ฤๅ - Lue History

ฤๅ - Lue History
ฤๅ - Lue History

Talk 'True' History

  1. Lue Podcast Ep85 - จริงหรือไม่? สยามจงใจสร้างคุกทับ ‘เวียงแก้ว’

    01/17/2024

    Lue Podcast Ep85 - จริงหรือไม่? สยามจงใจสร้างคุกทับ ‘เวียงแก้ว’

    การเล่าประวัติศาสตร์นั้นหากเล่าโดยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนั้นแม้จะมีข้อกระทบกระทั่งกันบ้าง แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่รับได้ เพราะความจริงคือสิ่งที่มิอาจบิดผันเป็นสิ่งอื่น ความจริงที่หลากหลายจึงเป็นความจริงที่ยังไม่พบข้อเท็จจริงเท่านั้น และในบางครั้งการเล่าประวัติศาสตร์ก็อาจมีความเชื่อและอุดมการณ์มาผสมอยู่จำนวนมากจนน่าเสียดายที่บางงานนั้นควรจะออกมาได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ กระแสท้องถิ่นนิยมนั้นเป็นสิ่งที่เข้าใจได้และไม่ใช่สิ่งที่แย่ กระนั้นก็ตามการนิยมสิ่งใดมาก ก็สามารถก่อให้เกิดการใช้ประวัติศาสตร์โดยไม่ถูกต้องได้ (และไม่จำเป็นว่าต้องเป็นท้องถิ่นนิยมเท่านั้น) ประเด็นหนึ่งก็คือการ “สร้างคุกทับเวียงแก้ว” ของเมืองเชียงใหม่ที่มักจะมีเรื่องเล่าในทำนองว่าสยามตั้งใจสร้างคุกทับเวียงแก้วไว้และเป็นการหยามคนท้องถิ่นอย่างมาก จนนักวิชาการบางท่านเรียกคุกว่าเป็น “ขึด” ของเชียงใหม่ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ถึงพิราลัย เจ้าอุปราชอินทนนท์ซึ่งได้รับสถาปนาเป็นเจ้านครเชียงใหมที่ 7 (พระเจ้าอินทวิชยานนท์) ได้สร้างคุ้มหลวงแห่งใหม่ขึ้นที่ข่วงหลวงบริเวณหน้าศาลาสนามที่เป็นที่ตั้งตึกยุพราพในปัจจุบัน "เวียงแก้ว" ซึ่งเป็นที่พำนักของเจ้านครเชียงใหม่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2339 จึงสิ้นสภาพการเป็นคุ้มหลวงนับแต่ พ.ศ. 2413 และถูกปล่อยให้รกร้างจนถูกน้ำท่วมมานานกว่า 40 ปี จนกลายเป็น “หอพระแก้วร้าง” ก่อนที่จะมีการใช้ประโยชน์อย่างอื่นในภายหลัง และนอกจากนี้เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ก็ไม่ได้ยกพื้นที่เวียงแก้วทั้งหมดให้เป็นที่ตั้งเรือนจำดังที่เจ้าดารารัศมีทรงเล่าประทานว่า “‘เวียงแก้ว’ เป

    7 min
  2. เรื่องของฤๅ EP 84 - ‘เสือป่า’ กลุ่มผู้กล้าอาสาป้องกันชาติ

    12/03/2023

    เรื่องของฤๅ EP 84 - ‘เสือป่า’ กลุ่มผู้กล้าอาสาป้องกันชาติ

    มีงานบางชิ้นได้กล่าวว่า "กองกำลังเสือป่า" ที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เป็นกองกำลังที่พระองค์ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นกองกำลังส่วนพระองค์เนื่องจากความไม่ไว้วางใจและความแตกแยกระหว่างพระองค์กับกองทัพ ดังนั้นกองเสือป่าจึงเป็นเสมือนกองทัพซ้อนเข้าไปอีกทีทั่วประเทศในขณะนั้นจนทำให้เกิดความตึงเครียดในรัชสมัยขึ้น การวิเคราะห์เช่นนี้เป็นการวิเคราะห์ที่น่าจะไม่ถูกต้อง เพราะสาเหตุของการตั้งกองเสือป่าขึ้นนั้นไม่อาจมองขาดได้จากบริบทที่มีความต่อเนื่องก่อนหน้า โดยสิ่งที่รุนแรงที่สุดคือเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ที่มีบันทึกว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น “เสวยไม่ได้ บรรทมไม่หลับ เป็นเวลานานนับเดือนนับปี” เหตุการณ์ ร.ศ. 112 ได้ฝังอยู่ในพระราชหฤทัยของเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เพราะเมื่อถึงอังกฤษ พระองค์ตั้งพระราชหฤทัยที่จะศึกษาวิชาทหารเรือ หากแต่ในระหว่างการเตรียมพระองค์นั้นทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทำให้ต้องเปลี่ยนมาเรียนวิชาทหารบกและพลเรือนเพื่อเตรียมพระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อไปและฝ่ากระแสอาณานิคมต่อจากพระราชบิดาของพระองค์ เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาและกลับมายังสยาม พระองค์ได้ยกร่าง ‘พระราชบัญญัติลักษณเกณฑ์ทหาร’ ขึ้นและจัดการวางกองกำลังใหม่ร่วมกับพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ แต่ที่ปักษ์ใต้นั้นเนื่องจากรัฐบาลสยามได้ทำสัญญาลับกับอังกฤษเมื่อครั้งกู้เงินจาก Federal Malay States เพื่อทำทางรถไฟสายใต้โดยมีเงื่อนไขคือสยามจะไม่ส่งทหารลงไปประจำที่คาบสมุทรมลายูตั้งแต่บางสะพานน้อย ประจวบคีรีข

    6 min
  3. เรื่องของฤๅ EP 83 - ดีลลับกลับประเทศ ที่พลิกล่มสลายไปต่อหน้าของ ปรีดี พนมยงค์

    11/12/2023

    เรื่องของฤๅ EP 83 - ดีลลับกลับประเทศ ที่พลิกล่มสลายไปต่อหน้าของ ปรีดี พนมยงค์

    มีข้อมูลและหลักฐานจำนวนมากมายยืนยันว่า แม้ทั้งป.และปรีดีจะขัดแย้งกันจริง หากแต่ในช่วงก่อนการรัฐประหาร 2500 ไม่นานนัก เขาทั้งสองต่างมีแผนการหรือ ‘ดีลลับ’ ที่จะกลับมาคืนดีกัน อันมีสาเหตุมาจากความผันผวนจากกระแสทางการเมืองของฝ่ายจอมพล ป. ที่ตกต่ำลง การนำปรีดีในฐานะตัวแทนของ ‘ฝ่ายก้าวหน้า’ (ตามทัศนะของพวกเขา) มาค้ำยันกับปีกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ที่กำลังสูงเด่นขึ้นพร้อมด้วยการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา น่าจะเป็นทางออกเดียวของจอมพล ป. ในสถานการณ์ชิงอำนาจดังกล่าว จากเอกสารของสถานทูตอังกฤษในไทย ลงวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ระบุความเคลื่อนไหวของฝ่ายจอมพล ป. ไว้ว่า เผ่า ศรียานนท์พยายามที่ให้ปรีดีกลับประเทศไทย และเขาอยู่เบื้องหลังการสนับสนุนฝ่ายของปรีดีที่กลับมาอยู่ในไทยแล้ว (เช่น เฉียบ และชม) และที่สำคัญ เอกสารของอังกฤษระบุไว้ชัดเจนว่า “เผ่าคือสถาปนิกผู้มีบทบาทสำคัญในการวางแผนการนี้” (แผนเอาปรีดีกลับไทยมาต่อสู้คดีสวรรคต) เอกสารฉบับนี้เขียนไว้อย่างไม่ปิดบังว่า เผ่าได้ริเริ่มกระบวนการใส่ร้ายต่อต้านพระบรมวงศานุวงศ์ (Royal family) ด้วยการจะทำให้ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็น “แพะรับบาป” (scapegoat) แทนปรีดีในกรณีสวรรคต แต่อย่างไรก็ดี แผนการหรือ ‘ดีลลับ’ ระหว่าง 2 ป. คือ ป. พิบูลสงคราม และปรีดี ต้องถึงการฝันสลายลง หลังจากที่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการรัฐประหารที่เรียกกันว่า ‘การรัฐประหาร 2500’ แล้วขับไล่จอมพลป. และเผ่าออกไปจากประเทศไทย อันเป็นการจบสิ้นการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งที่ 2 ของจอมพลผู้มีฉายาว่า ‘พิบูลตลอดกาล’ อีกทั้งยังเป็นการ ‘ดับฝัน’ ของปรีดีที่จะกลับมายังประเทศไทยโดยดุษณี

    8 min
  4. เรื่องของฤๅ EP 82 - อย่าเผลอเป็น Absolutist ‘รอยัลลิสต์หลงยุค’

    10/29/2023

    เรื่องของฤๅ EP 82 - อย่าเผลอเป็น Absolutist ‘รอยัลลิสต์หลงยุค’

    ‘ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข’ คือการอยู่ร่วมกันได้อย่างทันสมัย และไม่เป็นปัญหาระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากระบอบการปกครองนี้มีเสถียรภาพมากที่สุด และเหมาะสมที่สุดสำหรับประเทศไทย อีกทั้งยังสามารถธำรงรักษาสถาบันหลักของชาติได้โดยที่ไม่ขัดกับคุณค่าประชาธิปไตยสากล หลายครั้งที่มีคนบางกลุ่มมีความรู้สึกว่า ต้องการให้มีการเพิ่มพระราชอำนาจ (prerogative) ในการบริหารจัดการรัฐแก่พระมหากษัตริย์ แต่สิ่งเหล่านี้กลับกลายเป็นการทำร้าย ‘สถาบันพระมหากษัตริย์’ ทางอ้อม เพราะเท่ากับว่า แทนที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของพระองค์ กลับต้องการให้พระองค์รับภาระเพิ่มมากขึ้นโดยมิจำเป็น และทรงจะรอดพ้นจากข้อครหามิได้หากทรงบริหารผิดพลาดหรือโดนใส่ร้ายมา ประเทศไทยนั้นหมดเวลาของ ‘รอยัลลิสต์’ ที่เป็น ‘ฝ่ายนิยมระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์’ แล้ว สำหรับใครก็ตามที่มีความจงรักภักดี และหวังดีต่อสถาบันฯ ควรสนับสนุน ‘รอยัลลิสต์’ ในรูปแบบ ‘วิก’ (Whigs) ซึ่งหมายถึงกลุ่มที่สนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เหมาะสมต่อประเพณีการปกครอง มิใช่เรียกร้องให้ทวนเข็มนาฬิกากลับไปสู่ระบอบเก่าที่ทั้งโลกเห็นว่าเป็นรูปแบบที่ล้าสมัยไปแล้ว #LueHistory #รอยัลลิสต์

    8 min
  5. เรื่องของฤๅ EP 81 - จาก ‘สมเด็จย่า’ ถึง ‘พระราชินีสุทิดา’ จากสามัญชน สู่ไอดอลของคนรุ่นใหม่

    10/22/2023

    เรื่องของฤๅ EP 81 - จาก ‘สมเด็จย่า’ ถึง ‘พระราชินีสุทิดา’ จากสามัญชน สู่ไอดอลของคนรุ่นใหม่

    ในประวัติศาสตร์ราชวงศ์จักรี บุคคลผู้ได้รับการโปรดเกล้าฯ จากสามัญชนขึ้นเป็นพระบรมศานุวงศ์ชั้นสูงบุคคลแรกคือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ ‘สมเด็จย่า’ ของคนไทย เด็กหญิงจากตระกูลช่างทอง โดยมีพระนามเดิมว่า ‘สังวาลย์’ สู่การเป็นพระมารดาของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินของไทยถึง 2 พระองค์ สมเด็จย่าทรงอุทิศทุ่มเทพระวรกาย และทรงงานเพื่อคนไทยมาโดยตลอด แม้จะมีพระชนมายุมากแล้วก็ตาม แต่พระองค์ยังเสด็จไปยังท้องที่ทุรกันดารต่างๆ เพื่อฟื้นฟูผืนป่าและพลิกฟื้นโอกาสให้คนในพื้นที่เหล่านั้นได้มีชีวิตที่ดีขึ้น จนชาวบ้านในถิ่นทุรกันดารต่างเรียกพระองค์ว่า “แม่ฟ้าหลวง” ผ่านมาหลายทศวรรษ ประวัติศาสตร์ดั่งเทพนิยายก็ได้เริ่มต้นบทบันทึกอีกครั้ง… สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า ‘สุทิดา ติดใจ’ คือสามัญชนคนที่สอง ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ขึ้นเป็นพระบรมศานุวงศ์ชั้นสูงของราชวงศ์จักรี หลังจากที่ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชินีสุทิดา ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี พระราชินีผู้มาจากสามัญชน หากแต่มีทั้งความเข้มแข็ง แข็งแกร่ง และมีพระจริยวัตรอ่อนน้อมถ่อมตน มีความสง่างดงามบนความทันสมัย กระทั่งทรงกลายเป็นไอดอลของเด็กรุ่นใหม่บางกลุ่ม และทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของเยาวชนไทยยุคใหม่อีกด้วย เรื่องราวดั่งเทพนิยายของทั้งสองพระองค์เป็นอย่

    10 min
  6. เรื่องของฤๅ EP 80 - ย้อนมองประวัติศาสตร์ 14 ตุลา 2516 บทบาทของในหลวง ร.9 ในการยุติความขัดแย้งของคนไ

    10/15/2023

    เรื่องของฤๅ EP 80 - ย้อนมองประวัติศาสตร์ 14 ตุลา 2516 บทบาทของในหลวง ร.9 ในการยุติความขัดแย้งของคนไ

    14 ตุลาคม 2516 วันแห่งปรากฏการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย จากการรวมตัวกันของนิสิตนักศึกษา อาชีวะ และประชาชนจากทุกภาคส่วน เพื่อต่อต้านอำนาจเผด็จการของ จอมพลถนอม กิตติขจร, จอมพลประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยึดครองอำนาจบริหารที่ส่งไม้ต่อกันมาตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ การชุมนุมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เริ่มขึ้นในวันนที่ 9 ตุลาคม 2516 นําโดยสองนักศึกษาชายหญิง เสกสรรค์ ประเสริฐกุล และเสาวนีย์ ลิมมานนท์ มีการปราศรัยโจมตีรัฐบาลอย่างเผ็ดร้อน โดยมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงนักเรียนมัธยมและนักเรียนอาชีวะ ทั้งจากวิทยาลัยและสถาบันในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เดินทางมาเข้าร่วมสมทบอย่างล้นหลาม สถานการณ์ชุมนุมเริ่มถึงจุดตึงเครียดในวันที่ 12 ตุลาคม เมื่อศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ยื่นคําขาดว่าให้รัฐบาลปล่อยตัวอาจารย์และนักศึกษาจำนวน 13 คน ที่ถูกจับกุมไป 13 ตุลาคม การเจรจาระหว่างตัวแทนของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ กับจอมพลประภาส จารุเสถียร ได้เกิดขึ้นและนำไปสู่การยอมรับข้อเสนอ โดยรัฐบาลยอมปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมทั้ง 13 คน และจะประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ในปีต่อไป ส่งผลให้กลุ่มผู้ชุมนุมเตรียมยุติการชุมนุมในช่วงหลังเที่ยงคืนของวันที่ 13 ตุลาคม แต่ทว่ากลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น เมื่อเกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณถนนราชวิถี จากจุดปะทะเล็ก ๆ นี้เอง เหตุการณ์ก็ได้บานปลายลุกลามไปอย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน มีการใช้กําลังทหารและตํารวจเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงอย่างรุ

    11 min
  7. เรื่องของฤๅ EP 79 - คณะราษฎร หมายฆ่าพระบรมวงศานุวงศ์ ด้วยแผนถอดรางรถไฟ

    10/08/2023

    เรื่องของฤๅ EP 79 - คณะราษฎร หมายฆ่าพระบรมวงศานุวงศ์ ด้วยแผนถอดรางรถไฟ

    เหตุการณ์สำคัญอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ควรจะบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ เพื่อจะให้ชนรุ่นหลังได้รับทราบว่า ครั้งหนึ่งฝ่ายรัฐบาลคณะราษฎรเคยมีความคิดรุนแรงถึงขนาดคิดที่จะ ‘ฆ่าพระบรมวงศานุวงศ์ด้วยแผนถอดรางรถไฟให้ตกรถตายทั้งขบวน’ กรณีนี้อาจเคยมีคนอ่านเจอในหนังสือ ‘สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น’ ของ หม่อมเจ้าพูนพิสมัย ดิศกุล (พระธิดาในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ซึ่งถูกนักวิชาการรุ่นหลังจำนวนหนึ่งตั้งข้อสงสัยว่าถูกเขียนขึ้นจากมุมมองของ ‘ฝ่ายเจ้า’ ที่ ‘เชียร์’ ฝ่ายกบฏ อย่างไรก็ดี หนังสือเล่มดังกล่าวหาใช่หลักฐานเพียงชิ้นเดียวที่ยืนยันถึงการมีอยู่ของเหตุการณ์ ‘ฆ่าพระบรมวงศานุวงศ์ด้วยแผนถอดรางรถไฟให้ตกรถตายทั้งขบวน’ เพราะไม่นานมานี้ ได้มีการค้นพบหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่ถูกพิมพ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2489 ซึ่งคุณเปรมจิต วัชรางกูร ข้าราชการราชสำนัก ได้บันทึกไว้ในหนังสือ ‘พระปกเกล้าฯ กับชาติไทย’ (2489) ที่เขียนถึงเรื่องราวดังกล่าวเช่นกัน เพื่อเป็นการยืนยันการมีอยู่จริงของแผนการอัปยศในครั้งนั้น ทีมงาน ฤา จึงขอนำรายละเอียดของเรื่องราวดังกล่าวมาเล่าให้ฟังในคลิปนี้ครับ #LueHistory #แผนฆ่าพระบรมวงศานุวงศ์

    9 min
  8. เรื่องของฤๅ EP 78 - โครงการพระราชดำริ ไม่ใช่โฆษณาชวนเชื่อ

    09/24/2023

    เรื่องของฤๅ EP 78 - โครงการพระราชดำริ ไม่ใช่โฆษณาชวนเชื่อ

    โฆษณาชวนเชื่อ มีนิยามหลายอย่าง แต่พูดให้ถึงที่สุดแล้ว โฆษณาชวนเชื่อ ก็คือการพยายามทำให้คน 'เชื่อ' ในสิ่งที่อาจจะไม่เป็นจริงก็ได้ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา หลายคนพยายามกล่าวหาว่าโครงการต่าง ๆ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ก็เป็นหนึ่งในโฆษณาชวนเชื่อเพื่ออวยเจ้า ทั้งที่โครงการต่าง ๆ เหล่านั้นสามารถสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนคนไทยได้จริง โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (รวมไปถึงโครงการประเภทอื่นๆ) เป็นโครงการที่มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนา และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนผ่านโครงสร้างที่จับต้องได้ต่างๆ โดยมีหน่วยงานรัฐเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน โดยโครงการต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 นั้นมีจุดกำเนิดที่เกิดขึ้นในช่วงยุคเหลื่อมกับสงครามเย็นพอดี แต่การเกิดขึ้นของแนวคิดการพัฒนาในช่วงสงครามเย็นกับการสร้างโครงการเพื่อหนุนให้เกิดโฆษณาชวนเชื่อนั้นเป็นคนละเรื่องกัน การทำโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ในยุคที่โครงการเกิดขึ้นนั้น ไม่มีผู้มีอำนาจหรือประชาชนตั้งคำถามว่าทำไมต้องทำโครงการเหล่านี้ หรือโครงการเหล่านี้จะไปเกื้อหนุนพระมหากษัตริย์อย่างไร เพราะปัจจัยในขณะนั้นมีเพียงแค่ว่า จะอยู่รอดอย่างไรท่ามกลางความตึงเครียดจากกระแสการเมืองระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี นักวิชาการในยุคหลังได้ย้อนกลับไปตั้งคำถามถึงโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ โดยประเด็นที่ผุดขึ้นมาประเด็นหนึ่งนั่นก็คือ โครงการเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นโฆษณาชวนเชื่อให้เกิดความนิยมในพระมหากษัตริย์ผ่านแผนจิตวิทยาของสหรัฐอเมริกาเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ หรือนักวิชาการบางท่านได้ไปไกลถึงขนาดว่า เ

    11 min

About

Talk 'True' History

To listen to explicit episodes, sign in.

Stay up to date with this show

Sign in or sign up to follow shows, save episodes, and get the latest updates.

Select a country or region

Africa, Middle East, and India

Asia Pacific

Europe

Latin America and the Caribbean

The United States and Canada