จริงหรือ? ในใบกัญชามีกรดกลูตามิกทำให้อาหารอร่อยขึ้นและ สาร THC ทำให้อาหารหอมขึ้น
และตำรับยาหมอพื้นบ้านก็มีบันทึกไว้ว่าการใช้ใบกัญชาปรุงอาหารให้คนไข้ที่มีอาการเบื่ออาหาร ทำให้เจริญอาหารและกินข้าวได้มากขึ้นจริงหรือ? มีงานวิจัยอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง?
งานวิจัยใบกัญชากับกรดกลูตามิก
• มีบทความวิชาการเรื่อง Phytochemical, proximate composition, amino acid profile and characterization of Marijuana (Cannabis sativa L.) (ไฟโตเคมิคอล การวิเคราะห์องค์ประกอบ รูปแบบของกรดอะมิโน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะในกัญชา) ในวารสาร The Journal of Phytopharmacology ปี 2014 ซึ่งเป็นงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ชาวไนจีเรียที่ระบุว่า ในใบกัญชามีกรดกลูตามิกในระดับที่สูงกว่ากรดชนิดอื่นไม่ถึง 10 เท่า คือที่ 10 กรัมต่อ 100 กรัมโปรตีน (กัญชามีโปรตีนประมาณ 24%) ในขณะที่กรดอะมิโนอื่นอยู่ในระดับที่ 1-8 (กรดแอสปาติก) กรัม ต่อ 100 กรัมโปรตีน ดังนั้นจึงไม่น่าระบุว่า ความรู้สึกอร่อยของอาหารใส่กัญชามาจากกรดกลูตามิก
งานวิจัยใบกัญชา สาร THC ทำให้อาหารอร่อยขึ้นจริงหรือ
• สาร THC หรือ Tetrahydrocannabinol เป็นตัวกระตุ้นให้ตัวรับที่อยู่ในสมองทำงาน ทำให้รู้สึกอยากอาหารมากขึ้น เมื่อกินมากขึ้นอาจเข้าใจผิดว่าอาหารอร่อยขึ้น แต่จริงๆแล้ว ไม่ใช่ กัญชาไม่ได้ทำให้อาหารอร่อยขึ้น
กินเมนูกัญชาจะเมาแบบสูบไหม
• ปัจจัยที่สาร THC จะเพิ่มขึ้นก็คือ ระยะเวลาที่ปรุง ยิ่งปรุงนานยิ่งมีสารมากขึ้น รวมทั้งการปรุงด้วยความร้อนอุณหภูมิสูงหรือต่ำและไขมัน เช่นการนำกัญชาไปผัดน้ำมันหรือทอด จะทำให้สาร THC ซึ่งละลายในไขมันได้ดี จึงถูกสกัดออกมามากขึ้น ดังนั้นถ้าจะรับประทานเมนูกัญชาที่ผ่านความร้อนต้องจำกัดปริมาณ คือไม่ควรกินใบกัญชาทั้งใบ เกิน 5-8 ใบต่อวัน
• กรณีกินอาหารใส่ใบกัญช
資訊
- 節目
- 發佈時間2022年6月17日 上午4:00 [UTC]
- 長度17 分鐘
- 年齡分級兒少適宜