7 episodes

สาระความรู้สำหรับผู้ที่สนใจปรัชญา โดยภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

PhilosChula Podcast PhilosChula

    • Education

สาระความรู้สำหรับผู้ที่สนใจปรัชญา โดยภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    Big Books ในปรัชญา: หนังสือ Moral Obligation to Be Intelligent (Lionel Trilling)

    Big Books ในปรัชญา: หนังสือ Moral Obligation to Be Intelligent (Lionel Trilling)

    หนังสือ The Moral Obligation to be Intelligent หนังสือรวมบทความคัดสรรที่ดีที่สุดของ Lionel Trilling นักวิจารณ์วรรณกรรม สังคม และวัฒนธรรมคนสำคัญของอเมริกาในช่วงปี ค.ศ. 1930-1970 แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะไม่ใช่หนังสือปรัชญาโดยตรง แต่บทวิเคราะห์และบทวิจารณ์วรรณกรรมที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ให้แรงบันดาลใจในการจินตนาการถึงสังคมเสรีนิยมที่เป็นไปได้แบบอื่น หากนวนิยายสามารถกำหนดวิธีการมองโลกของเราผ่านการใช้จินตนาการของผู้แต่งที่อาจคับแคบหรือเปิดกว้าง โดยที่งานเขียนแบบอื่นทำไม่ได้ นวนิยายก็น่าจะช่วยทำให้การขบคิดทางปรัชญาเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น บทวิจารณ์วรรณกรรมในหนังสือเล่มนี้ช่วยทำให้เราเห็นบทบาทดังกล่าวของงานวรรณกรรมกับประเด็นปัญหาในปรัชญาการเมืองสายเสรีนิยม

     

    ในตอนที่ 7 ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของซีซั่นที่ 1 นี้คุณกฤษฎาและอาจารย์ปิยฤดีจะชวนผู้ฟังมาทำความรู้จักกับ Lionel Trilling และความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้จากมุมมองปรัชญาการเมือง

    • 31 min
    Big Books ในปรัชญา: มิลินทปัญหา

    Big Books ในปรัชญา: มิลินทปัญหา

    Ep.6 หนังสือมิลินทปัญหา เป็นหนังสือบันทึกการปุจฉาและวิสัชนาโต้ตอบกันระหว่างสองนักปราชญ์คือพระนาคเสนเถระและพระยามิลินท์ (หรือเมนันเดอร์) กษัตริย์นักรบชาวกรีก ซึ่งปกครองอินเดียตอนเหนือหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 500 ปี เนื้อหาที่สองนักปราชญ์ถกเถียงโต้แย้งและปะทะคารมกันครอบคลุมปัญหาว่าด้วยโลกและชีวิต เป็นการอธิบายพุทธธรรมในลักษณะตอบโต้กันอย่างมีการอ้างเหตุผล
    ด้วยลักษณะดังกล่าวทำให้หนังสือเล่มนี้เป็นการอธิบายพุทธธรรมในเชิงปรัชญา ซึ่งควรค่าแก่การอ่านและน่าศึกษาอย่างยิ่งทั้งผู้ที่สนใจพุทธปรัชญาและบุคคลทั่วไป

    ในตอนที่ 6 นี้คุณกฤษฎาและอาจารย์ใกล้รุ่งจะชวนผู้ฟังมาทำความรู้จักหนังสือเล่มนี้มากยิ่งขึ้น

    • 27 min
    Big Books ในปรัชญา: หนังสือ Being and Time (Martin Heidegger)

    Big Books ในปรัชญา: หนังสือ Being and Time (Martin Heidegger)

    หนังสือ Being and Time เป็นงานสำคัญที่เขียนโดย Martin Heidegger นักปรัชญาชาวเยอรมัน หนังสือเล่มนี้เป็นการพิจารณาเกี่ยวกับปัญหาของ "ความเป็น" (Being) ของสิ่งต่างๆ ในโลก ไฮเดกเกอร์พยายามแก้ไขปัญหานี้โดยวิเคราะห์และแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างพื้นฐานของความเป็นและวิธีที่ความเป็นของสิ่งต่างๆ นั้นเชื่อมโยงกับเวลา ไฮเดกเกอร์ใช้คำว่า "Dasein" เพื่ออธิบายสิ่งมีชีวิตหรือบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับ "ความเป็น" ความเป็นนี้ไม่ใช่เพียงแค่การดำรงอยู่ในเชิงประจักษ์ แต่เป็นการเปิดเผยความรู้สึก การคิด และการดำรงอยู่ของบุคคลในโลก หนังสือนี้ได้ก่อตั้งพื้นฐานให้กับทฤษฎีของความเป็นและเวลา และมีอิทธิพลอย่างยิ่งกับนักปรัชญาและนักสังคมศาสตร์ในศตวรรษที่ 20

    ในตอนที่ 5 นี้คุณกฤษฎาและอาจารย์เกษมจะมาเล่าถึงความซับซ้อนของเนื้อหาและความสำคัญของในหนังสือเล่มนี้วงการปรัชญา 

    • 28 min
    Big Books ในปรัชญา: หนังสือ Knowledge in a Social World (Alvin Goldman)

    Big Books ในปรัชญา: หนังสือ Knowledge in a Social World (Alvin Goldman)

    หนังสือ Knowledge in a Social World เขียนโดย Alvin Goldman นักปรัชญาคนสำคัญในสาขาญาณวิทยาสังคม (social epistemology) หนังสือเล่มนี้โกลด์แมนขยายขอบเขตของญาณวิทยาดั้งเดิมจากที่พิจารณาขอบเขตความรู้ของบุคคลเพียงคนเดียว
    มาเป็นความรู้ของกลุ่มคนหรือสังคม (เช่น คนไทยรู้ว่าประเทศไทยยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำ นักวิทยาศาสตร์รู้ว่าวัคซีนสามารถช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากไวรัสโควิดได้) โกลด์แมนตั้งคำถามว่ากระบวนการทางสังคมในมิติต่างๆ เช่น ความเห็นของคนในโลกอินเตอร์เน็ต ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ คำบอกเล่าจากผู้อื่น เป็นต้น จะสามารถเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้หรือไม่ และพื้นฐานของญาณวิทยาสังคมคืออะไร

    ในตอนที่ 4 นี้คุณกฤษฎาและอาจารย์ศิรประภาจะชวนทุกท่านมาทำความรู้จักญาณวิทยาสังคมและความสำคัญของหนังสือเล่มนี้

    • 28 min
    Big Books ในปรัชญา: คัมภีร์เมิ่งจื่อ (Mencius)

    Big Books ในปรัชญา: คัมภีร์เมิ่งจื่อ (Mencius)

    คัมภีร์เมิ่งจื่อเป็นหนึ่งในคัมภีร์สำคัญของปรัชญาสำนักขงจื่อนอกเหนือจากคัมภีร์หลุนอี่ว์ หากการเข้าใจความเป็นจีนจะต้องเข้าใจวัฒนธรรมที่มีภูมิปัญญาจากสำนักขงจื่อเป็นพื้นฐาน การจะเข้าใจปรัชญาสำนักขงจื่อก็ต้องพินิจวิเคราะห์จากคัมภีร์เมิ่งจื่อด้วยเช่นเดียวกัน
    เมิ่งจื่อได้ชื่อว่าเป็นผู้ขยายปรัชญาของขงจื่อให้ชัดเจนขึ้นโดยเฉพาะประเด็นเรื่องอารมณ์กับศีลธรรม และธรรมชาติธาตุแท้ที่ดีของมนุษย์ 
    คัมภีร์เมิ่งจื่อเป็นบันทึกบทสนทนาขนาดสั้นและยาวระหว่างเมิ่งจื่อกับลูกศิษย์และเจ้าเมืองต่างๆ นอกจากจะเต็มไปด้วยเนื้อหาสาระความคิดที่ชวนให้ขบคิดแล้ว ยังเต็มไปด้วยการวิพากษ์ เสียดสี และสร้างข้อโต้แย้งต่อบรรดาผู้เป็นชนชั้นนำและแนวคิดต่างๆ ที่ปะทะสังสรรค์กันในยุคสมัยจั๋นกั๋วของจีน

    ในตอนที่ 3 นี้ คุณกฤษฎาและอาจารย์ศริญญาจะชวนทุกท่านทำความรู้จักกับเมิ่งจื่อและหนังสือเล่มนี้

    • 26 min
    Big Books ในปรัชญา: หนังสือ Beyond Aesthetics: Philosophical Essays (Noël Carroll)

    Big Books ในปรัชญา: หนังสือ Beyond Aesthetics: Philosophical Essays (Noël Carroll)

    Beyond Aesthetics: Philosophical Essays หนังสือรวมบทความเขียนโดย Noël Carroll นักปรัชญาชาวอเมริกันที่ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของปรัชญาศิลปะร่วมสมัย หนังสือเล่มนี้เป็นการแสดงจุดยืนและข้อโต้แย้งของแครอลล์ต่อทฤษฎีทางสุนทรียะศาสตร์กระแสหลักในปรัชญาศิลปะ เช่น ทฤษฎีที่ว่าความงามของ "ศิลปะ" อยู่ที่คุณสมบัติอย่างเป็นรูปแบบในตัวงานศิลปะเท่านั้น หรือทฤษฎีที่ว่าศีลธรรม
    เจตจำนงของศิลปิน และบริบททางประวัติศาสตร์ของงานศิลปะ ไม่เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณค่าทางสุนทรียะของงานศิลปะชิ้นนั้นๆ 

    ในตอนที่ 2 นี้คุณกฤษฎาและอาจารย์ธิดาวดีจะชวนทุกท่านมาทำความรู้จักสุนทรียศาสตร์ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาหลักของวิชาปรัชญา
    และทำไมหนังสือเล่มนี้จึงน่าอ่านและน่าขบคิดตาม

    • 27 min

Top Podcasts In Education

The Mel Robbins Podcast
Mel Robbins
The Jordan B. Peterson Podcast
Dr. Jordan B. Peterson
Mick Unplugged
Mick Hunt
The Rich Roll Podcast
Rich Roll
TED Talks Daily
TED
Law of Attraction SECRETS
Natasha Graziano