98 episodi

รายการธุรกิจอาหารที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อย ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด
ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร

Bon Appetit ธุรกิจรอบครั‪ว‬ Capital Listen

    • Economia

รายการธุรกิจอาหารที่จะพาเข้าหลังร้านไปสำรวจแนวคิดทางการตลาดของจักรวาลธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร ที่จะทำให้ผู้ฟังอร่อย ฟังแล้วท้องหิวแต่อิ่มไปกับเคล็ดและเคสการตลาด
ดำเนินรายการโดย เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Introduction to World Cuisine ในมหาวิทยาลัย และหญิงสาวผู้หลงรักอาหาร

    โปรดระวังของลอกเลียนแบบ! 11 อาหารใกล้ตัวที่ถูกปลอมมากที่สุดในโลก | Bon Appétit EP.95

    โปรดระวังของลอกเลียนแบบ! 11 อาหารใกล้ตัวที่ถูกปลอมมากที่สุดในโลก | Bon Appétit EP.95

    น้ำมันทรัฟเฟิลที่เห็นกันในปัจจุบันอาจไม่ได้สกัดจากเห็ดทรัฟเฟิลจริงๆ ไซรัปตามชั้นวางในซูเปอร์มาร์เก็ตที่เขียนว่าน้ำเชื่อมเมเปิล 100% อาจเป็นของปลอม หรือจะพาเมซานชีสที่โรยบนสปาเกตตีสุดที่รักอาจเป็นชีสที่ทำจากเยื่อไม้ ที่ว่ามาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาหารปลอมในอุตสาหกรรมอาหารเท่านั้น
    .
    เหตุผลที่มนุษย์ต้องคิดค้นอาหารปลอมขึ้นมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาที่แพงเกินจริง แต่นอกเหนือจากนั้นคือเรื่องความไม่มั่นคงทางอาหารที่ส่งผลให้ทรัพยากรทางการกินของมนุษย์เรามีข้อจำกัด ซึ่งมีผลต่อราคาอาหารอย่างมีนัย อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะคิดว่าสิ่งที่เรียกว่าป็นของปลอมนี้คือความไม่ถูกต้อง และบริษัทผู้อยู่เบื้องหลังผลิตสินค้ามาหลอกลวงผู้บริโภค แต่อันที่จริงแล้วมันคือของถูกกฎหมาย
    .
    ว่าแต่ว่าอาหารเหล่านี้มีเบื้องหลังการผลิตยังไง นอกจากเห็ดทรัฟเฟิล ไซรัปเมเปิล พาเมซานชีส มีผลิตภัณฑ์ไหนอีกบ้างที่เป็นของปลอม มณีเนตร วรชนะนันท์ จากรายการ Bon Appétit EP.95 จะพาไปเจาะลึก 11 อาหารใกล้ตัวที่ถูกปลอมมากที่สุดในโลก

    • 24 min
    คุยกับ ‘กำกิ๋นสุก‘ ร้านอาหารเหนือจากแพร่ ที่ส่งต่ออาหารพื้นบ้านรสดั้งเดิมให้คนกรุงได้ล

    คุยกับ ‘กำกิ๋นสุก‘ ร้านอาหารเหนือจากแพร่ ที่ส่งต่ออาหารพื้นบ้านรสดั้งเดิมให้คนกรุงได้ล

    ถ้าอยากกินลาบอีสานสักจาน ซดแกงอ่อมสักถ้วย คงไม่ยากที่จะหาร้านอาหารอีสานเพื่อไปลิ้มรสเมนูที่ว่ามา แต่ถ้าอยากกินลาบจิ้นคั่ว แกงฮังเล จิ้นส้ม หรือเมนูอาหารเหนือ จะมีเพียงไม่กี่ร้านที่ประชากรเมืองกรุงจะคิดถึง ด้วยอาหารเหนือยังไม่แพร่หลายเช่นอาหารอีสาน ‘กำกิ๋นสุก‘ ร้านอาหารเหนือจากเมืองแพร่จึงก่อตัวด้วยอยากส่งต่ออาหารเหนือรสดั้งเดิมให้คนกรุงได้ลิ้มลอง
    .
    หลายคนคงอาจเคยเป็นป้ายร้านอาหารอีสานที่มักเขียนว่า ลาบยโส, ลาบสารคาม, ลาบอุดร ร้านลาบอีสานที่ที่มักระบุตำแหน่งที่มา ในขณะที่ร้านอาหารเหนือไม่ค่อยมีแบบนั้นให้เห็น ความแตกต่างของ ‘กำกิ๋นสุก‘ จึงเป็นการที่ร้านแห่งนี้ระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นร้านอาหารเหนือสไตล์แพร่ แต่ที่มากกว่าการบอกว่ารกรากร้านแห่งนี้มาจากที่ไหน บิวรังสรรค์ ปัญญาใจ ผู้เป็นเจ้าของร้านยังเข้าครัวทำกับข้าวกับแม่มาตั้งแต่เด็ก และกำกิ๋นสุกเองก็เป็นสูตรอาหารที่มาจากร้านอาหารเหนือของแม่ด้วย 
    .
    นอกจากสตอรี่ข้างต้นที่ว่ามา ความน่าสนใจอีกอย่างคือ ‘กำกิ๋นสุก’ ทำธุรกิจร้านอาหารเหนือจากแพร่นี้ยังไง เดย์วันของร้านแห่งนี้มีที่มาที่ไปแบบไหน และชื่อร้าน ‘กำกิ๋นสุก’ นี้แปลว่าอะไร รายการ Podcast Bon Appetit ตอนนี้ขอชวนลัดเลาะหลังครัวไปสนทนากับ บิว-รังสรรค์ ปัญญาใจ และ บิ๋ม-กัญญุตา มิ่งลดาพร คู่รักเจ้าของร้านอาหารเหนือแห่งนี้

    • 1h 1m
    เจาะลึกเบื้องหลังเมนูอาหารบนเครื่องบิน ตั้งแต่การเตรียมในครัวจนถึงมือผู้โดยสาร | Bon Appétit EP.93

    เจาะลึกเบื้องหลังเมนูอาหารบนเครื่องบิน ตั้งแต่การเตรียมในครัวจนถึงมือผู้โดยสาร | Bon Appétit EP.93

    เคยสงสัยกันหรือเปล่าว่าเบื้องหลังการรังสรรค์อาหารนับพันจานในแต่ละวันของสายการบินต่างๆ นั้นมีกระบวนการยังไง หลายคนคงคิดว่าอาหารแต่ละจานที่สายการบินเสิร์ฟให้ผู้โดยสายมีกระบวนการทำเหมือนกับอาหารทั่วไป แต่ความจริงนั้นแตกต่าง เพราะเมนูอาหารบนเครื่องบินนั้นมีข้อจำกัดหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องของสุขอนามัย การควบคุมอุณหภูมิ ไปจนถึงข้อจำกัดด้านกระบวนการทำที่ใช้เวลายาวนานถึงหลักสิบชั่วโมง 
    .
    เบื้องหลังเมนูอาหารแต่ละเมนูที่เสิร์ฟให้ผู้โดยสารแต่ละเที่ยวบินนั้นมีขั้นตอนยังไง ในการเตรียมวัตถุดิบต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง การสร้างสรรค์อาหารกว่านับพันจานในแต่ละวันมีความยาก-ง่ายมากแค่ไหน รายการ Podcast Bon Appétit EP.93 ตอนนี้ ‘มณีเนตร วรชนะนันท์’ จะพาทุกคนไปหาคำตอบของกระบวนการรังสรรค์อาหารบนเครื่องบิน 

    • 16 min
    คุยกับ Coconut Culture ร้านไอศครีมที่ชูโรงด้วยมะพร้าว กะทิ และความทรงจำสมัยวิ่งตามรถขายไอติม | Bon Appétit

    คุยกับ Coconut Culture ร้านไอศครีมที่ชูโรงด้วยมะพร้าว กะทิ และความทรงจำสมัยวิ่งตามรถขายไอติม | Bon Appétit

    มะพร้าวน้ำหอมหวานฉ่ำ ขนมไทยใส่กระทิ ไอติมกระทิเย็นๆ หวานชื่นใจ ฯลฯ คือเมนูที่เคียงคู่วัฒนธรรมการกินของคนไทยยาวนานตั้งแต่โบราณ แม้จะเป็นเมนูที่เราคุ้นเคยกัน แต่เมื่อได้เห็นไอศครีมของ Coconut Culture ก็ต้องยอมรับว่ามีความแตกต่าง เพราะแบรนด์ตั้งใจเปลี่ยนไอศครีมกระทิแบบดั้งเดิมให้ร่วมสมัยกว่าที่เคยเป็นมา
    .
    Coconut Culture ก่อตั้งขึ้นโดยคู่รักอย่าง วิทย์-เอกวิทย์ เชพานุเคราะห์ และ มะนาว-ศศิ เทอดธีระกุล ที่อยากทำแบรนด์ไอศครีมที่มีกระทิเป็นเบส ซึ่งหากใครเคยผ่านไปผ่านมาย่านพระอาทิตย์ หรือบังเอิญเปิดไปเจอเมนูไอศครีมของโคโคนัทคัลเจอร์ก็จะเห็นเมนูไอศครีมมะพร้าวที่ไม่เหมือนใคร และนอกจากแพสชั่นในไอศครีมกะทิแล้ว ทั้งสองยังได้นำลวดลายผ้าขาวม้าและวัสดุอย่างสังกะสีมาตกแต่งร้าน เพื่อนำเสนอความเป็นไทยออกมาอีกด้วย
    .
    อะไรทำให้ทั้งวิทย์และมะนาวแพสชั่นกับไอศครีมมะร้าว จุดเริ่มต้นของ Coconut Culture เป็นมายังไง รายการ Podcast Bon Appétit EP.92 ตอนนี้ขอฝ่าแดดยามเช้าไปยังถนนพระอาทิตย์ ลัดเลาะเข้าหลังร้านไอศครีมแห่งนี้เพื่อย้อนสนทนาถึงจุดเริ่มต้นของแบรนด์ ไปจนถึงพูดคุยวิธีการทำธุรกิจและความตั้งใจที่อยากให้มะพร้าวแทรกซึมอยู่ในไอศครีมทุกรสชาติ

    • 1h 13 min
    ทำไมสินค้าทางการเกษตรในญี่ปุ่นถึงขายได้ราคาดีและคนทั่วโลกเชื่อมั่น | Bon Appétit EP.91

    ทำไมสินค้าทางการเกษตรในญี่ปุ่นถึงขายได้ราคาดีและคนทั่วโลกเชื่อมั่น | Bon Appétit EP.91

    สินค้าบางชิ้นแม้จะราคาสูง แต่พอบอกว่ามาจากญี่ปุ่น ทำไมเราถึงกล้าที่จะจ่าย หรือยอมซื้อกันอย่างง่ายดาย ไม่ใช่แค่คนไทยเท่านั้นที่พอเห็นสินค้าญี่ปุ่นแล้วจะศิโรราบ เพราะผู้คนทั่วโลกล้วนเชื่อในความพรีเมียมของสินค้าจากแดนอาทิตย์อุทัยเช่นกัน ยิ่งถ้าเป็นสินค้าทางการเกษตร หรือผลิตภัณฑ์ชุมชน ก็ยิ่งวางใจกันเข้าไปใหญ่ในเรื่องของคุณภาพดี 
    .
    ‘เชอร์รี่-มณีเนตร วรชนะนันท์’ จะพาไปหาคำตอบว่าญี่ปุ่นทำยังไงให้สามารถขายสินค้าได้ในราคาดี, ทำไมโปรดักต์ต่างๆ ของญี่ปุ่นจึงเป็นที่ยอมรับและโด่งดังได้ในระดับโลก และอะไรที่ทำให้คนทั่วโลกยอมรับและเชื่อมั่นในสินค้าจากดินแดนแห่งนี้ ตามไปหาคำตอบพร้อมกันได้ใน Podcast Bon Appétit EP.91 ตอนนี้

    • 13 min
    เทรนด์กินเผ็ดจริงจังของคนอเมริกัน และเทศกาล National Hot Sauce Day | Bon Appétit EP.90

    เทรนด์กินเผ็ดจริงจังของคนอเมริกัน และเทศกาล National Hot Sauce Day | Bon Appétit EP.90

    การกินเผ็ดหรือมีอาหารรสจัดจ้านให้เลือกลิ้มลองอย่างหลากหลาย ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่เท่าไหร่สำหรับประเทศแถบเอเชีย เพราะแทบทุกเมนูอาหารเอเชียมักถูกแต่งเติมด้วยรสชาติของความเผ็ดซี๊ดแสบทรวง 
    .
    แต่หากมองไปยังอเมริกานั้น วัฒนธรรมการกินเผ็ดหรือการกินอาหารรสแซ่บนับเป็นเรื่องที่ค่อนนข้างไกลตัวชาวอเมริกา จนเมื่อช่วงสิบปีให้หลังมานี้ที่วัฒนธรรมการกินเผ็ดของชาวอเมริกันได้รับความนิยม และเกิดเป็นเทรนด์กินซอสเผ็ดคู่กับอาหารหลายๆ เมนู มากไปกว่านั้นความนิยมการกินซอสเผ็ดยังได้ทำให้อเมริกาเกิดเทศกาลที่เรียกว่า National Hot Sauce Day ขึ้น
    .
    ทำไมอยู่ๆ วัฒนธรรมการกินเผ็ดแบบเอเชียจึงแพร่กระจายกลายเป็นเทรนด์ของคนอเมริกันได้ การเฉลิมฉลองวันซอสเผ็ดแห่งชาติเป็นยังไง ขอชวนลัดฟ้าไปยังอเมริกาเพื่อดูว่าชาวอเมริกันเขากินซอสเผ็ดกับอาหารชนิดไหน และเผ็ดที่ว่าจะเหมือนหรือต่างกับชาวเอเชียแบบเราๆ หรือไม่ ‘มณีเนตร วรชนะนันท์’ รอให้คำตอบอยู่ใน Podcast Bon Appétit EP.90 แล้วตอนนี้

    • 13 min

Top podcast nella categoria Economia

The Bull - Il tuo podcast di finanza personale
Riccardo Spada
STORIE DI BRAND
MAX CORONA
GURULANDIA
Marco Cappelli & Roberto Vertucci
Marco Montemagno - Il Podcast
Marco Montemagno
Market Mover
Il Sole 24 Ore
Black Box
Guido Brera - Chora

Potrebbero piacerti anche…

The Secret Sauce
THE STANDARD
ลงทุนแมน
longtunman
Mission To The Moon Podcast
Mission To The Moon Media
แปดบรรทัดครึ่ง
ต้อง กวีวุฒิ
เล่ารอบโลก
Thai PBS Podcast
Salmon Podcast
Salmon Podcast