โรงหมอ

Thai PBS Podcast
โรงหมอ

โรงหมอ

  1. โรงหมอ EP. 1068: คุยกับตัวเองบ้าง เผื่อเข้าใจตัวเองมากขึ้น

    2 DAYS AGO

    โรงหมอ EP. 1068: คุยกับตัวเองบ้าง เผื่อเข้าใจตัวเองมากขึ้น

    สิ่งที่เราทำอยู่ทุกวันนี้ ต้องยอมรับว่าเป็นไปตามกระแสสังคมที่มีปัจจัยหลาย ๆ อย่างเป็นตัวกำหนด จนทำให้เราลืมไปว่า แท้จริงแล้วสิ่งที่เป็นกระแสสังคมใช่สิ่งที่เราค้นหา ใช่ตัวตน และใช่สิ่งที่เราต้องทำหรือเปล่า เรามักให้ความสำคัญกับคนอื่นที่อยู่รอบข้างเราเสมอ ทั้งในระดับครอบครัว เพื่อนฝูง บุคคลภายนอกอื่น ๆ ที่อาจเข้ามาเกี่ยวข้อง จนลืมนึกถึงตัวเอง จะมีใครสักกี่คนที่ตื่นเช้าหรือกลับจากการทำงาน แล้วมาที่หน้ากระจก มองสำรวจตัวเองแล้วถามว่า วันนี้เราจะทำอะไรหรือวันนี้เราเป็นอย่างไรบ้าง การคุยกับตัวเองดีอย่างไร แล้วทำไมต้องคุยกับตัวเอง รายการ โรงหมอ

    30 min
  2. โรงหมอ EP. 1067: ตักบาตรอย่างไร ไม่ก่อบาปแถมโรคให้กับพระสงฆ์

    4 DAYS AGO

    โรงหมอ EP. 1067: ตักบาตรอย่างไร ไม่ก่อบาปแถมโรคให้กับพระสงฆ์

    ทำบุญด้วยการตักบาตร เป็นหนึ่งในกิจกรรมบุญที่เป็นนิยมของชาวพุทธที่ยึดถือปฏิบัติมาแสนนาน แต่ตอนนี้การตักบาตรอาจกลายเป็นการสร้างและเพิ่มโรคให้กับพระสงฆ์ จากอาหารที่หวานเกินมันสุดเค็มจัด จากการเก็บข้อมูลพระสงฆ์ที่อาพาธ (ป่วย) เมื่อปี 2566 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดย สสส. พบว่า พระสงฆ์มีภาวะอ้วนลงพุง มากถึง 44% มีไขมันในเลือดสูง 55% ความดันโลหิตสูง 20% น้ำตาลในเลือดสูง 15% สาเหตุเกิดจากพฤติกรรมการฉันหรือรับประทานอาหารที่ได้จากการออกบิณฑบาตรจากญาติโยมทั้งหลาย โดยข้อมูลจากโรงพยาบาลสงฆ์ พบว่า พระสงฆ์ที่เข้ารับการรักษาในปัจจุบันเป็นโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง และส่วนใหญ่ที่มรณภาพ (ตาย) ก็เกิดจากสาเหตุนี้ จะเลือกหรือทำอาหารตักบาตรอย่างไร ใส่แล้วสบายใจ ได้บุญเต็ม ๆ และไม่ส่งต่อก่อโรคให้กับพระสงฆ์ รายการ โรงหมอ

    29 min
  3. โรงหมอ EP. 1066: ทำไมมนุษย์ทุกคนต้องมี IQ EQ และ RQ

    6 DAYS AGO

    โรงหมอ EP. 1066: ทำไมมนุษย์ทุกคนต้องมี IQ EQ และ RQ

    ระดับสติปัญญาของมนุษย์ถูกวัดออกมาเป็นค่า ไอคิว (IQ : Intellingence Quotient) โดยค่าเฉลี่ยในการวัดจะอยู่ที่ 0-180 หากทดสอบแล้วค่าเฉลี่ยเกิน 140 ขึ้นไป จัดได้ว่าอัจฉริยะ แต่หากต่ำกว่า 70 ลงไปนั่นหมายถึงระดับสติปัญญาอ่อน ส่วนคนทั่วไปค่าเฉลี่ยจะอยู่ระดับ 90-110 โดยหนึ่งในปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่ส่งผลต่อความโง่หรือฉลาดของระดับสติปัญญานั่นคือ พันธุกรรม แต่ในมนุษย์หนึ่งคนนอกจากสติปัญญาแล้ว ยังต้องมีเรื่อง #ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ : Emotional quotient) และ ความสามารถทางอารมณ์และจิตใจในการก้าวผ่านเหตุการณ์หรือวิกฤติ (RQ : Resilience Quotient) สิ่งเหล่านี้คืออะไร ทำไมมนุษย์ทุกคนต้องมี รายการ โรงหมอ

    29 min
  4. โรงหมอ EP. 1065: ตั้งแต่เริ่มจนเสร็จกิจ ร่างกายเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

    DEC 20

    โรงหมอ EP. 1065: ตั้งแต่เริ่มจนเสร็จกิจ ร่างกายเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

    ทุกครั้งเมื่อมีกิจกรรมทางเพศที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ ร่างกายของเราไม่เพียงแค่รู้สึกมีความสุขหรือสุขสมกับการทำกิจกรรมเท่านั้น ร่างกายยังมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างด้วย การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายขณะมีกิจกรรมทางเพศของผู้ชายและผู้หญิง มีการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน เช่น ระบบกล้ามเนื้อ การสูบฉีดเลือด อาการที่แสดงออกผ่านผิวหนัง เช่น หน้าแดง ตัวร้อนรุ่ม แต่ก็มีบางส่วนที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางเพศแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะอวัยวะเพศ ร่างกายของเราเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเมื่อมีกิจกรรมทางเพศที่นำไปสู่เพศสัมพันธ์จนถึงจุดสุดยอด รายการ โรงหมอ

    29 min
  5. โรงหมอ EP. 1064: มะเร็งต่อมไทรอยด์ โรคร้าย รักษาหาย แต่อาจต้องกินยาตลอดชีวิต

    DEC 18

    โรงหมอ EP. 1064: มะเร็งต่อมไทรอยด์ โรคร้าย รักษาหาย แต่อาจต้องกินยาตลอดชีวิต

    ไทรอดย์ (Thyroid) เป็นต่อไร้ท่อสร้างฮอร์โมนที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย รูปร่างคล้ายปีผีเสื้อ อยู่บริเวณลำคอทั้ง 2 ข้าง สำหรับบางคนต่อมนี้สร้างปัญหาให้กับร่างกาย ทั้งเป็นพิษหรือแม้แต่เป็นมะเร็ง ต่อมไทรอยด์ ทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย โดยมีสารตั้งต้นสำคัญ คือ ไอโอดีน แต่ต่อมนี้ก็เกิดความผิดปกติได้ทั้งการเป็น ไฮเปอร์ไทรอยด์ (ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ) กินจุแต่ผอม เหนื่อยง่าย ใจสั่น ไฮโปไทรอยด์ (ภาวะไทรอยด์ต่ำ) ขี้หนาว น้ำหนักขึ้น ท้องผูก และสิ่งที่ต้องระวังที่สุดคือ มะเร็งไทรอยด์ โรคที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดและอาจกินยาตลอดชีวิต ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น โรคและอาการเหล่านี้ใครเสี่ยงเป็นบ้าง รายการ โรงหมอ

    30 min
  6. โรงหมอ EP. 1063: วัณโรค เกิดได้ทั้งร่างกายไม่ใช่เฉพาะที่ปอด แต่เป็นได้ก็หายได้

    DEC 16

    โรงหมอ EP. 1063: วัณโรค เกิดได้ทั้งร่างกายไม่ใช่เฉพาะที่ปอด แต่เป็นได้ก็หายได้

    สิ่งที่เราเข้าใจมาตลอดเกี่ยวกับ วัณโรค คือ โรคนี้เป็นเฉพาะที่ปอดเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วโรคนี้เป็นได้กับทุกส่วนของร่างกาย ตั้งแต่หัวจรดเท้า ส่วนอื่นของร่างกายที่แพทย์ตรวจพบเจอได้ เช่น วัณโรคต่อมน้ำเหลือง วัณโรคกระดูก วัณโรคลำไส้ ฯลฯ โดยปอดเป็นตำแหน่งที่เชื้อแบคทีเรียก่อวัณโรค คือ มัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis) มักเข้าไปเกาะอาศัยและแพร่เชื้อ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทวัณโรคแฝง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่แสดงอาการ มักจะเจอโดยบังเอิญจากแพทย์ที่ทำการรักษาโรคอื่น ๆ และ ประเภทวัณโรคแสดงอาการ ความเสี่ยงและอาการอะไรบ้างที่บ่งบอกว่าอาจเป็นวัณโรค โรคนี้เป็นแล้วหายได้แต่หายขาดหรือไม่ ต้องปฏิบัติอย่างไร โรคนี้อันตรายขนาดไหน รายการ โรงหมอ

    29 min
  7. โรงหมอ EP. 1062: โรคหลงตัวเอง (NPD)

    DEC 13

    โรงหมอ EP. 1062: โรคหลงตัวเอง (NPD)

    เชื่อว่าทุกคนคงเคยเจอคนที่ทำตัวเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ต้องเป็นที่หนึ่งในทุกเรื่อง แพ้ไม่ได้ ชอบเรียกร้องความสนใจ ต้องทำตามความคิดของเขาเท่านั้นจะมาแปลกแวกแนวไม่ได้ เพราะความคิดของเขาดีที่สุด ไม่ได้ต้องได้ ไม่มีคำว่าไม่ได้ แต่เมื่อเจอข้อผิดพลาด จะสร้างเรื่องเพื่อปัดความผิดไปให้คนอื่น ตัวเองไม่ได้ก่อและต้องเป็นฝ่ายถูกเสมอ ผิดพลาดไม่ได้ ฯลฯ ลองสังเกตตัวเองหรือคนรอบข้างว่าเป็นแบบนี้หรือเปล่า หากใช่เขาอาจเป็น โรคหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder (NPD)) หนึ่งในโรคทางจิตเวช ระหว่าง #หลงตัวเอง กับ โรคหลงตัวเอง ต่างกันอย่างไร พฤติกรรมอะไรเด่นชัด และแก้ไขอย่างไร รายการ โรงหมอ

    30 min
  8. โรงหมอ EP. 1061: ค่าน้ำตาลยิ่งสูง แซลล์ยิ่งขาดออกซิเจน

    DEC 11

    โรงหมอ EP. 1061: ค่าน้ำตาลยิ่งสูง แซลล์ยิ่งขาดออกซิเจน

    จริง ๆ แล้ว น้ำตาล เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายในการนำไปใช้เป็นพลังงาน แต่เมื่อใดก็ตามที่บริโภคจนเกินความต้องการก็กลายเป็นผลเสียได้ เราสามารถไม่บริโภคน้ำตาลแบบตรง ๆ อย่างน้ำตาลทรายได้ เพราะอาหารจำพวกแป้ง สามารถย่อยและแปรเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในร่างกาย แต่การมีน้ำตาลในร่างกายจำนวนมากไม่เพียงแค่ทำให้เป็นโรคเบาหวาน หรือเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดและหัวใจ เท่านั้น ยังเสี่ยงต่อระดับออกซิเจนของเซลล์ในร่างกายที่อาจอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติหรือขาด ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของร่ายกาย ทำไมน้ำตาลมีผลกับเซลล์ ออกซิเจน และเม็ดเลือดแดง รายการ โรงหมอ

    30 min

Ratings & Reviews

4.5
out of 5
2 Ratings

About

โรงหมอ

You Might Also Like

To listen to explicit episodes, sign in.

Stay up to date with this show

Sign in or sign up to follow shows, save episodes, and get the latest updates.

Select a country or region

Africa, Middle East, and India

Asia Pacific

Europe

Latin America and the Caribbean

The United States and Canada