หมอชีวี มีคำตอบ

Chiiwii
หมอชีวี มีคำตอบ

ตอบข้อมูลสุขภาพโดยอาจารย์แพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จากแอปพลิเคชันชีวี ปรึกษาหมอที่ใช่ จากที่ไหนก็ได้ ต้องการความเป็นส่วนตัวในการปรึกษาหมอ คลิก http://onelink.to/67qt49

Episodes

  1. 06/26/2021

    Ulthera vs Thermage เลือกยังไง เครื่องไหนเหมาะกับหน้าเรา

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาพบกับ คุณหมอ ณัฐพล ลาภเจริญกิจ ในเรื่องของเครื่อง Thermage กับ Ulthera ซึ่งคุณหมอณัฐพลเป็น Medical director และ Founder ของ Infiniz Clinic ซึ่งเป็นคลินิก อันดับ 1 ปรับรูปหน้าโดยไม่ศัลยกรรม Ulthera เครื่อง Ulthera จะใช้ลักษณะของการยกกระชับ โดยการใช้คลื่นเสียง โดยจะใช้หัวทิป หรือว่าตัว Transducer ในการที่จะส่องลงไปที่ผิวหน้าคนไข้ในขณะทำและสามารถที่จะสแกนผิวหน้าคนไข้ ลงไปถึงตำแหน่งที่เราต้องการอย่างแท้จริง แล้วก็ต้องอาศัยประสบการณ์ของแพทย์ ในการที่จะส่องวิเคราะห์ชั้นผิว และเราสามารถจะมองเห็นชั้นผิวได้ด้วยในขณะทำ เหมือนกับคุณหมอที่ทำ Ultrasound ดู​อวัย​วะหรือเด็กอ่อนในครรภ์​ Thermage เครื่อง Thermage จะใช้เทคโนโลยีคลื่นวิทยุ หรือว่า Radio Frequency ที่มีพลังงานสูงที่สุดในกลุ่มของคลื่นวิทยุทั้งหมด ส่งผ่านความร้อน โดยจะถูกโฟกัสลงไปที่ผิวชั้นล่างอย่างเดียว พร้อมกับป้องกันผิวส่วนบนให้เย็น เพื่อไม่ให้ได้รับผลข้างเคียงจากความร้อน ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของเจ้าตัว Thermage ผิวของคนเรามีทั้งหมดประมาณ 4 ชั้น 1.) ผิวส่วนบนหรือผิวชั้นขี้ไคล 2.) ผิวส่วนล่าง เป็นที่อยู่ของโปรตีน ในกลุ่มของคอลลาเจน ผิวชั้นนี้จะเป็นจุดที่ส่งผลต่อความอ่อนเยาว์, ความนุ่มนวล 3.) ชั้นไขมัน 4.) ชั้นกล้ามเนื้อ Q: ทั้งสองเครื่องนี้จัดการกับผิวเราในระดับของความลึกเดียวกันเลยไหม ? A: เครื่อง Ulthera จะช่วยในเรื่องของการกระชับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ที่เรียกว่าชั้น SMAS ซึ่งมีหน้าที่ พยุงโครงหน้าทั้งหมดของเรา ให้มีสภาพที่ตึงกระชับอยู่ ชั้น SMAS จะเป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ อยู่ระหว่างชั้นไขมันกับชั้นกล้ามเนื้อ เราสามารถใช้ Ulthera เข้าไปแก้ไข้ให้มีความตึงกระชับได้ แต่ว่าตัว Thermage จะส่งคลื่นวิทยุลงไป ที่ชั้นไขมัน แล้วก็ชั้นคอลลาเจนส่วนบน ทั้งสองเทคโนโลยีนี้เหมือนกันที่ช่วยในเรื่องของการยกกระชับเหมือนกัน แต่ว่ามันไปทำงานคนละชั้นกัน เพราะฉะนั้น ถ้าทำงานประสานกันก็จะทำให้ผลลัพธ์ดีขึ้นนะ Q: หน้าของใครเหมาะกับเครื่องไหน A: Ulthera จะเหมาะกับคนที่ผิวค่อนข้างบาง หรือคนที่ผิวมีชั้นไขมันค่อนข้างน้อยอยู่แล้ว ตัวเครื่องจะทำงานได้ค่อนข้างดีและก็เห็นผลได้ค่อนข้างชัดเจน Thermage จะเหมาะกันคนที่เนื้อเยอะนิดหนึ่ง เพราะใช้คลื่นวิทยุลงไปจัดการกับชั้นไขมัน ฉะนั้นแน่นอนว่าคนที่มีไขมันเยอะ ก็จะได้ผลดีกับการรักษาด้วย Q: อยากทำเรื่องถุงใต้ตา สองเครื่องนี้ช่วยได้ไหม ? A: ถ้าเกิดเคสไหนที่ถุงใต้ตามันเยอะมากจริง ๆ แน่นอนว่าประสิทธิภาพการรักษา อาจจะช่วยได้ประมาณ 30% - 50% ถ้าเกิดจะเอาให้หายเลย ก็อาจจะต้องทำศัลยกรรม ในกรณีที่ถุงใต้ตามันหย่อนในระดับ ที่เราสามารถที่จะแก้ไขด้วยการใช้สองเครื่องนี้ ก็สามารถทำได้เหมือนกัน ปกติจะใช้ตัว Thermage เข้าไป เพื่อทำให้ถุงใต้ตากระชับเข้าไปได้ดีขึ้น หลังจากนั้นเราอาจจะใช้ตัว Ulthera เก็บงาน ในส่วนของกล้ามเนื้อ ให้มันกระชับเข้าไปอีกระดับหนึ่ง ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ============================ บทสัมภาษณ์ คุณหมอ ณัฐพล ลาภเจริญกิจ Medical director และ Founder ของ Infiniz Clinic แอปพลิเคชัน “Chiiwii ปรึกษา​หมอผ่านแอป” http://onelink.to/chiiwii ============================ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม วิธีการใช้งาน สอบถามนัดแพทย์ ติดตามโปรโมชัน LineOA : https://line.me/R/ti/p/%40myi8448h Facebook : https://www.facebook.com/Chiiwiidoctor Instagram : https://www.instagram.com/chiiwiidoctor Twitter : https://twitter.com/ChiiwiiDoctor Chiiwii website : https://www.chiiwii.com/ #Chiiwii #ปรึกษาหมอที่ใช่จากที่ไหน​ก็ได้ #แอปมือถือ #onlinedoctor #Telemedicine #Telehealth #หาหมอ #ชีวีใช้ใจดูแลใจ #คุยกับหมอชีวีได้ #ไม่ต้องรอให้ป่วย #Thermage #Ulthera #ดูแลผิวหน้า

    9 min
  2. 04/26/2021

    Egg freezing ทางเลือกของผู้หญิ​งยุค​ใหม่ กับ พญ.ศศวิมล ปรีชาพรกุล

    วันนี้พวกเรามาคุยกันเรื่องการวางแผนครอบครัวเพื่ออนาคตกับ พญ.ศศวิมล ปรีชาพรกุล สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้มีบุตรยาก แพทย์​ที่ปรึกษาประจำแอปพลิเคชัน Chiiwii ⚠️ กฎหมายอุ้มบุญ ⚠️ การแช่แข็งไข่ เพื่อจะนำไปใช้ในอนาคต สามารถทำได้โดยที่ยังไม่ต้องแต่งงาน แต่เมื่อเราอยากจะผสมไข่ของเรา เราจำเป็นที่จะต้องนำทะเบียนสมรสมาให้คุณหมอ (เช่นเดียวกับ​การทำ IVF)​  ⚠️ การแช่แข็งไข่ไม่ใช้การการันตีแต่เป็นการเพิ่มโอกาส ในการเป็นแม่ ⚠️ ⛔️ ข้อห้าม ⛔️ 1.) มีโรคที่เสี่ยงอันตรายต่อการให้ฮอร์โมน เช่น มะเร็งที่เกี่ยวกับนรีเวช  2.) กลุ่มที่มีโรคทางอายุรกรรม แบบรุนแรง 3.) กลุ่มโรคที่ ไม่สามารถฉีดยาสลบ หรือดมยาสลบ บุคคลใดบ้างที่เข้าสู่การพิจารณาว่าควรจะแช่แข็งไข่ได้ 1.) คนที่ยังไม่ได้แต่งงาน แต่มีความตั้งใจในชีวิตว่าวันหนึ่งจะเป็นคุณแม่ 2.) กลุ่มคนไข้ที่มีโรค เช่น กลุ่มโรค chocolate cyst บางคนต้องตัดรังไข่ หรือต้องกินฮอร์โมน ที่ทำให้ไข่ไม่โตอีกต่อไป เราจึงเอาไข่ที่มีอยู่มาเก็บไว้ก่อน และก็อีกกลุ่มหนึ่ง ก็คือกลุ่มที่เป็นมะเร็ง ที่จะต้องให้เคมีบำบัด รังสีรักษา และอาจจะมีผลกับไข่ ทำให้จำนวนไข่ในรังไข่ลดลง 3.) กลุ่มคนที่จะทำการข้ามเพศแต่เขาอยากจะรักษาโอกาสที่จะมีลูกด้วยไข่ของตัวเอง Q: ช่วงอายุที่แนะนำสำหรับการแช่แข็งไข่ A: อายุ 20 - 30 ต้น ๆ ถือว่าดีที่สุด พอหลัง 32 ปีไปแล้วคุณภาพ ไข่จะค่อย ๆ ลดลง มีแนวโน้มที่จะมีความผิดปกติของโครโมโซมมากขึ้น อายุยิ่งน้อย ยิ่งมีโอกาสได้ไข่คุณภาพสูงกว่าเมื่อเราอายุมากขึ้น Q: อัตราความสำเร็จ A: ขึ้นอยู่กับอายุและจำนวน ถ้าเรายิ่งอายุมาก เราก็ต้องใช้ไข่มากขึ้น เพราะโอกาสมีโครโมโซมผิดปกติมากขึ้น โดยเราอาจจะต้องมีการเก็บไข่มากกว่า 1 รอบ อัตราการรอดของไข่ ปกติหลังจากแช่แข็งไปแล้ว อยู่​ที่​ประมาณ 80% - 90% แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความชำนาญของห้องแล็บแต่ละที่ แต่ไม่ควรต่ำกว่า 80% ฉะนั้นแปลว่าถ้ามีไข่ 20 ใบ เอามาละลายแล้วเหลือ 18 ใบ หลังจากที่ผสมกับสเปิร์ม อัตราผสมปกติก็คือ 80% ได้ตัวอ่อนออกมา 14 ตัว จะต้องเลี้ยงไปเพื่อให้ถึงระยะที่ต้องฝังตัวเรียกว่า blastocyst ตัวอ่อนจะหายไปอีกครึ่งหนึ่ง เหลือ 7 ตัว แล้วก็ควรตรวจโครโมโซม เพราะว่าตัวอ่อนส่วนใหญ่จะผิดปกติ ฉะนั้นจาก 7 ตัว ถ้าคุณอายุ 30 ตอนที่คุณเก็บไข่ แปลว่าจาก 7 ตัวจะเหลือตัวอ่อนประมาณ 4 ตัว แล้วก็ อัตราการฝังตัวประมาณ 50% - 60% แปลว่าคุณมีโอกาสมีลูก 2 คน ถึงมันจะดูเยอะ แต่ว่าเป็นข้อมูลที่คนไข้ควรจะต้องได้รับทราบก่อน Q: ขั้นตอนกระตุ้นไข่ทำยังไง ? A: ถ้าไม่นับส่วนที่ ปรึกษาหมอและประเมิน ก็จะใช้เวลา ช่วงเตรียมตัวประมาณ 1 เดือน แล้วก็ช่วงกระตุ้นไข่อีกประมาณครึ่งเดือน โดยทั่วไปก็จะมีช่วง Suppress หมายความว่าช่วงเตรียมคนไข้ คือให้ฮอร์โมน เพื่อให้ไข่ settle อยู่ในระยะเดียวกัน พอช่วงกระตุ้นไข่ จะฉีดยาทุกวัน ทั้งหมดประมาณ 8 - 12 วันขึ้นอยู่กับแต่ละคนระหว่างนี้ก็จะมี follow up และดูแลว่ามันจะต้องไม่เกิดการ cancel ขึ้น ดูภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ แล้วก็เก็บไข่ ตอนเก็บไข่ก็ทำในห้องผ่าตัด ระยะเวลาตั้งแต่ที่เริ่มกระตุ้นจนถึงเก็บไข่ จะอยู่ที่ประมาณ 2 สัปดาห์ นับเป็น 1 รอบ ถ้าอยากจะกระตุ้นใหม่แนะนำให้พัก 2 รอบประจำเดือน ก่อนที่จะกลับเข้ามากระตุ้นอีกครั้งหนึ่ง เพราะฉะนั้นคนที่วางแผนว่าจะทำ 1 รอบ คือ 3 เดือน เพื่อสุขภาพของคนไข้ Q: ราคาของการเก็บไข่ ? A: โดยทั่วไปมันจะอยู่หลักแสน รวมทั้งหมดเลย ตั้งแต่ ค่าหมอ, ค่า Investigate, ค่าเจาะเลือด ค่ายา, ค่า ultrasound, ค่าเก็บไข่ในห้องผ่าตัดออกมา เลขกลม ๆ ไม่รวมค่าแช่แข็งรายปี จะอยู่ประมาณ 90,000 - 120,000 ซึ่งอันนี้มันบวกลบ 20% - 30% ขึ้นกับสถานที่ ที่ทำ, ยาที่ใช้, ความชำนาญของแพทย์ Q: ค่าเก็บรักษาแช่แข็ง ? A: ส่วนใหญ่จะเป็นหลักหมื่นเช่น 5 ปี 40,000 บาทขึ้นอยู่กันสถานที่ Q: ภาวะแทรกซ้อนจากการกระตุ้นไข่ A: เนื่องจากมันเป็นโปรแกรมแช่แข็งไข่ พอเราเก็บไข่ แล้วเราจบ ส่วนใหญ่พวก Hyperstimulation จะไม่เกิด ในยุคนี้เทคโนโลยีดีขึ้นมาก ทำให้การเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังเก็บไข่ลดลง มีภาวะแทรกซ้อนน้อยลง ============================ บทสัมภาษณ์ พญ.ศศวิมล ปรีชาพรกุล สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้มีบุตรยาก แอปพลิเคชัน “Chiiwii ปรึกษา​หมอผ่านแอป” http://onelink.to/chiiwii ============================

    12 min
  3. 04/25/2021

    ไขข้อข้องใจ ว่าด้วยเรื่องวัคซีนโควิด ช่วงตอบ​คำถา​ม 27-02-2021

    ไขข้อข้องใจเรื่องวัคซีนโควิดกับ อาจารย์ นพ.ณัฐพล พฤทธิ์พงศ์พันธุ์ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ ประจำโรงพยาบาลกรุงเทพพิษณุโลก อาจารย์แพทย์ ที่โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์  🧪 หลักการผลิตวัคซีน ตอนนี้จะมีอยู่ 4 เทคโนโลยีหลัก ๆ  1.) ใช้ไวรัสที่ยังมีชีวิตทำให้อ่อนฤทธิ์ลง 2.) วัคซีนที่ทำจากตัวไวรัสที่ตายแล้ว 3.) ใช้ mRNA หรือว่าสารพันธุกรรมที่ใช้ในการสร้างโปรตีนผิวของไวรัส 4.) เป็น virus vector คือการเอาสารพันธุกรรม มาใส่ใน vector ที่ไม่ทำอันตรายต่อคน ⛔️ คนที่ไม่ควรฉีดวัคซีน ⛔️ คนที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่ดี ภูมิคุ้มกันบกพร่อง คนที่กินยากดภูมิต้านทาน เป็นต้น Q: ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อความแม่นยำของ vaccine efficacy ? A: vaccine efficacy คืออัตราส่วนของการเกิดโรคในคนที่ฉีดวัคซีน เพื่อดูว่าวัคซีน สามารถ ป้องกันการเกิดโรคได้มากแค่ไหน ซึ่งมีปัจจัยที่เป็นตัวแปรในการวัดผลค่อนข้าง หลากหลาย เช่น  ในพื้นที่นั้นๆ มีการระบาดเยอะแค่ไหน, พฤติกรรมของคน, วัฒนธรรมของคน ฯลฯ เพราะฉะนั้น vaccine efficacy การวัด การแปรผลเทียบกันในแต่ละพื้นที่จะค่อนข้างยาก  บอกได้เพียงคร่าว ๆ เท่านั้น Q: อาการจะแย่ลงไหม ถ้าฉีดวัคซีนขณะติดเชื้ออยู่ ? A: ในส่วนนี้ยังไม่มีข้อมูลงานวิจัยออกมา แต่ในความเห็นของ อาจารย์ นพ.ณัฐพล พฤทธิ์พงศ์พันธุ์ คิดว่าน่าจะไม่เกี่ยวกัน Q: อายุต่ำกว่า 18 ปี ฉีดวัคซีนได้ไหม ? A: ยังไม่มีการทดลองฉีดวัคซีน ในคนอายุ น้อยกว่า 18 ปี ตอนนี้จึงแนะนำให้ฉีดในคนที่อายุ 18 ปี ขึ้นไปเท่านั้น Q: ประสิทธิภาพของวัคซีน Sinovac กับ Astrazeneca เป็นอย่างไร? ทำไมไทยถึงไม่ใช้ Pfizer กับ Moderna ?  A: เราไม่ทราบข้อมูล ของ Sinovac มากนัก แต่ของ AstraZeneca มีการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ ที่เป็นมาตรฐานแล้ว หลักในการเลือกวัคซีนของกรมควบคุมโรค  1.) ยึดเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก ซึ่ง ทั้งสองเจ้านี้เป็นเทคโนโลยีการผลิตที่เราคุ้นเคย วางใจในเรื่องความปลอดภัยได้มากกว่า แต่ของ Pfizer กับ Moderna จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ ยังไม่มั่นใจเรื่องความปลอดภัย 2.) เรื่องราคา AstraZeneca ผลิตวัคซีนให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงได้ Q:  เป็นโรคเกี่ยวกับไทรอยด์ ฉีดวัคซีนได้ไหม ? A: โรคที่ไม่เกี่ยวกับปัญหาภูมิคุ้มกัน เช่น ไทรอยด์, เบาหวาน, ความดัน สามารถฉีดวัคซีนได้ตามปกติ  Q: วัคซีน Sinovac เป็นวัคซีนเชื้อตาย มีความปลอดภัยสูงจริงหรือไม่ A: เรามีข้อมูล งานวิจัย เกี่ยวกับ Sinovac ไม่มากนัก แต่ไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงอะไร และตามหลักการก็ควรจะเหมือนกับวัคซีนเชื้อตายตัวอื่น ๆ คือสามารถที่จะใช้ได้อย่างปลอดภัย Q: อายุ 60 ปีขึ้นไป ฉีดวัคซีนปลอดภัยไหม ? ผลค้างเคียงมีอะไรบ้าง ? A: การทำการวิจัยหรือเก็บข้อมูลของ Sinovac ในอายุที่มากกว่า 60 ปียังมีไม่มากพอ จึงแนะนำว่าควรจะฉีดในผู้มีอายุต่ำกว่า 60 ปี แต่ในสถานะการณ์ที่เราเลือกไม่ได้จริง ๆ อาจารย์ นพ.ณัฐพล พฤทธิ์พงศ์พันธุ์ ก็ยังแนะนำว่าดีกว่าไม่ฉีด ผลข้างเคียงที่พบบ่อยไม่ว่าจะเป็น AstraZeneca หรือว่า Sinovac คือ อาการปวดบวมบริเวณที่ฉีด อาจจะมีไข้ต่ำ ๆ มีการปวดเมื่อยตามตัวได้ Q: เป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ ฉีดวัคซีนได้ไหม ? A: ถ้าเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำ แต่ไม่ได้กินยากดภูมิเลย สามารถ ฉีดวัคซีนทั้ง 2 ยี่ห้อได้ ============================ บทสัมภาษณ์ นพ.ณัฐพล พฤทธิ์พงศ์พันธุ์ อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อ แอปพลิเคชัน “Chiiwii ปรึกษา หมอผ่านแอป” http://onelink.to/chiiwii ============================

    8 min
  4. หมอชีวี มีคำตอบ EP.05 ถุงมือล่องหน ป้องกันคุณจาก COVID19 และ RSV ได้ยาวนานถึง 12 ชั่วโมง

    03/06/2021

    หมอชีวี มีคำตอบ EP.05 ถุงมือล่องหน ป้องกันคุณจาก COVID19 และ RSV ได้ยาวนานถึง 12 ชั่วโมง

    เบื่อมั้ย❓ ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ทุกวันแต่ #แพ้แอลกอฮอล์ 💦 มือแห้ง ผิวแตก มือเหี่ยว  ✨พบกับนวัตกรรมใหม่ล่าสุดของเจลล้างมือใน LIVE EP.51 "ถุงมือล่องหน ป้องกันคุณจาก COVID19 และ RSV ได้ยาวนานถึง 12 ชั่วโมง" กับ ภก. ธนาคาร ทำนุราศี ในวันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคมนี้ เวลา 9.00 น.  🛡 นวัตกรรมใหม่ล่าสุดของเจลล้างมือ ที่่มี Thin film Technology เป็นเหมือน #ถุงมือล่องหน ทำหน้าที่เคลือบมือ ปกป้องคุณและเด็กๆ จากเชื้อโรค COVID-19*, RVS** และเชื้อก่อโรคมือ เท้า ปาก* ได้นานถึง 12 ชั่วโมง  🤩 นวัตกรรมสุดเจ๋ง ​ที่การันตีด้วยรางวัล Silver Medal และ Canadian Special Awards จากงานประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ จากประเทศแคนาดา 🥇   *ผลการทดสอบจาก คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล **ผลการทดสอบจาก ภาควิชาชีวเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคติดเชื้อ แบบเป็นส่วนตัวเพิ่มเติมได้ที่ http://onelink.to/7um4su

    40 min

About

ตอบข้อมูลสุขภาพโดยอาจารย์แพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จากแอปพลิเคชันชีวี ปรึกษาหมอที่ใช่ จากที่ไหนก็ได้ ต้องการความเป็นส่วนตัวในการปรึกษาหมอ คลิก http://onelink.to/67qt49

To listen to explicit episodes, sign in.

Stay up to date with this show

Sign in or sign up to follow shows, save episodes, and get the latest updates.

Select a country or region

Africa, Middle East, and India

Asia Pacific

Europe

Latin America and the Caribbean

The United States and Canada