Shortcut ปรัชญา

Shortcut ปรัชญา

เปิดโลกความคิดทางปรัชญา ผ่านบทสนทนาและคำถามใกล้ตัว

  1. SCP34 เป็นคนดีทำไมยาก? รู้จัก ‘Virtue Ethics’

    13 ธ.ค.

    SCP34 เป็นคนดีทำไมยาก? รู้จัก ‘Virtue Ethics’

    ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/mloZ94p6QyU “สิ่งที่น่ากลัวที่สุด คือคนที่อ้างว่าตัวเองเป็นคนดี แต่จริงๆ อาจไม่ใช่คนดี” Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้เล่าแนวคิดที่สนใจเรื่อง ‘คนดี’ เป็นพิเศษ คือแนวคิดอย่างจริยศาสตร์คุณธรรม หรือ Virtue Ethics ที่เชื่อว่าความดีนั้นซับซ้อนกว่าการมองทุกอย่างเป็นตัวเลขแบบอรรถประโยชน์นิยม หรือซับซ้อนกว่าการปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักศีลธรรมแบบหน้าที่นิยม แล้วคนดีจริงๆ ต้องเป็นอย่างไร และเป็นยากแค่ไหน ทำไมเราต้องคุยเรื่อง ‘ความดี’ กันอย่างจริงจังมากขนาดนี้? ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา

    41 นาที
  2. SCP33 ทำดีเพราะอยากขึ้นสวรรค์ ไม่ใช่ทำดี? รู้จัก ‘Deontology’ ทำดีต้องไม่หวังผล

    6 ธ.ค.

    SCP33 ทำดีเพราะอยากขึ้นสวรรค์ ไม่ใช่ทำดี? รู้จัก ‘Deontology’ ทำดีต้องไม่หวังผล

    ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/tjOTvLZg5Kw “ทำดีเพราะอยากขึ้นสวรรค์ ไม่ทำชั่วเพราะกลัวตกนรก” ดูแล้วก็เหมือนเป็นแนวคิดที่ดี เพราะผลลัพธ์คือทุกคนอยากทำดี และไม่มีใครอยากทำชั่ว แต่ อิมมานูเอล คานต์ นักปรัชญาผู้เชื่อมั่นในแนวคิดแบบ ‘หน้าที่นิยม’ หรือ ‘Deontology’ ขอค้านหัวชนฝา เพราะเขาเชื่อว่าการทำดีต้องมาจาก ‘เจตนาดี’ ที่ไม่หวังผลเท่านั้น! Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้พาไปลงลึกคำว่า ‘เจตนาดี’ ทำไมจึงต่างจากคำว่า ‘ปรารถนาดี’ ทำไมคานต์จึงเชื่อว่าแนวคิดนี้จะทำให้มนุษย์เป็นอิสระ ตรงข้ามกับแนวคิดเชิงศาสนาที่สร้างเงื่อนไขให้คนทำดี คนจึงตกเป็นทาสของเงื่อนไขนั้นแทน แต่แนวคิดของคานต์ก็มีจุดน่าเอ๊ะเช่นกัน แล้วจุดนั้นคืออะไร? ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา

    43 นาที
  3. SCP32 อรรถประโยชน์นิยม ทางเลือกที่โหดร้าย เพื่อความสุขส่วนรวม?

    29 พ.ย.

    SCP32 อรรถประโยชน์นิยม ทางเลือกที่โหดร้าย เพื่อความสุขส่วนรวม?

    ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/RWZ3LRHWBF8 ‘เพื่อประโยชน์สุขส่วนรวม’ คำนี้ใช้ได้ทุกกรณีจริงไหม และถ้าเราต้องเป็นคน ‘เสียสละ’ เพื่อส่วนรวมล่ะ เราจะยังคิดแบบเดิมหรือเปล่า? Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนคุยเรื่องประโยชน์สุขส่วนรวม กับแนวคิด ‘อรรถประโยชน์นิยม’ ที่บอกว่าการกระทำไหนดี-ไม่ดี ให้ดูที่ผลของการกระทำ ถ้าทำแล้วนำมาซึ่งความสุขของคนจำนวนมากที่สุด สิ่งนั้นย่อมดีเสมอ แต่เป็นแบบนั้นจริงหรือ แล้วทำไมแนวคิดนี้ถึงโหดร้ายและดูประหลาดมากในบางกรณี? ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา

    35 นาที
  4. SCP31 1 ชีวิต แลกกับ 5 ชีวิต คุณเลือกทางไหน? ทดสอบจริยธรรมคุณด้วย Trolley Problem

    22 พ.ย.

    SCP31 1 ชีวิต แลกกับ 5 ชีวิต คุณเลือกทางไหน? ทดสอบจริยธรรมคุณด้วย Trolley Problem

    ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/3Lh6iFYPAU4 ทำไมการบอกว่าอะไรดีหรือไม่ดีจึงยาก แล้วเราควรเลือกทางไหนดี? Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนคุยเรื่อง Trolley Problem หรือปัญหารถราง การทดลองทางความคิดเชิงปรัชญา ที่มีสถานการณ์สมมติว่า หากเราเป็นคนขับรถรางแล้วเห็นว่าข้างหน้ามีคน 5 คนอยู่บนราง แต่เราสามารถสับรางเพื่อเปลี่ยนไปอีกเส้นทาง แต่จะทับคน 1 คนแทน เราจะเลือกทางไหน? จากสถานการณ์สมมตินี้นำมาสู่คำถามสำคัญทางปรัชญาว่า สรุปแล้วความดีคืออะไร เรามีมาตรวัดความดีที่เป็นสากลไหม การกระทำหนึ่งๆ ดีเพราะตัวการกระทำ หรือดีเพราะผลลัพธ์กันแน่ แล้วในชีวิตจริงล่ะ หลักการไหนถึงจะเป็นทางเลือกที่ดีและถูกต้อง? ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา

    42 นาที
  5. SCP30 Burnout Society ถ้าไม่ประสบความสำเร็จก็จงหมดไฟไปซะ!

    8 พ.ย.

    SCP30 Burnout Society ถ้าไม่ประสบความสำเร็จก็จงหมดไฟไปซะ!

    ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/MrCxF3jrgzo ทำไมเราถึงรู้สึกหมดไฟ? เป็นเพราะเราเองที่เหนื่อยล้าเกินไป ไม่แข็งแกร่งมากพอสำหรับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน หรือเป็นเพราะสังคมยุคนี้กำลังเชื้อเชิญให้เราเดินไปสู่กรงขังอันใหม่ที่มีชื่อว่า ‘ความสำเร็จ’ มากเกินควร จนนำเราไปสู่ภาวะของ ‘การหมดไฟ’ Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ชวนอ่านหนังสือ The Burnout Society ของนักปรัชญาเยอรมันเชื้อสายเกาหลี ฮันบยองชอล ไปด้วยกัน เพื่อตอบคำถามว่าทำไมสังคมที่ดูเหมือนจะให้เสรีภาพและความเป็นไปได้อย่างไม่สิ้นสุดกลับทำให้ท้ายสุด… “...ชีวิตของพวกเขาไม่ต่างจากผีตายซาก คือมีชีวิตเกินกว่าที่จะตาย แต่ตายเกินกว่าจะใช้ชีวิต” ฮันบยองชอล ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา

    1 ชม. 2 นาที
  6. SCP28 Perfectionism ความสมบูรณ์แบบทำร้ายเราอย่างไร?

    25 ต.ค.

    SCP28 Perfectionism ความสมบูรณ์แบบทำร้ายเราอย่างไร?

    “ยังไม่ดีพอ”  “ยังไม่เก่งพอ” มีใครเคยถูกคำพูดแบบนี้ทำร้ายอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นตัวเราที่พูดกับตัวเอง หรือเป็นคนอื่นพูดให้เราฟัง  Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ขออยู่เป็นเพื่อนคนที่กำลังรู้สึกว่าตัวเองไม่สมบูรณ์แบบ ยังไม่เก่งพอ หรือยังไม่ดีพอ  ความรู้สึกแบบนี้ไม่ผิดโดยตัวมันเอง ถ้าทำให้เราอยากพัฒนาให้ดีขึ้น แต่เพราะอะไรบางครั้งเราจึงถูกความรู้สึกนี้ทำร้าย อีกทั้งมันอาจทำร้ายเรามากกว่าที่เราคิด และหาคำตอบว่า ปรากฏการณ์ Perfectionist ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง เมื่อผู้คนในอดีตอาจไม่เคยโหยหาความสมบูรณ์แบบมากเท่ากับเราในทุกวันนี้  ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา

    49 นาที
  7. SCP27 Absurdism รู้แล้วว่าชีวิตเฮงซวย แต่จะอยู่ทั้งที่มันเฮงซวยนี่แหละ!

    11 ต.ค.

    SCP27 Absurdism รู้แล้วว่าชีวิตเฮงซวย แต่จะอยู่ทั้งที่มันเฮงซวยนี่แหละ!

    ชมวิดีโอ EP นี้ใน YouTube เพื่อประสบการณ์การรับชมที่ดีที่สุด https://youtu.be/ZIIf9Huk36U หลังชวนทำความรู้จักกับแนวคิดแบบ Nihilism และ Existentialism กันไปแล้ว Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้อยากแนะนำ ‘Absurdism’ อีกหนึ่งแนวคิดทางปรัชญาที่บอกเราว่า ‘ชีวิตมันเฮงซวย ไร้ความหมาย และฉันจะไม่พยายามหาความหมายอะไรให้มันหรอก’ ผ่านเรื่องราวของซิซีฟัส ชายผู้ถูกเทพเจ้าสาปให้ต้องเข็นหินขึ้นภูเขาทุกวัน ทำไมซิซีฟัสถึงกลายเป็นผู้ที่ขบถที่สุดในสายตาของ อัลแบร์ต กามูส์ นักคิดนักเขียนเจ้าของรางวัลโนเบล ทำไมซิซีฟัสจึงกลายเป็น ‘Absurd Hero’ และทำไมการใช้ชีวิตแบบซิซีฟัสถึงเป็นการใช้ชีวิตที่มีคุณค่า? ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา

    45 นาที
4.6
จาก 5
การจัดอันดับ 86 รายการ

เกี่ยวกับ

เปิดโลกความคิดทางปรัชญา ผ่านบทสนทนาและคำถามใกล้ตัว

เพิ่มเติมจาก "THE STANDARD PODCAST"

รายการที่คุณน่าจะชอบ

หากต้องการฟังตอนที่มีเนื้อหาไม่สุภาพ โปรดลงชื่อเข้า

รับทราบข่าวสารล่าสุดจากรายการนี้

ลงชื่อเข้าหรือลงทะเบียนเพื่อติดตามรายการ บันทึกตอน และรับข้อมูลอัปเดตล่าสุด

เลือกประเทศหรือภูมิภาค

แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอินเดีย

เอเชียแปซิฟิก

ยุโรป

ละตินอเมริกาและแคริบเบียน

สหรัฐอเมริกาและแคนาดา