
38 episodes

เล่ารอบโลก Thai PBS Podcast
-
- TV & Film
-
-
5.0 • 9 Ratings
-
เล่ารอบโลก
-
เล่ารอบโลก EP. 38: 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ตอนที่ 9 สำรวจสถานะของกรุงรัตนโกสินทร์ จุดแข็งของประเ
หลังจากผ่านมาแล้ว 240 ปี กรุงเทพฯ กรุงสยาม ประเทศไทย คือมหาอำนาจกลาง ที่ทั่วโลกจับตามองด้วยความสนใจยิ่ง
ติดตามฟัง เล่ารอบโลก โดย ปิติ ศรีแสงนาม
-
เล่ารอบโลก EP. 37: 240 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนที่ 8 ชาวญวนในสยาม
อาหารญวน วัดญวน อานามสยามยุทธ การหนีร้อนมาพึ่งเย็น ทั้งจากการเมืองภายใน จนถึงความขัดแย้งทางศาสนา จนถึงการก่อเกิดของกองทัพเวียดมินห์ และการขับไล่ฝรั่งเศส
ฟังเรื่องราวของชาวญวน หรือชาวเวียด ที่เข้ามาในสยามจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสยาม
ในรายการ เล่ารอบโลก โดย ปิติ ศรีแสงนาม
-
เล่ารอบโลก EP. 36: 240 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนที่ 7 ลาว-ไทย บ้านพี่เมืองน้อง
เมื่อกล่าวถึง ชาวลาว นี่คือกลุ่มคนที่มีประชากรมากที่สุดในราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ลาว-ไทย ร่วมกันสร้างสยามมาตั้งแต่โบราณนานมา สำหรับชาวไทย เราเรียกคนจาก 2 พื้นที่ว่าเป็นคนลาว นั่นคือ ชาวเหนือจากอาณาจักรล้านนา และชาวอีสานจากอาณาจักรล้านช้าง แต่ในความเป็นจริงยังมีคนลาวอีกหลากหลายกลุ่มที่ร่วมกันสร้าง กรุงเทพฯ และประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น ลาวเวียง ลาวพวน ลาวแง้ว ลาวโซ่ง ไททรงดำ ลาวพุงดำ ลาวภูครัง และ ลาวยวน
ติดตามฟังในรายการ เล่ารอบโลก โดย ปิติ ศรีแสงนาม
-
เล่ารอบโลก EP. 35: 240 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนที่ 6 เรียนรู้ชุมชนชาวตะวันตกในบางกอก ผ่าน 3 บุคคลสำ
ปี 1804 ทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่ประสูติ ณ พระบรมมหาราชวัง ในใจกลางของเมืองบางกอก ในขณะที่อีกซีกโลกหนึ่ง เด็กชาย Dan Beach Bradley ถือกำเนิดในรัฐนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา และในอีก 1 ปีต่อมา 1805 เด็กชาย Jean-Baptiste Pallegoix ก็ถือกำเนิดในอีกมุมของโลกที่ประเทศฝรั่งเศส
.
21 ปี ผ่านไป ทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่ ออกผนวชในรับพระนามฉายา "วชิรญาณภิกขุ" และไปจำพรรษาที่วัดราชาธิวาสฯ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ กับ โบสถ์คอนเซปชั่น ในปี 1829 Jean-Baptiste Pallegoix ได้เดินทางมาในฐานะบาทหลวงเด็ก จนเติบใหญ่เป็นพระอธิการ ก่อนที่พวกเราจะรู้จักท่านในนาม พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ผู้แต่งพจนานุกรม 4 ภาษา ไทย อังกฤษ ฝรั่งเศษ ละติน
.
ในขณะที่ในปี 1835 Bradley ที่เพิ่งเรียนจบคณะแพทยศาสตร์ก็เดินทางเข้ามาเผยแผ่ศาสนาโปรแตสแตนท์ในบางกอก จนเปิดโอสถศาลา รักษาโรค พร้อมสอนศาสนา จนทำให้คนสยามเรียกเขาว่า หมอบรัดเลย์ และคุณหมอเองก็นิยมที่จะเดินทางเข้าไปสนทนาเรื่องราวของวิทยาศาสตร์จากโลกใหม่ให้กับพระวชิรญาณภิกขุ ณ วัดราชาธิวาส
.
และที่นี่เองที่ทำให้ เจ้าฟ้ามงกุฏฯ ที่ต่อไปจะกลายเป็นล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ได้เรียนรู้ศิลปวิทยาการของโลกตะวันตก จนพร้อมที่จะยืนขึ้นต่อรองกับมหาอำนาจของโลก และทำให้ไทยรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้น
-
เล่ารอบโลก EP. 34: 240 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนที่ 5 ชุมชนชาวมอญในกรุงเทพฯ
มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่น ไว้นี้ ฉันจะตีก้นเธอ... เชื่อหรือไม่ว่า มอญซ่อนผ้าไม่ใช่การละเล่นของชาวมอญ แต่เกิดจากที่คนไทยใกล้ชิดจนรู้ลึกไปถึงห้องนอนของชาวมอญว่ามีอะไรซ่อนอยู่...
เชิญรับฟังที่มาของเพลงนี้และเรื่องราวของชาวมอญในประเทศไทยได้จาก Podcast เล่ารอบโลก ตอนนี้
แม้มอญจะไม่ได้มีรัฐชาติเป็นประเทศแล้วในปัจจุบัน แต่วิถีชีวิต เอกลักษณ์ความเป็นชนชาติมอญที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ได้หล่อหลอมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไทย
ปัจจุบันมีชุมชนมอญจำนวนมากในประเทศไทยทั้งใน กรุงเทพฯ, พระประแดง สมุทรปราการ, เกาะเกร็ด นนทบุรี, สามโคม ปทุมธานี, สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ สังขละบุรี กาญจนบุรี ที่ยังคงสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมของมอญเอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ
-
เล่ารอบโลก EP. 33: 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ตอนที่ 4 ชุมชนชาวภารตะในกรุงเทพฯ
กับกระแสภาพยนตร์ คังคุไบ ชาวไทยจำนวนมากเดินทางไปหาซื้อส่าหรี และเครื่องประดับแบบชาวภารตะมา Cosplay ย่านไหนที่พวกเราจะนึกถึงเมื่อไปซื้อสินค้าเหล่านี้ แน่นอนว่า พาหุรัด คือจุดหมาย และชื่อ พาหุรัด นี่เองก็มาจากคำว่า ภารตะ
ชาวภารตะคืออีกหนึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน ทำมาค้าขาย อยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์ และกลืนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ที่รุ่งเรืองพัฒนามาด้วยกัน
ชาวเอเชียใต้ในไทยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ พราหมณ์ มุสลิม และซิกข์ แต่กลุ่มที่เราอาจจะนึกไม่ถึงเช่น ฟาร์ซี อูรดู เปอร์เซีย เองก็มีรากร่วมกันและสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนในภาษาที่คนไทยใช้สื่อสารกันในทุกวันนี้ด้วย
ติดตามเรื่องราวเหล่านี้ได้ ใน เล่ารอบโลก โดย ปิติ ศรีแสงนาม
Customer Reviews
เล่าเรื่องยากให้ฟังง่ายฟังสนุก
เป็นพอดคาสท์โชว์ที่เราชอบมากเป็นอันดับต้นๆ เนื้อหาที่เล่าก็หาฟังได้ยาก แต่เล่าได้สนุกมาก รอฟังอยู่นะคะ