TOP TO TOE

TOP TO TOE

พอดแคสต์สุขภาพที่ใช้วิทยาศาสตร์ไขปัญหาตั้งแต่หัวจรดเท้า ดำเนินรายการโดย ดร.ข้าว ต้นสมบูรณ์

  1. TTT123 ไฟเบอร์และวิตามินในน้ำผลไม้เหลือแค่ไหน หรือได้แค่น้ำตาล?

    -4 J

    TTT123 ไฟเบอร์และวิตามินในน้ำผลไม้เหลือแค่ไหน หรือได้แค่น้ำตาล?

    ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/KOW7x4g8-VU เป็นที่ถกเถียงกันมากว่า ‘น้ำผักผลไม้’ ที่หลายคนเข้าใจว่าดีต่อสุขภาพนั้น แท้จริงแล้วไม่ต่างอะไรกับของหวานที่เหลือเพียงน้ำตาล และส่งผลเสียต่อร่างกาย Top to Toe อีพีนี้ ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลน้ำผักผลไม้ที่แพร่หลายในประเทศไทย ตั้งแต่การคั้น การปั่น การสกัดแยกกาก ไปจนถึงการสกัดเย็น ว่าวิธีการแต่ละแบบส่งผลต่อกากใยอาหาร, วิตามิน, เกลือแร่ และสารสำคัญที่ได้จากพืช (Phytochemicals) อย่างไร ประโยชน์ที่เราต้องการหลงเหลืออยู่แค่ไหน และถ้าจะกินน้ำผักผลไม้ควรกินอย่างไรจึงจะได้คุณค่ามากที่สุด

    29 min
  2. TTT122 เพศสัมพันธ์ ต้นเหตุสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายเปลี่ยน

    2 NOV.

    TTT122 เพศสัมพันธ์ ต้นเหตุสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายเปลี่ยน

    ระบบนิเวศของจุลินทรีย์ หรือ Microbiome ไม่ได้มีแค่ในลำไส้เท่านั้น แต่ยังมีอยู่ทั่วร่างกายมนุษย์ ซึ่งแม้ว่าเราจะดูแลให้สมดุลเท่าไรก็ตาม แต่บางกิจกรรมก็สามารถทำให้ระบบนิเวศของจุลินทรีย์เปลี่ยน โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์ที่เป็นการรับจุลินทรีย์มาจากอีกฝ่าย Top to Toe เอพิโสดนี้ พาสำรวจสังคมจุลินทรีย์ระบบต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์ เพราะเป็นต้นเหตุสำคัญในการได้รับจุลินทรีย์ต่างถิ่น อาจส่งผลให้จุลินทรีย์ที่มีอยู่เดิมเปลี่ยนแปลงไป เราจะรักษาสมดุลเดิมไว้ได้อย่างไรพร้อมกับการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยไปด้วย

    27 min
  3. TTT121 รับมือ 2 ช่วงอายุที่ร่างกายแก่กะทันหัน

    26 OCT.

    TTT121 รับมือ 2 ช่วงอายุที่ร่างกายแก่กะทันหัน

    ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด โดยปกติแล้วเราเข้าใจกันว่า ร่างกายของมนุษย์แก่ขึ้นทุกวันด้วยอัตราปกติ แต่จากงานวิจัย 2 ฉบับพบว่ามีอยู่ 2 ช่วงอายุที่ร่างกายแก่กะทันหัน ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน และการเผาผลาญไขมันที่ทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็ว ก่อนจะเข้าสู่ 2 ช่วงอายุดังกล่าว Top to Toe ขอสรุปองค์ความรู้และวิธีการรับมือ ทั้งการดูแล DNA ไม่ให้โดนทำลาย การป้องกันโรคเบาหวาน และเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวิตามิน รวมถึงเตรียมตัวตรวจร่างกายแบบชุดใหญ่ เพื่อให้ร่างกายยังแข็งแรงและระวังโอกาสในการเกิดโรคต่างๆ

    17 min
  4. TTT120 กิน Processed Food ไม่ให้ร่างพัง กับนักวิทยาศาสตร์ทางอาหาร

    19 OCT.

    TTT120 กิน Processed Food ไม่ให้ร่างพัง กับนักวิทยาศาสตร์ทางอาหาร

    ขึ้นชื่อว่าอาหารแปรรูป หรือ Processed Food หลายคนมีความเชื่อว่าเป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ในความเป็นจริงยังมี Ultra-Processed Food และเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงได้ยากในชีวิตประจำวัน เพราะมันคือซอส, ขนมปัง, ไอศกรีม, น้ำอัดลม, ช็อกโกแลต และยังไม่รวมถึงไส้กรอกหรือลูกชิ้นที่เรารู้จักกันดี Top to Toe ชวน ดร.ยุวเรศ มลิลา นักวิทยาศาสตร์ทางอาหาร มาทำความเข้าใจโลกของ Processed Food และ Ultra-Processed Food ว่าต่างกันอย่างไร ส่งผลเสียต่อร่างกาย เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคจริงหรือไม่ และถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้เราจะบริโภคอย่างไรให้ร่างกายไม่พังในที่สุด

    31 min
  5. TTT119 เลือกน้ำมันพืชแบบไหนตอบโจทย์ร่างกายที่สุด

    12 OCT.

    TTT119 เลือกน้ำมันพืชแบบไหนตอบโจทย์ร่างกายที่สุด

    ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/0qW7fGoBLak น้ำมันเป็นสิ่งที่หลายคนมองว่าน่ากลัวและพยายามหลีกเลี่ยง แต่ในขณะเดียวกันไขมันก็เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย แล้วจะเลือกน้ำมันพืชอย่างไร เพราะเดินเข้าซูเปอร์มาร์เก็ตทีไรก็มีให้เลือกเต็มไปหมด Top to Toe ไม่ได้อยากให้กลัวน้ำมัน แต่อยากให้โฟกัสที่การเลือกชนิดของน้ำมันและวิธีการใช้ เพราะสิ่งสำคัญคือ ‘จุดเกิดควัน’ ที่จะทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระแตกต่างกัน น้ำมันพืชมีกี่ชนิด แต่ละชนิดเหมาะสำหรับทำอาหารแบบไหน จุดเกิดควันส่งผลอย่างไร ข้อกังวลทั้งหมด คำตอบอยู่ในเอพิโสดนี้

    26 min
  6. TTT118 วิธีทำอาหารที่ช่วยลดสารเร่งแก่ AGEs

    5 OCT.

    TTT118 วิธีทำอาหารที่ช่วยลดสารเร่งแก่ AGEs

    ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/i0ahRT6wRyI ไม่ใช่แค่การเลือกวัตถุดิบเท่านั้น แต่ ‘วิธีการประกอบอาหาร’ ก็ทำให้เกิดสารที่ทำให้แก่เร็วขึ้น โดยตัวแปรสำคัญที่ว่าคืออุณหภูมิ ระยะเวลา และความชื้น Top to Toe เอพิโสดนี้ชวนทุกคนที่ไม่ว่าจะทำอาหารรับประทานเองหรือไม่ก็ตาม รู้จักกับสารอันตราย 3 กลุ่ม ทั้งสารจากเนื้อสัตว์โดนความร้อน เนื้อสัตว์ที่หมักที่ประกอบด้วยน้ำตาลโดนความร้อน และพืชที่มีแป้งโดนความร้อน สารที่ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะมีเทคนิคอย่างไรในการประกอบอาหาร เพื่อลดการเกิดสารอันตรายและไม่ทำให้ร่างกายอักเสบหรือเกิดโรค

    23 min
  7. TTT117 Leaky Gut ดูแลป้อมปราการลำไส้ก่อนลำไส้รั่ว

    28 SEPT.

    TTT117 Leaky Gut ดูแลป้อมปราการลำไส้ก่อนลำไส้รั่ว

    ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/adgQgm8iG4o เชื่อหรือไม่ว่า ลำไส้รั่วได้! ภาวะลำไส้รั่ว หรือ Leaky Gut แม้ยังไม่จัดเป็นโรคทางการแพทย์ แต่ก็สร้างความทรมานให้กับผู้ที่มีอาการ ทั้งปวดท้องส่วนล่าง ท้องผูก ท้องร่วง ท้องป่อง อาหารไม่ย่อย และเหนื่อยง่าย เพราะมีผลกระทบต่อไทรอยด์โดยตรง สาเหตุสำคัญเกิดจากป้อมปราการในเยื่อบุลำไส้ยอมให้สารพิษและเชื้อโรคบางอย่างผ่านเข้ามาได้มากเกินไป ซึ่งทั้งหมดเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต แล้วจะมีวิธีป้องกันอย่างไร Top to Toe หาคำตอบมาให้แล้ว

    28 min
  8. TTT116 ดูแลไทรอยด์ ก่อนระบบเผาผลาญพัง

    21 SEPT.

    TTT116 ดูแลไทรอยด์ ก่อนระบบเผาผลาญพัง

    ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/vbVwuDdWXfM คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่ น้ำหนักเพิ่ม เหนื่อยง่าย หนาวง่าย เศร้าง่าย อาการดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับ Hypothyroid ซึ่งเกิดจากร่างกายสร้างฮอร์โมนไทรอยด์น้อยเกินไป จนทำให้ระบบการเผาผลาญทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ Top to Toe พาไปรู้จักอวัยวะและฮอร์โมนสำคัญที่ควบคุมระบบการเผาผลาญของร่างกาย กลไกของฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานอย่างไร สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนต่ำเกิดจากอะไร และทำอย่างไรจึงจะช่วยให้จุลินทรีย์ในลำไส้เกิดความสมดุล เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร่างกายจำต่อมไทรอยด์ของตัวเองไม่ได้จนทำลายตัวเอง

    19 min

À propos

พอดแคสต์สุขภาพที่ใช้วิทยาศาสตร์ไขปัญหาตั้งแต่หัวจรดเท้า ดำเนินรายการโดย ดร.ข้าว ต้นสมบูรณ์

Plus de contenus par THE STANDARD PODCAST

Vous aimeriez peut‑être aussi

Pour écouter des épisodes au contenu explicite, connectez‑vous.

Recevez les dernières actualités sur cette émission

Connectez‑vous ou inscrivez‑vous pour suivre des émissions, enregistrer des épisodes et recevoir les dernières actualités.

Choisissez un pays ou une région

Afrique, Moyen‑Orient et Inde

Asie‑Pacifique

Europe

Amérique latine et Caraïbes

États‑Unis et Canada