KResearch Podcast

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
KResearch Podcast Podcast

รับฟังความเคลื่อนไหว เศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน ที่น่าสนใจ

Episodes

  1. คาดสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียยูเครนยังกดดันสินทรัพย์เสี่ยงต่อเนื่อง

    07/03/2022

    คาดสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียยูเครนยังกดดันสินทรัพย์เสี่ยงต่อเนื่อง

    KResearch: วิเคราะห์ข่าวเช้าเศรษฐกิจรายสัปดาห์ | 7 มี.ค. 2565 คาดสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียยูเครนยังกดดันสินทรัพย์เสี่ยงต่อเนื่อง ขณะที่ ราคาน้ำมันพุ่งเหนือ 130$/barrel - สัปดาห์ที่ผ่านมารัสเซียยังคงโจมตียูเครนต่อเนื่อง แม้จะมีการเจรจากันแล้วถึงสองครั้งและมีการคว่ำบาตรที่รุนแรงขึ้นจากชาติตะวันตก ขณะที่ยูเครนได้สมัครเข้าเป็นสมาชิก EU ท่ามกลางสถานการ์ณความวุ่นวายดังกล่าว ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงเผชิญปัจจัยกดดันและปรับลดลงจากสถานการณ์ดังกล่าว - ดัชนีหุ้นญี่ปุ่น และจีนลดลงเป็นสัปดาห์ที่สามติดต่อกัน โดยบรรยากาศการซื้อขายในจีนได้รับปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากดัชนี PMI ที่ออกมาปรับตัวลดลงจากนโยบาย Zero Covid-19 ด้านตลาดหุ้นไทยปรับร่วงลงหนักในท้ายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากสถานการณ์โควิด-19 ภายในประเทศที่จำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับสูง โดยสธ.มองว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจะเริ่มลดลงในช่วงปลายเดือนพ.ค. ทั้งนี้ นลท.ต่างชาติยังซื้อสุทธิ - ตลาดหุ้นยุโรปปรับร่วงลงหนักในรอบ 1 ปี เนื่องจากยุโรปต้องพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย ค่าเงินยูโรดิ่งลงหนักในรอบเกือบ 2 ปี นอกจากนี้ ตัวเลขค้าปลีกยังออกมาอ่อนแอกว่าคาด ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดร่วงลงเช่นกัน แม้ว่าจะได้รับปัจจัยบวกจากถ้อยแถลงของประธาน Fed ที่ระบุว่ามีแนวโน้มจะขึ้นดอกเบี้ยน้อยกว่าที่คาดการณ์ ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ ยังออกมาแข็งแกร่งต่อเนื่องตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 678,000 ตำแหน่งในเดือนก.พ. และอัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 3.8% - นักลงทุนยังเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำโดยราคาทองคำปิดใกล้ระดับ 2,000 $/oz ขณะที่ราคาน้ำมัน Brent และ WTI ปรับเพิ่มขึ้นกว

    24 min
  2. ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงยังเสี่ยง...รอติดตามสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน

    28/02/2022

    ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงยังเสี่ยง...รอติดตามสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน

    KResearch: วิเคราะห์ข่าวเช้าเศรษฐกิจรายสัปดาห์ | 28 ก.พ. 2565 ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงยังเสี่ยง...รอติดตามสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน และสัญญาณดอกเบี้ยจากถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาคองเกรส - ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกค่อนข้างผันผวนในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีแรงเทขายหุ้นอย่างหนักหลายตลาดท่ามกลางความขัดแย้งที่มีสัญญาณรุนแรงขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ระหว่างรัสเซียและยูเครน หลังรัสเซียเปิดฉากใช้กำลังทางการทหารกับยูเครน -ประเด็นรัสเซียและยูเครนนี้ยังคงลากยาวต่อเนื่องในช่วงสุดสัปดาห์ ซึ่งสหรัฐฯ และชาติตะวันตกประกาศมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติม โดยล่าสุด มีการประกาศตัดธนาคารของรัสเซียบางแห่งออกจากระบบ SWIFT -ราคาทองคำปรับตัวผันผวนตามสถานการณ์รัสเซียและยูเครน โดยราคาเคลื่อนไหวในกรอบเหนือระดับ 1,900 ดอลลาร์ฯ ต่อออนซ์ในระหว่างสัปดาห์ ก่อนจะเผชิญแรงเทขายกลับลงมาปิดต่ำกว่าแนวดังกล่าวเมื่อวันศุกร์ หลังมีรายงานข่าวว่า อาจจะมีการเจรจาระหว่างรัสเซีย-ยูเครน -ราคาน้ำมัน BRENT และ WTI ทะลุ 100 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้วรับข่าวรัสเซียบุกโจมตียูเครน ก่อนจะเผชิญแรงเทขายทำกำไรก่อนเข้าสู่ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนรอติดตามความเป็นไปได้ของการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเพื่อหาทางออกระหว่างรัสเซียและยูเครน - บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น โดยยีลด์อายุ 10 ปี ปิดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาที่ระดับ 1.991% ขณะที่ยีลด์อายุ 30 ปีปรับขึ้นไปที่ระดับ 2.294% - ปัจจัยติดตามสัปดาห์นี้ ได้แก่ 1) สถานการณ์ระหว่างรัสเซีย-ยูเครน 2) ถ้อยแถลงของประธานเฟด 3) ข้อมูลเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทย และ 4) ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ

    20 min
  3. สินทรัพย์ปลอดภัยยังมีโอกาสปรับขึ้น ตามสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครน

    21/02/2022

    สินทรัพย์ปลอดภัยยังมีโอกาสปรับขึ้น ตามสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครน

    KResearch: วิเคราะห์ข่าวเช้าเศรษฐกิจรายสัปดาห์ | 21 ก.พ. 2565 สินทรัพย์ปลอดภัยยังมีโอกาสปรับขึ้น ตามสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครนที่อาจดันน้ำมันเข้าหา 100 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล - ตลาดหุ้นเอเชีย ยุโรป และสหรัฐฯ เผชิญแรงเทขายในสัปดาห์ที่แล้ว ท่ามกลางความกังวลจากหลายปัจจัย อาทิ การขึ้นดอกเบี้ยของเฟด และความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและสหรัฐฯ ในสถานการณ์ของยูเครน - เงินดอลลาร์ฯ ถูกกดดันในช่วงแรกจากการคาดการณ์เกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ยเฟดที่บันทึกการประชุมเฟดสะท้อนว่า จะดำเนินการตามข้อมูลที่เห็นในแต่ละรอบการประชุม แต่เงินดอลลาร์ฯ ฟื้นตัวกลับช่วงปลายสัปดาห์ จากปัจจัยความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้มองว่าเงินดอลลาร์ฯ เป็นสกุลเงินปลอดภัย - บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นในช่วงแรก ก่อนที่จะลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ จากแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยของนักลงทุนท่ามกลางจากความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตยูเครน นอกจากนี้ ทองคำก็เป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์ปลอดภัยที่ขยับขึ้นด้วยเช่นกัน โดยราคาทองคำปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สาม และระหว่างสัปดาห์ราคาทองคำทะยานข้ามแนว 1900 ดอลลาร์ฯ ต่อออนซ์ ก่อนจะย่อตัวลงตามแรงขายทำกำไรท้ายสัปดาห์ ด้านราคาน้ำมันขยับขึ้นจากวิกฤตยูเครน แต่กรอบขาขึ้นจำกัดเนื่องจากความเป็นไปได้ที่อิหร่านจะกลับมาส่งออกน้ำมัน - สถานการณ์ติดตามสัปดาห์นี้ ได้แก่ 1) สถานการณ์ยูเครน โดยเฉพาะโอกาสที่รัสเซียอาจบุกยูเครน ซึ่งอาจกระทบราคาน้ำมันให้กลับไปที่ 95 และ 100 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล 2) จีดีพีไตรมาส 4/2564 ของไทย 3) สถานการณ์โควิดในไทยที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโอมิครอนยังเพิ่มต่อเนื่อง 4) ข้อมูลเงินเฟ้อ PCE/Core PCE ของส

    25 min
  4. ปัจจัยสัปดาห์นี้ ยังติดตามวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน และแนวโน้มคุมเข้มดอกเบี้ยของสหรัฐฯ กันต่อ

    14/02/2022

    ปัจจัยสัปดาห์นี้ ยังติดตามวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน และแนวโน้มคุมเข้มดอกเบี้ยของสหรัฐฯ กันต่อ

    KResearch: วิเคราะห์ข่าวเช้าเศรษฐกิจรายสัปดาห์ | 14 ก.พ. 2565 ปัจจัยสัปดาห์นี้ ยังติดตามวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน และแนวโน้มคุมเข้มดอกเบี้ยของสหรัฐฯ กันต่อเนื่อง - ตลาดหุ้นเอเชียและยุโรปปรับตัวขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมาจากปัจจัยเฉพาะของแต่ละตลาด เช่น ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่แข็งแกร่งหนุนหุ้นญี่ปุ่นและยุโรป ขณะที่ตลาดหุ้นจีนได้รับแรงซื้ออย่างแข็งแกร่งหลังจากที่ตลาดกลับมาเปิดทำการอีกครั้งหลังหยุดในช่วงตรุษจีน โดยมีปัจจัยบวกจากความคาดหวังเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้านตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นเช่นกัน โดยมีแรงซื้อสุทธิอย่างมากจากนลท.ต่างชาติ โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มธนาคารและ ICT - ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลดลงรายสัปดาห์จากแรงกดดันเรื่องวิกฤตยูเครน และการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed หลังเงินเฟ้อสหรัฐฯ ออกมาพุ่งขึ้นมากกว่าตลาดคาด (เงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนม.ค. 65 พุ่งขึ้น 7.5% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นรายปีมากที่สุดในรอบ 40 ปี) นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดยังออกมาแสดงความคิดเห็นในเชิงสนับสนุนการเร่งขึ้นดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีแรกด้วยเช่นกัน - ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับขึ้น บอนด์ยีลด์อายุ 10 ปี แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ก.ค. 2562 หรือสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี ขณะที่ช่วงต่างระหว่างยีลด์อายุ 2 ปีและ 10 ปี แคบลง (Flattening Yield Curve) ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดพันธบัตรได้รับรู้ข่าวการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ไปค่อนข้างมาก - ดอลลาร์ฯ แข็งค่า จากเรื่องวิกฤตยูเครน-รัสเซียและโอกาสที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยเร็ว ขณะที่เงินบาทแข็งค่าจากเงินทุนไหลเข้าโดยเฉพาะพันธบัตรระยะสั้น และหุ้นไทย - ด้านราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ราคาน้ำมันยังบว

    21 min
  5. ตลาดหุ้นสัปดาห์หนี้ รอติดตามผลประกอบการ บจ. ต่อเนื่อง

    07/02/2022

    ตลาดหุ้นสัปดาห์หนี้ รอติดตามผลประกอบการ บจ. ต่อเนื่อง

    KResearch: วิเคราะห์ข่าวเช้าเศรษฐกิจรายสัปดาห์ | 7 ก.พ. 2565 ตลาดหุ้นสัปดาห์หนี้ รอติดตามผลประกอบการ บจ. ต่อเนื่อง เงินเฟ้อของสหรัฐฯ และการประชุม กนง. ครั้งแรกของปี - ตลาดหุ้นสัปดาห์ก่อน เน้นความสนใจไปที่การรายงานผลประกอบการ บจ. เงินเฟ้อที่ส่งผลต่อมุมมองการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด ขณะที่ตลาดหุ้นฝั่งยุโรปปิดลดลงจากความกังวลต่อทิศทางการคุมเข้มนโยกายการเงินจากการประชุมธนากลางยุโรปและการขึ้นดอกเบี้ยของทางธนาคารกลางอังกฤษ ด้านสหรัฐฯ ได้ปัจจัยหนุนจากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนต่อเนื่อง - ราคาทองคำปรับขึ้นรายสัปดาห์มากที่สุดนับตั้งแต่กลางเดือน พ.ย. 2564 หลังข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ออกมาดี - ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง มาอยู่เหนือระดับ 90 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล โดยการประชุมของกลุ่ม OPEC+ ยังคงยึดการเพิ่มกำลังการผลิตตามแผนเดิม แม้สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรจะหนุนการเพิ่มกำลังการผลิตให้สูงขึ้นก็ตาม นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องพายุฤดูหนาวที่ค่อนข้างรุนแรงในสหรัฐฯ เพิ่มเติมซึ่งทำให้ปัญหาความไม่สมดุลระหว่างอุปทานและอุปสงค์น้ำมันรุนแรงขึ้น - ECB คงนโยบายอัตราดอกเบี้ย แต่เตรียมยุติ QE ตามกำหนดเดิมในเดือน มี.ค.2565 ซึ่งหนุนเงินยูโรให้แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ฯ ขณะที่ ธ.กลางอังกฤษ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่สองในรอบสามเดือนจาก 0.25% มาที่ 0.50% รวมถึงปรับลดขนาดงบดุล เพื่อดูแลปัญหาเงินเฟ้อ - ปัจจัยติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ 1) การประกาศผลประกอบการ บจ. 2) การดำเนินนโยบายธนาคารกลาง โดยเฉพาะ กนง.ในวันพุธ และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด 3) ข้อมูลเศรษฐกิจ อาทิ เงินเฟ้อสหรัฐฯ 4) สถานการณ์ความตึงเครียดในยูเครนและรัสเซีย 5) สถานกา

    21 min
  6. ตลาดหุ้นสัปดาห์นี้เล็งปัจจัยใหม่ หลังรับรู้ข่าวเฟดขึ้นดอกเบี้ยไปมากแล้ว

    31/01/2022

    ตลาดหุ้นสัปดาห์นี้เล็งปัจจัยใหม่ หลังรับรู้ข่าวเฟดขึ้นดอกเบี้ยไปมากแล้ว

    KResearch: วิเคราะห์ข่าวเช้าเศรษฐกิจ | 31 ม.ค. 2565 ตลาดหุ้นสัปดาห์นี้เล็งปัจจัยใหม่ หลังรับรู้ข่าวเฟดขึ้นดอกเบี้ยไปมากแล้ว - ตลาดหุ้นภูมิภาค และไทยปรับขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ก่อน หลังตลาดทยอยรับรู้ข่าวการขึ้นดอกเบี้ยเฟดและการทยอยปรับลดงบดุล - ตลาดยุโรปปรับตัวลดลงเป็นสัปดาห์ที่สี่ติดต่อกัน เนื่องจากกังวลว่าเฟดจะเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ความตึงเครียดในยูเครน และข้อมูลเศรษฐกิจยุโรปที่อ่อนแอ - ตลาดสหรัฐฯ แกว่งตัวผันผวนตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ในช่วงปลายสัปดาห์จะได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หลังผลประกอบการหลาย บจ.ออกมาค่อนข้างดี ด้านตัวเลขจีดีพีสหรัฐฯ ไตรมาส 4/2564 ออกมาดีกว่าคาด - ราคาทองคำในสัปดาห์ก่อนปรับตัวลดลง โดยถูกดดันจากการคาดการณ์ว่าเฟดจะเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่ ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่สูงกว่าคาด ยังช่วยต้านการปรับลงของราคาทองคำ - ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 6 โดยยังมีแรงหนุนจากแนวโน้มอุปทานตึงตัว ขณะที่ OPEC+ จะยังไม่เพิ่มกำลังการผลิตในการประชุมต้นเดือน ก.พ. กอปรกับมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในยูเครน - ปัจจัยติดตามสัปดาห์นี้ ได้แก่ 1) ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยูโรโซน และอังกฤษที่สำคัญหลายตัว 2) ผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป อังกฤษ 3) สถานการณ์ความตึงเรียนระหว่างรัสเซียและสหรัฐฯ/ยุโรปในยูเครน 4) สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดในและต่างประเทศ

    26 min
  7. ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา

    24/01/2022

    ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา

    KResearch: วิเคราะห์ข่าวเช้าเศรษฐกิจ | 24 ม.ค. 2565 ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางความกังวลต่อโอกาสการปรับขึ้นดอกเบี้ยของหลายประเทศในปีนี้...สัปดาห์นี้รอติดตามผลการประชุมเฟด -การคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด หนุนบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ แตะระดับสูงสุดรอบ 2 ปี ก่อนจะย่อตัวลงบางส่วนในวันศุกร์ และปิดที่ระดับ 1.75% บอนด์ยีลด์ที่ขยับขึ้นกดดันสินทรัพย์เสี่ยง กระตุ้นแรงขายในตลาดคริปโตฯ แต่หนุนทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย -หุ้นเอเชียย่อตัวลงตามตลาดสหรัฐฯ ขณะที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีปัจจัยกดดันเพิ่มจากการเร่งขึ้นของผู้ติดเชื้อโควิด ส่วนตลาดหุ้นจีนแม้มีแรงประคองจากการประกาศลดอัตราดอกเบี้ย LPR ของธนาคารกลางจีน แต่ก็มีแรงเทขายช่วงปลายสัปดาห์ในหุ้นกลุ่มเทคโนฯ ตามความกังวลเกี่ยวกับสัญญาณของทางการจีน ส่วนตลาดหุ้นไทยร่วงลงเช่นกัน ขณะที่ช่วงปลายสัปดาห์มีแรงขายนำในหุ้นกลุ่มแบงก์ หลังการรายงานผลประกอบการไตรมาส 4 - ด้านตลาดหุ้นฝั่งยุโรปปรับลดลง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ ขณะที่หุ้นสหรัฐฯ ทั้ง 3 ดัชนีปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีแรงกดดันหนักของหุ้นบางตัว ซึ่งกดดันบรรยากาศของตลาดในภาพรวม ประกอบกับมีแรงขายทำกำไรก่อนการประชุมเฟดสัปดาห์นี้ -ทองคำปรับขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สอง ขณะที่น้ำมันปรับขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน แต่ทั้งทองคำและน้ำมันย่อตัวลงบางส่วนช่วงปลายสัปดาห์ตามแรงขายทำกำไร - จากการที่ตลาดแรงงานและเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ KResearch คาดว่า เฟดจะส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. เพื่อดูแลแรงกดดันเงินเฟ้อ -การส่งออกปี 2564 เติบโต 17.1% เกินเป้าหมายที่ 15-16% ขณะที่

    25 min

About

รับฟังความเคลื่อนไหว เศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน และการลงทุน ที่น่าสนใจ

To listen to explicit episodes, sign in.

Stay up to date with this show

Sign in or sign up to follow shows, save episodes and get the latest updates.

Select a country or region

Africa, Middle East, and India

Asia Pacific

Europe

Latin America and the Caribbean

The United States and Canada