264 episodes

สารพันเรื่องราวว่าด้วยพื้นที่การเรียนรู้สร้างสรรค์และการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จุดประกายแนวคิดว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล

TK Podcast TK Park

    • Education
    • 4.3 • 6 Ratings

สารพันเรื่องราวว่าด้วยพื้นที่การเรียนรู้สร้างสรรค์และการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จุดประกายแนวคิดว่าด้วยอนาคตห้องสมุดและการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล

    KnowledgeExchange EP.52 กองทุนพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้แห่งชาติ

    KnowledgeExchange EP.52 กองทุนพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้แห่งชาติ

    ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำด้านนิเวศการเรียนรู้ อาทิ จำนวนหนังสือที่มีอยู่ในแต่ละบ้าน และการเข้าถึงเทคโนโลยีของเด็กๆ ครอบครัวที่มีฐานะดีกว่าสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้มากกว่าครอบครัวที่ยากจน และหนังสือมีราคาสูง ในขณะที่งบประมาณที่ใช้สำหรับพัฒนาเรื่องการเรียนรู้กลับลดลงอย่างต่อเนื่อง
    .
    โจทย์ดังกล่าวนำไปสู่ข้อเสนอเรื่อง ‘กองทุนพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้แห่งชาติ’ ซึ่งมีกรอบงบประมาณร้อยละ 5 ของงบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษาของประเทศ หรือประมาณ 40,000 ล้านบาท แบ่งสำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน ซึ่งได้แก่ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เวิร์กชอปการเรียนรู้ และการพัฒนาทักษะอาชีพใหม่ๆ รวมทั้งงบประมาณรายหัวสำหรับสนับสนุนให้นักเรียนและครูเลือกเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ตามที่ตนเองสนใจ
    .
    หลักการสำคัญของกองทุนพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้แห่งชาติ ประกอบด้วย การเรียนรู้ที่ไม่จำกัดเพียงในโรงเรียนแต่ครอบคลุมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเน้นการกระจายอำนาจในการจัดการให้ผู้คนในพื้นที่มีส่วนร่วม การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ และการให้ผู้เรียนมีอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้นในการเลือกเรียนรู้ในสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเอง
    .
    ฟัง… การบรรยายเรื่อง “กองทุนพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้แห่งชาติ” บรรยายโดย ดร. เดชรัต สุขกำเนิด อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บันทึกในโอกาสการประชุม TK Forum 2022 หัวข้อ “Learning City and Lifelong Learning Ecosystem”

    • 30 min
    KnowledgeExchange EP. 51 ระบบนิเวศการเรียนรู้กับความเปลี่ยนแปลงของโลกการงานอาชีพและทักษะใหม่

    KnowledgeExchange EP. 51 ระบบนิเวศการเรียนรู้กับความเปลี่ยนแปลงของโลกการงานอาชีพและทักษะใหม่

    โลกเศรษฐกิจไทยในอนาคตกำลังมีความเปลี่ยนแปลงไปใน 3 รูปแบบ คือ โลกเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โลกเศรษฐกิจใส่ใจ ซึ่งเน้นเรื่องของสุขภาพกายและใจ และโลกเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเน้นการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
    .
    โลกใหม่ต้องการแรงงานที่มีทักษะแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง คนจำนวนหนึ่งอาจตกงาน ในขณะที่บางงานเป็นที่ต้องการมากขึ้น เช่น นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ช่างซ่อมรถยนต์ไฟฟ้า ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ นักจิตวิทยา นักเทคนิคด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ นักการตลาดสีเขียว ฯลฯ การรู้ลึกเพียงศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป แรงงานในอนาคตจะต้องมีทั้งความรู้ลึก รู้กว้าง มีความสามารถในการวิเคราะห์และคิดเชื่อมโยง
    .
    TDRI ได้วิจัยถึงทักษะแรงงานที่ผู้ประกอบการทั่วประเทศต้องการ พบว่า นอกจากทักษะวิชาชีพแล้ว นายจ้างยังต้องการทักษะภาษาอังกฤษ ทักษะดิจิทัล ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ รวมทั้ง Soft Skill ต่างๆ เช่น ความสามารถในการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม การมีความคิดสร้างสรรค์ การมีความเป็นมืออาชีพ และความสามารถในการปรับตัว
    .
    ในขณะที่ ผลการสำรวจของ World Economic Forum และ SEA พบว่า หนุ่มสาวในประเทศไทย 30% เชื่อว่าทักษะที่ตนเองมีอยู่สามารถใช้ได้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับการสำรวจของ OECD ที่พบว่า เด็กไทยกว่า 40% ขาด Growth Mindset คือไม่เชื่อว่าสติปัญญาและความสามารถของตนเองเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งจะส่งผลให้คนรุ่นใหม่ไม่เห็นความจำเป็นในการปรับตัวหรือการเรียนรู้ตลอดชีวิต
    .
    โจทย์ที่สำคัญของประเทศไทยคือ สถาบันการศึกษาไม่สามารถผลิตผู้เรียนให้มีทักษะตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นเพราะสถาบันการศึกษามีรายได้ส่วนใหญ่มาจากงบประมาณ

    • 38 min
    KnowledgeExchange EP.50 Smart City, Smart Learning เมืองอัจฉริยะและรูปแบบการเรียนรู้หลังยุคโควิด

    KnowledgeExchange EP.50 Smart City, Smart Learning เมืองอัจฉริยะและรูปแบบการเรียนรู้หลังยุคโควิด

    “ถ้าเมืองฉลาดแต่คนไม่ฉลาด ก็คงไปด้วยกันไม่ได้ ขณะเดียวกัน ถ้าคนฉลาดแต่เมืองไม่ได้รับการพัฒนาให้ฉลาดด้วย ก็คงมีปัญหาไม่แพ้กัน การจะรักษาข้อดีของเมืองให้คงอยู่ และแก้ไขข้อเสียของเมืองให้หมดไป ต้องมีคนที่กล้าคิด กล้าทำ และฉลาดขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นการเรียนรู้จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เมืองฉลาดขึ้น”
    .
    อิทธิพลของเทคโนโลยีดิจิทัลรวมทั้ง COVID-19 ได้ผลักดันให้โลกใบนี้มีลักษณะแบบ Convergence คือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและดิจิทัลรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกัน ทำให้มนุษย์สามารถมีรูปแบบชีวิตได้ตามที่ตนต้องการ โดยไม่ต้องพึ่งพิงสิ่งที่เป็นกายภาพเสมอไป รวมทั้งมีส่วนช่วยเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ให้ดีกว่าเดิม
    .
    จากแนวคิดเรื่อง ‘Flow’ ของนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน-ฮังกาเรียน Mihaly Csikszentmihalyi ซึ่งเสนอว่า มนุษย์จะเรียนรู้ได้เร็ว ลื่นไหล และทำสิ่งต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อเกิดความสมดุลระหว่างระดับความยากของงานและระดับทักษะที่ตนมี แนวคิดนี้สามารถประยุกต์เป็นแนวทางเพื่อสร้างการเรียนรู้ที่ชาญฉลาด ได้แก่ การเอาตัวเข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างเต็มที่ (Immersive) การเรียนรู้โดยเน้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้จากที่ไหนก็ได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การใช้เทคนิคของเกมในการเรียนรู้ (Gamification) และการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถช่วยเติมเต็มการเรียนรู้เหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้น
    .
    ในอนาคต เทคโนโลยีจะยิ่งก้าวไปไกล และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนรู้ เช่น Metaverse, AR, VR สินทรัพย์ดิจิทัล NFT ฯลฯ ประเทศไทยจำเป็นต้องเตรียมพร้อมคนให้มีทักษะความรู้ที่เท่าทัน สนับสนุนให้เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่บนพื้นฐาน

    • 38 min
    WanderingBook EP.42 ‘พุทธศาสนาแบบเป็นวิทยาศาสตร์ฯ’ เพราะพุทธไม่ได้เป็นวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ต้น

    WanderingBook EP.42 ‘พุทธศาสนาแบบเป็นวิทยาศาสตร์ฯ’ เพราะพุทธไม่ได้เป็นวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ต้น

    สังคมไทยถูกอบรมบ่มสอนว่าพุทธศาสนามีความเป็นวิทยาศาสตร์ ช่วยสร้างความภูมิอกภูมิใจในศาสนาพุทธของคนไทยมิใช่น้อย ถึงขนาดกล่าวว่าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือจิตวิทยาถูกค้นพบมาก่อนแล้วเมื่อ 2,500 ปีก่อน ซ้ำยังมีความละเอียดลึกซึ้งกว่า
    .
    ‘พุทธศาสนาแบบเป็นวิทยาศาสตร์ในสังคมไทย การสืบสวนค้นคว้าทางประวัติศาสตร์’ โดยทวีศักดิ์ เผือกสม จะทำให้เราเห็นว่าความเชื่อข้างต้นมีเหตุปัจจัยทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม และลัทธิจักรวรรดินิยมเข้ามาเป็นเงื่อนไขของการสร้างมันขึ้นมาอย่างไร
    .
    ศาสนาพุทธแบบเป็นวิทยาศาสตร์เพิ่งถือกำเนิดขึ้นเพียงร้อยกว่าปีในสังคมไทย วิวาทะระหว่างปัญญาชนพุทธและมิชชันนารีโปรเตสแตนต์ก็มีส่วนไม่น้อยต่อสิ่งนี้ อาจบางทีการรู้ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์จะทำให้เราเข้าใจศาสนาพุทธแบบที่เป็นอยู่ตอนนี้ได้ดีขึ้น

    • 29 min
    KnowledgeExchange EP. 49 Knowledge-based City Remaking เมืองการเรียนรู้แห่งอนาคต

    KnowledgeExchange EP. 49 Knowledge-based City Remaking เมืองการเรียนรู้แห่งอนาคต

    ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (Urban Design and Development Center - UddC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำวิจัยว่าด้วยการสร้างเมืองบนฐานความรู้ โดยวิเคราะห์โอกาสและข้อจำกัดของประเทศไทยในการขับเคลื่อนสู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ ตามแนวทางของยูเนสโก
    .
    นิยามของเมืองแห่งการเรียนรู้ แบบเข้าใจและสื่อสารง่ายๆ คือ เมืองที่ผู้คนสามารถหาคำตอบในสิ่งที่อยากรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยเมืองมีบทบาทสนับสนุนการจัดหาสาธารณูปการด้านการเรียนรู้ การพัฒนาเมืองให้เอื้อต่อการเรียนรู้
    .
    กรณีตัวอย่างในต่างประเทศ ที่ประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนเมืองด้วยเศรษฐกิจฐานความรู้ มักเป็นเมืองที่มีวัฒนธรรมการเรียนรู้และวัฒนธรรมการอ่านที่เข้มแข็ง มีอำนาจในการจัดการการเมืองของตน มีโครงสร้างการบริหารจัดการที่กระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ประชาสังคมเข้มแข็ง และผู้คนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้ง่าย
    .
    ในการประยุกต์แนวคิดเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้มาใช้ในประเทศไทย ความท้าทายที่สำคัญคือโครงสร้างการบริหารจัดการเมืองที่รวมศูนย์และแยกส่วน การตัดสินใจเชิงนโยบายสำคัญมักมาจากระดับที่สูงกว่าระดับเมือง ผลคือเกิดการกระจุกตัวของแหล่งเรียนรู้อยู่ในบางพื้นที่ นอกจากนี้ การพัฒนาเมืองส่วนใหญ่มักยึดการดำเนินงานตามพันธกิจ ซึ่งอาจไม่ได้สอดคล้องกับเรื่องการเรียนรู้ รวมทั้ง ขาดแพลตฟอร์มในการเก็บแล้วและกลั่นความรู้ในระดับย่าน
    .
    ฟัง... การบรรยายเรื่อง “Knowledge-based City Remaking เมืองการเรียนรู้แห่งอนาคต” บรรยายโดย ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (Urban Design and Development Center - UddC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บันทึกในโอกาสการประชุม TK Forum 2022 หัวข้อ “Learning City and Lifelong Learning Ecosystem”

    • 43 min
    WanderingBook EP.41 ‘คู่มือหัวใจสลาย’ อย่าปฏิเสธความโศกเศร้า เฝ้าดู และอยู่กับมัน

    WanderingBook EP.41 ‘คู่มือหัวใจสลาย’ อย่าปฏิเสธความโศกเศร้า เฝ้าดู และอยู่กับมัน

    การสูญเสียคนรักไม่ว่าจะเป็นคู่ชีวิต ลูก พี่น้อง พ่อแม่ ล้วนนำมาซึ่งความโศกเศร้า มนุษย์เสาะแสวงหาวิธีจัดการความเศร้าโศกที่ได้ผล แต่มันไม่เคยมีวิธีใดที่เป็นคำตอบสำเร็จรูป
    .
    Julia Samuel นักจิตบำบัดด้านความเศร้า ผู้เขียน ‘Grief Works: Stories of Life, Death and Surviving’ หรือ ‘คู่มือหัวใจสลาย’ บอกเราความโศกเศร้าของผู้สูญเสียคนที่ตนรัก กระบวนการที่ความเศร้าโศกทำงานกับเรา และการโอบรับมันอย่างเข้าใจ
    .
    Julia บอกว่า “เราต้องเคารพและเข้าใจกระบวนการความเศร้า ยอมรับความสำคัญของมัน ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่จะเอาชนะได้ด้วยการต่อสู้...แต่ในการเยียวยาความเศร้า เราต้องยอมให้ตัวเองรู้สึกถึงความเจ็บปวด”
    .
    เราทุกคนต่างมีวิธีรับมือกับความเจ็บปวดและจังหวะชีวิตที่ความโศกเศร้าทำงานต่างกันออกไปจึงไม่มีใครบอกได้ว่าเมื่อใดที่เราควรหายเศร้า

    • 28 min

Customer Reviews

4.3 out of 5
6 Ratings

6 Ratings

Oat Heaven ,

คุณภาพ

เนื้อหาที่นำเสนอน่าสนใจ และมีความสร้างสรรค์ ;)

Top Podcasts In Education

THE LIBRARY
THE STANDARD
Mission To The Moon Media
THE STANDARD
KLAOSHOW
THE STANDARD