หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม

dhamma.com
หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม

ธรรมะเพื่อการเจริญสติ รู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางโดยพระปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม A collection of the Lord Buddha's teachings conveyed by the venerable Luangpor Pramote Pamojjo, a master teacher of mindfulness for the modern world and Vipassana meditation.

  1. 16/10/2017

    601001B สวนสันติธรรม ๗๒ 1 ต.ค. 60 B

    "ใช้ใจที่ธรรมดาที่สุดนะ ไปรู้อารมณ์สบายๆ แป๊บเดียวก็สงบ เคล็ดลับอยู่ตรงนี้นะ เพราะฉะนั้นแต่ละวันแบ่งเวลา ทำในรูปแบบ ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง พุทโธก็ได้ หายใจก็ได้ หายใจไปพุทโธไปก็ได้ อันนี้เป็นกรรมฐานกลางๆ ใช้ได้ทุกคน ไม่ยากอะไรนะ ทำไปแล้วคอยรู้เท่าทันจิต จิตสงบก็รู้ จิตฟุ้งซ่านก็รู้ จิตวิ่งหนีไปก็รู้ จิตอยู่กับเนื้อกับตัวก็รู้ ทำกรรมฐานอย่างหนึ่งแล้วรู้ทันจิตไปเรื่อย ในที่สุด จิตก็จะสงบลงมา เชื่องขึ้นๆ ตั้งมั่น ไม่หนีไปไหน จิตได้สมาธิที่มีกำลัง เวลาที่เหลือ เจริญสติในชีวิตประจำวัน การเจริญสติในชีวิตประจำวันก็คือ มีตาก็ดู มีหูก็ฟัง มีใจก็คิด มีจมูกก็รู้กลิ่น มีลิ้นก็รู้รส มีกายก็รู้สัมผัสทางกาย กระทบอารมณ์ไปตามธรรมชาติธรรมดา แต่พอกระทบอารมณ์แล้วนะ ถ้าเกิดสุขให้รู้ เกิดทุกข์ให้รู้ เกิดกุศลให้รู้ เกิดโลภ โกรธ หลงอะไรขึ้นมา ให้รู้นะ กระทบอารมณ์ไป" -- พระธรรมเทศนา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม แผ่นที่ ๗๒ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๐

    45 phút
  2. 18/10/2017

    601007A สวนสันติธรรม ๗๓ 7 ต.ค. 60 A

    "ต้องไม่เปิดช่องให้กิเลสมีอำนาจเหนือเรา กุศลเราก็เจริญไปเรื่อยๆ อย่างเราตั้งใจเดินจงกรม อย่าไปตั้งใจเดินจรงกรมว่า หนึ่งพรรษา ออกพรรษา แล้วเลิก อะไรที่ดีๆ ตั้งใจมันทั้งชาติเลย อย่างหลวงพ่อสอนพระ สอนปฎิบัติทั้งชีวิต อย่าคิดว่าปฏิบัติถึงเมื่อไหร่ ลงมือปฏิบัติไปทั้งชีวิตเลย เพราะการปฏิบัติเป็นเรื่องดี ไม่เห็นจะเสียหายตรงไหนเลย ยิ่งปฏิบัติ ยิ่งดี ยิ่งมีความสุข ทำไมจะต้องมา limit ตัวเองในความดี พระพุทธเจ้าไม่สรรเสริญความดีที่หยุดนิ่งนะ อย่างอะไรที่ดี ทำมันทั้งชีวิตเลย ค่อยๆ ฝึกตัวเองไป ใจมันจะเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ นะ กิเลสมันก็จะอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ สติ สมาธิ ปัญญา จะดีขึ้นเรื่อยๆ ค่อยๆ ฝึกตัวเองไปทุกวัน ทุกวัน อย่าท้อถอย บางทีใจท้อแท้นะ ท้อแท้ก็ไม่เลิกปฏิบัติ อย่างเราตั้งใจไว้ ทุกวันเราจะเดินจงกรม ถึงเวลาเราก็ต้องเดิน" -- พระธรรมเทศนา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม แผ่นที่ ๗๓ วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๐

    33 phút
  3. 24/10/2017

    ลมหายใจคือวัตถุมงคล : หลวงพ่อปราโมทย์ 8 ต.ค. 60 B (601008B)

    "ลมหายใจของเรานี่แหละ เป็นวัตถุมงคลที่วิเศษที่สุดเลยนะ ลองหายใจสิ รับรองไม่ตาย หยุดเมื่อไหร่ ไม่มีมงคลแล้ว อัปมงคลแล้ว เข้าโลง ถ้าเราสามารถเจริญสตินะ หายใจออก รู้สึกตัว หายใจเข้า รู้สึกตัว ลมหายใจนั้นเป็นมงคลสำหรับเราแล้ว เรามีสติ มีสมาธิ ต่อไปก็เกิดปัญญา เห็นความจริง ร่างกายที่หายใจอยู่ ไม่ใช่ตัวเรา วัตถุมงคลอื่นๆ ทำให้หนังเหนียว อยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด เมตตามหานิยม อะไรต่ออะไร สู้เราไม่ได้หรอก เราหายใจไปเรื่อย จิตใจเราสงบ มีความสุข จิตใจที่สงบ จิตใจที่มีความสุข มันมีเสน่ห์อยู่ในตัวเอง" -- พระธรรมเทศนา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม แผ่นที่ ๗๓ วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๐

    46 phút
  4. 29/10/2017

    601014B สวนสันติธรรม ๗๓ 14 ต.ค. 60 B

    "ในความเป็นจริง ทุกคนรู้กายรู้ใจได้ แต่ไม่รู้ว่าอันนี้เป็นของสำคัญ ก็เลยละเลย ไม่สนใจ ถ้ารู้ก็รู้ได้ทุกคน อย่างร่างกายของเรา หายใจออกหรือหายใจเข้า อย่างนี้ มันยากไหมที่จะรู้ ต้องวางฟอร์มไหม ทำจิตขรึมๆก่อน แล้วถึงจะรู้ว่าหายใจออกหรือหายใจเข้า ไม่จำเป็นเลย ร่างกายจะยืนเดินนั่งนอน เราต้องทำจิตให้แปลกๆ ไหมถึงจะรู้ เรารู้ด้วยจิตใจที่ธรรมดาที่สุดเลย รู้ไปด้วยจิตใจที่ธรรมดาๆ ร่างกายหายใจออกรู้สึก หายใจเข้ารู้สึก เห็นเหมือนเห็นคนอื่นหายใจนะ" -- พระธรรมเทศนา หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม แผ่นที่ ๗๓ วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๐

    33 phút
4,9
/5
53 Xếp hạng

Giới Thiệu

ธรรมะเพื่อการเจริญสติ รู้กาย รู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางโดยพระปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม A collection of the Lord Buddha's teachings conveyed by the venerable Luangpor Pramote Pamojjo, a master teacher of mindfulness for the modern world and Vipassana meditation.

Có Thể Bạn Cũng Thích

Bạn cần đăng nhập để nghe các tập có chứa nội dung thô tục.

Luôn cập nhật thông tin về chương trình này

Đăng nhập hoặc đăng ký để theo dõi các chương trình, lưu các tập và nhận những thông tin cập nhật mới nhất.

Chọn quốc gia hoặc vùng

Châu Phi, Trung Đông và Ấn Độ

Châu Á Thái Bình Dương

Châu Âu

Châu Mỹ Latinh và Caribê

Hoa Kỳ và Canada