6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก

6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก

ในพระไตรปิฏกมีอะไร ทำความเข้าใจไปทีละข้อ, เปิดไปทีละหน้า, ให้จบไปทีละเล่ม, พบกับพระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณโณ และ คุณเตือนใจ สินธุวณิก, ล้อมวงกันมาฟัง มั่วสุมกันมาศึกษา จะพบขุมทรัพย์ทางปัญญา ในช่วง "ขุดเพชรในพระไตรปิฏก". New Episode ทุกวันเสาร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  1. 4 DAYS AGO

    ผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและผู้อื่น [6807-6t]

    ความเดิมได้กล่าวถึงคุณธรรมที่น่าอัศจรรย์ของอุคคคฤหบดี ชาวกรุงเวสาลี, อุคคตคฤหบดี ชาวหัตถีคาม และ ตถกอุบาสก ชาวเมืองอาฬวี ซึ่งอุบาสกทั้ง 3 ท่านเป็นอริยบุคคล และถึงความเป็นเอตทัคคะ (ผู้เลิศ) ในด้านต่าง ๆ ข้อที่ #24_ทุติยหัตถกสูตร กล่าวถึงการสงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ 4 ประการ ของท่านหัตถกอุบาสก และคุณธรรมที่น่าอัศจรรย์ของท่านหัตถกอุบาสกอีก 8 ประการ คือ เป็นผู้มีศรัทธา มีศีล มีหิริ-โอตตัปปะ เป็นพหูสูต มีจาคะ มีปัญญา และเป็นผู้มีความมักน้อย ข้อที่ #25_มหานามสูตร และ #26_ชีวกสูตร ทั้ง 2 พระสูตรนี้ กล่าวถึงคำถามของท่านมหานามะและหมอชีวกโกมารภัจ ที่ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าเกี่ยวกับคุณธรรมของอุบาสก โดยมีเนื้อหาที่เหมือนกันดังนี้ บุคคลชื่อว่าอุบาสก ด้วยเหตุเพียงเท่าไร => เป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ (ที่พึ่ง ที่ระลึกถึง)อุบาสกชื่อว่าผู้มีศีล ด้วยเหตุเพียงเท่าไร => ผู้มีศีล 5อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร => ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา (1) ศีล (2) จาคะ (3) เป็นผู้ประสงค์จะเห็นภิกษุ (4) ประสงค์จะฟังสัทธรรม (5) จำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ (6) เป็นผู้พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ฟังแล้ว (7) เป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (8) แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ฯลฯอุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร => ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ฯลฯ และ ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ฯลฯ ข้อที่ #27_ปฐมพลสูตร ว่าด้วยกำลัง กล่าวถึงกำลังของบุคคลต่าง ๆ ดังนี้ เด็กมีการร้องไห้เป็นกำลังมาตุคามมีความโกรธเป็นกำลังโจรมีอาวุธเป็นกำลังพระราชามีอิสริยยศเป็นกำลังคนพาลมีการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลังบัณฑิตมีการไม่เพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลังคนผู้เป็นพหูสูตมีการพิจารณาเป็นกำลังสมณพราหมณ์มีขันติ (อธิวาสนขันติ คือยังมีอารมณ์โกรธอยู่ แต่อดกลั้นไว้ได้ ไม่แสดงสิ่งที่เป็นอกุศลทางกาย วาจา ใจ ออกไป) เป็นกำลัง *กำลังในที่นี้หมายถึง สิ่งที่เมื่อเราใช้มันแล้วจะเป็นประโยชน์แก่ตัวเรา **ประเด็นคือ เราจะพัฒนาเอาสิ่งไหนมาเป็นกำลังของเรา เป็นกำลังที่จะนำพาไปสู่ความเป็นอริยะได้ พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต คหปติวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    55 min
  2. FEB 7

    ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข [6806-6t]

    “สมาธิ” คือเครื่องอยู่ที่จะทำให้เกิด “ความผาสุก” เป็นความสุขอีกประเภทที่เหนือกว่าสุขเวทนาและทุกขเวทนา ผาสุวิหารสูตร #ข้อ 94 ธรรมที่เป็นเครื่องอยู่ให้เกิดความผาสุก คือ สมาธิในขั้นที่ 1-4 (รูปฌาน) เป็นความพ้นจากกิเลสที่อาจจะยังกลับกำเริบได้ อุปไมยเหมือนหินทับหญ้า แต่ถ้าประกอบด้วยเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ คือไม่เร่าร้อนไปตามอำนาจกิเลส เป็นความสิ้นไปแห่งอาสวะนั่นเอง อกุปปสูตร #ข้อ 95 ผู้มีธรรมไม่กลับกำเริบ คือ ปฏิสัมภิทา 4 ปัญญาแตกฉานในอรรถ (เข้าใจความหมายได้หลายนัยยะ) ธัมมนิรุตติ (เข้าใจภาษาได้ลึกซึ้ง) ปฏิภาณ (ไหวพริบถาม-ตอบปัญหา) และการพิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้วในแต่ละขั้น ฝึกสังเกตเห็นการเกิด-ดับ เสริมปัญญาให้ถึงธรรมะที่ไม่กลับกำเริบได้ #ข้อ 96-98 ธรรม 5ประการนี้ เมื่อทำอานาปานสติก็จะบรรลุธรรมได้ไม่นานนัก มีไส้ในที่เหมือนกันอยู่ 4 ประการ คือมีธุระน้อย ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง นอนน้อย พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว ส่วนที่แตกต่างใน สุตธรสูตร #ข้อ 96 คือ เป็นพหูสูต ฟังธรรมมาก ส่วนใน กถาสูตร #ข้อ 97 คือ กถาวัตถุ 10 ทำให้จิตเปิดโล่ง มาคิดในทางที่จะทำให้เกิดการบรรลุธรรม และ อารัญญกสูตร #ข้อ 98 คือ อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท สีหสูตร #ข้อ 99 การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าที่เปรียบเทียบไว้ว่าเหมือน “ราชสีห์ บรรลือสีหนาท” คือ เป็นผู้หนักในธรรม เมื่อจะแสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และปุถุชน ก็จะแสดงโดยเคารพในธรรม พระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 14 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต กกุธวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    57 min
  3. JAN 31

    ธรรมที่น่าอัศจรรย์ของอุคคคหบดี [6805-6t]

    การสวดปาติโมกข์ หรือเรียกกันว่า “สงฆ์ทำอุโบสถ” เป็นการที่ภิกษุสงฆ์จะนำเอาพระวินัย 227 ข้อมาสวดทบทวนกันในทุกกึ่งเดือน ซึ่งในช่วง 20 พรรษาแรก ๆ หลังจากประกาศพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ด้วยพระองค์เอง และต่อมาในภายหลังมีเหตุให้พระองค์ทรงบัญญัติให้มีภิกขุปาฏิโมกข์  โดยพระสูตรข้อที่ #20_อุโปสถสูตร_ว่าด้วยเหตุที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงปาติโมกข์ เป็นการแสดงโอวาทปาติโมกข์ครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้าที่วัดบุพพาราม ครั้งนั้นท่านพระอานนท์ได้กราบทูลให้พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์ แต่พระองฺค์ไม่ทรงแสดงจนเวลาล่วงปัจฉิมยาม เหตุเพราะมีภิกษุผู้ทุศีลเข้าร่วมประชุม ดังนั้นเมื่อท่านพระโมคคัลลานะพอทราบจึงตรวจดูด้วยจิต แล้วจึงบังคับให้พระทุศีลรูปนั้นออกจากที่ประชุมไป หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงบัญญัติให้พระสงฆ์แสดงปาฏิโมกข์กันเอง โดยพระองค์ไม่ทรงเข้าร่วมอีกต่อไป และได้ทรงแสดงธรรมถึงสิ่งน่าอัศจรรย์ของมหาสมุทร 8 ประการ ซึ่งมีนัยยะหลักข้อธรรมเดียวกันกับ #ปหาราทสูตร ที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ พระสูตรข้อที่ 21-23 อยู่ในหมวดคหปติวรรค เป็นเรื่องราวธรรมที่น่าอัศจรรย์ของอุคคคหบดี และ หัตถกอุบาสก โดยในข้อที่ #21_ปฐมอุคคสูตร กล่าวถึง อุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลี (อุบาสกผู้เลิศในด้านผู้ให้ของเจริญใจ) และในข้อที่ #22_ทุติยอุคคสูตร กล่าวถึง อุคคคหบดี ชาวบ้านหัตถิคาม (อุบาสกผู้เลิศในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุสงฆ์) ซึ่งมีหลักธรรม 8 ประการที่มีความหมายเดียวแตกต่างกันในบทพยัญชนะเล็กน้อย ซึ่งเป็นเรื่องราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์คุณของคฤหบดีทั้ง 2 ท่านในหมู่ภิกษุสงฆ์ เป็นเหตุให้ภิกษุและคฤหบดีได้มีการสอบถามพูดคุยกันถึงคุณธรรมนั้นๆ ได้แก่ 1.    มีศรัทธาในพระพุทธเจ้า 2.    เมื่อได้ฟังอนุปุพพีกถา และ สามุกกังสิกเทศนาแล้วบรรลุเป็นโสดาบัน  3.    ถือพรหมจรรย์ 4.    จำแนกแจกจ่ายโภคทรัพย์กับผู้มีศีล 5.    เข้าไปนั่งใกล้โดยเคารพ 6.    ฟังธรรมโดยเคารพ / วางจิตสม่ำเสมอถวายทานแก่สงฆ์ (ไม่เจาะจง) 7.    เห็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว  8.    ละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการได้แล้ว (อนาคามี) และในข้อที่ #23_ปฐมหัตถกสูตร กล่าวถึงหัตถกอุบาสก โดยพระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์คุณธรรมของอุบาสกผู้นี้ไว้ 7 ประการ (เป็นผู้มีศรัทธา / มีศีล / มีหิริ / มีโอตตัปปะ / เป็นพหูสูต / มีจาคะ /มีปัญญา) เป็นเหตุให้มีการสอบถามถึงคุณธรรมในข้อที่ 8 ที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ต่อมาในภายหลังคือ “ความเป็นผู้มักน้อย” เพราะเหตุที่หัตถกอุบาสกไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้คุณวิเศษที่มีในตนนั่นเอง พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต คหปติวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    56 min
  4. JAN 29

    เมตตาคือคำตอบ Live [6804-6t]

    Live!! ถ่ายทอดสดช่วงสอบถามคำถาม-แบ่งปัน-แชร์ประสบการณ์เรื่องราวธรรมะ ในงานพบปะผู้ฟังประจำปี 2568 “ขุมทรัพย์แห่งใจ” วันที่ 25-27 มกราคม 2568 จากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย Q: บทสวด “นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ” มีความหมายอย่างไร? A: เป็นบทสวดที่ไม่ใช่พุทธพจน์แต่เป็นบทสวดของสงฆ์สาวกที่ใช้สวดทำความนอบน้อมระลึกถึงคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยมีความหมายว่า “ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง” และการกล่าวถึง 3 ครั้งนั้น เป็นการย้ำเพื่อให้เกิดความมั่นใจ Q: การอยู่คนเดียวหรือการอยู่แบบมีคู่ครองแบบไหนดีกว่ากัน ช่วงบั้นปลายอยู่อย่างไร?  A: จากคติของพระโพธิสัตว์ที่ได้เห็นหญิงสาวที่สวมใส่กำไล 2 อันแล้วมีการกระทบกันของกำไลเกิดขึ้น และนายช่างกำลังดัดลูกศรที่ใช้ตาข้างเดียวมองจะมองได้แม่นยำกว่าตา 2 ข้าง ก็เลยเป็นคติที่ว่า “การอยู่คนเดียวดีกว่า” และการมีกัลยาณมิตรเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งสำคัญคือ “ธรรมที่เราจำเป็นจะต้องรู้ คือ สติ สมาธิและปัญญา” ที่เมื่อความเจ็บความแก่มาเยือนแล้วเราจะเป็นผู้ที่อยู่อย่างผาสุกได้ Q: สมถะและวิปัสสนาพิจารณาดูอย่างไรจึงจะเกิดขึ้น? A: สมถะและวิปัสสนาเป็นทางที่จะทำให้จิตเกิดวิชชาและวิมุตติได้ สมถะคือจิตเป็นอารมณ์อันเดียว (จิตนิ่ง) และวิปัสสนาคือการตริตรึกใคร่ครวญเห็นธรรมที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง (โยนิโสมนสิเป็นการคิดตามระบบ) เราจะทำให้จิตตั้งไว้ในสมถะและวิปัสสนาได้นั้น “จิตเราจะต้องนิ่งและเคลื่อน (เห็นธรรมตามจริง) ไปพร้อมกัน” เครื่องมือที่จะทำให้เกิดสมาธิ คือสติและการโยนิโสมนสิการ Q: การจุดธูปกรวดน้ำจำเป็นจะต้องทำที่วัดได้อย่างเดียวหรือทำที่บ้านได้? A: การกรวดน้ำเป็นพิธีกรรมที่แสดงถึงการรับรองหรือการยืนยัน ซึ่งการกรวดน้ำนั้นจุดประสงค์ก็เพื่ออุทิศส่วนกุศล (ความดี) ประเด็นคือ เราต้องทำความดีก่อนและความดีนั้นก็เกิดขึ้นที่จิต เราใช้จิตทำ (อุทิศ) จะทำที่ใดหรือเวลาใดก็ได้ การกระทำทางวาจาและกายเป็นสิ่งที่ย้ำลงไปเป็นการกระทำที่รองลงมา (ใจ วาจา กาย) จะมีหรือไม่มีก็ได้แต่ที่สำคัญคือ จิตใจต้องน้อมลงไปในการอุทิศบุญนั้น Q: การขอขมาคนตายในงานศพ คนที่ตายไปแล้วจะรับรู้และยกโทษให้ไหม? A: ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วอาศัยความดีที่ตนได้กระทำมาเป็นทางไปสู่ภพภูมิที่ดี พิธีงานศพจึงจัดขึ้นเพื่อให้คนเป็นได้สบายใจและได้อุทิศบุญกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว การที่เราได้ขอขมากับบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่หรือล่วงลับไปแล้วนั้นทำให้เกิดความสบายใจ เป็นบุญที่เกิดจากจิตที่ไม่คิดผูกเวร ส่วนเขาจะยกโทษให้หรือไม่นั้นเป็นจิต (ปัญหา) ของเขาไม่ใช่ของเรา ที่สำคัญให้จิตของเราเป็นบุญเป็นกุศล Q: พระธาตุเขี้ยวแก้วที่จัดให้มีการสักการะขึ้น ทำไมถึงไม่มีของพระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ? A: ในแต่ละสมัยของพระพุทธเจ้าจะมีแต่พระธาตุที่เป็นของพระพุทธเจ้าองค์นั้น ๆ เท่านั้น ถ้าการรักษาคำสอนของพระพุทธเจ้ายังมีอยู่ พระธาตุก็ยังมีปรากฏอยู่ จนกระทั่งคำสอนของพระพุทธเจ้าหมดไป พระธาตุของพระพุทธเจ้าก็หายสลายตามไปด้วย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    58 min
  5. JAN 17

    คุณสมบัติของฑูต [6803-6t]

    ผู้ที่จะมาทำหน้าที่เป็นฑูตได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ในข้อที่ #16_ทูเตยยสูตรกล่าวถึงคุณสมบัติของทูตไว้ 8 ประการ คือ  รู้จักฟังสามารถพูดให้ผู้อื่นฟังได้ใฝ่ศึกษา ( ทบทวนเนื้อหานั้นได้ดี )ทรงจำได้ดี เป็นผู้รู้ได้เข้าใจชัด ( คือรู้ความหมายของสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ )สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ( รู้วิธีการขั้นตอนติดต่อเจรจา )ไม่ก่อความทะเลาะวิวาท พระสูตรที่ว่าด้วย อาการที่เป็นเครื่องผูกใจ มาด้วยกัน 2 พระสูตร โดยพระสูตรที่ 1 อยู่ในข้อที่ #17_ปฐมพันธนสูตรอาการของสตรีที่ย่อมผูกใจบุรุษ และพระสูตรที่ 2 ในข้อที่ #18_ทุติยพันธนสูตร บุรุษย่อมผูกใจสตรีด้วยอาการ 8 ประการซึ่งมีข้อธรรมที่เหมือนกันดังนี้ 1.    สตรี-บุรุษย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยรูป 2.    ..ย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยรอยยิ้ม 3.    ..ย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยวาจา 4.    ..ย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยมารยาท ( การแต่งกายตามกาลเทศะ ) 5.    ..ย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยดอกไม้หรือผลไม้ที่หักมาจากป่า 6.    ..ย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยกลิ่น 7.    ..ย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยรส 8.    ..ย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยผัสสะ ข้อที่ #19_ปหาราทสูตร เป็นเรื่องราวของท้าวปหาราทะจอมอสูรไปเขาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อสอบถามธรรม แต่ด้วยความเคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิอาจถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้อุปนิสัยจึงได้ตรัสถามปัญหาก่อน แล้วท้าวปหาราทะจอมอสูรจึงได้ทูลถามคำถามกลับที่หลัง เป็นลักษณะการอุปมาอุปไมยระหว่างสิ่งที่เป็นที่น่าอัศจรรย์ยินดีของเหล่าอสูรในมหาสมุทร อุปไมยกับธรรมที่น่าอัศจรรย์ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดี โดยมีลักษณะอุปมาอุปไมยดังนี้ มหาสมุทรต่ำ-ลาด-ลึกลงไปโดยลำดับ => ธรรมวินัยนี้มีการศึกษา-มีการบำเพ็ญ-มีการปฏิบัติไปตามลำดับไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันทีมหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง =>สาวกทั้งหลายย่อมไม่ละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้มหาสมุทรไม่อยู่ร่วมกับซากศพ => บุคคลใดมีธรรมเลวทรามเป็นเหมือนหยากเยื่อ สงฆ์ก็ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้นแม่น้ำทุกสายไหลรวมสู่มหาสมุทรเดียวกัน => จะอยู่วรรณะไหนเมื่อออกบวชมาสู่ธรรมวินัยนี้แล้วมีชื่อรวมเรียกว่า ‘สมณศากยบุตร’ ทั้งสิ้นแม่น้ำหรือสายฝนก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้ => การปรินิพพาน ( ดับขันธ์ ) ของภิกษุไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม => ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือ วิมุตติรสมหาสมุทรมีรัตนะมาก => สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ => อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกายอัฏฐกนิบาต มหาวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    1 hr
  6. JAN 10

    ม้าอาชาไนย ม้าแกลบ [6802-6t]

    เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ เด็กในวันนี้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า ความเป็นพหูสูตจึงสำคัญต่อเด็กอย่างมาก หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่เองก็ควรที่จะให้ความสนใจในการศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติมอยู่เสมอ ตอบคำถามของท่านผู้ฟังจากตอน “สมณะแกลบ” ที่ออกอากาศไป โดยกล่าวถึงการนับข้อธรรมใน “การัณฑวสูตร” ให้ได้ครบ 8 ข้อนั้น ให้ลองสังเกตจากการอ่านทบทวนหรือศึกษาเพิ่มเติมอาจจะเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เห็น และอีกหนึ่งคำถามที่ถามว่า “เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราโดนลาภสักการะเล่นงานเข้าแล้ว” ให้เราหมั่นเตือนตนด้วยตนและการมีกัลยาณมิตรที่ดีจะคอยช่วยเตือนกันและกัน เรื่องราวใน 2 พระสูตรแรก เป็นการนำเอาม้าอาชาไนยและม้าแกลบมาเปรียบเทียบกับบุคคลผู้เป็นอาชาไนยหรือบุคคลกระจอก โดยใน ข้อที่#13_อัสสาชานิยสูตรว่าด้วยม้าอาชาไนย มีใจความอุปมาอุปไมยดังนี้ 1.    เป็นสัตว์มีกำเนิดดีทั้งฝ่ายแม่ม้าและพ่อม้า อุปไมยกับ => บุคคลผู้มีศีลดี 2.    กินหญ้าที่เขาให้อย่างเรียบร้อยไม่เรี่ยราด => ฉันโภชนะที่เขาถวายโดยเคารพไม่รังเกียจ 3.    รังเกียจที่จะนอนทับอุจจาระหรือปัสสาวะ => รังเกียจกาย วาจา ใจทุจริต ตลอดถึงรังเกียจบาปอกุศลธรรมต่าง ๆ 4.    เป็นสัตว์สงบเสงี่ยม อยู่ร่วมกันเป็นสุข => เป็นผู้สงบเสงี่ยม อยู่ร่วมกันเป็นสุข 5.    เปิดเผยความโอ้อวด ความพยศคดโกงแก่นายสารถี => เปิดเผยความไม่ดีของตนแก่พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีตามความเป็นจริง 6.    นายสารถีปราบความโอ้อวด ความพยศของมันได้ => พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีพยายามช่วยกันกำจัดความโอ้อวดความคดโกงเหล่านั้นของเธอได้ 7.    เป็นสัตว์ลากภาระไปได้ => เป็นผู้ศึกษา คือ ใฝ่ใจจะศึกษา 8.    เป็นสัตว์มีกำลัง => เป็นผู้ปรารภความเพียร (ด้วยองค์ 4 คือ หนัง เอ็น กระดูก เนื้อ และเลือด)   ข้อที่ #14_อัสสขฬุงกสูตร ว่าด้วยม้ากระจอกและคนกระจอก มีใจความอุปมาอุปไมยดังนี้ 1.    ถูกนายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ แต่กลับถอยหลัง ดันรถให้กลับหลัง => อำพรางอาบัติไว้ เพราะระลึกไม่ได้ 2.    ..แต่กลับหกหลัง ดัดทูบให้หัก => ถูกโจทก์ด้วยอาบัติแต่โต้ตอบภิกษุผู้เป็นโจทก์ว่าไม่มีคุณสมบัติที่จะมากล่าวโจทก์ 3.    ..ยกขาขึ้นตะกุยงอนรถ ถีบงอนรถ => โจทก์กลับด้วยอาบัติเดียวกัน 4.    ..เดินผิดทาง ทำให้รถไปผิดทาง => พูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง 5.    ..เชิดกายส่วนหน้า เผ่นขึ้นไป => แสดงอาการไม่เคารพในหมู่สงฆ์ 6.    ..ไม่คำนึงถึงประตัก กัดบังเหียน หลีกไปตามความประสงค์ =>ไม่เอื้อเฟื้อสงฆ์ ทั้งที่มีอาบัติติดตัวอยู่กลับหลีกหนีไป 7.    ..ไม่ก้าวไป ไม่ถอยหลัง ยืนทื่ออยู่เหมือนเสาเขื่อน => กล่าวว่าตนไม่อาบัติแล้วใช้ความนิ่งทำให้สงฆ์ลำบาก 8.    ..ลงหมอบทับเท้าทั้ง 4 อยู่ที่ตรงนั้น => ไม่ยอมรับการกล่าวโจทก์แล้วบอกคืนสิกขา   ข้อที่ #15_มลสูตร ว่าด้วยมลทิน (ความมัวหมอง) “มนตร์ มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน  เรือน มีความไม่ขยันหมั่นเพียรเป็นมลทิน  ผิวพรรณ มีความเกียจคร้านเป็นมลทิน  ผู้รักษา มีความประมาทเป็นมลทิน  สตรี มีความประพฤติชั่วเป็นมลทิน  ผู้ให้ มีความตระหนี่เป็นมลทิน  บาปธรรม เป็นมลทินทั้งในโลกนี้และโลกหน้า  มลทินที่ยิ่งกว่ามลทินนั้นคือ..อวิชชา” พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย มหาวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    55 min
  7. JAN 3

    พระพุทธเจ้าทรงแก้ข้อสงสัยของเวรัญชพราหมณ์ [6801-6t]

    เรื่องราวทั้ง 2 พระสูตรนี้ เป็นรื่องราวที่พระพุทธเจ้าทรงได้กล่าวแก้ถ้อยคำที่ถูกกล่าวหาจากพวกอัญเดียรถีย์ โดยได้ทรงแสดงไว้ กับเวรัญชพราหมณ์ใน เวรัญชสูตร และสีหเสนาบดีใน สีหสูตร ซึ่งมีเนื้อหาถึง 8 ประการด้วยกัน โดยในข้อที่ #11_เวรัญชสูตร เวรัญชพราหมณ์ได้เข้ามากราบทูลถามถึงข้อสงสัยในแต่ละประเด็นและพระองค์ก็ได้ทรงตรัสแก้ข้อสงสัยเหล่านั้นแก่เวรัญชพราหมณ์ โดยมีประเด็นที่กล่าวถึงดังนี้ 1.    พระพุทธเจ้าเป็นคนไม่มีรส (สัมมาคารวะ) ทรงตรัสแก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราละรสคือรูป เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะได้หมดสิ้น” 2.    ไม่มีสมบัติ ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะตถาคตละสมบัติคือรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะได้หมดสิ้น” 3.    สอนไม่ให้ทำ ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราสอนไม่ให้ทำกาย-วาจา-ใจทุจริต และไม่ให้ทำบาปอกุศลธรรมต่างๆ” 4.    สอนให้ทำลาย ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราสอนให้ทำลายราคะ โทสะ โมหะ และบาปอกุศลธรรมต่างๆ” 5.    ช่างรังเกียจ ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราช่างรังเกียจกาย-วาจา-ใจทุจริต และรังเกียจบาปอกุศลธรรมต่างๆ” 6.    ช่างกำจัด ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ และบาปอกุศลธรรมต่างๆ” 7.    ช่างเผาผลาญ ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเรากล่าวถึงบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ กาย-วาจา-ใจทุจริตว่าเป็นสิ่งที่ควรเผาผลาญ” 8.    เป็นคนไม่ผุดไม่เกิด ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราเรียกคนที่ละการอยู่ในครรภ์ และการเกิดใหม่ได้หมดสิ้นว่า เป็นคนไม่ผุดไม่เกิด” ข้อที่ #12_สีหสูตร สีหเสนาบดีได้ยินคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จากพวกเจ้าลิจฉวีจึงปราถนาจะไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และเพราะตนเป็นสาวกของพวกนิครนถ์ จึงถูกนิครนถ์ นาฏบุตรห้ามไว้ถึง 2 ครั้ง และในครั้งที่ 3 ก็ไปเข้าเฝ้าได้สำเร็จ จึงได้สอบถามถึงข้อสงสัยที่ว่า “ พระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำ มีข้อเท็จจริงอย่างไร ? ”แล้วพระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงแสดงธรรมตรัสแก้ข้อกล่าวหาที่มีนัยยะใกล้เคียงกับเวรัญชสูตรแต่แตกต่างกันอยู่ 2 ประการ แล้วหลังจากที่สีหเสนาบดีได้ฟังธรรมแล้วก็ได้ประกาศตนเป็นอุบาสกแต่ด้วยตนเป็นบุคคลมีชื่อเสียงพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงให้สีหเสนาบดีคิดทบทวนให้ดีเสียก่อน แต่ด้วยความปลื้มปิติที่มีจึงได้ประกาศตนถึง 3 ครั้งด้วยกัน และพระองค์ก็ได้ทรงแสดงอนุปุพพีกถาและสามุกกังสิกเทศนา(อริยสัจ 4)แก่สีหเสนาบดีจนได้บรรลุเป็นโสดาบัน พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต มหาวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    54 min
  8. 12/27/2024

    ส่งท้ายปี 67- นำธรรมมาทบทวน [6752-6t]

    ทบทวนหมวดธรรม 7 ประการ (สัตตกนิบาต) ในปี 2567 #15_อุทกูปมาสูตร อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบคนตกน้ำกับบุคคล 7 จำพวก โดยไล่ตามลำดับตั้งแต่ปุถุชนไปจนถึงอริยบุคคลประเภทต่างๆ #16_อนิจจานุปัสสีสูตร กล่าวถึงอนาคามี 7 ประเภท #วัชชิสัตตกวรรค เป็นเรื่องราวของชาวเมืองวัชชี (พวกเจ้าลิจฉวี) ในกรุงเวสาลี และพระเจ้าอชาตศัตรูกับวัสสการพราหมณ์ในแคว้นมคธ โดยได้กล่าวถึงหลักธรรมที่ชาวเมืองวัชชีถือปฏิบัติกันมาได้แก่ อปริหานิยธรรม คือธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความเจริญโดยส่วนเดียว โดยได้แสดงไว้หลายนัยยะด้วยกัน #30_วิปัตติสูตร_#31_ปราภวสูตร ว่าด้วยวิบัติและสมบัติของอุบาสก ความวิบัติหรือสมบัตินี้หมายถึงความเสื่อมหรือความเจริญของคุณธรรมนั่นเอง #36_#37_ปฐม_ทุติยมิตตสูตร ว่าด้วยองค์แห่งมิตร-เพื่อนที่ควรเสพคบหามี 7 ประการ #40_#41_ปฐม_ทุติยวสสูตร ธรรมที่เป็นเหตุให้มีอำนาจเหนือจิต ไม่ให้จิตไปตามอำนาจของผัสสะที่มากระทบ การฝึกจิตให้มีกำลังด้วยการทำสมาธิให้มีความชำนาญในขั้นต่างๆ #44_สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตร ว่าด้วยวิญญาณฐิติ 7 ประการ (ฐานที่ตั้งแห่งวิญญาณ) และ #45_สมาธิปริกขารสูตร ว่าด้วยบริขารแห่งสมาธิ (มรรค 7 ประการแรก) เมื่อสมาธิมีกำลังจะสามารถแยกจิตออกจากรูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณได้ #46_#47_ปฐม_ทุติยอัคคิสูตร ไฟ และ การบูชายัญ #48_#49_ปฐม_ทุติยสัญญาสูตร สัญญา 7 ประการที่ทำให้จิตหลุดพ้นได้ #50_เมถุนสูตร ว่าด้วยเมถุนสังโยค ปรารภเพศตรงข้าม / #52_ทานมหัปผลสูตร ทานที่ให้ผลมาก #53_นันทมาตาสูตร / #57_สีหเสนาปติสูตร / #61_ปลายมานสูตร ว่าด้วยอุบายแก้ความง่วง  #63_ภริยาสูตร ภรรยา 7 จำพวก / #64_โกธนสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้มักโกรธ / #66_ สัตตสุริยสูตร ว่าด้วยดวงอาทิตย์ 7 ดวง / #67_นคโรปมสูตร ว่าด้วยธรรมเปรียบด้วยเครื่องป้องกันนคร / #71_ภาวนาสูตร ว่าด้วยภาวนา / #72_อัคคิกขันโธปมสูตร ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยกองไฟ พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต   Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    59 min

About

ในพระไตรปิฏกมีอะไร ทำความเข้าใจไปทีละข้อ, เปิดไปทีละหน้า, ให้จบไปทีละเล่ม, พบกับพระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณโณ และ คุณเตือนใจ สินธุวณิก, ล้อมวงกันมาฟัง มั่วสุมกันมาศึกษา จะพบขุมทรัพย์ทางปัญญา ในช่วง "ขุดเพชรในพระไตรปิฏก". New Episode ทุกวันเสาร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

More From Panya Bhavana Foundation

You Might Also Like

To listen to explicit episodes, sign in.

Stay up to date with this show

Sign in or sign up to follow shows, save episodes, and get the latest updates.

Select a country or region

Africa, Middle East, and India

Asia Pacific

Europe

Latin America and the Caribbean

The United States and Canada