7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

การพูดคุยปรึกษา คือ สากัจฉาทำให้เกิดความไม่ประมาทและมีปัญญาได้, มีคำถามอยู่ที่ไหน ก็มีคำตอบอยู่ที่นี่, ตอบทุกข้อสงสัย ทั้งในการดำเนินชีวิต, หลักธรรม หรือการภาวนา โดย ร่วมพูดคุยกับคุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ในช่วง "ตามใจท่าน". New Episode ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  1. 4 DAYS AGO

    สัมมาทิฐิที่เนื่องด้วยโลกและเหนือโลก [6745-7q]

    Q : ความหมายและความต่างระหว่างโลกวัชชะและปัณณัตติวัชชะ A : เป็นอาบัติเหมือนกัน ต่างกันตรงที่ “โลกวัชชะ” คือ อาบัติที่เมื่อทำผิดพระวินัยแล้วจะเกิดอกุศลในจิตแน่นอน ส่วน “ปัณณัตติวัชชะ” คือ อาบัติทางพระบัญญัติ ที่อยู่ที่จิตขณะนั้น หากจิตขณะนั้นเป็นอกุศลจึงจะมีโทษ   Q : ความหมายของ “พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติดีแล้วโดยชอบนั้น ย่อมเห็นพระนิพพานใดด้วยญาณ เป็นของหมดจดวิเศษแล้วพระนิพพานนั้นอันบัณฑิตพึงรู้แจ้งด้วยใจ”  A : พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติดีแล้วโดยชอบ หมายถึง สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ / ย่อมเห็นพระนิพพานใดด้วยญาณ หมายถึง หมู่ผู้ที่ปฏิบัติดีแล้ว ย่อมเห็นนิพพานด้วยญาณคือปัญญา / พระนิพพานอันบัณฑิตพึงรู้แจ้งด้วยใจ หมายถึง บัณฑิตทั้งหลายเขาจะเห็นอย่างนี้เหมือนกัน   Q : เปรียบเทียบการให้ทานด้วยอาหารกับ ศีล สมาธิ ปัญญา? A : การให้ทานด้วยอาหารให้ผลน้อยเพราะไม่สามารถทำได้ตลอด ไม่เหมือนกับการรักษาศีล ภาวนา ที่สามารถทำได้ตลอดเวลา ทำได้ในทุกอิริยาบถ    Q : ศรัทธากับสัมมาทิฐิอันไหนมาก่อนกัน A : ทั้งศรัทธาและสัมมาทิฐิ ต่างเกื้อกูลส่งเสริมซึ่งกันและกัน หากเรามีศรัทธาที่เป็นสัมมาทิฐิ เราก็จะเกิดการลงมือทำจริง แน่วแน่จริง มีความเพียร ก็จะเกิดปัญญาขึ้นมาได้    Q : การวางจิตเมื่อแสดงธรรมแก่ผู้ที่มีคุณธรรมสูงกว่า  A : การที่เราแสดงธรรมไปตามเนื้อหาที่ท่านประกาศไว้ เราไม่ต้องกังวล ถ้าเราศึกษามาเป็นอย่างดี เพียงแต่ระวัง ไม่พูดผิด ไม่พูดกระทบตนเอง ไม่พูดกระทบผู้อื่น ไม่ว่าจะพูดให้ใครฟังก็สามารถทำได้   Q : พระอรหันต์ทำผิดได้หรือไม่? A : ท่านไม่ได้รู้ทุกเรื่อง เราสามารถแสดงความเห็นต่อท่านได้ ถ้าเราเป็นผู้น้อยก็ขอโอกาสท

    56 min
  2. 2 NOV

    คนต่างกันเพราะกรรม [6744-7q]

    Q : เหตุที่ทำให้บุคคลแตกต่างกัน A : กรรมเป็นตัวจำแนกสัตว์ให้ทรามหรือประณีตกรรมทำให้คนไม่เท่ากันแม้ทำกรรมอย่างเดียวกันก็อาจได้รับผลไม่เท่ากันสิ่งที่เราควรทำ คือทำความดีให้มาก ไม่ว่าในตอนนี้เราจะได้ผลของกรรมอย่างไรให้เราหมั่นสร้างบุญกุศลทำความดี ทั้งทางกาย วาจาใจผลของกรรมที่ไม่ดีมันก็จะเบาลงๆ   Q : การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของยาก A : ท่านเปรียบดังเต่าตาบอด อยู่บนโลกที่เต็มไปด้วยน้ำ ทุกร้อยปีจะขึ้นมาหายใจ แล้วเอาหัวซุกเข้ารูได้ ความยากนี้เหมือนคนที่ไปอบายทั้ง 4 แล้วจะกลับมาเป็นมนุษย์อีกนั้นยากมาก   Q : ฆ่าตัวตายเป็นบาป? A : ไม่แน่ ส่วนใหญ่แล้วถือว่าไม่ดี หากฆ่าตัวตายแล้วสามารถพ้นกิเลสได้ ท่านถือว่าการตายนี้เป็นการตายที่ไม่น่าติเตียน แต่บางกรณีก็ได้รับการติเตียน เพราะไม่แยบคายมีอวิชชา   Q : ความต่างระหว่างฉันทะกับตัณหา A : ฉันทะ คือ ความพอใจ มีใช้ทั้งในส่วนที่เป็นกุศลและอกุศล ตัณหา คือ ความทะยานอยาก ใช้ในสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมเท่านั้น เราสามารถสร้างฉันทะที่เป็นกุศล ได้ด้วยการอาศัยศรัทธาและปัญญา พอมีมีศรัทธาก็จะทำให้เกิดความเพียร ฟังธรรม ไคร่ครวญธรรม เกิดปัญญา ก็จะเกิดฉันทะที่เป็นกุศลขึ้น    Q : ขจัดริษยา A : เราต้องละความอยากคือตัณหา ด้วยการปฏิบัติตามมรรค 8 เมื่อเราเห็นคนอื่นเขาได้ดีแล้วเรายินดีกับเขาเราก็จะละความอิจฉาริษยาไปได้   Q : หลงตนเพราะอะไร? A : เพราะเราไม่มีวิชชาคือความรู้ ที่จะแยกได้ว่า สิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิด ความรู้สึกที่ว่าตัวเราของเรา มันจึงมาจากอวิชชา เพราะมีอวิชชาเป็นเหตุ เราจะมีความรู้แยกแยะถูกผิดได้ เราต้องปฏิบัติตามมรรค 8 เราจึงจะมีวิชชา (ความรู้) และวิมุต (ความพ้น) ได้   Q : ความจริงกับ

    55 min
  3. 26 OCT

    จิตเกิดได้ดับได้ [6743-7q]

    Q : จิตอยู่ที่ไหนในนิพพาน? A : ท่านกล่าวไว้ว่า หลังจากท่านปรินิพพานไปแล้ว จะไม่มีใครเห็นท่านอีกเลย เปรียบเหมือนกับเทียน ที่พอเปลวเทียนมันหมด ไส้ก็หมด ดับไปหมดแล้ว เราก็จะไม่เห็นเปลวไฟอีกแล้ว เพราะมันดับไปแล้ว    Q : จิตที่วนเวียนไปเกิดใหม่อยู่นี้ ล้วนมาจากจิตเดิมความเข้าใจนี้ถูกต้องหรือไม่? A : ไม่ถูก เพราะมันเป็นของเกิดได้ดับได้ หากมันมีเหตุให้เกิดมันก็เกิด หากมีเหตุที่มันจะดับมันก็ดับ ต้องเข้าใจให้ถูก เพราะหากหากเราคิดว่ามันมีอยู่ นั่นคือเราเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นอัตตา ซึ่งมันไม่ถูก    Q : การระลึกชาติคือจิตเดิมใช่หรือไม่? A : เป็นญาณหยั่งรู้อดีต ที่เรียกว่า “บุพเพนิวาสานุสติญาณ” ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน สิ่งที่สำคัญที่เราควรต้องเห็น คือ เห็นโทษของการเกิด หากเรายังยินดีในการเกิด เราก็จะไม่สามารถหลุดพ้นจากสังสารวัฏนี้ได้   Q : จะบรรลุธรรมได้จำเป็นต้องถือศีลแปดหรือไม่? A : ขึ้นอยู่ว่าเป็นอริยะบุคคลขั้นไหน หากเป็นขั้นโสดาบันหรือสกิทาคามี ศีล 5 ก็ได้ หากเป็นอนาคามีหรืออรหันต์ ต้องศีล 8 ขึ้นไป แต่ไม่ว่าขั้นไหนล้วนดีทั้งหมด เพราะหากเป็นขั้นผลแล้ว จะไม่ไปเกิดในอบาย ไม่ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน และจะบรรลุมรรคผลนิพพานในชาติสุดท้าย   Q : เลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพมีบาปหรือไม่ อย่างไร? A : ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ว่าใช้เกณฑ์อะไร หากใช้เกณฑ์ของศีล 5 ก็ไม่ผิดศีล เพราะไม่ได้ฆ่า ท่านสอนไว้ถึง "อกรณียกิจ" (กิจที่ไม่ควรทำ) คือ ค้าอาวุธ ค้าสัตว์เป็น ค้าเนื้อสัตว์ ค้าน้ำเมา และค้ายาพิษ ถ้าทำอยู่ควรเลิก ในสังสารวัฏนี้มีการเบียดเบียนกัน ให้เราเร่งปฏิบัติให้หลุดพ้น โดยเริ่มจากศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อเรารักษาศีล เราก็จะไม่กังวล

    55 min
  4. 19 OCT

    เครื่องหมายของความไม่เที่ยง [6742-7q]

    Q : อาฏานาฏิยรักษ์คาถาป้องกันภัย (ยักษ์) ของท้าวเวสสุวรรณ A : เป็นคาถาที่ท้าวเวสสุวรรณท่านยกย่องพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ เพื่อรักษาป้องกันไม่ให้ยักษ์เบียดเบียนเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาทั้งหลาย   Q : การมีปิติเป็นภักษาหารเหมือนอาภัสสรเทพนั้น เป็นอย่างไร? A : อาหาร หมายถึง การที่ให้รูปคงอยู่ดำเนินไปได้ เช่น มนุษย์หากจะให้กายดำเนินต่อไปได้ต้องกินอาหารคือคำข้าว เพราะมนุษย์มีกายหยาบก็ต้องกินอาหารคือคำข้าวที่ประกอบด้วยธาตุ 4 ส่วนอาภัสสรพรหม อยู่ในรูปภพมีอาหารเป็นรูปละเอียดคือปิติ   Q : การนอนอย่างตถาคตคือการนอนแบบใด? A : การนอนอย่างตถาคตคือการนอนด้วยสมาธิอยู่ในฌานทั้ง 4 เริ่มจากก่อนที่จะนอนไปจนถึงก่อนที่จะตื่น โดยก่อนที่จะนอนให้กำหนดสติสัมปชัญญะน้อมไปเพื่อการนอน ว่าบาปอกุศลกรรมทั้งหลาย อย่าได้ติดตามเราไปผู้ซึ่งนอนอยู่และกำหนดจิตไว้ว่ารู้สึกตัวเมื่อไหร่จะลุกขึ้นทันที   Q : อนุตตริยะ 3 ประการ มีอะไรบ้าง? A : ประการแรกคือ การเห็นอันยอดเยี่ยม (ทัสสนานุตตริยะ) การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม (ปฏิปทานุตตริยะ) และการพ้นอันยอดเยี่ยม (วิมุตตานุตตริยะ)   Q : ความไม่เที่ยงในผัสสายตนะ 6 เป็นอย่างไร? A : เราจะดูว่าเที่ยงหรือไม่เที่ยงได้ด้วยการดู ที่ถ้ามันอาศัยเหตุเกิด เหตุนั้นคือเครื่องหมายของความไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์ ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ เกิดได้ดับได้คือสภาวะที่เป็นทุกข์ไม่เที่ยง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    56 min
  5. 12 OCT

    จิตเป็นอนัตตา [6741-7q]

    Q : การวางน้ำให้ผู้ล่วงลับจะได้รับหรือไม่ และมีในคำสอนหรือไม่? A : การรับอาหาร จะมีเปรตประเภท “ปรทัตตูปชีวิเปรต” ที่จะรับอาหารเหล่านั้นได้ นอกนั้นรับไม่ได้ เพราะสัตว์แต่ละประเภท ก็จะมีอาหารที่แตกต่างกัน อาหารเราควรถวายแด่พระสงฆ์ ผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญจะดีกว่า เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ที่ควรรับทักษิณาทาน เกิดบุญแล้วก็อุทิศบุญ ให้กับญาติพี่น้องของเราและเราก็จะได้บุญด้วย Q : จิตกับความเป็นอนัตตา A : จิตเป็นอนัตตา หมายถึง ไม่ใช่ตัวตน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวมันเอง แต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจจัย ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ไม่ใช่สุดโต่ง 2 ข้าง คือ นัตถิตา (ปฏิเสธว่ามันไม่ใช่ของเรา) หรืออัตถิตา (ของเราทั้งหมด) แต่เป็นการยอมรับว่า มันเป็นไปตามเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย ถ้ามันมีเหตุเกิด มันก็เกิด พอเราเห็นตามจริง เข้าใจด้วยปัญญา ว่ามันเป็นอนัตตา เราจะละความยึดถือได้ เมื่อเราละได้ ก็จะตัดกระแสความยึดถือ ตัดกระแสความเกิดดับ มันก็จะไม่วน ไม่ไปต่อ คือ ตัดกระแสของจิตที่มันจะไปยึดถือได้ Q : บรรลุธรรมแล้วจะเป็นอย่างไร? A : เมื่อตัดกระแสความยึดถือได้ ก็จะเหลือร่างกายนี้ที่ยังอยู่ เปรียบดังต้นไม้ที่มันตายแล้ว แต่ยังเหลือซากอยู่ ซึ่งพอกายนี้ แตกดับไปก็จะไม่เจออีก ภพนี้เป็นภพสุดท้าย จะไม่มีการเกิดต่อไป Q : จิตที่ไปเสวยสุขทุกข์ในสวรรค์ หรือนรกเป็นของเราหรือไม่? A : การที่คิดว่าจิตเป็นของเรานั้นเป็นการเข้าใจผิด เพราะจิตเป็นกระแสเกิดดับตามเหตุปัจจัย เป็นอนัตตา Q : ความเข้าใจเรื่องมานะในโลกสมมุติกับวิมุตติ A : สมมุติกับวิมุตติ เป็นระบบที่ต้องอยู่ด้วยกัน คู่ขนานกัน ในเรื่องของโลก เป็นเรื่องของหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ เรื่องเหนือโลกเป็นเ

    57 min
  6. 5 OCT

    ชนะมารด้วยความดี [6740-7q]

    Q : บทสวดธรรมจักร A : เป็นพระสูตรที่ท่านเทศน์ครั้งแรกให้เหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ฟัง เมื่อได้ฟังแล้ว มีท่านโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมเป็นองค์แรก เหล่าเทวดาเปล่งวาจาว่า “นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ไม่มีใครที่จะหมุนทวนกลับได้” ส่วนบทสวดที่บางเล่มสั้นบางเล่มยาว ต่างกันตรงส่วนที่กล่าวถึงเหล่าเทวดาแต่ละชั้นตั้งแต่ชั้นแรกขึ้นไป ได้เปล่งวาจาร่ำลือกัน   Q : แม่พระธรณี A : ในคาถาธรรมบท ตอนที่ท่านนั่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์ มารจะไล่ท่านให้หนีจากที่นั่งนั้น ท่านปฏิญาณไว้ว่าจะไม่หนี พอมือท่านแตะธรณี ท่านได้ระลึกถึง ทานบารมี ศีลบารมี ที่เคยทำ พูดถึงว่า พระแม่ธรณีเป็นพยาน น้ำที่เคยกรวดไว้เป็นพยาน ว่าบารมีที่ท่านทำมาเต็มแล้ว ท่านสู้ด้วยความดี ด้วยบารมีที่ท่านทำ จึงเอาชนะมารได้ ไม่แพ้ไปตามอำนาจของมาร   Q : การบวชเณรเป็นพระ A : ถ้าคนที่มาบวชอายุไม่ถึง 20 ปี จะบวชเป็นพระไม่ได้ เว้นแต่พระพุทธเจ้าบวชให้ และมีพระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้นที่จะบวชให้คนที่มีอายุไม่ถึง 20 ปี บวชเป็นพระได้ และท่านไม่เคยบวชเณรให้ใคร   Q : อานิสงส์ของบุญ A : หากทำอะไรแล้วได้อย่างนั้น เป็นความคิดที่ผิด การประพฤติพรหมจรรย์จะมีไม่ได้การทำที่สุดแห่งทุกข์จะไม่ปรากฏ แต่ที่ถูกคือเมื่อคุณทำอะไรไว้คุณจะได้รับผล (วิบาก) ของการกระทำนั้น กรรมกับวิบากเป็นคนละอย่างกัน เป็นอจินไตย ให้เราตั้งจิตเราเป็นกุศล ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วแน่นอน   Q: การให้ทาน A: ต้องรู้จักแบ่งจ่ายทรัพย์ ไม่เบียดเบียนตนเอง ดูความพร้อมทั้ง 3 ประการของผู้ให้ และ 3 ประการของผู้รับ   Q: มีมือชุ่มอยู่เสมอ A: การดำเนินชีวิตสมัยก่อนมือเปื้อน พ

    54 min
  7. 28 SEPT

    ความตายไม่เที่ยง [6739-7q]

    Q : ทุกสิ่งเป็นไตรลักษณ์ ความตายที่เที่ยงแท้จัดเป็นไตรลักษณ์หรือไม่? A : พระสูตรปริวีมังสนสูตร ว่า “มรณะคือความตายไม่เที่ยง ความเกิดคือชาติไม่เที่ยง” อะไรก็ตามที่อยู่ในสายของปฎิจจสมุปบาททั้งหมดไม่เที่ยง คำว่า ”ไม่เที่ยง” หมายถึงมันเกิดได้ดับได้ ดับใช้คำว่า “นิโรธ” เกิดใช้คำว่า “อุบัติ” การที่ความตาย|มรณะ อุบัติ|เกิดขึ้นได้ คือ ความตายได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่ความตายดับ มรณะคือตายไม่ใช่ดับ นิโรธคือดับไม่เหมือนกัน จากคำกล่าวที่ว่า ความตายเที่ยงแท้แน่นอน หมายความว่าเมื่อเราเกิดขึ้นมาแล้วจะต้องตายแน่นอน แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ ทั้งนี้วันนี้จนก่อนถึงวันที่เราจะตาย ความตายก็อาจจะดับลงไปได้ ถ้าบรรลุพระอรหันต์ เพราะเมื่ออวิชชาดับไป ๆ ตามลำดับของปฏิจจสมุปบาท ชาติคือการเกิด ที่เป็นเหตุแห่งการตายก็จะดับไป ไม่เกิด ไม่อุบัติขึ้นอีก   Q : พระภิกษุในสมัยพุทธกาล เมื่อบรรลุพระอรหันต์แล้ว แต่กายสังขารท่านยังอยู่ ในทางพุทธศาสนาชี้แจงอย่างไร? A : ท่านเปรียบไว้ดังต้นไม้ที่ตายแล้ว แม้อย่างอื่นจะร่วงหล่นไปหมด แต่จะยังมีแก่นเหลืออยู่ ทรงอยู่ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ของท่าน ยังเหลืออยู่ อย่างอื่นดับหมดแล้ว    Q : ความสุขปรุงแต่งขึ้นมาได้หรือไม่? A : ทุกอย่างในโลกนี้ล้วนเป็นการปรุงแต่ง ท่านได้ให้แนวทางไว้ว่า “การปรุงแต่งที่ทำให้กิเลสเพิ่มการปรุงแต่งนั้นไม่ดี การปรุงแต่งที่ทำให้กิเลสลดการปรุงแต่งนั้นดี” ในบรรดาสังขตธรรมทั้งหลาย มรรค 8 จัดว่าเป็นยอดของการปรุงแต่งทั้งหมด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    56 min
  8. 21 SEPT

    เวทนาเป็นอนัตตา [6738-7q]

    Q : มีความรู้สึกเหมือนไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง มีแค่ความรู้สึกที่รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ อยู่ เหมือนกำลังดูละครโรงใหญ่อยู่ สภาวะแบบนี้คืออะไร? A : ลักษณะนี้ คือ “สติ” คือ แยกตัวออก ณ จุดนี้เราสามารถเลือกได้ ว่าจะไปตามทุกข์หรือสุขในสภาวะนั้นหรือดูเฉย ๆ หรือเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์ คือไม่ยึดถือในสภาวะแบบนั้น นั่นคือ เรามี “สติสัมปชัญญะ” แล้ว   Q : เมื่อตายแล้ว อะไรที่ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจะเอาไปด้วยได้? A : การกระทำทางกาย วาจา ใจ จะมีการสั่งสมที่จิต ทำสิ่งใดก็จะสะสมสิ่งนั้น หากยังไม่ปรินิพพาน เมื่อตายแล้ว สิ่งที่จะติดตามไปด้วยได้ คือ กุศลและอกุศลที่เราทำ แต่หากปรินิพพานแล้ว ไม่ได้เอาสิ่งใดไปด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ไม่ได้เอาไปด้วย เพราะสภาวะแห่งการสั่งสมนั้นดับไป คือจิตดับไป มันจึงให้ผลไม่ได้   Q : การบรรลุไม่ได้ขึ้นอยู่กับทุกข์มากหรือน้อย แต่ขึ้นอยู่กับปัญญาเห็นการเกิดดับแห่งทุกข์นั้น ใช่หรือไม่? A : ทุกข์ที่จะทำให้เห็นธรรมะได้ต้องประกอบด้วยศรัทธาและปัญญา “สุขเวทนา” คือ ทุกข์ที่ทนได้ง่าย “ทุกขเวทนา” คือ ทุกข์ที่ทนได้ยาก สิ่งใดที่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย ล้วนเป็นทุกข์ พอเราเข้าใจด้วยปัญญา เห็นทุกข์ด้วยปัญญา เราจึงจะเห็นธรรมะนั่นเอง    Q : เวลานั่งสมาธิแล้วจะคอยจ้องว่าเมื่อไหร่ จะสงบนิ่งเข้าสมาธิ ควรแก้ไขอย่างไร? A : ให้พิจารณาว่าอะไรที่เราทำแล้วสงบ เหตุแห่งความสงบคืออะไร ให้สร้างเหตุ เงื่อนไข ปัจจัย ให้ถูกต้อง เราต้องมีศีล มีกัลยาณมิตร ฟังธรรม ใคร่ครวญโยนิโสมนสิการ อยู่ในเสนาสนะอันสงัดแล้ว หมั่นทำความเพียร ทำให้มาก เจริญให้มาก ทำด้วยศรัทธา ทำด้วยปัญญา พอเราไปถูกทางความสงบจะเกิดขึ้นมาไ

    1 hr

About

การพูดคุยปรึกษา คือ สากัจฉาทำให้เกิดความไม่ประมาทและมีปัญญาได้, มีคำถามอยู่ที่ไหน ก็มีคำตอบอยู่ที่นี่, ตอบทุกข้อสงสัย ทั้งในการดำเนินชีวิต, หลักธรรม หรือการภาวนา โดย ร่วมพูดคุยกับคุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ในช่วง "ตามใจท่าน". New Episode ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

More From Panya Bhavana Foundation

You Might Also Like

To listen to explicit episodes, sign in.

Stay up to date with this show

Sign in or sign up to follow shows, save episodes and get the latest updates.

Select a country or region

Africa, Middle East, and India

Asia Pacific

Europe

Latin America and the Caribbean

The United States and Canada