คิดก่อนเชื่อ

Thai PBS Podcast
คิดก่อนเชื่อ

คิดก่อนเชื่อ

  1. คิดก่อนเชื่อ : งานวิจัยสารอะคริลาไมด์ (acrylamide) ที่เกิดจากการคั่วกาแฟ

    08/08/2022

    คิดก่อนเชื่อ : งานวิจัยสารอะคริลาไมด์ (acrylamide) ที่เกิดจากการคั่วกาแฟ

    จากกรณี Consumer Council Hong Kong (สภาผู้บริโภคฮ่องกง) ได้รายงานผลทดสอบสารอะคริลาไมด์ (acrylamide) ในกาแฟ เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคถึงความเสี่ยงจากการบริโภคผลิตภัณฑ์กาแฟที่วางจำหน่ายในฮ่องกงได้ระมัดระวังในการเลือกซื้อกาแฟ เพราะอะคริลาไมด์ถูกจัดให้เป็นสารพิษก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง    สารอะคริลาไมด์เกิดได้อย่างไร และจากอาหารอะไรบ้าง       สารอะคริลาไมด์เกิดระหว่างการปรุงอาหารโดยใช้วัตถุดิบ เช่น มันฝรั่ง (หรือวัตถุดิบอื่นที่มีกรดอะมิโนแอสปาราจีนสูง) ด้วยความร้อนอุณหภูมิสูงเกิน 120 องศาเซลเซียส โดยผลิตภัณฑ์อาหารมักพบอะคริลาไมด์ปนเปื้อน ได้แก่ มันฝรั่งทอด แครกเกอร์ บิสกิต มะกอกดำ ลูกพลัมแห้ง ลูกแพร์แห้ง กาแฟคั่ว       สำหรับประเทศไทยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำฐานข้อมูลอาหารไทยที่มีการตรวจพบสารอะคริลาไมด์โดยพบว่า พริกป่น มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ขนมถุงที่ทำจากแป้งมันฝรั่ง ขนมถุงที่ทำจากมันฝรั่งทอดหรือเฟรนซ์ฟรายด์ กาแฟสำเร็จรูปและเผือกฉาบ แต่เป็นการพบสารพิษในในระดับก่อความเสี่ยงในระดับต่ำกว่าระดับที่จะเกิดพิษต่อร่างกาย      ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้กำหนดมาตรฐานการปนเปื้อนของสารอะคริลาไมด์ในกาแฟ จึงจำเป็นต้องอาศัยเกณฑ์ของสหภาพยุโรปที่กำหนดปริมาณอะคริลาไมด์ไว้ไม่เกิน 400 ไมโครกรัม/กิโลกรัมสำหรับกาแฟคั่ว และไม่เกิน 850 ไมโครกรัม/กิโลกรัมสำหรับกาแฟผงสำเร็จรูป     แต่เพื่อความปลอดภัยในการดื่มกาแฟ เรามีข้อมูลซึ่งเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการคั่วกาแฟและการเกิดสารอะคริลาไมด์ มาให้ฟัง เพื่อจะได้รู้ทันและคำแนะนำการเลือกซื้อกาแฟ ฟังกันในช่วง คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาล

    14 phút
  2. คิดก่อนเชื่อ : ใส่กัญชาในอาหาร ทำให้อร่อยมากขึ้นจริงหรือ

    17/06/2022

    คิดก่อนเชื่อ : ใส่กัญชาในอาหาร ทำให้อร่อยมากขึ้นจริงหรือ

    จริงหรือ? ในใบกัญชามีกรดกลูตามิกทำให้อาหารอร่อยขึ้นและ สาร THC ทำให้อาหารหอมขึ้น และตำรับยาหมอพื้นบ้านก็มีบันทึกไว้ว่าการใช้ใบกัญชาปรุงอาหารให้คนไข้ที่มีอาการเบื่ออาหาร ทำให้เจริญอาหารและกินข้าวได้มากขึ้นจริงหรือ?  มีงานวิจัยอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง?   งานวิจัยใบกัญชากับกรดกลูตามิก •   มีบทความวิชาการเรื่อง Phytochemical, proximate composition, amino acid profile and characterization of Marijuana (Cannabis sativa L.) (ไฟโตเคมิคอล การวิเคราะห์องค์ประกอบ รูปแบบของกรดอะมิโน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะในกัญชา) ในวารสาร The Journal of Phytopharmacology ปี 2014 ซึ่งเป็นงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ชาวไนจีเรียที่ระบุว่า ในใบกัญชามีกรดกลูตามิกในระดับที่สูงกว่ากรดชนิดอื่นไม่ถึง 10 เท่า คือที่ 10 กรัมต่อ 100 กรัมโปรตีน (กัญชามีโปรตีนประมาณ 24%) ในขณะที่กรดอะมิโนอื่นอยู่ในระดับที่ 1-8 (กรดแอสปาติก) กรัม ต่อ 100 กรัมโปรตีน ดังนั้นจึงไม่น่าระบุว่า ความรู้สึกอร่อยของอาหารใส่กัญชามาจากกรดกลูตามิก งานวิจัยใบกัญชา สาร THC ทำให้อาหารอร่อยขึ้นจริงหรือ  •   สาร THC หรือ Tetrahydrocannabinol เป็นตัวกระตุ้นให้ตัวรับที่อยู่ในสมองทำงาน ทำให้รู้สึกอยากอาหารมากขึ้น เมื่อกินมากขึ้นอาจเข้าใจผิดว่าอาหารอร่อยขึ้น แต่จริงๆแล้ว ไม่ใช่ กัญชาไม่ได้ทำให้อาหารอร่อยขึ้น  กินเมนูกัญชาจะเมาแบบสูบไหม •   ปัจจัยที่สาร THC จะเพิ่มขึ้นก็คือ ระยะเวลาที่ปรุง ยิ่งปรุงนานยิ่งมีสารมากขึ้น รวมทั้งการปรุงด้วยความร้อนอุณหภูมิสูงหรือต่ำและไขมัน เช่นการนำกัญชาไปผัดน้ำมันหรือทอด จะทำให้สาร THC ซึ่งละลายในไขมันได้ดี จึงถูกสกัดออกมามากขึ้น ดังนั้นถ้าจะรับประทานเมนูกัญชาที่ผ่านความร้อนต้องจำกัดปริมาณ คือไม่ควรกินใบกัญชาทั้งใบ เกิน 5-8 ใบต่อวัน  •   กรณีกินอาหารใส่ใบกัญช

    17 phút
  3. คิดก่อนเชื่อ : ทำไมบางคนกินมากอย่างไรก็ไม่อ้วน

    08/03/2022

    คิดก่อนเชื่อ : ทำไมบางคนกินมากอย่างไรก็ไม่อ้วน

    ทำไมบางคนกินมากอย่างไรก็ไม่อ้วน บางคนกินนิดเดียวก็อ้วนได้ ในขณะที่บางคนกินเยอะมากแต่ไม่อ้วน ที่น่าประหลาดใจไปกว่านั้นคือ พ่อแม่ ไม่อ้วน อาจเพราะคุมอาหารด้วย แต่ลูกอ้วนเอาอ้วนเอา อะไรคือคำอธิบายปรากฏการณ์นี้ วิทยาศาสตร์พอบอกได้หรือไม่ว่า อะไรคือปัจจัยที่ทำให้คนอ้วนง่ายหรือยาก •  ปัจจุบันพอได้คำตอบคร่าว ๆ แล้วว่า การที่ยีนหรือลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะไม่ทำงาน ส่งผลให้กินอย่างไรก็ไม่อ้วน มีงานวิจัยอะไรบ้าง วารสาร Science ของปี 2021 มีบทความที่กล่าวถึงเรื่องของบทบาทของพันธุกรรมต่อโอกาสที่แต่ละคนจะอ้วนหรือไม่ อย่างน้อย 2 บทความคือ  o    บทความเรื่อง Finding genes that control body weight กล่าวว่า โรคอ้วนเป็นโรคทั่วไปที่มีผลข้างเคียงที่สำคัญต่อการเจ็บป่วยและการตาย ซึ่งบางปัจจัยทางพันธุกรรมมีบทบาทสำคัญในการกำหนดขอบเขตที่เมื่อร่างกายได้รับพลังงานแล้ว จะเก็บสะสมไว้เป็นไขมันหรือไม่ ปัจจัยเหล่านี้ มีผลกระทบต่อความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน บทความนี้ได้ระบุถึงการกลายพันธุ์ > 20 ยีน ที่มีผลกระทบอย่างมากต่อดัชนีมวลกาย (BMI)  o    บทความงานวิจัยเรื่อง Sequencing of 640,000 exomes identifies GPR75 variants associated with protection from obesity (การอ่านลำดับพันธุกรรมของ exomes จากอาสาสมัคร 640,000 คน ระบุว่ายีน GPR75 เป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคอ้วน) ฟังรายละเอียดเพิ่มเติมใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย

    16 phút
  4. คิดก่อนเชื่อ : ออกกำลังกายทิพย์ที่ส่งผลดีต่อร่างกายได้มีจริงหรือ

    07/03/2022

    คิดก่อนเชื่อ : ออกกำลังกายทิพย์ที่ส่งผลดีต่อร่างกายได้มีจริงหรือ

    มีข่าวที่คนที่ไม่ชอบออกกำลังกายอาจสนใจคือ นักวิทยาศาสตร์ได้มีความกระตือรือร้นในการผลิตยาออกกำลังกายทิพย์ เพื่อให้ผู้ที่กินเข้าไปได้ประโยชน์เสมือนได้ออกกำลังกายเรียบร้อยแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องเสียเหงื่อจริง หลักการอะไรที่จะช่วยในการผลิตยาวิเศษนี้ •   เนื้อข่าวกล่าวถึงทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) ได้เปิดเผยว่า ได้พบแนวทางของการทำงานของชีวโมเลกุลที่ทำหน้าที่ในการส่งข้อมูลไปยังสมองและมีการผ่านระบบการมองเห็นของดวงตาของมนุษย์เมื่อมีการออกกำลังกาย โดยชีวโมเลกุลนี้มีลักษณะเป็นอนุภาคไขมันที่ส่งไปยังระบบประสาทส่วนกลาง และ •   ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเรื่อง Running to save sight: The effects of exercise on retinal health and function (วิ่งเพื่อรักษาสายตา: ผลของการออกกำลังกายต่อสุขภาพและการทำงานของจอประสาทตา) ในวารสาร Clinical & Experimental Ophthalmology ของปี 2021 ซึ่งกล่าวว่า ทีมวิจัยกำลังพยายามแยกอนุภาคส่วนนี้ออกมาว่าเป็นอะไร สื่อสารอะไรกับร่างกายและสื่อสารได้อย่างไร แล้วจะนำไปพัฒนาเป็นยาเม็ดแบบรับประทานได้ง่ายๆ เหมือนวิตามินทั่วไป •   วัตถุประสงค์หลักในการพัฒนายาที่ให้ผลดีเสมือนออกกำลังกายนั้น จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นอัมพาต หรือมีปัญหาในเรื่องการเคลื่อนไหวจนไม่สามารถออกกำลังกายได้ •   ดังนั้นหากแผนการสร้างยานี้ประสบความสำเร็จ ประโยชน์จะเกิดกับคนจำนวนมากที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว เพราะที่ผ่านมามีคำแนะนำว่า การออกกำลังกายช่วยบรรเทาความรุนแรงของโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น อัลไซเมอร์ หรือพาร์กินสันได้ ฟังรายละเอียดต่อใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา

    13 phút
  5. คิดก่อนเชื่อ : การกินยาควบคุมไขมันในเลือด (ยาสแตติน) ต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งคร

    03/03/2022

    คิดก่อนเชื่อ : การกินยาควบคุมไขมันในเลือด (ยาสแตติน) ต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งคร

    เมื่อมีไขมันในเลือดสูง ควรต้องพบแพทย์เพื่อรักษา ซึ่งแพทย์อาจจะให้ยาลดไขมันในเลือด มีบทความเรื่องการใช้ยาที่เป็นสถิติโลก คือ      บทความเรื่องTop10 Prescription Medications in the U.S. (ยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ 10 อันดับแรกในสหรัฐอเมริกา (เมื่อพฤศจิกายน 2021)) ให้ข้อมูลว่า ยาแผนปัจจุบันที่มีการใช้มากที่สุดในสหรัฐอเมริกา อันดับที่ 1 คือ Atorvastatin (Lipitor) เป็นสแตตินที่ใช้รักษาระดับคอเลสเตอรอลสูง อันดับที่ 2 คือ Lisinopril (Prinivil, Zestril) เป็นยายับยั้ง ACE ที่ใช้ในการรักษาความดันโลหิตสูงและใช้ร่วมกับยาอื่น ๆ เพื่อรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว อันดับที่ 3 คือ Albuterol ใช้ในการรักษาและป้องกันภาวะหลอดลมหดเกร็ง     ส่วนในระดับโลกนั้นมีบทความเรื่อง The Top 300 of 2019 Provided by the ClinCalc DrugStats Database (300 อันดับแรกของยาในปี 2019 บนฐานข้อมูล ClinCalc DrugStats) ได้ให้ข้อมูลของยาแผนปัจจุบันที่ใช้มาก (จำนวนเม็ดยา) ที่สุดในโลก คือ 1. Atorvastatin (ยาลดคอเลสเตอรอล) 2. Levothyroxine (ยาบำบัดอาการ hypothyroidism) 3. Lisinopril (ตัวยับยั้ง angiotensin-converting enzyme (ACE) และถือเป็นยามาตรฐานทองคำ (gold standard) ในการรักษาความดันโลหิตสูง และยังใช้บำบัดภาวะหัวใจล้มเหลวและให้คนไข้หลังหัวใจวาย) …. 6. Amlodipine (a calcium channel blocker ที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ)  มีงานวิจัยอะไรเกี่ยวกับยาสแตตินช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้อย่างไร ติดตามฟังใน คิดก่อนเชื่อ

    14 phút

Xếp Hạng & Nhận Xét

Giới Thiệu

คิดก่อนเชื่อ

Bạn cần đăng nhập để nghe các tập có chứa nội dung thô tục.

Luôn cập nhật thông tin về chương trình này

Đăng nhập hoặc đăng ký để theo dõi các chương trình, lưu các tập và nhận những thông tin cập nhật mới nhất.

Chọn quốc gia hoặc vùng

Châu Phi, Trung Đông và Ấn Độ

Châu Á Thái Bình Dương

Châu Âu

Châu Mỹ Latinh và Caribê

Hoa Kỳ và Canada