วันนี้พวกเรามาคุยกันเรื่องการวางแผนครอบครัวเพื่ออนาคตกับ พญ.ศศวิมล ปรีชาพรกุล สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้มีบุตรยาก แพทย์ที่ปรึกษาประจำแอปพลิเคชัน Chiiwii
⚠️ กฎหมายอุ้มบุญ ⚠️
การแช่แข็งไข่ เพื่อจะนำไปใช้ในอนาคต สามารถทำได้โดยที่ยังไม่ต้องแต่งงาน แต่เมื่อเราอยากจะผสมไข่ของเรา เราจำเป็นที่จะต้องนำทะเบียนสมรสมาให้คุณหมอ (เช่นเดียวกับการทำ IVF)
⚠️ การแช่แข็งไข่ไม่ใช้การการันตีแต่เป็นการเพิ่มโอกาส ในการเป็นแม่ ⚠️
⛔️ ข้อห้าม ⛔️
1.) มีโรคที่เสี่ยงอันตรายต่อการให้ฮอร์โมน เช่น มะเร็งที่เกี่ยวกับนรีเวช
2.) กลุ่มที่มีโรคทางอายุรกรรม แบบรุนแรง
3.) กลุ่มโรคที่ ไม่สามารถฉีดยาสลบ หรือดมยาสลบ
บุคคลใดบ้างที่เข้าสู่การพิจารณาว่าควรจะแช่แข็งไข่ได้
1.) คนที่ยังไม่ได้แต่งงาน แต่มีความตั้งใจในชีวิตว่าวันหนึ่งจะเป็นคุณแม่
2.) กลุ่มคนไข้ที่มีโรค เช่น กลุ่มโรค chocolate cyst บางคนต้องตัดรังไข่ หรือต้องกินฮอร์โมน ที่ทำให้ไข่ไม่โตอีกต่อไป เราจึงเอาไข่ที่มีอยู่มาเก็บไว้ก่อน และก็อีกกลุ่มหนึ่ง ก็คือกลุ่มที่เป็นมะเร็ง ที่จะต้องให้เคมีบำบัด รังสีรักษา และอาจจะมีผลกับไข่ ทำให้จำนวนไข่ในรังไข่ลดลง
3.) กลุ่มคนที่จะทำการข้ามเพศแต่เขาอยากจะรักษาโอกาสที่จะมีลูกด้วยไข่ของตัวเอง
Q: ช่วงอายุที่แนะนำสำหรับการแช่แข็งไข่
A: อายุ 20 - 30 ต้น ๆ ถือว่าดีที่สุด พอหลัง 32 ปีไปแล้วคุณภาพ ไข่จะค่อย ๆ ลดลง มีแนวโน้มที่จะมีความผิดปกติของโครโมโซมมากขึ้น อายุยิ่งน้อย ยิ่งมีโอกาสได้ไข่คุณภาพสูงกว่าเมื่อเราอายุมากขึ้น
Q: อัตราความสำเร็จ
A: ขึ้นอยู่กับอายุและจำนวน ถ้าเรายิ่งอายุมาก เราก็ต้องใช้ไข่มากขึ้น เพราะโอกาสมีโครโมโซมผิดปกติมากขึ้น โดยเราอาจจะต้องมีการเก็บไข่มากกว่า 1 รอบ อัตราการรอดของไข่ ปกติหลังจากแช่แข็งไปแล้ว อยู่ที่ประมาณ 80% - 90% แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความชำนาญของห้องแล็บแต่ละที่ แต่ไม่ควรต่ำกว่า 80% ฉะนั้นแปลว่าถ้ามีไข่ 20 ใบ เอามาละลายแล้วเหลือ 18 ใบ หลังจากที่ผสมกับสเปิร์ม อัตราผสมปกติก็คือ 80% ได้ตัวอ่อนออกมา 14 ตัว จะต้องเลี้ยงไปเพื่อให้ถึงระยะที่ต้องฝังตัวเรียกว่า blastocyst ตัวอ่อนจะหายไปอีกครึ่งหนึ่ง เหลือ 7 ตัว แล้วก็ควรตรวจโครโมโซม เพราะว่าตัวอ่อนส่วนใหญ่จะผิดปกติ ฉะนั้นจาก 7 ตัว ถ้าคุณอายุ 30 ตอนที่คุณเก็บไข่ แปลว่าจาก 7 ตัวจะเหลือตัวอ่อนประมาณ 4 ตัว แล้วก็ อัตราการฝังตัวประมาณ 50% - 60% แปลว่าคุณมีโอกาสมีลูก 2 คน ถึงมันจะดูเยอะ แต่ว่าเป็นข้อมูลที่คนไข้ควรจะต้องได้รับทราบก่อน
Q: ขั้นตอนกระตุ้นไข่ทำยังไง ?
A: ถ้าไม่นับส่วนที่ ปรึกษาหมอและประเมิน ก็จะใช้เวลา ช่วงเตรียมตัวประมาณ 1 เดือน แล้วก็ช่วงกระตุ้นไข่อีกประมาณครึ่งเดือน โดยทั่วไปก็จะมีช่วง Suppress หมายความว่าช่วงเตรียมคนไข้ คือให้ฮอร์โมน เพื่อให้ไข่ settle อยู่ในระยะเดียวกัน พอช่วงกระตุ้นไข่ จะฉีดยาทุกวัน ทั้งหมดประมาณ 8 - 12 วันขึ้นอยู่กับแต่ละคนระหว่างนี้ก็จะมี follow up และดูแลว่ามันจะต้องไม่เกิดการ cancel ขึ้น ดูภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ แล้วก็เก็บไข่ ตอนเก็บไข่ก็ทำในห้องผ่าตัด ระยะเวลาตั้งแต่ที่เริ่มกระตุ้นจนถึงเก็บไข่ จะอยู่ที่ประมาณ 2 สัปดาห์ นับเป็น 1 รอบ ถ้าอยากจะกระตุ้นใหม่แนะนำให้พัก 2 รอบประจำเดือน ก่อนที่จะกลับเข้ามากระตุ้นอีกครั้งหนึ่ง เพราะฉะนั้นคนที่วางแผนว่าจะทำ 1 รอบ คือ 3 เดือน เพื่อสุขภาพของคนไข้
Q: ราคาของการเก็บไข่ ?
A: โดยทั่วไปมันจะอยู่หลักแสน รวมทั้งหมดเลย ตั้งแต่ ค่าหมอ, ค่า Investigate, ค่าเจาะเลือด ค่ายา, ค่า ultrasound, ค่าเก็บไข่ในห้องผ่าตัดออกมา เลขกลม ๆ ไม่รวมค่าแช่แข็งรายปี จะอยู่ประมาณ 90,000 - 120,000 ซึ่งอันนี้มันบวกลบ 20% - 30% ขึ้นกับสถานที่ ที่ทำ, ยาที่ใช้, ความชำนาญของแพทย์
Q: ค่าเก็บรักษาแช่แข็ง ?
A: ส่วนใหญ่จะเป็นหลักหมื่นเช่น 5 ปี 40,000 บาทขึ้นอยู่กันสถานที่
Q: ภาวะแทรกซ้อนจากการกระตุ้นไข่
A: เนื่องจากมันเป็นโปรแกรมแช่แข็งไข่ พอเราเก็บไข่ แล้วเราจบ ส่วนใหญ่พวก Hyperstimulation จะไม่เกิด ในยุคนี้เทคโนโลยีดีขึ้นมาก ทำให้การเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังเก็บไข่ลดลง มีภาวะแทรกซ้อนน้อยลง
============================
บทสัมภาษณ์ พญ.ศศวิมล ปรีชาพรกุล สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้มีบุตรยาก
แอปพลิเคชัน “Chiiwii ปรึกษาหมอผ่านแอป” http://onelink.to/chiiwii
============================
Информация
- Подкаст
- Опубликовано26 апреля 2021 г., 16:29 UTC
- Длительность12 мин.
- Выпуск32
- ОграниченияБез ненормативной лексики