1 สมการชีวิต

1 สมการชีวิต

นำ "โจทย์" จากชีวิตจริงมาวิเคราะห์แจกแจง, เปิดประเด็นปัญหา ขุดคุ้ยคำตอบที่ซ่อนอยู่ แล้วปรับสมดุลย์ด้วยสัจจะธรรม เพื่อให้เห็นเส้นทางดำเนินต่อไปในชีวิต ในช่วง "สมการชีวิต". New Episode ทุกวันจันทร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  1. HÁ 2 DIAS

    แนวทางกำหนดจิตเพื่อสักการะพระเขี้ยวแก้ว [6802-1u]

    Q1: การสักการะพระเขี้ยวแก้ว A: การอยู่ใกล้กับพระพุทธเจ้า = การปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า - หากจิตเป็นสมาธิ มีสัมมาทิฏฐิ มีความสงบ ไม่มีนิวรณ์ จิตเป็นอารมณ์อันเดียว ก็เหมือนอยู่ติดชายสังฆาฏิของพระพุทธเจ้า เพราะเสมอกันด้วยธรรมะ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อันเดียวกันกับพระพุทธเจ้า - หากไม่สะดวกมาสักการะพระเขี้ยวแก้ว ก็สามารถตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าได้ ตามความหมายของบทสวดอิติปิโสฯ - การเดินประทักษิณเพื่อสักการะพระเขี้ยวแก้ว 3 รอบ ในแต่ละรอบจะวนไปทั้ง 4 ทิศ ให้เราตั้งจิตในการรู้อริยสัจทั้งสี่ แบบปัญญา รอบ 3 อาการ 12 กล่าวคือ รอบที่ 1 (กำหนดรู้) = ทุกข์คืออะไรบ้าง สมุทัยคือตัณหา นิโรธคือความดับไม่เหลือของตัณหา มรรคคือองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง รอบที่ 2 (ควรทำ) = ทุกข์ควรกำหนดรู้หรือยอมรับ สมุทัยควรละหรือกำจัด นิโรธควรทำให้แจ้ง มรรคควรทำให้เจริญหรือทำให้มาก รอบที่ 3 (ทำได้แล้ว) = ทุกข์นั้นรู้แล้ว สมุทัยละได้แล้ว นิโรธทำให้แจ้งได้แล้ว มรรคทำให้เจริญได้แล้ว - การตั้งจิตในการสักการะพระเขี้ยวแก้วไว้ดี จะได้บุญทั้งจากการบูชาด้วยอามิส (สิ่งของ) และการบูชาด้วยการปฏิบัติ (สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินประทักษิณ) Q2: การเดินประทักษิณ เวียนขวา เวียนซ้าย A: เวียนขวา (ตามเข็มนาฬิกา) = ใช้แสดงความเคารพ งานมงคล งานถวายพระเพลิงของพระพุทธเจ้าหรือพระเจ้าจักรพรรดิ เวียนซ้าย (ทวนเข็มนาฬิกา) = งานอวมงคล Q3: พิธีลอยอังคาร A: การลอยอังคารเป็นความเชื่อ, พิธีกรรมของพราหมณ์ - ไม่มีการลอยอังคารของพระพุทธเจ้าเพราะมีผู้เก็บไปบูชาหมด Q4: ทำความดีแต่อยากได้รับคำชม A: ความดีที่ทำ = เป็นความดีแน่นอน - ความอยากได้รับคำชม = เป็นความเศร้าหมอง บุญได้เต็มแต่มีความเศร้าหมอง - เจตนาประกาศความดีที่ทำ เพื่อให้ผู้อื่นร่วมทำความดีด้วย อันนี้ดีทวีคูณ จะได้ทั้งโภคสมบัติและบริวารสมบัติ Q5: ทำบุญหวังผล A: ทำบุญต้องหวังผล  - ผลที่หวัง คือ การกำจัดกิเลส เช่น ความตระหนี่ ก็จะได้บุญมาก Q6: วันเด็กแห่งชาติ A: เทคโนโลยีทำให้กระแสของตัณหาในยุคปัจจุบันพัดแรงมากขึ้น ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิดกิเลสมาก จิตใจหวั่นไหวมาก มีปัญหาตามมามาก - เด็กสมัยนี้มีสิ่งกระตุ้นมากขึ้น กิเลสเกิดขึ้นในจิตใจมาก - ผู้ปกครองต้องสอนเด็กให้มีธรรมะมากขึ้น ให้มีความเมตตา มีสติ มีอุเบกขา มีระเบียบวินัย ให้มากขึ้น Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    54min
  2. 29/12/2024

    วิธีคลายทุกข์จากการสูญเสียคนรัก [6801-1u]

    สูญเสียคนในครอบครัว ผู้ฟังท่านนี้สูญเสียคุณพ่อคุณแม่ มีความเสียใจ จิตใจเศร้าหมอง ไม่เป็นสุข ส่งผลให้มองเรื่องอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตไม่ดีไปด้วย - จิตใจแบบนี้ อุปมาเหมือนฝีกลัดหนอง โดนแผลนิดเดียวก็เจ็บ เมื่อมีผัสสะมากระทบนิดเดียวจะได้รับความกระเทือนใจมาก  - จิตตริตรึกเรื่องไหน จิตจะน้อมไปทางนั้น จิตน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง หากเศร้าหมอง เสียใจ จิตก็จะเห็นแต่สิ่งนั้น สิ่งนั้นก็จะมีกำลังให้จิตน้อมไปทางนั้นมากขึ้น ส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย อาจพัฒนาเป็นโรคซึมเศร้าได้  - วิธีแก้ คือ ต้องมีอำนาจเหนือจิต ความเคยชินของจิต กับ ลูกศรอาบยาพิษ - “ลูกศรอาบยาพิษ” เปรียบได้ดังนี้   หัวลูกศร = ความรัก ความเพลิน ตัณหา (รูป รส กลิ่น เสียง)   ยาพิษที่เคลือบไว้ = อวิชชา   ช่องทางที่แทงเข้ามา = ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ   ตัวรับลูกศร = จิต  - อำนาจเหนือจิต จะเกิดขึ้นได้ ต้องทวนกระแสให้ความเคยชินของจิตอ่อนลง วิธีแก้ลูกศรอาบยาพิษ - ตรวจว่าถูกแทงตรงไหน, เปิดปากแผลออกด้วยมีดที่คมและสะอาด, เอาหัวลูกศรออก, บีบหนองออกให้หมด, ทายา, สมานแผลปิดแผล, ไม่กินของแสลง โพชฌงค์ 7  - คือ องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรม เพื่อให้จิตเกิดความรู้คือวิชชา เกิดความพ้นคือวิมุตติ เพื่อให้วิชชานั้นดับอวิชชา ก็จะพ้นจากความทุกข์ได้   - โพชฌงค์ 7 มีเหตุปัจจัย คือ  1. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ = วางเฉยต่อสิ่งที่มากระทบ มีสมาธิเป็นเหตุ 2. สมาธิสัมโพชฌงค์ = จิตที่ตั้งมั่นเป็นอารมณ์อันเดียว มีความระงับลงของจิตเป็นเหตุ  3. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ = ความระงับลงของจิต มีปีติเป็นเหตุ  4. ปีติสัมโพชฌงค์ = ความสุขอยู่ในภายในไม่ต้องพึ่งสิ่งภายนอก มีกุศลธรรมในจิตเพิ่ม อกุศลธรรมในจิตลดเป็นเหตุ  5. วิริยสัมโพชฌงค์ = กุศลธรรมในจิตเพิ่ม อกุศลธรรมในจิตลด มีการใคร่ครวญธรรมด้วยปัญญาเป็นเหตุ  6. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ = การใคร่ครวญธรรมด้วยปัญญา โดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) มีสติ เป็นเหตุ  7. สติสัมโพชฌงค์ = ความระลึกได้ อำนาจเหนือจิต เริ่มด้วย “สติ” - การเผชิญหน้ากับสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ต้องอาศัยความกล้าและความเพียร โดยมีอาวุธ คือ “สติ” - สติ ตั้งขึ้นได้ด้วยการระลึกถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งท่านมีความปรารถนาให้พวกเราพ้นทุกข์ แผ่ความเมตตากรุณาข้ามระยะทาง ข้ามเวลา ผ่านทางคำสอนมาถึงพวกเราทุกวันนี้ เรายังคงได้รับกระแสแห่งความเมตตากรุณาของพระพุทธเจ้าอยู่ ให้เราเอาตรงนี้เป็นหลักชัย เป็นหลักประกัน ใช้สติระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นชัยภูมิ เป็นฐานตั้งมั่น ในการเผชิญหน้ากับความจริงของชีวิตว่า ทุกคนมีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา ไม่ใช่แค่คนในครอบครัวเรา โดยระลึกว่าหากท่านอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ จิตของท่านจะเป็นแบบใด ถ้าจิตของท่านยังดีอยู่ได้ในสถานการณ์ที่สูญเสียคนที่รัก เราจะเอาเสี้ยวส่วนของความสามารถในการรักษาจิตของท่านมาไว้ในจิตเรา  - การระลึกถึงพระพุทธเจ้า ทำให้ความเพลิน ความเศร้าลดลง เปรียบได้กับฝนหนึ่งเม็ด เม็ดฝนแต่ละหยดสามารถทำให้น้ำทะเลพร่องหรือเต็มได้ สติแม้น้อยหนึ่งก็ทำให้มีอำนาจเหนือจิตได้เช่นกัน  - สติเป็นเครื่องตรวจหาลูกศรว่าถูกแทงตรงไหน ทุกข์เรื่องไหนให้เอาจิตไปจ่อที่ตรงนั้น ตั้งสติตรงนั้น โดยสังเกตเฉย ๆ ว่าชอบใจหรือไม่ชอบใจ แล้วพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงว่าสิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว มีความเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขปัจจัยได้ เราต้องพลัดพรากจากสิ่งนั้นแน่นอน ปัญญาก็จะเกิด อวิชชาก็จะลดลง จิตมีความผ่องใสขึ้น ทำบ่อย ๆ ก็จะวางอุเบกขาในเรื่องนั้นได้ จิตก็จะพ้นจากทุกข์ได้ - เรื่องที่ไม่น่าพอใจ หากพิจารณาด้วยสติที่มีกำลังมาก สิ่งนั้นจะมีอำนาจเหนือจิตลดลง เปรียบกับสัตว์หกชนิดถูกผูกไว้ที่เสาหลัก ดึงไปไหนไม่ได้ สุดท้ายก็จะอ่อนกำลังลง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    1h
  3. 22/12/2024

    หลักในการฟังธรรม [6752-1u]

    Q1: ผลกรรมจากการสอนธรรมะผิด A: หลักการ = คำสอนของพระพุทธเจ้าต้องกลับไปที่แม่บทเสมอ ศาสนาพุทธมีผู้สอนคนเดียว คือ พระพุทธเจ้า คนอื่นสอนไม่ได้ ส่วนครูบาอาจารย์ญาติโยมไม่ใช่ผู้สอน แต่เป็นผู้กล่าวตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ ด้วยหลักการนี้จะไม่ถูกหลอกได้ง่าย คำสอนจะไม่ผิดเพี้ยน เป็นการรักษาพระสัทธรรมให้ตั้งอยู่ได้นาน - ผู้ฟังธรรมแล้วเอามาเทียบเคียงกับแม่บท ตรวจสอบว่าตรงกับพุทธพจน์บทใด แล้วปฏิบัติตามคำสอน การฟังธรรมนั้นก็จะได้ประโยชน์ แม้ว่าคนสอนจะสอนผิด แต่ถ้าคนฟังปฏิบัติถูก ความถูกต้องก็จะเกิดขึ้นในจิตใจของคนฟังและออกจากสิ่งที่ผิดได้ ซึ่งแนวทางที่ถูกต้อง คือ มรรค 8 - การกล่าวตู่พระพุทธเจ้า เช่น กล่าวตู่ว่าคำสอนนั้นเป็นของตน ตนเป็นผู้คิดค้นขึ้นใหม่ ทั้งที่เอามาจากคำสอนของพระพุทธเจ้า กล่าวตู่ว่าพระพุทธเจ้ากล่าวไว้ ทั้งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้กล่าวไว้ กล่าวตู่ว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้กล่าวไว้ ทั้งที่พระพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ - ผู้กล่าวตู่พระพุทธเจ้า ได้รับผลกรรมแน่นอน มากน้อยแล้วแต่เจตนา - ทั้งนี้ เราไม่ควรมองกันด้วยสายตาที่คิดร้ายต่อกัน หากเขาทำผิดพลาดก็ควรชี้แนะบอกให้แก้ไขปรับปรุงให้ไปในทางที่ดีได้ Q2: ความรู้ถึงขั้นแสดงธรรมได้ A: คำสอนของพระพุทธเจ้ามีทุกระดับ เราสามารถเข้าถึงได้ในระดับที่เราอยู่ ตรงไหนที่เข้าใจและปฏิบัติได้ก็เอาตรงนั้นก่อน เพื่อเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติในระดับต่อ ๆ ไป Q3: ทำบุญปีใหม่ A: บุญมากที่สุด คือ ทำให้เกิด “ปัญญา” - วิธีที่ 1 ให้ทาน (ใช้สิ่งของ) เช่น การใส่บาตร ให้ทาน โดยไม่ยึดถือหรือหวังในผล แต่หวังให้เกิดความบริสุทธิ์ทางใจ คือ ให้การให้ทานนั้นเป็นเครื่องปรุงแต่งจิตให้เกิดสมถวิปัสสนา โดยตั้งจิตเพื่อการสละออกซึ่งสิ่งของ ความตระหนี่ ความหวงกั้น ทำเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การตั้งจิตแบบนี้จะเกิดปัญญาจากการให้ทานได้ - วิธีที่ 2 รักษาศีล (ใช้ร่างกาย) - วิธีที่ 3 ภาวนา (ใช้จิตใจ) เช่น ทบทวนตนเองในรอบปี ด้านอกุศลธรรมเพิ่มขึ้นหรือไม่ ที่มีอยู่จะปิดกั้นป้องกันได้อย่างไร ด้านกุศลธรรมเพิ่มขึ้นหรือไม่ ที่มีอยู่จะพัฒนาให้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร หากไตร่ตรองได้ ปัญญาก็จะเกิด แล้ววางแผนต่อไปว่าปีใหม่จะทำกุศลธรรมให้เพิ่ม สร้างนิสัยใหม่ที่ดีอย่างไร Q4: อิริยาบถในการทำสมาธิ A: ถ้าจิตไม่มีความกำหนัดในกาม ความง่วงซึม ความฟุ้งซ่าน ความเคลือบแคลงเห็นแย้ง ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ที่ใด ที่นั่นก็เป็นทิพย์ Q5: คนรุ่นใหม่ยากจนกว่าคนรุ่นก่อน A: เหตุแห่งการมีโภคทรัพย์ คือ มีการให้ทานมาก่อน - การให้ผลของกรรมดีกรรมชั่วเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น อาหารทิพย์หรือไฟนรก ไม่อาจให้ผลในโลกมนุษย์ได้ - หากในโลกมีคนทำดีน้อย ความชั่วมาก การให้ผลของกรรมก็จะผิดเพี้ยนไปตามกิเลสของมนุษย์ เศรษฐกิจของโลกไม่ดี การให้ผลด้านโภคทรัพย์ก็จะได้ไม่เต็มที่ Q6: การกล่าวถึงคุณวิเศษ A: อุตตริมนุสสธรรม = คุณวิเศษขั้นสมาธิขึ้นไปจนถึงปัญญาที่เหนือมนุษย์ เช่น ได้ฌานขั้นสูง อ่านจิตผู้อื่น เหาะเหินเดินอากาศ 1. กรณีพูดถึงคุณวิเศษของตนเอง - หากไม่มีจริง แต่บอกว่ามี เพื่อให้คนอื่นเชื่อว่าตนเองมี = ผิดขั้นปาราชิก - หากไม่มีจริง แต่เข้าใจว่ามี = ไม่ผิด - หากมีจริง พูดว่ามี แต่ไม่ได้แสดง = ผิดเบา ๆ 2. กรณีพูดถึงคุณวิเศษของผู้อื่น เพื่อให้เกิดลาภสักการะกับผู้อื่น - พระพุทธเจ้าเตือนว่าไม่ดี เป็นมหาโจรในระดับที่หลอกได้ทั้งเทวดาจนถึงพรหม โดยสรุป : - ปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า ให้ค้นพบด้วยตนเอง หากจะพูดก็ให้พูดในหลักธรรมที่ไม่น้อมเข้าสู่ตัว - ให้ยกย่องครูบาอาจารย์ในเหตุที่ท่านทำ เช่น มีศีล ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ อย่าไปยกย่องที่ผล - ความมักน้อย = ไม่ต้องการให้คนอื่นมารู้ถึงความดีของเรา Q7: อยากให้ลูกเกิดมาเป็นคนดี A: หน้าที่ของพ่อแม่ คือ ให้ลูกตั้งอยู่ในความดี ห้ามเสียจากบาป ให้ศึกษาศิลปวิทยา มอบมรดกให้ตามสมควร หาคู่ครองให้เมื่อสมควร - วิธีสอนลูก ต้องไม่ใช่ด้วยการทำไม่ดีหรือทำบาป และอย่าโยนหน้าที่นี้ให้ครู - และต้องไม่ยึดถือมาก หากเกินขอบเขตจะกลายเป็นพ่อแม่รังแกฉัน Q8: การพูดจาหยอกล้อกับญาติโยม A: พระพุทธเจ้ากำหนดว่า “จะไม่พูดจาหยอกล้อเพื่อให้หัวเราะกันเล่น” - การเทศน์ให้จิตใจญาติโยมเกิดความร่าเริง ชื่นมื่น แจ่มใส มีกำลัง มีคว

    53min
  4. 15/12/2024

    วิธีวางจิตต่อคำพูดคนอื่น [6751-1u]

    คำพูดคนอื่นที่รับเอามากระทบจิต - คำพูดไม่ดีเหมือนฝีกลัดหนอง หนองที่ออกมาจากปาก เหม็นด้วย กระทบจิตผู้อื่นด้วย หากเราอยู่ใกล้คนประเภทนี้ เราก็จะโดนอยู่เรื่อย คำด่า คำชม เป็นสุดโต่งทั้งสองข้าง - การกล่าวหา คือ การกล่าวถึง - คำด่า คำชม สำหรับผู้ฟังไม่ได้ต่างกันเพราะเป็นสุดโต่งทั้งสองข้าง คือ ทำให้เกิดความพอใจหรือไม่น่าพอใจ เกิดเป็นกิเลส คือ ความลุ่มหลงยินดีพอใจหรือเกิดความขัดเคืองไม่พอใจ ซึ่งผู้ฟังไม่ควรให้เกิดกิเลส สำหรับผู้พูดจะเกิดกรรม หากเป็นคำด่าก็เกิดกรรมชั่ว ถ้าเป็นคำชมก็เกิดกรรมดี ซึ่งผู้พูดควรจะพูดแต่สิ่งที่เป็นกรรมดี - แม้ว่าการกล่าวหานั้นจะเป็น 1. เรื่องจริง 2. เป็นประโยชน์ 3. เป็นคำกล่าวที่อ่อนหวาน 4. พูดด้วยจิตเมตตา 5.เหมาะสมกับเวลา แต่ผู้ฟังก็อาจจะเกิดความไม่พอใจได้ เพราะการตีความหรือมุมมองของแต่ละคนไม่เหมือนกัน - หากผู้ฟังเกิดความโกรธจากสิ่งที่ได้รับฟัง ได้ชื่อว่ารับบาป, รับโทสะ, รับความโกรธตอบ, รับสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ นั้นต่อมาทันที จิตใจที่ประกอบด้วยความโกรธจะมีความหยาบอยู่ในภายใน พระพุทธเจ้าสอนว่า “จิตต้องไม่แปรปรวน ต้องไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป ต้องมีจิตเอ็นดูเกื้อกูลประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อันเป็นจิตใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ แผ่ไปถึงทุกคนโดยปรารภคนที่ด่าว่าเรา” วิธีวางจิตต่อคำพูดคนอื่น มี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ทำจิตให้มีเมตตา ไม่ให้จิตติดลบไปในทางโกรธ - อุปมา 5 อย่าง (1) ทำจิตให้เหมือนแผ่นดิน = ไม่ว่าจะพยายามขุดแผ่นดินทั้งหมดให้เป็นทะเลสาบก็ไม่มีทางเป็นไปได้ (2) ทำจิตให้เหมือนอากาศ = ไม่ว่าจะพยายามวาดรูปลงในอากาศอย่างไรก็ไม่มีทางเป็นไปได้ (3) ทำจิตให้เหมือนน้ำ = ไม่ว่าจะพยายามต้มน้ำในแม่น้ำให้เดือดอย่างไรก็ไม่มีทางเป็นไปได้ (4) ทำจิตให้เหมือนแผ่นหนังแมวป่าขนฟู = ซึ่งเกิดจากระบวนการทำที่ประณีต ไม่ว่าจะพยายามขึงแล้วตีให้มีเสียงดังกังวาลเหมือนกลองก็ไม่มีทางเป็นไปได้เพราะหนังมีความอ่อนนุ่มไปแล้ว (5) ทำจิตให้เหมือนโจรที่เลื่อยตนเองเหมือนต้นไม้ให้หมดไปด้วยเลื่อยที่มีด้ามจับสองข้าง = ย่อมไม่มีทางเป็นไปได้ - ให้พิจารณาว่าตัวเราประกอบด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ เช่นเดียวกันกับอุปมาข้างต้น คำชมคำด่าที่เกิดกับเราเป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ แผ่นดิน ผืนน้ำ อากาศ กระบวนการเกิดของร่างกาย ต้นไม้ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นมีเยอะกว่ามาก ดังนั้น เรื่องไม่จริง ไม่เป็นประโยชน์ คำหยาบคาย จิตที่มีโทสะ ไม่ถูกเวลา ย่อมไม่เป็นสาระแต่เป็นเรื่องเล็กน้อย เมื่อสนใจสิ่งหนึ่ง สิ่งอื่นที่ไม่สนใจจะอ่อนกำลังลง เรื่องเล็กก็จะไม่กลายเป็นเรื่องใหญ่ - จิตใจที่กว้างขวาง ไม่เห็นแก่สั้นไม่เห็นแก่ยาว ให้ได้ไม่มีประมาณ คือ “พรหมวิหาร” (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) ความโกรธก็จะระงับไปได้ และช่วยเพิ่มความอดทน ทำให้จิตไม่แปรปรวน ขั้นตอนที่ 2 แผ่เมตตาไปยังผู้ที่กล่าวหา - ด้วยจิตที่เปรียบกับความรักที่แม่มีต่อลูกฉันใด ให้เรามีความรักความปรารถนาดีด้วยจิตที่กว้างขวางกับบุคคลนั้นฉันนั้น เอาบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแผ่ไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วย - อย่าไปกล่าวเรื่องที่จะต้องทุ่มเถียงกัน เพราะจะทำให้ต้องพูดมาก จิตฟุ้งซ่าน ไม่สำรวม จิตเหินห่างจากสมาธิ มารก็จะได้ช่องตรงนี้ - เปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร ต่อให้เขามองเราเป็นศัตรู ก็ให้เรามองเขาเป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย มองด้วยสายตาแห่งคนที่รักใคร่ - ในชีวิตประจำวัน ก่อนออกจากบ้านให้แผ่เมตตากรุณามุทิตาอุเบกขาด้วยจิตแบบนี้ ทุกทิศทุกทาง โดยไม่มีประมาณ จะเป็นทางออกที่ยั่งยืน เป็นทางสายกลาง ไม่สุดโต่งทั้งสองข้าง อยู่ในที่ใดกับใคร ที่แห่งนั้นก็จะมีความผาสุก ความผาสุกนี้จะเป็นที่พึ่งแก่เราได้ และจะทำให้เกิดปัญญา ไม่คิดเบียดเบียนใคร ได้ประโยชน์ทั้งตนเอง และผู้อื่น - ควรตั้งจิตต่อคำพูดผู้อื่น ด้วยจิตที่มีเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขา รักษาจิตอย่างนี้ให้ได้ตลอดทั้งวันและในเวลาต่อ ๆ ไป ก็จะทำให้เกิดชัยชนะในชีวิตของเราได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    59min
  5. 08/12/2024

    ฆราวาสสอนธรรม และการวิพากษ์วิจารณ์พระสงฆ์ [6750-1u]

    Q1: วิธีระงับผลของกรรมชั่ว A: การทำให้ “สิ้นกรรม” ในทางพระพุทธศาสนาสามารถทำได้ เช่น กรณีพระองคุลีมาล - ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม คือ การบรรลุธรรม บรรลุพระนิพพาน ไม่ต้องเกิดอีก - ยิ่งมีเงื่อนไขในความสุขมาก ยิ่งมีความทุกข์มาก ยิ่งมีเงื่อนไขในความสุขน้อย ยิ่งมีความสุขที่เหนือกว่าสุขเวทนามาก เพราะมีความทุกข์น้อย - แนวทางที่จะทำให้มีเงื่อนไขในความสุขน้อยลง จนถึงไม่มีเงื่อนไขให้ทุกข์เลย ประกอบด้วย องค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง (มรรค 8) - เมื่อเจอเส้นทางแห่งมรรค 8 แล้ว ให้เดินตามเส้นทางนี้ไปจนสุดทางแล้วจะเจอที่หมาย คือ ความพ้นทุกข์ ความสิ้นกรรมอย่างแท้จริง - แต่ในระหว่างทางที่เดินตามมรรค 8 อาจเจอสุขบ้าง เจอทุกข์บ้าง ก็ต้องใช้ปัญญาเห็นความไม่เที่ยง ใช้ปัญญาเห็นด้วยปัญญา จะยิ่งทำให้การเดินทางบนเส้นทางสายกลางนี้ยิ่งดี ยิ่งเร็ว มีอินทรีย์แก่กล้า ไปถึงจุดหมายคือความสิ้นกรรมได้อย่างรวดเร็ว Q2: บวชแก้กรรม A: “บัญชีบุญ” กับ “บัญชีบาป” เป็นคนละบัญชีกัน - “กรรม” กับ “ผลของกรรม” คนละอย่างกัน - เปรียบได้กับ เกลือ (กรรมชั่ว) ผสมกับน้ำ (กรรมดี) ได้ความเค็ม (ผลของกรรมชั่ว) ความเค็มจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณของเกลือและน้ำ - การบวชแก้กรรม เปรียบได้กับการเพิ่มปริมาณน้ำ อาจทำให้ผลของกรรมชั่วเบาบางลงได้ - ไม่ควรประมาทในการทำความชั่ว = กรรมชั่วแม้เพียงนิดเดียวก็ให้ผล ไม่ควรทำ - ไม่ควรประมาทในการทำความดี = ควรหมั่นทำความดีอย่างสม่ำเสมอ (ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา) จะได้ไม่ร้อนใจในภายหลัง เมื่อถึงคราวที่กรรมชั่วให้ผล ก็อาจจะทำให้ได้รับผลกรรมเบาบางลงได้ Q3: ฆราวาสสอนธรรม A: ศาสนาพุทธไม่ได้เป็นของพระสงฆ์อย่างเดียว แต่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จะต้องช่วยกันรักษาศาสนา คือ รักษาคำสอนของพระพุทธเจ้าและนำมาปฏิบัติต่อไปจากสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน - เราสามารถฟังธรรมได้จากทุกคน และท่านผู้ฟังเองก็ควรจะแสดงธรรมต่อไปด้วย - การแสดงธรรมต้องเป็นคำพูดที่ชาวเมืองใช้พูดกัน ฟังแล้วรื่นหู ไม่หยาบคาย หากไม่เป็นดังนี้ การแสดงธรรมนั้นก็อาจจะพอสำหรับคนบางกลุ่ม อาจไม่ใช่สำหรับคนทุกกลุ่ม จึงอาจถูกติเตียนได้ Q4: การวิพากษ์วิจารณ์พระสงฆ์ A: ความเจริญก้าวหน้าในธรรมวินัยนี้ อยู่ที่ว่าเหล่าภิกษุ (รวมถึงทุกคนในศาสนา) คอยที่จะตักเตือนกัน รับฟังกัน ให้ออกจากอาบัติ (ความผิดต่าง ๆ) - เจตนารมณ์ของการชี้อาบัติ ก็เพื่อให้เกิดความเจริญกับบุคคลนั้น ไม่ใช่การเพ่งโทษหรืออยากให้เขาได้ไม่ดี เพราะหากให้เขาถืออาบัติต่อไปเรื่อย ๆ กุศลธรรมก็จะลดลง ความไม่ดีความเศร้าหมองในจิตจะเพิ่มขึ้น การชี้อาบัติเพื่อให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี - ถ้าเราทำไม่ถูก แล้วมีคนเตือนเรา แล้วเราแก้ไข อันนี้จะดีขึ้นได้ - เมื่อบุคคลใดทำไม่ถูก แล้วมีคนเตือน แล้วรับฟังคำตักเตือนนั้นด้วยความเคารพหนักแน่น หากเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรมแล้ว บุคคลนั้นจะมีความเจริญ - พระพุทธเจ้าได้กำหนดระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติเรื่องการเตือนกันของพระสงฆ์ไว้แล้ว เช่น ช่วงออกพรรษา มีระบบปวารณา เปิดโอกาสให้พระสงฆ์เตือนซึ่งกันและกันได้ หรือมีระบบการปลงอาบัติ โดยจะเรียกมาพูดกันตรง ๆ ต่อหน้า พร้อมหน้ากันในที่ประชุมสงฆ์ ว่าได้กระทำจริงหรือไม่ แก้ไขแล้วหรือไม่ เรื่องก็จะระงับได้ - การวิพากษ์วิจารณ์พระสงฆ์ทำได้ต่อเมื่อมีการประชุมสงฆ์กันเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่ว่าต่างคนต่างพูดโดยที่ยังไม่ได้มีการพิจารณาว่าถูกต้องหรือไม่อย่างไร เป็นการข้ามขั้นตอน ทำให้เกิดความวุ่นวาย - ในธรรมวินัยนี้ การตักเตือนกันและกัน การยอมรับ การเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดการออกจากอาบัติ การรับฟังคำตักเตือนด้วยความเคารพหนักแน่น การไม่เพ่งโทษติเตียน การให้ผู้อื่นชี้ขุมทรัพย์ แล้วเกิดการพัฒนา นั่นเป็นความเจริญในธรรมวินัยนี้ Q5: การภาวนากับการสวดมนต์ A: การภาวนา คือ การพัฒนาจิต - การสวดมนต์เป็นหนึ่งในรูปแบบที่จะพัฒนาจิตได้ - การฟังธรรม ใคร่ครวญธรรม เป็นการภาวนาอย่างหนึ่ง - ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นการพัฒนาการภาวนา เป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญา นำไปสู่การบรรลุธรรม Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    56min
  6. 01/12/2024

    การมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า [6749-1u]

    เหตุปัจจัยแห่งความตาย - เหตุปัจจัยแห่งการตายมีมาก เกิดขึ้นเป็นธรรมดา ไม่ใช่เรื่องยาก ความตายต้องเกิดขึ้นกับทุกคนแน่นอน - การรักหรือพอใจในสิ่งใดมาก หากไม่ได้สิ่งนั้นมา “จะตาย” ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่การตาย แต่ปัญหาอยู่ที่ “ความอยาก (ตัณหา)” - เพราะมีตัณหา จึงมีอุปาทาน (ความยึดถือ) เพราะมีอุปาทาน จึงมีภพ (สภาวะ) เพราะมีภพ จึงมีความเกิด เพราะมีความเกิด จึงมีความตาย ความตายไม่ใช่เครื่องมือให้พ้นจากทุกข์ - ความตายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา ความตายไม่ใช่ตัวแก้ปัญหา เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความตาย แต่ปัญหาอยู่ที่ความอยาก ดังนั้น แม้จะตายแต่ถ้ายังมีตัณหาหรืออวิชชาอยู่ ก็เป็นเหตุให้ไปเกิดใหม่ เมื่อเกิดใหม่ก็ต้องเจอปัญหาอีก ต้องเจอสิ่งที่เป็นทุกข์อีก ต้องตายอีก ซึ่งความทุกข์ที่จะต้องไปเจอปัญหาใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน - ความตายเป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่เครื่องมือให้พ้นจากความทุกข์ ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ คือ ให้รู้ว่าเหตุปัจจัยของความตายคือการเกิด การเกิดมาจากภพ ภพมาจากอุปาทาน อุปาทานมาจากตัณหา ถ้ามีตัณหามากมีอุปาทานมาก ความทุกข์ก็จะมาก - การฆ่าตัวตายเป็นบาป (ยกเว้นบางกรณีในสมัยพุทธกาล) การฆ่าตัวตายด้วยทิฏฐิที่ไม่ถูกต้องอาจต้องไปเกิดในนรก ซึ่งเป็นภพที่มีความทุกข์มาก ความสุขน้อย ผู้ที่เกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้มีบุญ - ภพของมนุษย์มีทั้งสุขทั้งทุกข์ปนกันไป ไม่ใช่มีแต่ทุกข์เพียงอย่างเดียว ต้องมีสุขบ้างอย่างแน่นอน อยู่ที่เราจะมองเห็นหรือไม่ - การเห็นความจริงเพียงครึ่งเดียวว่าชีวิตมีแต่ความทุกข์เท่านั้น แล้วรับความจริงไม่ได้ จิตใจก็จะตกต่ำลง แต่หากจิตมีกำลังพอ จะมองเห็นอีกด้านหนึ่งของสุ

    56min
  7. 24/11/2024

    เครื่องหมายแสดงการได้สมาธิ [6748-1u]

    Q1: เมื่อมรณภาพ ทรัพย์สินของพระสงฆ์ตกแก่ใคร A: ของส่วนตัวของพระสงฆ์ ถ้ามีการระบุว่าให้แก่ใครก็เป็นไปตามนั้น แต่ถ้าไม่ระบุก็จะตกเป็นของพระอุปัฏฐาก ถ้าไม่มีพระอุปัฏฐากก็จะแบ่งกันในหมู่สงฆ์แล้วแต่ตกลงกัน Q2: ฟังข่าวแล้วเกิดความคิดให้คนทำผิดได้ไม่ดี เป็นบาปหรือไม่ A: บาป เพราะมีจิตคิดประทุษร้าย - เวลาที่เห็นคนอื่นทำไม่ดี ให้เราเรียนรู้ว่าความดีจะเกิดได้แบบไหน ความดีไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการทำไม่ดีต่อ ทำร้ายต่อ หรือตอบโต้ด้วยสิ่งที่เป็นอกุศลธรรม เปรียบได้กับพื้นบ้านสกปรก ไม่อาจสะอาดได้ด้วยสิ่งปฏิกูลแต่ต้องใช้น้ำสะอาดมาชะล้าง ความสกปรกจึงจะหายไปได้ ดังนั้น ความดีจึงจะเอาชนะความไม่ดีได้ - สื่อควรจะลงข่าวดีๆ มากกว่าข่าวไม่ดี เพราะคนจะได้เอาไปเป็นตัวอย่างได้ Q3: เพ่งโทษผู้อื่น ปั่นให้คนอื่นเกลียดตาม A: ลักษณะคนดี 4 อย่าง และคนไม่ดี 4 อย่าง - คนพาล (คนไม่ดี) 1. เพ่งโทษ = เห็นแต่ความไม่ดีของผู้อื่น, โทษของผู้อื่นเพียงนิดเดียวแต่เอามาขยายความให้มาก 2. ลบหลู่คุณท่าน = ดูแคลนด้อยค่าสิ่งที่ผู้อื่นทำดี 3. ยกตน = ตนทำดีเพียงนิดเดียวแต่เอามาขยายความให้มาก 4. ปกปิดโทษของตน = ถ้าไม่มีใครถามก็ไม่พูด ถ้าถามก็จะพูดเพียงนิดเดียว - คนดี (บัณฑิต) 1. ไม่เปิดเผยโทษผู้อื่น = ถ้าไม่มีใครถามก็จะไม่พูด ถ้าถามก็จะพูดเพียงนิดเดียว 2. เปิดเผยความดีผู้อื่น = แม้ไม่มีใครถาม 3. เปิดเผยความผิดของตนเอง 4. ปกปิดความดีของตน = ถ้าไม่มีใครถามก็จะไม่พูด ถ้าถามก็จะพูดเพียงนิดเดียว - การเป็นศัตรูกับคนไม่ดี ไม่ค่อยฉลาด เพราะเขาจะทำชั่วกับเราได้ตลอด แต่การเปลี่ยนมิตรที่ไม่ดีให้เป็นคนดีจะดีกว่า ห้ามเขาเสียจากบาป ให้ตั้งอยู่ในความดี เรา

    57min
  8. 17/11/2024

    ความสันโดษกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน [6747-1u]

    ช่วงไต่ตามทาง: เล่นโทรศัพท์มากเกินไป A: ผู้ฟังท่านนี้ใช้เวลาไปกับการเล่นโทรศัพท์มากเกินไป จึงแก้ไขด้วยการแบ่งเวลาทำงานกับการเล่นโทรศัพท์ให้ชัดเจน หรือปิดโทรศัพท์แล้วไปทำอย่างอื่น เช่น ไปหลีกเร้น ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: สันโดษกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน วิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มีดังนี้ 1. ทำความเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้อง - “สันโดษ” หมายถึง ความพอใจ ความยินดีตามมีตามได้ในสิ่งที่เรามี พระพุทธเจ้าให้มีทั้งสันโดษและไม่สันโดษ คือ = ให้สันโดษ (รู้จักอิ่มจักพอ) ในปัจจัยสี่ สิ่งของภายนอก กาม = ไม่สันโดษ (ไม่รู้จักอิ่มจักพอ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย เช่น อิทธิบาท 4 - เมื่อมีความเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้องแล้ว จะสามารถแยกแยะเรื่องอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ 2. เจริญอิทธิบาท 4 (1) ฉันทะ = มีความพอใจในการทำงาน (2) วิริยะ = ความเพียร ความอุตสาหะ (3) จิตตะ = ความเอาใจใส่ จดจ่อ (4) วิมังสา = การไตร่ตรองพิจารณาทดลองค้นคว้า - ประสิทธิภาพในงานจะเกิดขึ้นตรงที่มีสมาธิจดจ่อ การที่เจริญอิทธิบาท 4 ข้อใดข้อหนึ่ง สามารถเป็นฐานให้เกิดสมาธิได้ เมื่อจิตเกิดสมาธิแล้วก็จะสามารถทำงานนั้นให้สำเร็จได้ 3. ความคงไว้ซึ่งสมาธิ - "สมาธิ" เป็นจุดสำคัญ ในการจะทำอะไรก็ตามให้เกิดความสำเร็จ สมาธิไม่จำเป็นต้องอยู่ในอิริยาบถนั่งหลับตา - “สติ” เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสมาธิ จึงต้องทำให้สติมีกำลัง เพื่อให้สมาธิไม่เสื่อม - “นิวรณ์ 5” เป็นเครื่องกั้น เครื่องขวาง การมุ่งหน้าไปสู่ความสำเร็จ นิวรณ์ 5 เกิดขึ้นตรงไหน สมาธิตรงนั้นจะเสื่อมทันที ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จึงต้องละนิวรณ์ 5 อันได้แก่ (1) กามฉันทะ = ความพอใ

    57min

Classificações e avaliações

5
de 5
2 avaliações

Sobre

นำ "โจทย์" จากชีวิตจริงมาวิเคราะห์แจกแจง, เปิดประเด็นปัญหา ขุดคุ้ยคำตอบที่ซ่อนอยู่ แล้วปรับสมดุลย์ด้วยสัจจะธรรม เพื่อให้เห็นเส้นทางดำเนินต่อไปในชีวิต ในช่วง "สมการชีวิต". New Episode ทุกวันจันทร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

Mais de Panya Bhavana Foundation

Você também pode gostar de

Para ouvir episódios explícitos, inicie sessão.

Fique por dentro deste podcast

Inicie sessão ou crie uma conta para seguir podcasts, salvar episódios e receber as atualizações mais recentes.

Selecionar um país ou região

África, Oriente Médio e Índia

Ásia‑Pacífico

Europa

América Latina e Caribe

Estados Unidos e Canadá