 น.ค่ะ หมายเหตุ: สรุป

    1 h y 50 min
  5. สรุปหนังสือ Why We Die: The Science of Aging and The Quest For Immortality ตอนที่ 2 (Live#77)

    9 JUN

    สรุปหนังสือ Why We Die: The Science of Aging and The Quest For Immortality ตอนที่ 2 (Live#77)

    ไลฟ์ #77: สรุปหนังสือ Why We Die: The Science of Aging and The Quest For Immortality ผู้เขียน Prof. Venki Ramakrishnan ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาเคมี ในปี พ.ศ.2552 ร่วมกับ Thomas A Steitz และ Ada E. Yonath สำหรับการศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของไรโบโซม ซึ่งทำหน้าที่ในการอ่านข้อมูลทางพันธุกรรมเพื่อสร้างโปรตีนที่ถูกระบุ ไรโบโซมมีความซับซ้อนเชิงระดับโมเลกุลเพราะมีราวห้าแสนอะตอมที่ประกอบเป็นไรโบโซม ไลฟ์#76 ซึ่งตอนที่ 1 ของหนังสือเล่มนี้ เราสำรวจว่าวิวัฒนาการช่วยให้เข้าใจว่าทำไมความตายจึงเกิดขึ้น และวิวัฒนาการก็มีเป้าหมายที่จะ optimize fitness มากที่สุด จึงนำมาซึ่งความหลากหลายของอายุขัยในสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์ นอกจากนั้นเรายังสำรวจด้วยว่าอายุขัยของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์มันมีข้อจำกัดหรือไม่ แต่ก็ยังไม่ได้คำตอบว่าความแก่ชราเกิดขึ้นและนำไปสู่การตายได้อย่างไร ในตอนที่ 2 ของไลฟ์#77 เราจะมาสำรวจกันต่อใน บทที่ 3: Destroying the master control บทที่ 4: The problem with end บทที่ 5: Resetting the biological clock พบกันในไลฟ์#77 นะคะ ❤️ #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า#FatOutHealthspans

    1 h y 23 min
  6. สรุปหนังสือ Why We Die: The New Science of Aging and The Quest For Immortality (Live#76)

    4 JUN

    สรุปหนังสือ Why We Die: The New Science of Aging and The Quest For Immortality (Live#76)

    Prof. Venki Ramakrishnan ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาเคมี ในปี พ.ศ.2552 ร่วมกับ Thomas A Steitz และ Ada E. Yonath สำหรับการศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของไรโบโซม ซึ่งทำหน้าที่ในการอ่านข้อมูลทางพันธุกรรมเพื่อสร้างโปรตีนที่ถูกระบุ ไรโบโซมมีความซับซ้อนเชิงระดับโมเลกุลเพราะมีราวห้าแสนอะตอมที่ประกอบเป็นไรโบโซม Prof.Venki ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิจัยชีววิทยาโมเลกุลของสภาการวิจัยทางการแพทย์ในวิทยาเขตการแพทย์เคมบริดจ์ตั้งแต่ พ.ศ.2538 และเป็นสมาชิกของวิทยาลัยทรินิตี มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และเคยดำรงตำแหน่งนายกราชสมาคม (Royal Society) ตั้งแต่ พ.ศ.2558 จนถึง พ.ศ.2563 พี่ปุ๋มสะสมหนังสือที่เกี่ยวข้องกับความชราไว้จำนวนมาก และก็ว่างเว้นจากการทำไลฟ์สรุปหนังสือดีมานานพอสมควร ที่ให้ความสนใจหนังสือเล่มนี้เพราะ 1. Venki Ramakrishnan ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี และระบุปัญหาสำคัญในระดับชีวโมเลกุลว่า ข้อมูลทางพันธุกรรมถูกอ่านเพื่อจะสร้างโปรตีนที่เฉพาะเจาะจง ตามคำสั่งได้อย่างไร 2. Venki มีความเชื่อพร้อมหลักฐานว่า Ribosome คือ organelle ภายในเซลล์ที่เป็นศูนย์กลางของ Molecular biology ที่เกี่ยวข้องกับความชรา ซึ่งแตกต่างจากนักวิทยาศาสตร์ความชราท่านอื่นที่ให้ความสำคัญกับ DNA หนังสือมีทั้งหมด 12 บท ก็จะทำไลฟ์แบ่งเป็นหลายตอนเลยค่ะ

    1 h y 21 min
  7. The Cholesterol Wars หนังสือ และงานวิจัยของ Prof. Daniel Steinberg MD, PhD 5 ฉบับ (ตอนจบ)

    30 MAY

    The Cholesterol Wars หนังสือ และงานวิจัยของ Prof. Daniel Steinberg MD, PhD 5 ฉบับ (ตอนจบ)

    ไลฟ์ #75: The Cholesterol Wars หนังสือ และงานวิจัยของ Prof. Daniel Steinberg MD, PhD จำนวน 5 ฉบับ (ตอนจบ) หลังจากที่พฤติกรรมของคนทั่วโลกเปลี่ยนเป็นเสพข้อมูลเกือบทุกประเภทผ่านทางโซเชียลมีเดีย การให้ข้อมูลที่ผิดจากการไม่รู้จริง (Misinformation) และ การจงใจบิดเบือนข้อมูล (Disinformation) กลายเป็นอันตรายอันดับที่ 2 ใน 2 ปีข้างหน้า จากรายงานของ World Economic Forum พี่ปุ๋มเคยเขียนโพสต์สรุปรายงานของ WEF ไปแล้วค่ะ อันตรายของการมีระดับ cholesterol และ ldl-cholesterol สูงเกินกว่าระดับทางสรีรวิทยา เป็นหัวข้อที่ดีเบตกันทางโซเชียลมีเดียในเรื่องสุขภาพมากที่สุดเรื่องหนึ่ง มีการให้ข้อมูลที่ผิดพลาดจากการไม่รู้จริงและหรือการจงใจบิดเบือนข้อมูลในโลกโซเชียลมีเดีย ซึ่งก่อให้เกิดความสับสนและทำให้คนบางคนที่มีระดับ ldl-cholesterol สูงลิ่ว ตัดสินใจปฏิเสธการได้รับยาลดไขมันในเลือด ถ้าจะว่าไปการดีเบตนี้ไม่ใช่เพิ่งมี แต่เกิดขึ้นนับย้อนกลับไปได้มากกว่า 50 ปี ในไลฟ์#74 นี้ พี่ปุ๋มจะพาน้องๆไปทำความรู้จัก Prof.Daniel Steinberg MD, PhD นักชีวเคมีและแพทย์ที่ได้รับการเทรนจาก Harvard Medical School ที่เข้าไปเริ่มต้นงานวิจัยที่ National Heart Institute ตั้งแต่เพิ่งเริ่มก่อตั้งในช่วงปี ค.ศ. 1950 เขาบุกเบิกงานวิจัยเรื่อง lipoproteins กับความเกี่ยวพันโรคหัวใจมาตลอดระยะเวลาการทำงาน 64 ปี แรงบันดาลใจมาจากงานวิจัยของ Prof.John Gofman MD, PhD Godfather ของ Clinical Lipidology ซึ่งค้นพบ plasma lipoproteins 3 ประเภท (VLDL, LDL, HDL) ในทศวรรษที่ 1950 ผลงานวิจัยที่ถือว่าเป็นคุณูปการยิ่งใหญ่ต่อวงการ Clinical Lipidology คือการที่ Prof.Daniel และทีมนักวิจัย ค้นพบกระบวนการที่ LDL-particle เมื่อแทรกเข้าไปใต้ชั้นหลอดเลือดและติดกับ proteoglycan แล้ว จะต้องมีขั้นตอนการเกิด LDL-particle modification ซึ่งเกี่ยวข้องกับ lipid peroxidation ก่อนที่ scavenger receptor บน macrophage จะสามารถดูดคอเลสเตอรอลเข้าไปได้ เป็นที่มาของ The LDL Oxidation Hypothesis สำห

    1 h y 25 min
  8. The Cholesterol Wars สรุปหนังสือ และงานวิจัยของ Prof.Daniel Steinberg MD, PhD จำนวน 5 ฉบับ (ตอนที่ 1)

    8 MAY

    The Cholesterol Wars สรุปหนังสือ และงานวิจัยของ Prof.Daniel Steinberg MD, PhD จำนวน 5 ฉบับ (ตอนที่ 1)

    ไลฟ์ #74: The Cholesterol Wars สรุปหนังสือ และงานวิจัยของ Prof.Daniel Steinberg MD, PhD จำนวน 5 ฉบับ (ตอนที่ 1) หลังจากที่พฤติกรรมของคนทั่วโลกเปลี่ยนเป็นเสพข้อมูลเกือบทุกประเภทผ่านทางโซเชียลมีเดีย การให้ข้อมูลที่ผิดจากการไม่รู้จริง (Misinformation) และ การจงใจบิดเบือนข้อมูล (Disinformation) กลายเป็นอันตรายอันดับที่ 2 ใน 2 ปีข้างหน้า จากรายงานของ World Economic Forum พี่ปุ๋มเคยเขียนโพสต์สรุปรายงานของ WEF ไปแล้วค่ะ อันตรายของการมีระดับ cholesterol และ ldl-cholesterol สูงเกินกว่าระดับทางสรีรวิทยา เป็นหัวข้อที่ดีเบตกันทางโซเชียลมีเดียในเรื่องสุขภาพมากที่สุดเรื่องหนึ่ง มีการให้ข้อมูลที่ผิดพลาดจากการไม่รู้จริงและหรือการจงใจบิดเบือนข้อมูลในโลกโซเชียลมีเดีย ซึ่งก่อให้เกิดความสับสนและทำให้คนบางคนที่มีระดับ ldl-cholesterol สูงลิ่ว ตัดสินใจปฏิเสธการได้รับยาลดไขมันในเลือด ถ้าจะว่าไปการดีเบตนี้ไม่ใช่เพิ่งมี แต่เกิดขึ้นนับย้อนกลับไปได้มากกว่า 50 ปี ในไลฟ์#74 นี้ พี่ปุ๋มจะพาน้องๆไปทำความรู้จัก Prof.Daniel Steinberg MD, PhD นักชีวเคมีและแพทย์ที่ได้รับการเทรนจาก Harvard Medical School ที่เข้าไปเริ่มต้นงานวิจัยที่ National Heart Institute ตั้งแต่เพิ่งเริ่มก่อตั้งในช่วงปี ค.ศ. 1950 เขาบุกเบิกงานวิจัยเรื่อง lipoproteins กับความเกี่ยวพันโรคหัวใจมาตลอดระยะเวลาการทำงาน 64 ปี แรงบันดาลใจมาจากงานวิจัยของ Prof.John Gofman MD, PhD Godfather ของ Clinical Lipidology ซึ่งค้นพบ plasma lipoproteins 3 ประเภท (VLDL, LDL, HDL) ในทศวรรษที่ 1950 ผลงานวิจัยที่ถือว่าเป็นคุณูปการยิ่งใหญ่ต่อวงการ Clinical Lipidology คือการที่ Prof.Daniel และทีมนักวิจัย ค้นพบกระบวนการที่ LDL-particle เมื่อแทรกเข้าไปใต้ชั้นหลอดเลือดและติดกับ proteoglycan แล้ว จะต้องมีขั้นตอนการเกิด LDL-particle modification ซึ่งเกี่ยวข้องกับ lipid peroxidation ก่อนที่ scavenger receptor บน macrophage จะสามารถดูดคอเลสเตอรอลเข้าไปได้ เป็นที่มาของ The LDL Oxidation Hypot

    1 h y 29 min

Acerca de

พี่ปุ๋มมีความหลงไหลอย่างลึกซึ้งในการศึกษา ในเรื่องของสุขภาพ การลดน้ำหนัก และ การย้อนวัย พี่ปุ๋มจึงอยากแบ่งปันความรู้ที่พี่ปุ๋มอ่านจากงานวิจัย หนังสือ และ สื่อต่างๆ นำมาเขียนเป็นบทความและไฟล์เสียงให้น้องๆฟัง ติดตามตอนต่อไปนะคะ

Para escuchar episodios explícitos, inicia sesión.

Mantente al día con este programa

Inicia sesión o regístrate para seguir programas, guardar episodios y enterarte de las últimas novedades.

Elige un país o región

Africa, Oriente Medio e India

Asia-Pacífico

Europa

Latinoamérica y el Caribe

Estados Unidos y Canadá