3 ใต้ร่มโพธิบท

3 ใต้ร่มโพธิบท

เรียนรู้หัวข้อธรรมะ ที่เป็นแผนที่แม่บท เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้วยสูตร 15+45 คือนั่งสมาธิ 15 นาที แล้วตามด้วยการอธิบายหัวข้อธรรมะ 45 นาที เพื่อให้ตกผลึกความคิดเป็นสัมมาทิฏฐิ มีปัญญาเดินทางแผนที่คำสอนได้. New Episode ทุกวันพุธ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  1. قبل يومين

    ธรรม 8 ประการที่เป็นเหตุให้ได้ปัญญา [6802-3d]

    “ปัญญา” ในความหมายของพุทธศาสนาคือ การตระหนักรู้หรือตระหนักรู้ถึงธรรมชาติที่แท้จริงของความเป็นจริงที่เหนือกว่าความเข้าใจทั่วไป คือสิ่งที่เมื่อเรารู้และเข้าใจแล้วจะทำความสุขอันยั่งยืนที่เหนือกว่าสุขเวทนา สุขที่ระงับ สุขที่เป็นความสงบเย็น พระพุทธเจ้าได้กล่าวถึงเหตุปัจจัยที่ให้ได้ปัญญาที่ยังไม่ได้และเพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้วไว้ 8 ประการ ได้แก่ มีครูบาอาจารย์ เข้าไปตั้งจิตไว้ซึ่งความละอาย ความเกรงกลัว ความรัก และความเคารพอย่างแรงกล้า โดยการพิจารณาคุณสมบัติของครูผู้เป็นกัลยาณมิตร 7 ประการ คือ 1) เป็นที่รักเป็นที่พอใจ 2) เป็นที่เคารพ 3) เป็นผู้ควรสรรเสริญ 4) เป็นนักพูด 5) เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ 6) เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้ และ 7) ไม่ชักนำในทางไม่ดีเข้าไปหาแล้วไต่ถาม และรู้จักตั้งคำถาม โดยต้องมีศรัทธาและเข้าไปหาในเวลาที่เหมาะสม ได้สงบกาย ความสงบใจ เมื่อฟังธรมนั้นแล้วต้องนำมาประพฤติปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ย่อมได้ความสงบ 2 อย่าง คือ ความสงบกายและความสงบจิตอย่างถึงพร้อมเป็นผู้มีศีล ศีลเป็นพื้นฐานของทุกสิ่ง ต้องสำรวมระวังในศีลให้ถึงพร้อม มีความปรกติเห็นภัยในโทษของการทุศีลแม้มีประมาณน้อย เป็นผู้ทรงสุตะและสั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก จำไว้คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เมื่อจิตเราเข้าใจในกุศลธรรมแล้วก็นำมาทบทวนซ้ำ ๆ เพื่อความพร้อมมูลแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมนั้น ๆ เมื่อกุศลธรรมเพิ่มขึ้นมากเท่าใด อกุศลธรรมก็จะลดลงเช่นกันกล่าวเรื่องธรรมวินัย ไม่พูดเรื่องต่าง ๆ ที่ขวางหนทางธรรม ไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่างพระอริยเจ้าสามารถปล่อยวางขันธ์ 5 พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ 5 คือเห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ٥٨ من الدقائق
  2. ٣٠‏/٠٦‏/١٤٤٦ هـ

    สุขที่ควรเสพและสุขที่ไม่ควรเสพ [6801-3d]

    ในช่วงเทศกาลปีใหม่ทุกคนล้วนส่งความสุขให้กันและกัน ในตอนนี้จะกล่าวถึงสุขที่ควรเสพและไม่ควรเสพ เราต้องมีปัญญาที่จะแยกแยะได้ว่าสุขแบบไหนที่ควรเสพและไม่ควรเสพ พระพุทธเจ้าแบ่งความสุขออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ ความสุขที่เกิดจากมิจฉาทิฏฐิ คือความสุขที่เสพแล้วกิเลสเพิ่มขึ้น จิตใจชุ่มไปด้วยกาม ความสุขประเภทที่ไม่ควรเสพนี้มี 4 อย่างคือ 1.ความสุขที่เกิดจากการฆ่า  2.ความสุขที่เกิดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ 3.ความสุขที่เกิดจากการวจีทุจริต คือการจงใจกล่าวเท็จ การพูดเพ้อเจ้อ การพูดคำหยาบ 4.การเอิบอิ่มเพรียบพร้อมอยู่ด้วยกามคุณทั้ง 5 ความสุขที่เกิดจากสัมมาทิฏฐิ คือ ความสุขที่เสพแล้วกิเลสลดลงความเศร้าหมองของจิตใจลดลง จิตใจผ่องใสและบริสุทธิ์ขึ้น ความสุขประเภทที่ควรเสพนี้มี 4 อย่างคือ 1.เป็นสุขที่อาศัยปีติที่เนื่องด้วยจากความตริตรึก คือ วิตกวิจาร และวิเวก 2.สุขที่อาศัยปีติสุขที่ต่อเนื่องด้วยความที่จิตเป็นอารมณ์อันเดียว โดยไม่อาศัยการตริตรึก 3.ความสุขที่เกิดจากวางอุเบกขาในปีติสุขนั้น 4.อุเบกขาล้วน ๆ โดยไม่มีสุข เป็นความระเอียดของจิตที่สามารถพัฒนาได้ พลังของสมาธิทั้ง 4 ขั้นนี้เป็นสิ่งที่ควรเสพ ควรทำให้มาก ควรทำให้เจริญ และเมื่อนำไปพิจารณาอย่างแยบคายจะทำให้เป็นผู้ที่เข้าถึงกระแสแห่งอริยบุคคลทั้ง 4 จำพวก ได้แก่ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และอรหันต์  ในการทำจิตให้เป็นสมาธินั้น การเจริญพรหมวิหาร4 อันประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา จะช่วยทำให้จิตเป็นสมาธิได้รวดเร็วและมีสมาธิที่เข้มแข็งขึ้น โดยต้องมีคุณสมบัติที่ประกอบด้วย 3 ลักษณะนี้คือ ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีประมาณ และไม่มีการผูกเวร  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ١ س ١ د
  3. ٢٣‏/٠٦‏/١٤٤٦ هـ

    "ภควา" ผู้จำแนกแจกธรรม [6752-3d]

    ในพุทธศาสนานี้มีผู้สอนเพียงผู้เดียว คือพระพุทธเจ้า พระองค์เป็นผู้ที่สามารถสอนได้อย่างดี อย่างงามและเมื่อนำคำสอนไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ก็จะให้ผลที่ดีที่งามอย่างมาก ซึ่งความสามารถในการบอกสอนของพระพุทธเจ้าตรงนี้เรียกว่า ภควา คือเป็นผู้จำแนกแจกธรรม ในที่นี้จะกล่าวถึงวิธีสอนของพระพุทธเจ้า โดยจะนำนัยยะต่างๆมากล่าวดังนี้ นัยยะที่1.คุณสมบัติของผู้แสดงธรรม ต้องมีลักษณะดังนี้ 1.แสดงไปตามลำดับ 2. ยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ 3. แสดงด้วยความเมตตา 4.อย่าเห็นแก่อามิส 5. แสดงโดยไม่กระทบตนและคนอื่น นัยยะที่2.ทรงเปรียบเทียบให้เห็นถึงการแสดงธรรมที่บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ โดยทรงปรารภพระมหากัสสปะในจันทูปมาสูตร ว่าผู้พรากกายพรากจิตได้ จึงจะเข้าสู่ตระกูลและแสดงธรรมได้ หากไม่สามารถพรากกายพรากจิตได้เมื่อเข้าสู่ตระกูลก็จะติดพัน มุ่งหวังในลาภสักการะ ลักษณะแบบนี้จะเป็นการแสดงธรรมที่ไม่บริสุทธินั่นเอง นัยยะที่3.ลีลาคำสอนของพระพุทธเจ้า มี 4 ลักษณะ 1.สันทัสสนา คืออธิบายให้เห็นชัดเจน แจ่ม แจ้ง เหมือนจูงมือไปดูให้เห็นกับตา 2.สมาทปนา คือชักจูงใจให้เห็นจริงด้วย ชวนให้คล้อยตาม จนต้องยอมรับและนำไปปฏิบัติ 3.สมุตเตชนา คือเร้าใจให้แกล้วกล้า บังเกิด และให้เกียรติแก่ผู้เรียน ให้เขามีความภูมิใจในตัว กำลังใจ ปลุกให้มีอุตสาหะแข็งขัน มั่นใจว่าจะทำให้ สำเร็จได้ ไม่หวั่นระย่อต่อความเหนื่อยยาก 4.สัมปหังสนา คือการทำให้ร่าเริง หรือปลุกให้ร่าเริง นัยยะที่4. การตอบคำถามของพระพุทธเจ้ามี 4 ลักษณะ คือ1.ตอบแบบตรงๆ 2.ตอบโดย ถามกลับ 3.แยกแยะตอบ 4.ตอบ โดยเงียบไม่ตอบ นัยยะที่5. การถามของพระพุทธเจ้า มี 5 ลักษณะ คือ1.ถามเพราะรู้อยู่แล้ว, 2.ไม่รู้จึงถาม, 3.ถามเพื่อข่มผู้อื่น, 4.ถามด้วยปรารถนาลามก, 5.ถามเพราะไม่รู้ด้วยความเขลา นัยยะที่6. การสอนด้วยความพอเพียง ได้แก่ 1.พอเพียงเพื่อตนเอง, 2.พอเพียงเพื่อผู้อื่น Time stamp 6752-3d: (00:50) ปฏิบัติภาวนา เจริญอานาปานสติ (09:05) วิธีสอนของพระพุทธเจ้า (12:27) คุณสมบัติของผู้แสดงธรรม (12:42) 1. แสดงไปตามลำดับ (12:46) 2. ยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ (12:50) 3. แสดงด้วยความเมตตา (12:54) 4. อย่าเห็นแก่อามิส (12:57) 5. แสดงโดยไม่กระทบตนและคนอื่น (14:00) จันทูปมาสูตร : ปรารภพระมหากัสสปะ (26:27) ลีลาคำสอนของพระพุทธเจ้า มี 4 ลักษณะ (33:24) การตอบคำถามของพระพุทธเจ้ามี 4 ลักษณะ (41:26) การถามของพระพุทธเจ้า มี 5 ลักษณะ (47:31) การสอน ด้วยความพอเพียง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ٥٨ من الدقائق
  4. ١٦‏/٠٦‏/١٤٤٦ هـ

    ข้อควรพิจารณาเนืองๆ [6751-3d]

    สิ่งที่ควรพิจารณาเนืองๆ 5 ประการ 1.เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ คือต้องไตร่ตรองใคร่ครวญอยู่เป็นประจำ ตริตรึกด้วยจิตที่เป็นสมาธิ ด้วยสัมมาทิฏฐิ ด้วยศรัทธา จนเข้าไปสู่จิตใจ ถ้าพิจารณาสิ่งนี้อยู่เนืองๆ อานิสงส์ที่จะได้รับคือ จะทำให้ละความเพลินความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวได้ 2.เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ พิจารณาให้เห็นว่ากายนี้เป็นรังแห่งโรค ไตร่ตรองใคร่ครวญอยู่เป็นประจำ ตริตรึกถึงความเจ็บไข้ด้วยจิตที่เป็นสมาธิ ด้วยสัมมาทิฏฐิ จนเข้าไปสู่จิตใจ ถ้าพิจารณาสิ่งนี้อยู่เนืองๆ จะทำให้ละความมัวเมาในความไม่มีโรคได้ 3.เรามีความตายเป็นธรรมดา จะไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ความตายมีซ่อนอยู่ในชีวิต พิจารณาให้เห็นว่าเซลล์ร่างกายเรานี้ตายอยู่ทุกวัน ให้ใคร่ครวญตริตรึกถึงความตายด้วยจิตที่เป็นสมาธิ ด้วยปัญญา จนเข้าไปสู่จิตใจ ถ้าพิจารณาสิ่งนี้อยู่เนืองๆ จะทำให้ละความมัวเมาในชีวิตไปได้ 4.เรามีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจ พิจารณาให้เห็นถึงความพลัดพลากจากสิ่งที่รักสิ่งที่ชอบใจอยู่เนืองๆ จะทำให้คลายกำหนัดจากสิ่งที่รักที่ชอบใจ ทำให้จิตไม่มัวเมาลุ่มหลงในกิเลส 5.เรามีกรรมเป็นของตน ถ้าพิจารณาสิ่งนี้อยู่เนืองๆ จะทำให้เราไม่กล้าคิดชั่ว ทำชั่ว ทำให้เป็นผู้ประพฤติกาย วาจา ใจ อันสุจริต Time stamp 6751-3d: (00:24) ปฏิบัติภาวนา เจริญกายคตาสติ (06:40) สิ่งที่ควรพิจารณาเนือง ๆ (22:12) เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ (49:09) เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ (52:43) เรามีความตายเป็นธรรมดา จะไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ (54:41) เรามีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจ (56:02) เรามีกรรมเป็นของตน (56:49) ข้อควรพิจารณาเนือง ๆ สำหรับนักบวช Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ٥٩ من الدقائق
  5. ٠٩‏/٠٦‏/١٤٤٦ هـ

    การบูชายัญ [6750-3d]

    การบูชา ที่มีสิ่งของประกอบในการบูชานั้น เรียกว่าอามิสบูชา และถ้าเจาะจงว่ามีผู้รับสิ่งของที่ให้นั้นจะเรียกว่า “ทาน” คือการให้ แต่ถ้าตั้งไว้เฉยๆโดยไม่มีผู้รับชัดเจน แต่หวังว่าจะมีผู้รับเรียกว่า “ยัญ” ในที่นี้จะกล่าวถึง การบูชายัญ โดยพระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ใน กูฏทันตสูตร เป็นการกล่าวถึงการบูชายัญที่ถูกต้องไว้กับกูฏทันตพราหมณ์ ลักษณะยัญที่มีองค์ประกอบ 33 อย่างซึ่งเมื่อบูชาแล้วมีผลมาก แบ่งเป็นหมวดๆดังนี้ 4 อย่างแรก คือ ได้ฉันทานุมัติ จากคนทั้งประเทศ ได้แก่ 1.เจ้าผู้ครองเมืองต่างๆ 2.อำมาตย์ราชบริพารผู้ใหญ่ 3.พราหมณ์มหาศาล 4.คหบดีผู้มั่งคั่ง 8 อย่างคือ คุณสมบัติของผู้บูชา ได้แก่ 1.มีชาติตระกูลดี 2.มีรูปงดงาม 3.มีโภคทรัพย์สมบัติมาก 4.มีแสนยานุภาพอันเกรียงไกร 5.มีความใจบุญมีเมตตา 6.มีความเชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ เพื่อรอบรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี 7.มีความเป็นนักปราชญ์บัณฑิตเต็มภาคภูมิ 8.มีวิสัยทัศน์ 4 อย่างคือ คุณสมบัติของผู้ให้คำแนะนำ ได้แก่ 1.มีชาติตระกูลดี 2.มีความรอบรู้ในสรรพวิชาความรู้ 3.มีศีล เพื่อความไว้วางใจว่าไม่เป็นผู้มีนอกมีใน 4.เป็นบัณฑิตมีปฏิภาณไหวพริบในการแก้ปัญหา อย่างน้อยเป็นลำดับที่ 2 ของปราชญ์ทั้งแผ่นดิน 3 อย่างคือ ต้องไม่เดือดร้อนใจจากความสิ้นเปลืองของเครื่องบูชา ได้แก่ 1.ไม่เดือดร้อนใจจากความสิ้นเปลืองก่อนการบูชา 2.ไม่เดือดร้อนใจจากความสิ้นเปลืองระหว่างการบูชา 3.ไม่เดือดร้อนใจจากความสิ้นเปลืองหลังการบูชา 10 อย่างคือ ลักษณะของผู้รับเอาเครื่องบูชา ได้แก่ 1.ทั้งพวกที่ฆ่าสัตว์ ทั้งพวกที่เว้นจากการฆ่าสัตว์ 2.ทั้งพวกที่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ทั้งพวกที่เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ 3.ทั้งพวกที่ประพฤติผิดในกาม ทั้งพวกที่เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม 4.ทั้งพวกที่กล่าวคำเท็จ ทั้งพวกที่เว้นขาดจากการกล่าวคำเท็จ 5.ทั้งพวกที่กล่าวคำส่อเสียด ทั้งพวกที่เว้นขาดจากการกล่าวคำส่อเสียด 6.ทั้งพวกที่กล่าวคำหยาบ ทั้งพวกที่เว้นขาดจากการกล่าวคำหยาบ 7.ทั้งพวกที่กล่าวคำเพ้อเจ้อ ทั้งพวกที่เว้นขาดจากการกล่าวคำเพ้อเจ้อ 8.ทั้งพวกที่เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา ทั้งพวกที่ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา 9.ทั้งพวกที่มีจิตพยาบาท ทั้งพวกที่ไม่มีจิตพยาบาท 10.ทั้งพวกที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ทั้งพวกที่เป็นสัมมาทิฏฐิ 4 อย่างคือ คุณสมบัติคนที่มาร่วมด้วย ได้แก่ 1.พวกเจ้าผู้ครองเมืองตั้งโรงทานในทิศตะวันออก 2.พวกอำมาตย์ตั้งโรงทานในทิศใต้ 3.พวกพราหมณ์มหาศาลตั้งโรงทานในทิศตะวันตก 4.พวกคหบดีตั้งโรงทานในทิศเหนือ องค์ประกอบเหล่านี้เป็นการบูชายัญที่ให้ผลมาก มีการตระเตรียมมากและสิ้นเปลืองมาก พระพุทธเจ้าทรงบอกแก่กูฏทันตพราหมณ์ว่ายังมีการบูชาที่สิ้นเปลืองน้อยแต่ได้อานิสงค์มาก ได้แก่ 1.การให้ทานเป็นประจำ(นิตยทาน) 2.วิหารทาน 3.การถึงไตรสรณคมน์ 4.การรักษาศีล 5.การทำสมาธิ Time stamp 6750-3d: (00:40) ปฏิบัติภาวนา เจริญอานาปานสติ (06:49) กูฏทันตสูตร การบูชายัญ (07:45) กูฏทันตสูตร การบูชายัญ (37:28) ลักษณะยัญที่มีองค์ประกอบ 33 อย่าง (37:43) 4 อย่าง คือ ได้ฉันทานุมัติ จากคนทั้งประเทศ (37:47) 8 อย่างคือ คุณสมบัติของผู้บูชา (37:53) 4 อย่างคือ คุณสมบัติของผู้ให้คำแนะนำ (38:00) 3 อย่างคือ ความสิ้นเปลืองของเครื่องบูชา (38:10) 10 อย่างคือ ลักษณะของผู้รับเอาเครื่องบูชา (38:33) 4 อย่างคือ คุณสมบัติคนที่มาร่วมด้วย (42:59) การบูชาที่สิ้นเปลืองน้อยและได้อานิสงค์มาก Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ٥٩ من الدقائق
  6. ٠٢‏/٠٦‏/١٤٤٦ هـ

    โทษของความโกรธ [6749-3d]

    ในมุมมองของคนที่มักโกรธ พอโกรธหรือไม่พอใจใครแล้ว ก็จะมองคน ๆ นั้นด้วยความเป็นศัตรูทันที เขาจึงเห็นว่าความโกรธมีเพื่อที่จะทำให้ตนเองรู้สึกดี เพราะเขาจะมีความมุ่งหมาย 7 ประการนี้แก่ผู้เป็นศัตรู คือ 1) หวังให้เขามีผิวพรรณทราม 2) หวังให้เขาเป็นทุกข์ 3) หวังให้เขาไม่มีความเจริญ 4) หวังให้เขาปราศจากโภคทรัพย์ 5) หวังให้เขาปราศจากยศตำแหน่ง 6) หวังให้เขาปราศจากเพื่อน และ 7) หวังให้เขาตกนรกโดยเร็ว ก็แล้วทำไมคนที่มักโกรธจึงจะมีทุกข์มีปัญหา? พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจนใน “โกธนสูตร” ว่า บุคคลผู้มักโกรธนั้น มีผิวพรรณทราม นอนเป็นทุกข์ ได้ความเจริญแล้วก็ยังถึงความเสื่อม บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ ทำการเข่นฆ่าทางกาย วาจา ย่อมประสบความเสื่อมทรัพย์ บุคคลผู้มัวเมาด้วยความมัวเมาเพราะโกรธ ย่อมถึงความเสื่อมยศ ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเว้นบุคคลผู้มักโกรธความโกรธก่อความเสียหาย ความโกรธทำจิตให้กำเริบ บุคคลผู้มักโกรธย่อมไม่รู้ภัยที่เกิดจากภายใน บุคคลผู้โกรธย่อมไม่รู้อรรถ บุคคลผู้โกรธย่อมไม่เห็นธรรม ความโกรธครอบงำนรชนในกาลใด ความมืดย่อมมีในกาลนั้น บุคคลผู้โกรธย่อมก่อกรรมที่ทำได้ยากเหมือนทำได้ง่าย ภายหลังเมื่อหายโกรธแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้ บุคคลผู้โกรธย่อมแสดงความเก้อยากก่อนเหมือนไฟแสดงควันก่อน ความโกรธเกิดขึ้นในกาลใด คนทั้งหลายย่อมโกรธในกาลนั้น บุคคลผู้โกรธไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีคำพูดที่น่าเคารพ บุคคลผู้ถูกความโกรธครอบงำไม่มีความสว่างแม้แต่น้อยฯ เพื่อไม่ให้ได้รับโทษจากความโกรธนั้น เราก็ไม่ควรโกรธใคร ๆ เลย แม้จะมีเหตุผลที่น่าโกรธจริง ๆ ก็ไม่ควรโกรธอยู่ดี พระพุทธเจ้าท่านได้ทำเป็นตัวอย่างแล้ว ในจิตใจของท่านมองเห็นทุกคนด้วยความไม่เป็นศัตรู มองเห็นทุกคนด้วยความเป็นมิตร ไม่โกรธใครเลย แม้เขาจะทำไม่ดีก็ตาม ดังเช่น พระพุทธองค์ไม่โกรธพระเทวทัต แต่บอกอานิสงส์ที่ทำดีแล้วจะได้ผลดีอย่างนี้ ๆ บอกโทษของการทำไม่ดีแล้วจะได้ผลไม่ดีอย่างนี้ ๆ ท่านก็แสดงไปตามเหตุผล ความโกรธเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? พระพุทธเจ้าตรัสบอกเอาไว้ใน “มหานิทานสูตร” ว่า ที่เรามาถึงจุดที่ลงมือลงไม้ด่าว่ากัน คิดประทุษร้ายกันได้ เหล่านี้ทั้งหมดนั้นเรียกว่า “เรื่องราวที่เกิดจากการหวงกั้น” ซึ่งอาศัยความตระหนี่จึงทำให้เกิดการหวงกั้น เพราะมีความยินดี รักใคร่ จับอกจับใจคือยึดติดแล้ว จึงมีความตระหนี่ได้ และเพราะความสยบมัวเมา ลุ่มหลง ปลงใจรัก ในสิ่งที่แสวงหา (ความอยากคือตัณหา) จิตเราจึงเป็นทาสของสิ่งนั้น ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลินคือโมหะ จึงเป็นรากฐานของโทสะ ราคะ นั่นเอง สิ่งนี้จึงต้องระวัง แม้แต่ความดี เรายังโกรธเพราะการแสวงหาความดีได้ เป็นอุปัทวะ (อันตราย) คือถ้ามีคนทำไม่ดี ยังยึดติดในความดีนี้อยู่ไหม ในนามของความดี ฉันขอทำชั่ว ไปโกรธคนทำไม่ดีนั้น มันก็ไม่ได้เรื่อง ไล่ลำดับขั้นของความโกรธในทางจิตใจ เริ่มจาก มีความยินดี (รติ) ความไม่ยินดี (อรติ) ---> ความไม่พอใจ ความขัดเคือง (ปฏิฆะ)---> แต่ถ้ายังหยุดไม่ได้ก็จะกลายเป็น ความโกรธ (โกธะ) ---> และเมื่อเพลินไปในความโกรธนั้น ก็จะนำไปสู่ โทสะ มันจึงเริ่มออกมาภายนอกเป็นการกระทำทางวาจา ทางกาย คิดประทุษร้ายลงมือลงไม้ เริ่มเป็นกรรมแล้ว ที่จะทำให้เกิดอาสวะ เป็นการผูกพยาบาทข้ามภพข้ามชาติได้ ดังนั้นถ้าเรามีเงื่อนไขของความสุขมาก มันก็จะทุกข์ทันที Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ٥٦ من الدقائق
  7. ٢٥‏/٠٥‏/١٤٤٦ هـ

    ขันธ์ 5 แบบแจกแจง และการทำงานของขันธ์ (ตอนที่ 2)

    ขันธ์ แปลว่า หมู่หรือกองของรูปกับนามที่แยกออกได้เป็น 5 กอง ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ 5 คือ รูป, เวทนา ,สัญญา, สังขาร ,วิญญาณ จัดอยู่ใน “ทุกขอริยสัจ” ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์ และกิจที่ต้องทำคือ กำหนดรู้ทุกข์ การทำงานของขันธ์ 5 แต่ละขันธ์ เป็นการอาศัยกันและกันเกิดขึ้นของนามรูป และวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ -> ให้เกิดการปรุงแต่ง คือ สังขาร -> สัญญา -> เวทนา -> วิญญาณ และจิตก็เข้าไปยึดถือวิญญาณโดยความเป็นตัวตนและก้าวลงตามต่อไปในขันธ์ต่างๆ เพราะด้วยอำนาจความเพลินแห่งนันทิราคะ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ٥٩ من الدقائق
  8. ١٧‏/٠٥‏/١٤٤٦ هـ

    ขันธ์ 5 โดยรวม (ตอนที่1) [6747-3d]

    “ทุกขอริยสัจ” ความจริงอันประเสริฐ คือ “ทุกข์” อุปาทาน (ความยึดถือ) ในขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสุข หรือ ทุกข์ ต่างอาศัยเหตุเกิด ย่อมเป็นทุกข์ เพราะมีความไม่เที่ยง เป็นอนัตตา ขันธ์ 5 คือ กองทุกข์ แบ่งออกได้เป็น 5 กอง ได้แก่ “รูป” คือ สิ่งที่แตกสลายได้ เปรียบเหมือนก้อนฟองน้ำ ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้ “เวทนา” คือ ความรู้สึกที่เกิดจากผัสสะ เปรียบเหมือนต่อมนํ้าเกิดขึ้นและแตกกระจายอยู่บนผิวน้ำ ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้ “สัญญา” คือ ความจำได้หมายรู้ เปรียบเหมือนพยับแดดย่อมไหวยิบยับ ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้ “สังขาร” คือ การปรุงแต่งให้สำเร็จรูป เปรียบเหมือนการหาแก่นไม้ในต้นกล้วย ไม่พบแม้แต่กระพี้ จะพบแก่นได้อย่างไร “วิญญาณ” คือ การรับรู้ เปรียบเหมือนนักแสดงกล กลนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ Time stamp 6747-3d: (00:35) ปฏิบัติภาวนา เจริญอานาปานสติ (08:40) ขันธ์ 5 (09:37) "ทุกข์" (18:10) แจกแจงทุกข์ (20:46) รูปขันธ์ (21:52) กองที่หนึ่ง รูป (22:02) กองที่สอง เวทนา (23:05) กองที่สาม สัญญา (26:18) อธิบาย อุปาทานขันธ์ 5 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ٥٨ من الدقائق

التقييمات والمراجعات

حول

เรียนรู้หัวข้อธรรมะ ที่เป็นแผนที่แม่บท เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้วยสูตร 15+45 คือนั่งสมาธิ 15 นาที แล้วตามด้วยการอธิบายหัวข้อธรรมะ 45 นาที เพื่อให้ตกผลึกความคิดเป็นสัมมาทิฏฐิ มีปัญญาเดินทางแผนที่คำสอนได้. New Episode ทุกวันพุธ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

المزيد من Panya Bhavana Foundation

قد يعجبك أيضًا

للاستماع إلى حلقات ذات محتوى فاضح، قم بتسجيل الدخول.

اطلع على آخر مستجدات هذا البرنامج

قم بتسجيل الدخول أو التسجيل لمتابعة البرامج وحفظ الحلقات والحصول على آخر التحديثات.

تحديد بلد أو منطقة

أفريقيا والشرق الأوسط، والهند

آسيا والمحيط الهادئ

أوروبا

أمريكا اللاتينية والكاريبي

الولايات المتحدة وكندا