7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

การพูดคุยปรึกษา คือ สากัจฉาทำให้เกิดความไม่ประมาทและมีปัญญาได้, มีคำถามอยู่ที่ไหน ก็มีคำตอบอยู่ที่นี่, ตอบทุกข้อสงสัย ทั้งในการดำเนินชีวิต, หลักธรรม หรือการภาวนา โดย ร่วมพูดคุยกับคุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ในช่วง "ตามใจท่าน". New Episode ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

  1. قبل ٥ أيام · إضافة

    ปัจจัยที่ทำให้จิตเกิดวิชชา [6801-7q]

    Q : มีวิธีสร้างพลังใจให้เข้มแข็งได้อย่างไร? A : การที่เราจะทำให้ใจของเราให้มั่นคงเข้มแข็งได้ ลักษณะความเข้มแข็งแน่วแน่ตรงนี้คือ “อินทรีย์พละ” มี 5 อย่าง เริ่มด้วย พลังศรัทธา พลังวิริยะ พลังสติ พลังสมาธิ และพลังปัญญา ทั้ง 5 อย่างนี้ต้องมาด้วยกัน หากมีแค่ศรัทธาและความเพียร เราจะต้านกระแสได้ไม่นาน สติ สมาธิ และปัญญา จะเป็นตัวประกอบที่จะทำให้สม่ำเสมอต่อเนื่องไปได้ ที่สำคัญคือเราอย่าไปผิดทาง เราต้องตั้งศรัทธาไว้ให้ถูกต้อง คือตั้งศรัทธาไว้ในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในคำสอน ในการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และในเรื่องกรรม ว่าทำกรรมดีได้ดี ทำกรรมชั่วได้ชั่ว ทำกรรมอย่างไรจะได้รับผลของกรรมอย่างนั้น หลักการนี้จะทำให้จิตเรามีพลังใจที่เข้มแข็งมั่นคงไม่ไปตามกระแสที่ผ่านเข้ามา  Q : ความสงบใจเกิดขึ้นได้อย่างไร? A : ลักษณะของจิตคือเศร้าหมองได้ ผ่องใสได้ ตามแต่ผัสสะที่ผ่านเข้ามาในช่องทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ เมื่อมีผัสสะมากระทบแล้ว จิตคล้อยตามไป ก็จะปรุงแต่งออกมาเป็น ราคะ โทสะ โมหะ ตามแต่สิ่งที่เข้าไปเสวยอารมณ์นั้น ซึ่งจิตไม่รู้ว่าไม่ต้องปรุงแต่งก็ได้ การที่จิตไม่รู้ ว่ามันไม่ต้องปรุงแต่งก็ได้ นั่นคือ “อวิชชา” คือความไม่รู้ ถ้าจิตรู้ว่าไม่ต้องไปเสวยอารมณ์นั้นก็ได้ เขาก็จะไม่คล้อยไปตามผัสสะที่ผ่านเข้ามา การที่จะทำ “วิชชา” ให้เกิดขึ้นได้ ต้องมีองค์ประกอบแห่งการตรัสรู้ธรรมคือ “โพชฌงค์ 7” เหตุของโพชฌงค์ คือ “สติปัฎฐาน 4” เราต้องตั้งสติขึ้น เหตุของสติคือ การมีศรัทธาที่ถูกต้อง มีความเชื่อความมั่นใจ มีการลงมือทำจริงแน่วแน่จริง ตั้งสติไว้ แล้วปรุงแต่งแบบนี้ คอยสังเกต เราจะค่อยแยกแยะ แยกตัวออกจากการปรุงแต่งที่ไม่ดี สติ สมาธิของเราก็จะมีกำลังมากขึ้น เป็นไปตามกระบวนการของโพชฌงค์ เป็นกระบวนการทำงานที่จะทำให้จิตสงบ  Q : ลักษณะผู้ได้ฌานและฌานสำคัญอย่างไร? A : “ฌาน” คือ การเพ่งจดจ่อตรงที่เป็นกุศลธรรมโดยไม่บังคับ มีความหยาบละเอียดไม่เท่ากัน เรียงจากหยาบไปละเอียดก็คือ ฌาน 1-4 และในฌานทั้ง 4 ระดับ ในแต่ละระดับยังมีความมั่นคงลงไป 3 ลักษณะ คือ 1) “ขณิกะ” คือจดจ่อได้ชั่วขณะ 2) “อุปจาร” คือเป็นพื้นฐานได้ และ 3) “อัปปนา” คือลึกมั่นคงแน่วแน่ ทั้ง 3 แบบสามารถเกิดขึ้นได้ในทั้ง 4 ฌานนี้ ซึ่งไม่ว่าจะขั้นใดให้เอาให้ลึกถึงที่สุด จึงจะเรียกได้ว่าเป็นผู้ได้ฌาน ท่านกล่าวไว้ว่า “ธรรมทั้งปวงมีสติเป็นอธิบดี มีสมาธิเป็นหัวหน้า มีปัญญาเป็นอันดับสูงสุด มีวิมุตเป็นแก่น มีอมตะเป็นที่หยั่งลง มีนิพพานเป็นที่สุดจบ” เพราะฉะนั้น ฌานคือสมาธินั้นสำคัญมาก เราจึงต้องฝึก ถ้าไม่มีต้องทำให้มี เพราะเมื่อฝึกแล้วทำแล้วจะมีนิพพานเป็นที่สุดจบ  Q : ประชาสัมพันธ์งาน ขุมทรัพย์แห่งใจ A : กิจกรรมพบปะผู้ฟังประจำปี “ขุมทรัพย์แห่งใจ” เพื่อเป็นมงคลปีใหม่ เพิ่มพูนความหวังและปัญญา วันอาทิตย์ที่ 26 ม.ค. 68 เวลา 09.00-15.30น. (เริ่มลงทะเบียน 8.00น.) ณ. ศูนย์ปฏิบัติการแพร่ภาพออกอากาศฯ ชั้น 4 สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย ถ.วิภาวดีรังสิต ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ http://panya.org/newyear   Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ١ من الساعات
  2. ٢٧‏/٠٦‏/١٤٤٦ هـ

    เบื้องต้นเบื้องปลายของวัฏฎะ [6752-7q]

    Q : ตอบคำถามที่ทำให้เข้าใจในปฏิจจสมุปบาท A : หากฟังแล้วไม่เข้าใจนั่นเพราะสัญญายังไม่เป็นญาณ ญาณแปลว่าความรู้ หมายถึงปัญญา สัญญาเกิดก่อนญาณเกิดทีหลัง ในที่นี้สัญญาหมายถึงความหมายรู้ สัญญาจะเปลี่ยนเป็นญาณได้ก็ต่อเมื่อมีสมาธิ คือมีจิตจดจ่อเป็นอารมณ์อันเดียว   Q : ทำไมพระโพธิสัตว์จึงตั้งจิตปรารถนาให้ได้ภรรยาของพี่ชาย? A : จาก “กุสชาดก” เป็นเรื่องย้อนหลังกลับไปชาติก่อน ตอนพระพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์ ในชาตินั้นพี่สะใภ้อฐิษฐานว่า ไม่อยากเจอพระโพธิสัตว์อีก แต่ด้วยความที่พระโพธิสัตว์ เห็นจิตใจที่ดีงามของพี่สะใภ้ จึงอฐิษฐานจิตเช่นนี้ เพื่อแก้กัน เพื่อไม่ให้ผูกเวรกัน    Q : วัฏฏะเริ่มที่ไหน อะไรคือจุดเริ่มต้น? A : พระพุทธเจ้าท่านมีญาณพิเศษที่จะมีเฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น ท่านสามารถเห็นอดีตย้อนไปได้อย่างไม่มีอะไรข้องขัด แต่ท่านก็หาจุดที่่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่เจอ และในการเห็นนี้ ท่านได้เห็นกระบวนการทั้งหมดของมัน ว่ามันปรุงแต่งมาทั้งหมด เป็นทุกข์ทั้งหมด ท่านจึงหาวิธีดับทุกข์ เกิดความรู้ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เที่ยง มันมีเหตุมีปัจจัย ท่านจึงพบว่า ต้องเดินตามมรรค 8 ปฎิบัติตามอริยสัจสี่ ก็พ้นทุกข์ได้ กำจัดอวิชชาให้สิ้นได้ โดยที่ไม่ต้องรู้เบื้องต้นเบื้องปลาย   Q : ตารางการปฏิบัติธรรมมีที่ไหนบ้าง? A : วันอาทิตย์ที่ 26 ม.ค. 68 งานขุมทรัพย์แห่งใจ จัดที่หอประชุม (Auditorium) ชั้น 4 อาคารศูนย์ปฏิบัติการแพร่ภาพออกอากาศการกระจายเสียงวิทยุและการให้บริการข้อมูลข่าวสารภาครัฐ สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย ถ.วิภาวดีรังสิต และในวันที่ 25-27 ม.ค. 68 จัดรายการสด ทาง สวท. / คอร์สปฏิบัติธรรม จัดที่ วัดภูทอก จ.บึงกาฬ เดือน มี.ค. และ ธ.ค. 68 สามารถลงทะเบียนและติดตามข่าวสารได้ที่เว็บไซต์ panya.org    Q :ความสงสารจัดอยู่ในธรรมะข้อไหน? A : “สงสาร” เป็นอกุศล “ดี” เป็นกรุณา คือ เห็นคนเป็นทุกข์แล้วอยากให้เขาพ้นทุกข์ กรุณามีข้อควรระวังทั้ง 2 ด้าน ด้านหนึ่ง คือถ้าไม่กรุณาก็จะคิดเบียดเบียนกัน อีกด้านหนึ่ง ก็จะเป็นความสงสาร ความเศร้าโศกเสียใจ ที่เขาได้รับทุกข์ ซึ่งไม่ใช่สังเวช “สังเวช” คือความสลดที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ตรงหน้า สังเวชเป็นกุศลธรรม ส่วนความสงสารความเสียใจ คือกรุณาที่เกินกำลังของสติไป ทำให้ตัวเรามีทุกข์ไปด้วย ให้เราตั้งสติ รักษาสติไว้ อย่าให้เกินไปถึงตรงนั้น  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ٥٩ من الدقائق
  3. ٢٠‏/٠٦‏/١٤٤٦ هـ

    เทคโนโลยีกับวิกฤตศรัทธา [6751-7q]

    Q : สวดมนต์เยอะและนานดีหรือไม่อย่างไร? A : ที่สำคัญคือเมื่อสวดมนต์แล้วจิตสงบหรือไม่ หากสวดมนต์แล้วจิตสงบมีปิติสุข จิตเป็นสมาธิ นั่นจะเป็นทางที่ไปสู่วิมุตคือหลุดพ้นจากกิเลสได้ ซึ่งทางไปสู่วิมุตยังมีทางอื่น ๆ ทั้งการนั่งสมาธิ การฟังธรรม การสอนธรรมะ การใคร่ครวญธรรม ก็ล้วนแล้วแต่เป็นทางที่ไปสู่วิมุตได้   Q : นั่งสมาธิได้ไม่นาน แค่ไหนจึงจะเพียงพอ A : สมาธิอยู่ที่จิตสามารถทำได้ในทุกอิริยาบถ สิ่งที่สำคัญคือจิตเราต้องเป็นสมาธิ ไม่เกี่ยวกับเวลา ท่านสอนไว้ 2 วิธี คือ “ทุกขาปฏิปทา” หมายถึง พิจารณาความไม่เที่ยง เห็นถึงความไม่เที่ยง เห็นเป็นของไม่น่ายินดี เป็นสิ่งปฏิกูล ไม่ใช่ว่าทุกขาปฏิปทาคือความทุกข์ วิธีนี้คนที่มีราคะ โทสะ โมหะกล้า จิตจะสงบค่อนข้างยาก ก็ให้พิจารณาตรงที่ไม่สงบ ให้เห็นเป็นความของไม่เที่ยง เห็นเป็นของไม่ใช่ตัวตนด้วยความเป็นทุกข์ และ “สุขาปฏิปทา” หมายถึง ได้ความสุขจากสมาธิ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อิริยาบถใดก็ได้สุขจากสมาธิ คนที่มีราคะ โทสะ โมหะ เบาบางจะใช้วิธีนี้ได้ดี เพราะจิตเขาจะฟุ้งซ่านน้อยจิตสงบได้ง่าย   Q : ปฏิบัติที่บ้านได้หรือไม่? A : ปฏิบัติที่ไหนก็ได้ ในอิริยาบถใดก็ได้ ไม่จำกัดด้วยกาล ไม่จำกัดด้วยเวลา แต่จะมีที่อโคจรที่เราไม่ควรไป เพราะจะทำให้จิตสงบได้ยาก ได้แก่ โรงสุรา ที่เล่นการพนัน ซ่องโสเภณี หรือบ้านของคนที่ไม่มีศรัทธา ท่านให้เกณฑ์การเลือกสถานที่ไว้ดังนี้ คือ 1) หากอยู่ที่ไหน จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังละไม่ได้ก็ยังละไม่ได้ อย่าอยู่ให้รีบไปเดี๋ยวนั้นทันที 2) หากอยู่แล้วการภาวนายังไม่ดี แต่อาหารบิณฑบาตหาได้ง่าย ทำมาหากินดี ให้วางแผนว่าจะย้ายเมื่อไหร่ 3) หากสถานที่ไหนที่อยู่แล้วจิตสงบ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังละไม่ได้ก็ละได้ ถึงแม้สถานที่นี้ การทำมาหากินจะฝืดเคือง บิณฑบาตหายาก ลาภปัจจัย 4 น้อย เดินทางลำบาก ก็ให้อยู่ไปเรื่อย ๆ ให้เอาการภาวนาเป็นหลัก 4) หากสถานที่ไหนอยู่แล้วจิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังละไม่ได้ก็ละได้ อาหารการกินดี เดินทางสะดวก ให้อยู่ไปตลอดชีวิต    Q : เทคโนโลยีกับการปฏิบัติธรรม A : กระแสของโลกที่พัดเข้ามาตลอดไม่หยุดนั้นเรารับรู้ได้ผ่านทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจของเรา การปฏิบัติตามมรรค 8 จะทำให้จิตไม่พัดไปตามกระแส ยิ่งกระแสพัดเข้ามาแรง เราก็ยิ่งต้องปฏิบัติให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ซึ่งการที่จิตเราจะทวนกระแสได้นั้น เราต้องมี “ศรัทธา” เราต้องตั้งศรัทธาไว้ให้ถูก “อย่าตั้งศรัทธาไว้ในบุคคล แต่ให้ตั้งศรัทธาไว้ในระบบ” ระบบคือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อเราตั้งศรัทธาไว้ถูกต้อง เราก็จะไม่ได้รับโทษของศรัทธา ถ้าเรารู้จักแยกแยะเห็นได้ด้วยปัญญา ศรัทธาเราก็จะมั่นคงขึ้น หนุนศรัทธาได้ด้วยปัญญา พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ก่อนที่ท่านจะตรัสรู้ธรรมว่า “ท่านไม่สันโดษเลย ไม่รู้จักอิ่มจักพอเลยในกุศลธรรมทั้งหลาย” การที่เราจะสันโดษได้แทนที่เราจะตั้งไว้ในเรื่องกาม เราก็มาตั้งไว้ในธรรมะแทน เป็นการปรารถความเพียร เป็นหนึ่งในอิทธิบาท 4   Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ٥٧ من الدقائق
  4. ١٣‏/٠٦‏/١٤٤٦ هـ

    อัญญาณุเบกขา อุเบกขาที่ไม่ฉลาด [6750-7q]

    Q : การวางจิตขณะเดินจงฺกม? A : ตอนนั่งทำอย่างไรตอนเดินก็ทำอย่างนั้น ทำในทุก ๆ อิริยาบถ มีความเพียร ทำอย่างต่อเนื่อง อานิสงฆ์คือจะไปสู่ความเป็นอมตะ | นิพพานในอนาคตกาลเบื้องหน้า   Q : ความสงบใจเกิดขึ้นได้อย่างไร? A : หลักการคือเราจะรู้ถึงความสงบได้เราก็ต้องรู้ว่าที่ไม่สงบเป็นอย่างไร เมื่อรู้แล้วก็ไม่ทำอย่างนั้น คือถ้าหากเรายินดียินร้าย สะดุ้งไปตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ แล้วทำให้เราไม่สงบ เกิดอกุศล นั่นเป็นการปรุงแต่งที่เป็นโทษ แต่หากปรุงแต่งแล้วเกิดประโยชน์เกิดกุศล การปรุงแต่งนั้นเป็นประโยชน์ ซึ่งก็คือการปรุงแต่งด้วยมรรค8 ท่านได้กล่าวว่าในบรรดาธรรมทั้งหลาย มรรค 8 เป็นการปรุงแต่งที่ยอดเยี่ยม เพราะเมื่อปรุงแต่งแล้วทำให้กุศลเกิด อกุศลลด    Q : ความอยากทุกประเภทเป็นกิเลสหรือไม่? A : ความอยาก แปลมาจากคำว่า “ตัณหา” คือเหตุแห่งความทุกข์ คือความทะยาน ท่านอธิบายไว้ว่า “ตัณหานี้ใด 1) ทำการเกิดใหม่ให้เป็นปกติ 2) เป็นไปด้วยกับกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน 3) เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ถ้าเป็นความอยากใน 3 ลักษณะนี้นั่นคือ “ตัณหา” ถ้าไม่ใช่ความอยาก 3 ลักษณะนี้ “ไม่เป็นตัณหา” คือดูว่ากิเลสเพิ่มหรือลด ซึ่งหากเราปฏิบัติตามมรรค 8 แล้ว จะทำให้อกุศลลดลง กุศลเพิ่มขึ้น   Q : อุเบกขาและอัญญานุเบกขามีอาการอย่างไร? A : “อุเบกขา” เป็นหนึ่งในพรหมวิหารสี่ แปลว่าการวางเฉย ลักษณะของพรหมวิหารสี่ มีคุณสมบัติ 3 อย่างนี้ คือ ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีประมาณและไม่เว้นใครไว้ ให้เราปฏิบัติตามพรหมวิหารสี่ กระทำทั้งต่อหน้าและลับหลัง ทั้งทาง กาย วาจาและใจ เราจะอยู่บนโลกนี้ได้อย่างมีความสุข เพราะมันประกอบด้วยความไม่มีเงื่อนไข ดังนั้น หากเรามีเงื่อนไขของความสุขน้อย เราก็จะมีความสุขมากขึ้น “อัญญานุเบกขา” คืออุเบกขาแบบไม่ฉลาด เช่น ตากผ้าไว้ฝนตกแต่ไม่เก็บผ้าบอกว่าอุเบกขาใส่ผ้าเปียกก็ได้ ซึ่งความจริงเราจะต้องเก็บผ้าไม่ใช่ว่าอุเบกขาแบบไม่ฉลาด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ٥٧ من الدقائق
  5. ٠٦‏/٠٦‏/١٤٤٦ هـ

    กระบวนการของปฏิจจสมุปบาท [6749-7q]

    Q: “เรา” อยู่ตรงไหนในปฏิจจสมุปบาท? A: ปฏิจจสมุปบาท คือ ธรรมะที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ลักษณะกระบวนการของมันคือ “เพราะมีสิ่งนี้สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดสิ่งนี้จึงเกิด เพราะความดับไปของสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป” ทั้งคู่เกิดและคู่ดับ เป็นคู่ ทีละคู่ จะเอาคู่ไหนมาพิจารณาก็ได้ จิตของเรามันมีอวิชชา มันจึงไม่รู้ว่าไม่ต้องปรุงแต่งก็ได้ จิตเมื่อมีการปรุงแต่งก็จะทำให้เกิดการรับรู้คือวิญญาณ รับรู้ในสิ่งที่เป็นนามและรูปได้เท่านั้น / จิตอยู่ตรงกลางของคู่แต่ละคู่ที่มันจะเกิดดับ ที่เรารู้สึกว่าเป็นตัวเราของเราเพราะเรายึดถือ ถ้าเราดับความยึดถือได้ นั่นเป็นปัญญา ถ้าเราคลายความยึดถือตรงนี้ได้จะเกิดวิชชา ความยึดถือก็จะดับลง “เรา” เป็นของไม่จริง ปฏิจจสมุปบาทคือสัจจะความจริง เราจึงไม่เห็นว่าตัวเราอยู่ตรงไหนของปฏิจจสมุปบาท  Q: อวิชชาทำให้เกิดสังขารได้อย่างไร? A: สังขาร หมายถึง การปรุงแต่งให้สำเร็จรูป มีหลายนิยาม นิยามแรก หมายถึง การปรุงแต่งทางกาย วาจา ใจ นิยามที่ 2 หมายถึงการปรุงแต่งให้สำเร็จรูปโดยความเป็นรูป ที่มันปรุงแต่งเพราะว่ามันไม่รู้ว่ามันไม่ต้องปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงก็ได้ มันจึงปรุงแต่งคือสังขาร จึงทำให้ท่านบัญญัติว่า “เพราะมีอวิชชาจึงมีสังขาร” นั่นเอง   Q: ความต่างระหว่างเวทนาวิปัสสนากับสังขารวิปัสสนา A: เหมือนกันในความที่เป็นวิปัสสนา เห็นความไม่เที่ยงในสิ่งต่างๆ เหมือนกัน อาศัยสิ่งอื่นเกิดขึ้นเหมือนๆ กัน ต่างกันที่เวทนาคือความรู้สึก สุข ทุกข์ อทุกขมสุข ส่วนสังขารคือการปรุงแต่ง    “อดโทษ” ในความหมายที่ลึกซึ้ง ท่านสารีบุตรเป็นผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนมาก ตอนที่ท่านจะปรินิพพาน ท่านได้กล่าวกับลูกศิษย์ทั้งหลายว่า “ขอให้ท่านทั้งหลาย อดโทษให้ข้าพเจ้าด้วย ถ้าข้าพเจ้าได้ทำสิ่งใดที่ให้ท่านไม่พอใจ อย่ายกโทษของข้าพเจ้าขึ้นมาว่าเป็นโทษของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้โทษเป็นของข้าพเจ้าคนเดียว อย่าเอาโทษนี้ทำให้เกิดความเคลือบแคลงในมรรค ในข้อปฏิบัติ อย่าเอาโทษข้อนี้มาทำให้เคลื่อนจากธรรมะ”  Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ٥٧ من الدقائق
  6. ٢٨‏/٠٥‏/١٤٤٦ هـ

    อุปกิเลสอยู่ฝ่ายอกุศล [6748-7q]

    Q: อุปกิเลส 16 มีปฏิสัมพันธ์กับทาน ศีล และภาวนาอย่างไร? A: แบ่งเป็นฝ่ายกุศลกับอกุศล อุปกิเลสอยู่ฝั่งอกุศล ทั้งสองฝ่ายจะแปรผกผันกัน ถ้ามีทาน ศีล ภาวนามาก ตัณหา อวิชชา กิเลสก็ลดลง แต่ถ้ามีตัณหา อวิชชา กิเลสมาก การภาวนาก็จะลดลง ทาน ศีล ภาวนา เป็นกระบวนการที่ช่วยกำจัดกิเลสจากหยาบไปละเอียด หรืออีกนัยยะคือ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือมรรค 8 เราต้องทำกระบวนการทั้งหมดให้มันเข้ากัน เปรียบดังการปรุงอาหาร     Q: ผู้ที่ประพฤติแต่อุปกิเลส 16 จะไม่บรรลุมรรคผลและไปสู่อบาย? A: เราต้องสร้างเหตุ เงื่อนไข ปัจจัยให้ถูก จะเห็นธรรมได้ก็ต้องมีทาน ศีล ภาวนา จะบรรลุธรรมได้ก็ต้องกำจัดอุปกิเลส 16    Q: ท้อแท้เพราะปฏิบัติไม่ก้าวหน้า A: ปฏิบัติก้าวหน้าหรือไม่ อยู่ที่เงื่อนไขปัจจัย พละ 5 มีหรือไม่ ความเพียรทำตรงไหนก็สำเร็จอยู่ตรงนั้น ส่วนสมาธิอาจจะยังไม่ออกผลตามที่คุณอยาก ความอยากทำให้ท้อแท้ ถ้าไม่อยากแต่สร้างเหตุก็จะได้ ทำไปตามระบบของการปฏิบัติ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา บรรลุเร็วช้าอยู่ที่อินทรีย์ 5 ถ้าไม่อยาก ความท้อแท้ก็เกิดไม่ได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ٥٥ من الدقائق
  7. ٢١‏/٠٥‏/١٤٤٦ هـ

    หมายรู้ในทุกข์ [6747-7q]

    Q : อนิจเจทุกขสัญญาและสัญญา 10 คืออะไร? A : อนิจเจทุกขสัญญา คือ เห็นความเป็นของไม่เที่ยงในความทุกข์นั้น สามารถมองได้หลายมุม คือ หมายเอาทุกขสัญญาเป็นหลักแล้วเห็นความไม่เที่ยงในทุกข์นั้น หมายเอาคุณสมบัติของความที่เป็นทุกข์ที่ทนได้ยาก หมายเอาความไม่เที่ยงของสภาวะนั้น หมายเอาความที่ไม่ใช่ตัวตนต้องขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองจากมุมไหน ซึ่ง ในกระบวนการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ก็คือไม่เที่ยงอยู่แล้ว ไม่ใช่ตัวของมัน ต้องอาศัยสิ่งอื่น เปลี่ยนแปลงตามสิ่งนั้น ๆ นี่คือ “ทุกข์” เราต้องเห็นทั้งหมดในกระบวนการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เข้าใจทั้งสายเกิดและสายดับ เราจึงจะสามารถเข้าใจว่า แม้กรรมเก่าก็ดับได้ เราจะเข้าใจแบบนี้ได้ ด้วยมรรค 8 / สัญญา (ความหมายรู้) 10 ประการ อยู่ในส่วนของมรรค เป็นธรรมะที่ท่านให้พระอานนท์เทศน์ให้พระคิริมานนท์ฟังในขณะที่ป่วย เมื่อได้ฟังแล้ว ก็เกิดปิติปราโมทย์ ทำให้โรคภัยของท่านหายไป ทั้งนี้ในสัญญา 10 ประการ จะไม่มีอนิจเจทุกขสัญญา    Q : หมายรู้ที่เป็นมรรคและส่วนที่เป็นทุกข์ A : สัญญาคือหมายรู้ แบ่งได้เป็น 2 ส่วน ส่วนของมรรค คือ หมายรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วกิเลสมันลดได้ ความหมายรู้นั้นเป็นมรรค ส่วนของทุกข์ คือ หมายรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วความยึดถือเกิดได้ ความหมายรู้นั้นคือหนึ่งในขันธ์ 5    Q : กรรมติดจรวดเป็นอย่างไร? A : คือ ไม่ว่าจะทำกรรมดีหรือกรรมชั่วให้ผลทันที เกิดขึ้นเดี๋ยวนั้น ไม่ต้องรอถึงชาติหน้า Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    ٥٤ من الدقائق
  8. ١٤‏/٠٥‏/١٤٤٦ هـ

    ด้วยอำนาจของการผูกเวร [746-7q]

    Q : ลอยกระทงกับศาสนา  A : ลอยกระทงเป็นประเพณีวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับแนวทางคำสอน คือท่านได้บัญญัติการจำพรรษาของพระภิกษุจะมี 2 ห้วงเวลา คือ 3 เดือนแรกของสี่เดือนฤดูฝน เริ่มจากวันเข้าพรรษาถึงวันออกพรรษา หรือ 3 เดือนท้ายของสี่เดือนฤดูฝน เริ่มจากหนึ่งเดือนหลังจากเข้าพรรษาถึงวันลอยกระทง ซึ่งเป็นวันออกพรรษาของพรรษาหลัง   Q : ผูกเวร ผูกใจ ตัดขาดไม่ข้ามชาติได้หรือไม่? A : สิ่งที่จะติดตัวเราไปข้ามภพชาติได้คือบุญและบาป ทรัพย์สินเงินทองไม่สามารถข้ามภพชาติได้ ส่วนจะมีภพหน้าหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย หากมีเหตุปัจจัยให้เกิดก็เกิด หากมีเหตุปัจจัยให้ไม่เกิดก็ไม่เกิด (พระอรหันต์) การผูกเวร แม้เราจะทำดีแล้วปฏิบัติดีแล้ว เขาก็ยังผูกเวรกับเรานั้น นั่นเป็นเรื่องของวัฏฏะ สิ่งที่เราควรทำ คือเดินตามมรรค 8 รักษาจิตให้เป็นกุศล หากเรายังมีความอยากที่จะไม่เจอเขาอีก นั่นแสดงว่าเรามีตัณหาแล้ว     Q : ฟังธรรมกับการทำมาหากินเกี่ยวกันอย่างไร? A : ท่านพูดถึงดวงตา 3 ดวง คือ 1) มีดวงตาเห็นช่องทางในการหาทรัพย์ 2) ดวงตาที่หาทรัพย์ด้วยความสุจริต 3) มีดวงตาที่จะเห็นอริยสัจสี่ หากเราเห็นแค่ดวงใดดวงหนึ่งก็ไม่ได้แปลว่าผิด เพียงแต่เป็นการที่เห็นไม่รอบด้าน ซึ่งการทำมาหากินกับการฟังธรรมสามารถทำไปด้วยกันได้ อันไหนที่เราทำได้ให้ทำก่อนแล้วค่อย ๆ ทำเพิ่ม   Q : สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรคืออย่างไร? A : คือสมัยที่บำเพ็ญเพียรแล้วจะได้ผลน้อย คือ 1) ความแก่ชรา 2) ความอาพาธ 3) อาหารหาได้ยาก คือคนก็จะไปตามที่ที่มีอาหารหาง่าย คนก็จะปะปนกันมาก การจะทำความเพียรทำในใจซึ่งคำสอนก็จะทำได้ยาก 4) มีภัยกำเริบ คือมีกบฏโจรปล้นเมือง 5) การที่มีสงฆ์แตกกัน ซึ่งก็ไม่ใ

    ٥٨ من الدقائق

حول

การพูดคุยปรึกษา คือ สากัจฉาทำให้เกิดความไม่ประมาทและมีปัญญาได้, มีคำถามอยู่ที่ไหน ก็มีคำตอบอยู่ที่นี่, ตอบทุกข้อสงสัย ทั้งในการดำเนินชีวิต, หลักธรรม หรือการภาวนา โดย ร่วมพูดคุยกับคุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ในช่วง "ตามใจท่าน". New Episode ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

المزيد من Panya Bhavana Foundation

قد يعجبك أيضًا

للاستماع إلى حلقات ذات محتوى فاضح، قم بتسجيل الدخول.

اطلع على آخر مستجدات هذا البرنامج

قم بتسجيل الدخول أو التسجيل لمتابعة البرامج وحفظ الحلقات والحصول على آخر التحديثات.

تحديد بلد أو منطقة

أفريقيا والشرق الأوسط، والهند

آسيا والمحيط الهادئ

أوروبا

أمريكا اللاتينية والكاريبي

الولايات المتحدة وكندا