Fatoutkey

Fatoutkey
Fatoutkey

พี่ปุ๋มมีความหลงไหลอย่างลึกซึ้งในการศึกษา ในเรื่องของสุขภาพ การลดน้ำหนัก และ การย้อนวัย พี่ปุ๋มจึงอยากแบ่งปันความรู้ที่พี่ปุ๋มอ่านจากงานวิจัย หนังสือ และ สื่อต่างๆ นำมาเขียนเป็นบทความและไฟล์เสียงให้น้องๆฟัง ติดตามตอนต่อไปนะคะ

  1. ข้อบกพร่องงานวิจัย Keto trial (Lean Mass Hyper Responder trial) (Live87)

    12/01/2024

    ข้อบกพร่องงานวิจัย Keto trial (Lean Mass Hyper Responder trial) (Live87)

    ไลฟ์ #87: ข้อบกพร่องงานวิจัย Keto trial (Lean Mass Hyper Responder trial) วันเสาร์ 30 พ.ย. 2567เวลา 19.00 น. ความพยายามที่ Dave Feldman จะพิสูจน์ Lipid Energy Model ในกลุ่ม Lean Mass Hyper Responder Phenotypes ที่ได้รับโภชนาการแบบคีโตเป็นเวลานานแล้วทำให้ระดับ LDL-C สูงลิ่ว Triglyceride ต่ำ และ HDL-C สูงลิ่ว (Lipid Triad) ว่าไม่มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันทำให้เขาก่อตั้ง Citizen Science Foundations เพื่อระดมทุนในการทำการศึกษาเกี่ยวกับ LMHRs การศึกษาแรกภายใต้การระดมทุนขององค์กรนี้ชื่อ Carbohydrate Restriction-Induced Elevation in LDL-Cholesterol and Atherosclerosis (Keto trial) ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร JACC: Advance Vol 3, Issue 8 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2567 พี่ปุ๋มวางลิ้งค์งานวิจัยฉบับเต็มไว้ให้ค่ะ https://www.sciencedirect.com/.../pii/S2772963X2400303X...การศึกษานี้นักวิจัยที่เป็นชื่อแรกในการศึกษาคือ Matthew Budoff MD. วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง LDL-Cholesterol และตัวบ่งชี้ (CCTA และ CAC) หลอดเลือดหัวใจอุดตันในกลุ่ม LMHR Phenotypesการศึกษานี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จาก Science Community อย่างร้อนแรง ตั้งแต่ criteria การคัดเลือก LMHR เพื่อเข้า-ออกจากการศึกษา ระเบียบวิธีวิจัย การแปลผล กลุ่มควบคุม (Controlled group) ระยะเวลาของการศึกษา ฯลฯในไลฟ์ #87 นี้ พี่ปุ๋มจะใช้ข้อมูลจากหลายแหล่ง ในการชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของการศึกษานี้ เพื่อให้พวกเราได้รับข้อมูลหลากหลายด้าน นำมาประกอบการพิจารณาเลือกใช้โภชนาการที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพหัวใจกันค่ะเชิญรับชมได้ค่ะ #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า#FatOutHealthspans

    1h 26m
  2. N = 1 Bro Science กินไข่ 720 ฟองต่อเดือน ทำไมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดไม่เพิ่มขึ้น? (Live86)

    11/24/2024

    N = 1 Bro Science กินไข่ 720 ฟองต่อเดือน ทำไมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดไม่เพิ่มขึ้น? (Live86)

    ไลฟ์ #86: N = 1 Bro Science กินไข่ 720 ฟองต่อเดือน ทำไมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดไม่เพิ่มขึ้น 😁 วันเสาร์ 23 พ.ย. 2568 เวลา 19.00 น. หลังจาก N = 1 Oreo cookie ลดระดับ LDL-C ใน LMHR Phenotype ของ Nick Norwitz เขาก็สร้าง Click bait N = 1 Bro Scienceใหม่ด้วยการกินไข่ชั่วโมงละ 1 ฟองติดต่อกันเป็นเวลาหนึ่งเดือน รวมจำนวนไข่ที่เขาบริโภค 720 ฟอง 🥚🥚🥚 คอเลสเตอรอล 185 มก./ไข่ 1 ฟอง = 133,200 มก. ปรากฎว่านอกจากระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดของเขาไม่เพิ่มเลย หนำซ้ำกลับลดลงราว 18% ด้วยซ้ำ เมื่อเขาเพิ่มการกินคาร์บ เป็นที่ฮือฮาในกลุ่มที่เชื่อว่าการบริโภคไข่ ซึ่งเป็นแหล่งให้ dietary cholesterol มากเท่าไหร่ ก็ไม่มีผลกระทบกับระดับคอเลสเตอรอลในเลือด สิ่งที่ Nick Norwitz ไม่อธิบายข้อเท็จจริงให้ชัดเจน จากงานวิจัยที่พี่มั่นใจว่าเขารู้ และชอบอ้างว่า สิ่งที่เขาทำเป็น “Intellectual Provocative” สนุกๆของเขา โดยไม่มีคำเตือนให้กับประชาชนอย่างเหมาะสม ในฐานะที่เขาเป็นบุคคลากรทางการแพทย์ อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและอาจเกิดการปฏิบัติตามต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลอดเลือดหัวใจได้ ปรากฎการณ์ที่ดูตื่นเต้นเร้าใจของเขานี้ อธิบายได้ง่ายๆด้วยกราฟจากงานวิจัยสำคัญเพียงฉบับเดียว ที่พี่เห็นว่ามันจะช่วยทำให้น้องๆรู้เท่าทัน Click bait แบบ N = 1 Bro Science นี้ได้ดีขึ้นในอนาคตค่ะ นอกจากนั้น เราจะมาดูงานวิจัยระดับ Systematic review and meta-analysis รวมถึงคำแนะนำจาก Dietary Guidance ปี 2021 จาก American Heart Association และจาก European Society of Cardioligy ว่า dietary cholesterol สัมพันธ์กับระดับ cholesterol ในเลือดอย่างไร และแนะนำให้บริโภคคอเลสเตอรอลต่อวันเท่าไหร่ เชิญรับชมได้เลยค่ะ

    1h 16m
  3. ข้อบกพร่อง Lipid Energy Model & Lean Mass Hyper Responder ของ Dave Feldman (Live85)

    10/27/2024

    ข้อบกพร่อง Lipid Energy Model & Lean Mass Hyper Responder ของ Dave Feldman (Live85)

    ไลฟ์ #85: ข้อบกพร่อง Lipid Energy Model & Lean Mass Hyper Responder ของ Dave Feldman จาก paper The Lipid Energy Model: Reimagining Lipoprotein Function in the Context of Carbohydrate-Restricted Diets ในปี 2565 Dave Feldman และคณะ ให้คำจำกัดความว่า Lean Mass Hyper Responder phenotype คือคนที่ lean BMI ต่ำ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เมื่อรับประทานไดเอ็ทที่คาร์บต่ำยิ่งยวด ไขมันสูง แล้วเกิดปรากฎการณ์ที่ระดับ LDL-C สูงเกิน 300 มก/ดล ไตรกลีเซอไรด์ต่ำ (47 มก/ดล) และ HDL-C สูง (99 มก/ดล) key point ที่สำคัญของ Lipid Energy Model (LEM) กับ Lean Mass Hyper Responder (LMHR) ที่ Dave ตั้งสมมุติฐานคือ 1. ในคนที่มี LMHR phenotype นั้น LDL-C ที่สูงกระฉูด เป็น Physiological adaptive response ของการกินคาร์บต่ำอย่างยิ่งยวด และ ไขมันสูงลิ่ว ที่เกิดจากกลไกสำคัญ 2 ประการคือ 1.1 ตับสร้าง VLDL สูงมาก เพื่อขนส่ง Triglyceride และ มีการทำงานของเอ็นไซม์ Lipoprotein Lipase สูง จึงนำไปสู่การมีระดับไตรกลีเซอไรด์ต่ำ และนำไปสู่การมีระดับ LDL-C สูงลิ่วตามมา 1.2 มีการทำงานของ Cholesteryl Ester Transfer Protein (CETP) ต่ำ นำไปสู่การมีระดับ HDL-C สูง Dave เชื่อว่าการกินไขมันอิ่มตัวสูง มีอิทธิพลน้อยกว่า BMI ในการทำให้เกิดปรากฎการณ์ LDL-C สูงลิ่ว และ LEM เป็น Physiological adaptation ใน LMHR phenotype 2. Dave เชื่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นใน LMHR เป็น Physiological adaptation ไม่ใช่ Pathological state ดังนั้นคนกลุ่มนี้ทนทานต่อการเกิด plaque ในหลอดเลือด มากกว่าคนที่มี Metabolic Syndrome จากการที่มี TG/HDL น้อยกว่า 2 บัดนี้โคนันยอดนักสืบหญิงพร้อมแล้วที่จะอธิบายข้อบกพร่องของ Lipid Energy Model & Lean Mass Hyper Responder ของพี่ Dave Feldman ตามสมมุติฐาน 2 ข้อของเขา พบกันวันเสาร์ 26 ต.ค. เวลา 19.00 น.ค่ะ #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า #FatOutHealthspans

    1h 35m
  4. สรุปดีเบทระหว่าง Dr.Gil Carvalho vs Dr.Ken Berry “Oat เป็นอาหารที่อันตรายต่อสุขภาพ จริงหรือ? (Live84)

    10/27/2024

    สรุปดีเบทระหว่าง Dr.Gil Carvalho vs Dr.Ken Berry “Oat เป็นอาหารที่อันตรายต่อสุขภาพ จริงหรือ? (Live84)

    Dr.Gil Carvalho เจ้าของช่อง Nutrition Made Simple ซึ่งเป็นช่องยูทูปสุขภาพที่พี่ปุ๋มแนะนำน้องๆให้ติดตามเป็นอย่างยิ่ง เพราะข้อมูลสุขภาพที่นำมาเผยแพร่นั้นเป็น evidence based data ที่มีคุณภาพและค่อนข้างเป็นเอกฉันท์จากหน่วยงานสาธารณสุขทั่วโลก เขาได้รับคำถามจากสมาชิกช่อง ขอให้สร้างความกระจ่างกับวิดีโอจากช่องยูทูปของ Dr.Ken Berry ว่ามีหลักฐานทางงานวิจัยสนับสนุนว่าโอ๊ตเป็นอันตรายต่อสุขภาพจริงหรือ วิดีโอดังกล่าวชื่อ 1. What will happen if you eat Oatmeal Everyday? (Shock Answer) มีคนเข้าชม 2.2 ล้านวิว เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2563 (ลองนึกถึงความเสียหายของ misinformation ที่ถูกเผยแพร่ออกไป) 2. Worst breakfast in the world (Avoid this!) มีคนเข้าชม 954,755 วิว เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2561 แทนที่ Dr.Gil จะทำวิดีโอ “debunk” หักล้างข้อมูลเรื่องอันตรายของข้าวโอ๊ตที่ Dr.Ken Berry นำเสนอเหมือนอย่างที่ช่อง YouTube อื่นทำกัน Dr.Gil กลับเชิญ Dr.Ken Berry ให้มาพูดคุยทางช่อง YT Nutrition Made Simple แล้วให้ผู้ชมเป็นผู้ตัดสินเอง (fair enough ค่ะ) วิดีโอออกเผยแพร่เมื่อวันจันทร์ที่ 7 ต.ค.2567 หัวข้อดีเบท 1. Are oats a superfood? 2. Are oat ancestral? 3. Oat, glucose “spikes”& diabetes 4. Glycated Hemoglobin (HbA1C) 5. Oats & blood pressure 6. Summary & takeaways Dr. Gil ใช้งานวิจัยหักล้าง “เรื่องเล่า” ของ Dr.Ken Berry ดังนี้ Paleoanthropology &oats https://www.pnas.org/doi/abs/10.1073/pnas.1505213112 https://science.sciencemag.org/content/326/5960/1680.full Oats & exercise & glucose https://diabetesjournals.org/.../Intense-Exercise-Has... Oats & glycation (HbA1C) https://pubs.rsc.org/.../articl.../2016/fo/c5fo01364j/unauth https://link.springer.com/article/10.1007/s00394-021-02763-1 https://drc.bmj.com/content/10/5/e002784 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4446761 Oats & Blood pressure http://www.sciencedirect.com/.../abs/pii/S2212267222011960 https://www.sciencedirect.com/.../pii/S0167527304001391 https://www.mdpi.com/2072-6643/9/2/89 #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า #FatOutHealthspans

    1h 17m
  5. สรุปงานวิจัยสำคัญว่า ทำไมระดับ LDLที่สูง x เวลา จึงอันตรายต่อสุขภาพหลอดเลือดหัวใจ (Live 82)

    09/30/2024

    สรุปงานวิจัยสำคัญว่า ทำไมระดับ LDLที่สูง x เวลา จึงอันตรายต่อสุขภาพหลอดเลือดหัวใจ (Live 82)

    ตอกย้ำกันอีกครั้งว่าการปล่อยให้ LDL-C มีระดับสูง x เวลาที่ปล่อยให้ LDL-C มีระดับสูง คือต้นเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน พี่ปุ๋มตื่นเต้นมาก ที่ได้เห็นบทความของเทพทางด้านหทัยวิทยาทั้ง 3 คน คือ Prof.Brian A. Ference, Prof.Eugene Braunwald (หนึ่งในบิดาของหทัยวิทยา ผู้ซึ่งคือ Editor textbook Braunwald's Heart Disease: A Textbook of Cardiovascular Medicine) และ Prof.Alberio Catapano ได้ร่วมกัน review สมมุติฐานสำคัญชื่อ “The LDL cumulative exposure hypothesis: evidence and practical applications” เป็นบทความสำคัญที่พวกเราควรต้องรู้ ถ้าต้องการห่างไกลจากโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Nature เมื่อวันที่ 5 ก.ค.2567 ขอขอบพระคุณคุณหมอ Panjapon Joe Spade อีกครั้งค่ะ ที่ได้กรุณาส่ง paper ฉบับเต็มมาให้พี่ปุ๋ม ทำให้พี่สามารถทำไลฟ์#82 ได้อย่างที่ตั้งใจไว้ค่ะ อ่านได้ก็ตาม แต่พี่ปุ๋มก็ได้สรุปประเด็นสำคัญหกประการจากบทความนี้มาให้น้องๆอ่านกันค่ะ นอกเหนือจาก Key points สำคัญ 6 ประการจากบทความฉบับนี้ที่พี่ปุ๋มทำสรุปให้ในโพสต์เมื่อ 4 วันที่ผ่านมาแล้ว (ใครยังไม่ได้อ่าน กลับไปอ่านได้ค่ะ) พี่ปุ๋มจะนำรายละเอียดสำคัญอื่นๆ จาก paper ฉบับเต็มที่พวกเราควรจะต้องรู้ว่าด้วยเรื่อง ทำไมเราจึงไม่ควรปล่อยให้ระดับ LDL-C สูงอยู่ในกระแสเลือดเป็นระยะเวลานานโดยไม่จัดการ พี่ปุ๋มหวังว่าบทความสำคัญจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ/นักวิจัยตัวจริงเสียงจริงทั้ง 3 ท่านนี้ จะติดอาวุธความรู้ไม่ให้เราหลงเชื่อข้อมูลผิดๆจาก health guru ทางโซเชียลมีเดียว่า การปล่อยให้ระดับ LDL-C สูงเป็นเวลานานไม่มีอันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ😭

    1h 29m
  6. สรุปงานวิจัยมากกว่า 40 ฉบับว่า Time Restricted Eating มีผลต่อการลดน้ำหนักอย่างไร (Live#83)

    09/30/2024

    สรุปงานวิจัยมากกว่า 40 ฉบับว่า Time Restricted Eating มีผลต่อการลดน้ำหนักอย่างไร (Live#83)

    ไลฟ์# 83: สรุปงานวิจัยมากกว่า 40 ฉบับว่า Time Restricted Eating มีผลต่อการลดน้ำหนัก มวลไขมัน visceral fat และ ไขมันพอกตับอย่างไร เมื่อเทียบกับการจำกัดแคลอรี่ ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา พวกเราได้ยิน ได้อ่านบทความสุขภาพเกี่ยวกับประโยชน์ของการกินแบบจำกัดช่วงเวลา (Time Restricted Eating-TRE) หรืออีกชื่อหนึ่งที่เราคุ้นเคยกันมากกว่าว่า การหยุดกินเป็นช่วงเวลา (Intermittent Fasting-IF) ว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ ได้แก่ การลดน้ำหนัก ลดมวลไขมัน ลด visceral fat ลดไขมันพอกตับ และปรับปรุง Cardiometabolic biomarkers มีหนังสือเกี่ยวกับ TRE ออกวางตลาดจำนวนมากให้พวกเราได้อ่านกัน คนทั่วโลกนำ TRE เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันแล้วได้ผลดีต่อสุขภาพ มีงานวิจัยเกี่ยวกับ TRE จำนวนมาก มีทั้งงานวิจัยที่มีคุณภาพและไม่มีคุณภาพตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ หัวข้อที่ถกเถียงกันมาตลอดคือ “TRE ได้ผลดีต่อสุขภาพ ด้วยการมีกลไกที่มากไปกว่าการจำกัดแคลอรี่หรือไม่“ พี่ปุ๋มเคยทำไลฟ์และเขียนโพสต์ตลอด 6 ปี ที่เกี่ยวกับ TRE จนเมื่อ 2 วันก่อนพี่ได้ข้อมูลดีมาก เป็นการสรุปงานวิจัยแบบ RCT มากกว่า 40 ฉบับ เพื่อตอบคำถามสำคัญ 5 ข้อ ที่สมควรนำมาทำไลฟ์ TRE กระตุ้นให้เกิดการลดน้ำหนักหรือไม่ TRE ลดมวลไขมันหรือลดมวลกล้ามเนื้อ TRE ลด visceral fat และไขมันพอกตับได้หรือไม่ รูปแบบ TRE แบบไหนลดน้ำหนักได้ดีที่สุด TRE ส่งผลต่อสุขภาพในข้อ 1-4 โดยมีกลไกพิเศษ ไม่ขึ้นกับการจำกัดแคลอรี่หรือไม่ พบกันในไลฟ์#83 วันอาทิตย์นี้ เวลาดี 20.00 น. #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า #FatOutHealthspans

    1h 18m
  7. คืนความเป็นธรรม ให้ Ancel Key กับ The Seven Countries Study (Live 81)

    07/24/2024

    คืนความเป็นธรรม ให้ Ancel Key กับ The Seven Countries Study (Live 81)

    หนึ่งในงานวิจัยที่สำคัญและมีอิทธิพลใน Nutrition Science ก็คืองานวิจัยของ Ancel Keys และคณะ The Seven Countries Study (SCS) ซึ่งเป็น observational cohort study เริ่มต้นในปีค.ศ.1957 เพื่อสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างไลฟ์สไตล์ biomarkers และโรคหัวใจ SCS เป็นโครงการระดับอภิมหาโปรเจคซึ่งต้องการความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลกินเวลาหลายสิบปี SCS จุดประกายให้มีการทำงานวิจัยเชิงสังเกตุการที่สำคัญออกมาหลายโครงการ ที่สำคัญมากคือ The Framingham Heart Study ในที่สุด SCS ก็ได้ข้อสรุปว่า มีความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคไขมันอิ่มตัวและโรคหัวใจ Ancel Keys กับ SCS ถูกวิพากษ์วิจารณ์หลังจากการเสียชีวิตของเขาในปีค.ศ. 2004 และมักจะเป็นการใช้เรื่องเล่าโดย Health Influencers ทางโซเชียลมีเดีย กล่าวหา Ancel Keys และ SCS ว่าผิดพลาดอย่างมโหฬาร ทำให้เป็นต้นกำเนิดของอาหารไขมันต่ำ มีอิทธิพลต่อการจัดทำ Nutrition Guidelines รวมถึงนโยบายโภชนาการของประเทศ ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย ข้อกล่าวหา Ancel Keys กับ SCS มีอยู่ 4 ประเด็น ซึ่งพี่ปุ๋มจะนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ดีมากหลายแหล่ง เพื่อคืนความเป็นธรรมให้กับ Ancel Keys กับ SCS ค่ะ 1. ประเทศที่ถูกเลือกและคัดออกจาก SCS ทำโดยพื้นฐานของอคติที่ Keys อยากให้ผลลัพธ์ออกมาตามที่ตัวเองต้องการ 2. ข้อมูลประเทศฝรั่งเศสถูกเอาออกไปจาก SCS โดยเจตนา 3. ข้อมูลโภชนาการของประเทศกรีซได้รับมาในช่วงเวลาถือศีลอดทำให้ข้อมูลของ SCS เกิดการบิดเบือน 4. น้ำตาลไม่ถูกนำมาพิจารณาใน SCS ว่าเป็นตัวการที่เป็นไปไปได้ในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ มาคืนความเป็นธรรมให้ Ancel Keys กัน วันพฤหัสที่ 11 ก.ค. เวลา 20.00 น.ค่ะ 😊 #หาคำตอบสุขภาพจากงานวิจัยไม่ใช่จากเรื่องเล่า #FatOutHealthspans

    1h 51m
  8. กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนถูกทำให้เป็นผู้ร้ายได้อย่างไร ตอนจบ (Live 80)

    07/07/2024

    กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนถูกทำให้เป็นผู้ร้ายได้อย่างไร ตอนจบ (Live 80)

    ในท่ามกลางกระแสการใช้เรื่องเล่าและหลักฐานงานวิจัยที่ไม่มีคุณภาพ เพื่อทำให้สารอาหารตัวใดตัวหนึ่งเป็นผู้ร้ายนั้น มีมานานตลอด 70 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียกันอย่างกว้างขวาง ทำให้การแพร่กระจายข้อมูลผิดๆเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว หนึ่งในเรื่อง Top Hit ที่มีการแพร่กระจายข้อมูลกันอย่างผิดๆทางโซเชียลมีเดีย คือเรื่องอันตรายของน้ำมันพืช (กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนโดยเฉพาะ Linoleic Acid) ถึงแม้ว่าหน่วยงานสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็น American Heart Association, European Society of Cardiology, WHO, National Lipid Association จะออกคำแนะนำสนับสนุนการบริโภคน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนโดยเฉพาะ Linoleic Acid เป็นส่วนประกอบ ก็ยังไม่สามารถทำลายมายาคติของความเชื่อที่ผิดๆนี้ได้ ในไลฟ์#80 ซึ่งเป็นตอนจบ พี่ปุ๋มจะพาน้องๆไปทำความเข้าใจถึงที่มาของการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดๆนี้และลงรายละเอียดถึงหลักฐานที่ไม่หนักแน่นซึ่งนำมาสนับสนุนว่าน้ำมันพืชอันตรายอันตรายต่อสุขภาพ อย่างเช่น Sydney Diet Heart Study, Minnesota Coronary Experiment, เปรียบเทียบกับหลักฐานงานวิจัยที่มีคุณภาพ ซึ่งสนับสนุนการบริโภคน้ำมันพืชพืชซึ่งมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนเป็นส่วนประกอบเพื่อสุขภาพโดยเฉพาะสุขภาพหัวใจ

    1h 44m

About

พี่ปุ๋มมีความหลงไหลอย่างลึกซึ้งในการศึกษา ในเรื่องของสุขภาพ การลดน้ำหนัก และ การย้อนวัย พี่ปุ๋มจึงอยากแบ่งปันความรู้ที่พี่ปุ๋มอ่านจากงานวิจัย หนังสือ และ สื่อต่างๆ นำมาเขียนเป็นบทความและไฟล์เสียงให้น้องๆฟัง ติดตามตอนต่อไปนะคะ

You Might Also Like

To listen to explicit episodes, sign in.

Stay up to date with this show

Sign in or sign up to follow shows, save episodes, and get the latest updates.

Select a country or region

Africa, Middle East, and India

Asia Pacific

Europe

Latin America and the Caribbean

The United States and Canada