The Cloud Podcast

The Cloud Podcast

เรื่องที่ The Cloud อยากเล่าให้คุณฟัง

  1. Eat Direction | EP. 18 | คนหาดใหญ่ เขากินร้านไหนกัน - The Cloud Podcast

    1 DAY AGO

    Eat Direction | EP. 18 | คนหาดใหญ่ เขากินร้านไหนกัน - The Cloud Podcast

    คุยกับ ทศ-ทศพร สิงหกฤตพิศาล ชาวหาดใหญ่และเจ้าของเพจอายุน้อย100ร้าน ถึงเรื่องอาหารหาดใหญ่ที่มีทั้งความหลากหลายของวัฒนธรรมอาหารและมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร พร้อมแนะนำร้านอาหารทั้งจีน มลายู และอาหารพื้นเมืองแบบที่ตัวเองและคนหาดใหญ่กินกันในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่เช้าตรู่ จนถึงดึก   ติดตามชมรายการ Eat Direction  EP.1 เทรนด์ล่าสุดวงการราเมง  https://youtu.be/msHms2gJhdY?si=K3p4rhUwcsHbk3ZO EP.2 กินเนื้อยังไงให้อร่อย https://youtu.be/wxXxxMLz1Wk?si=zNHPiJ0dpYsnbcT5 EP.3 ทำไมกล้าขายไอติมถ้วยละพัน https://youtu.be/PyNIbT-k4j8?si=2dscX5Qk9JPiXokz EP.4 Slow Sake เทรนด์เปลี่ยนวงการสาเกญี่ปุ่น https://youtu.be/HQxmfJYT19M?si=flAnLT56DpLn8tv6 EP.5 เชียงรายกินอะไรดี https://youtu.be/C4l5KNXIjfk?si=q372etymqx5-4ofB EP.6 ปัญหาของอาหารอีสาน https://youtu.be/jxJpJ4n7fz8?si=AJARW0H0Yu-ylpb0 EP.7 ไก่แบบไหนทำข้าวมันไก่อร่อย https://www.youtube.com/watch?v=cUuQz7Egd_Q EP.8 10 อาหารที่ต้องกินในปี 2025  https://youtu.be/JLcm7LypU3s?si=k_h1BkY1cC94qezW EP.9 เลือกไวน์ยังไงให้เหมาะกับอาหาร https://www.youtube.com/watch?v=ehUkng2s2NI&t=21s  EP.10  วิธีกินซูชิให้เป็น  https://youtu.be/wSpq87KTUWY?si=L8qsdRsojsK-hWFK EP.11 อาหารเชียงใหม่สายลึก https://youtu.be/nw208m1tsQY?si=JPQV5JvNlVhwF7Uh EP.12 เบื้องหลังของ Food Blogger https://www.youtube.com/watch?v=pD_HQmYzYDI  EP.13 วิธีกินข้าวแช่ พร้อมเครื่อง 40 อย่าง https://youtu.be/4dLSSgF8IAw?si=UfnqEgPTA1KvBXvb  EP.14 สอนสูดเส้น และความรู้เบื้องต้นก่อนเข้าร้านราเมง https://youtu.be/VL5U1BGcRKM?si=pHLi_QMO5YdvJyjd  EP.15 ขนมปังเปรี้ยวและเปลือกแข็งต้องกินยังไง https://youtu.be/pi2zx5VrJtM?si=yhX_LBDAt7zFyF1d EP.16 คู่มือเข้าใจชีส ฉบับคนอยากลอง https://youtu.be/K591jbc8W-w?si=HjRX0gFbvHywkDe-  EP.17 ชานม ชาไทย ชาใต้ ชาชัก ชานมใต้หวัน นมอังกฤษ ชานมฮ่องกง ต่างกันยังไง https://youtu.be/ALvszt--PJI?si=nEMEwgx4sv_9MjK-

    48 min
  2. อารามบอย | SS 01 EP. 16 | เที่ยวโบสถ์อัสสัมชัญ ศิลปะคริสต์ 200 ปี และห้องฝังศพลับใต้ดิน

    1 DAY AGO

    อารามบอย | SS 01 EP. 16 | เที่ยวโบสถ์อัสสัมชัญ ศิลปะคริสต์ 200 ปี และห้องฝังศพลับใต้ดิน

    ภายใต้หลังคาโดมสูงของ ‘อาสนวิหารอัสสัมชัญ’ โบสถ์เก่าแก่อายุร่วม 200 ปีที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซ่อนเรื่องราวของศิลปะตะวันตกและห้องใต้ดินลับที่ไม่มีใครได้เห็น  รายการอารามบอยตอนนี้ ต้า-ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล ชวนแขกรับเชิญพิเศษ ดร.ตั้ว-ปติสร เพ็ญสุต คอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ ครุ่นคริสต์ ใน The Cloud พาคุณเดินเข้าสู่พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นศูนย์กลางของคาทอลิกไทยมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 พร้อมถอดรหัสสถาปัตยกรรมตะวันตกหลากยุคที่ฝังแน่นอยู่ในสยามมายาวนานกว่า 2 ศตวรรษ  เรื่องเริ่มต้นในรัชกาลที่ 1 เมื่อ บาทหลวงปาสกาล รวบรวมเงินบริจาคสร้างวัดเพื่อเฉลิมฉลองแม่พระรับยกขึ้นสวรรค์หรือวันอัสสัมชัญ (Assumption) และเป็นโบสถ์หลังแรกที่สร้างขึ้นจึงเป็นอาคารแบบวิลันดา ตกแต่งหน้าบันด้วยลายเครือเถาบาโรก มีวงรีตรงกลางและไม้กางเขนเหนือยอดจั่ว อาคารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์หลังนี้เปรียบเสมือนหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมคริสต์แบบตะวันตกยุคแรก ๆ ที่ปรากฏในแผ่นดินไทย ต่อมาเมื่อโบสถ์เดิมเริ่มคับแคบจึงสร้างโบสถ์หลังใหม่ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยออกแบบร่วมกันระหว่าง บาทหลวงหลุยส์ โรมิเออ และวิศวกรนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็น มาริโอ ตามาญโญ วิศวกรประจำราชสำนัก R. Gotte วิศวกรชาวเยอรมันผู้เปลี่ยนหลังคาให้เป็นเครื่องก่อทรงประทุนเรือ และ ชาร์ลส์ โบดาต์ วิศวกรฝรั่งเศสผู้รับผิดชอบโครงสร้างผนังรับน้ำหนัก โบสถ์หลังใหม่จึงผสานศิลปะโรมาเนสก์ในรูปแบบซุ้มโค้งและหอระฆังคู่ ศิลปะกอทิกในกระจกกุหลาบกลางหน้าบัน ศิลปะไบแซนไทน์ในจิตรกรรมปูนเปียกใต้โดม และศิลปะโรมันผ่านหัวเสาแบบโครินเธียนเข้าไว้ด้วยกันอย่างวิจิตร เมื่อคุณก้าวเข้าสู่อาสนวิหารแห่งนี้ สายตาจะถูกดึงสู่หอระฆังคู่ที่ตั้งตระหง่าน ซุ้มอาร์กโค้งขนาดใหญ่ และแสงที่ลอดผ่านหน้าต่างกระจกสี ก่อนจะพบกับพระแท่นบูชาที่ประดิษฐานรูปเคารพ ‘แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์’ ซึ่งสอดคล้องกับภาพจิตรกรรมบนโดมด้านบนที่เล่าเรื่องเดียวกัน ทุกองค์ประกอบเหล่านี้สะท้อนถึงชื่อ Assumption ได้อย่างชัดเจน ทั้งในเชิงความหมายและศิลปะ จุดเด่นที่สุดที่ไม่ควรพลาดคือ Crypt หรือ ห้องใต้ดิน ที่ซ่อนอยู่ใต้พระแท่นบูชา ซึ่งใช้เป็นสถานที่ฝังศพของพระสังฆราชและบาทหลวงผู้มีบทบาทสำคัญในคาทอลิกไทยมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ที่สำคัญ โบสถ์แห่งนี้ถือเป็นแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีองค์ประกอบเช่นนี้ โดยปกติไม่ได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชม เป็นพื้นที่ที่สงบ ลึก และเต็มไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ก่อนกลับ อย่าลืมแวะชมอาคารหอสมุดมิชชันนารีใกล้ ๆ ที่ยังเก็บภาพถ่ายโบสถ์หลังแรก เอกสารโบราณ และบันทึกสำคัญเกี่ยวกับคริสต์ศาสนาในสยาม ซึ่งช่วยเติมเต็มเรื่องราวเบื้องหลังสถาปัตยกรรมและศรัทธาที่ซ่อนอยู่ในอาสนวิหารแห่งนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น หากคุณกำลังมองหาสถาปัตยกรรมยุโรปในเมืองไทยที่เต็มไปด้วยความหมายทางประวัติศาสตร์และความเชื่อ อาสนวิหารอัสสัมชัญคือสถานที่ที่เราขอชวนคุณร่วมค้นหาในรายการอารามบอย ตอนนี้ ข้อมูลเพิ่มเติม : อาสนวิหารอัสสัมชัญเป็นอาสนวิหารประจำมิสซังโรมันคาทอลิกแห่งกรุงเทพฯ โบสถ์หลังปัจจุบันสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2461 โดยตกแต่งด้วยวัสดุนำเข้าจากฝรั่งเศส อิตาลี และสิงคโปร์ คำว่า Assumption หมายถึงการที่แม่พระมารีได้รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ ทั้งกายและวิญญาณ

    24 min
  3. Coming of Age | EP. 259 | ฉันชาย สิทธิพันธุ์ หมอ ICU สู่ ผอ.รพ.จุฬาฯ ผู้ผลักดัน Palliative Care - The Cloud Podcast

    2 DAYS AGO

    Coming of Age | EP. 259 | ฉันชาย สิทธิพันธุ์ หมอ ICU สู่ ผอ.รพ.จุฬาฯ ผู้ผลักดัน Palliative Care - The Cloud Podcast

    หลายคนคงรู้จัก รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ในฐานะฝาแฝดของ รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่วันนี้รายการ Coming of Age จะพาไปรู้จักตัวตนจริง ๆ ของเขาในฐานะ ‘ฉันชาย’ ในหลากบทบาทชีวิต ตั้งแต่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ทั้งทำหน้าที่ตรวจคนไข้และบริหารองค์กร ฉันชายเข้าสู่ตำแหน่งพร้อมเหตุการณ์คอมพิวเตอร์ล่มและวิกฤตโควิด-19 จนถึงขั้นต้องพาซินแสมาดูฮวงจุ้ยห้องทำงาน แต่สิ่งเหล่านั้นกลับกลายเป็นบทเรียนในการสร้างองค์กรที่ยืดหยุ่นจวบจนปัจจุบัน ถึงแม้จะมีเส้นทางอาชีพแตกต่างกับฝาแฝด แต่ที่เหมือนกันคือการมุ่งช่วยเหลือสังคม หลังจากเลือกเรียนเฉพาะทางเป็นหมอ ICU เขาเห็นสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความกดดันและการรักษาที่ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของเวลา จนเริ่มผลักดันการรักษาแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care ที่เน้นทำให้คนไข้มีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ พร้อมส่งต่อแนวคิดนี้ให้นิสิตแพทย์รุ่นใหม่ ปีนี้โรงพยาบาลจุฬาฯ ก้าวสู่ปีที่ 111 เขายังคงเดินหน้าพัฒนาองค์กรและตัวเองอย่างมั่นคง นอกจากมาคุยถึงอนาคตที่ไม่ได้มองหาความสมบูรณ์แบบ ฉันชายยังย้อนเล่าถึงอดีตที่เติบโตมากับฝาแฝด และวิถีชีวิตในครอบครัวสิทธิพันธุ์ที่ทำให้เขาเป็นเขาในวันนี้   ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน

    1h 2m
  4. Coming of Age | EP. 258 | ประสาน อิงคนันท์ จัด มนุษย์ต่างวัย Fest 2025 และอดีตการทำสื่อสุดเข้มข้น - The Cloud Podcast

    9 JUN

    Coming of Age | EP. 258 | ประสาน อิงคนันท์ จัด มนุษย์ต่างวัย Fest 2025 และอดีตการทำสื่อสุดเข้มข้น - The Cloud Podcast

    เพจ ‘มนุษย์ต่างวัย’ ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคน คือหนึ่งในผลงานของ ประสาน อิงคนันท์ ผู้มีแนวคิดที่ต้องการผลักดันสังคมสูงวัยให้เป็นสังคมอายุยืนที่มีความสุขตามที่ตัวเองออกแบบไว้ เขาเติบโตในครอบครัวนักพากย์และฉายหนังกลางแปลง แต่สิ่งที่หล่อหลอมให้เขาเริ่มสนใจงานสื่อสารมวลชนคือคุณครูภาษาอังกฤษในวัยเด็ก ผู้สอนให้รู้จักเอื้อเฟื้อสังคม จนเกิดเป็นจุดเริ่มต้นของอาชีพนักข่าวการเมืองที่ จส.100 ก่อนจะพาตัวเองเข้าสู่โลกของรายการสารคดีจนได้เรียนรู้วิถีชีวิตจากประสบการณ์จริงแบบที่ไม่มีในตำรา ถึงจะได้รับการยอมรับในงานเบื้องหลัง แต่เส้นทางการเป็นพิธีกรของประสานกลับไม่ได้เริ่มต้นอย่างราบรื่น รายการ คนค้นฅน ตอนแรกที่เขาลองทำกลับได้รับคำวิจารณ์หนักหน่วง จนต้องขับรถออกจากบริษัทเพื่อตั้งสติ แต่ความกล้าที่จะล้มกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา วันนี้ประสานในวัย 54 ปี ยังคงทำงานสื่อ พร้อมประสบการณ์ของงานเบื้องหน้าและเบื้องหลังแบบอัดแน่น  เร็ว ๆ นี้ เขากำลังเตรียมจัดงาน ‘มนุษย์ต่างวัย Fest 2025’ ที่เอาคอมมูนิตี้คนต่างวัยมาพูดคุยกัน พร้อมหาวิธีให้ชีวิตหลังเกษียณไปต่อได้ ภายใต้ธีม ชีวิตดี…ชีวิต ซีซัน 2 It's Okay To Be You พบกัน 21 - 22 มิถุนายนนี้ที่ IMPACT Exhibition Center Hall 8 ลงทะเบียนร่วมงานได้ทาง Facebook : มนุษย์ต่างวัย

    1h 20m
  5. Eat Direction | EP. 17 | ทำไมชาไทยถึงมีสีส้ม และต่างกับชานมที่อื่นยังไง - The Cloud Podcast

    6 JUN

    Eat Direction | EP. 17 | ทำไมชาไทยถึงมีสีส้ม และต่างกับชานมที่อื่นยังไง - The Cloud Podcast

    คุยกับ ดี-สุภมาส สุระเรืองชัย เจ้าของร้าน ‘Deng Deng เต่าแบกกระทะ’ (อ่านว่า เติ๋งเติ่ง) เรื่องชานม การแบ่งประเภทชา ที่มาของวัฒนธรรมชานมทั่วโลก ชาแบบไหนเหมาะกับการเอามาทำชานม ประโยชน์และอันตรายที่ควรระวังของชาไทย   ติดตามชมรายการ Eat Direction  EP.1 เทรนด์ล่าสุดวงการราเมง  https://youtu.be/msHms2gJhdY?si=K3p4rhUwcsHbk3ZO EP.2 กินเนื้อยังไงให้อร่อย https://youtu.be/wxXxxMLz1Wk?si=zNHPiJ0dpYsnbcT5 EP.3 ทำไมกล้าขายไอติมถ้วยละพัน https://youtu.be/PyNIbT-k4j8?si=2dscX5Qk9JPiXokz EP.4 Slow Sake เทรนด์เปลี่ยนวงการสาเกญี่ปุ่น https://youtu.be/HQxmfJYT19M?si=flAnLT56DpLn8tv6 EP.5 เชียงรายกินอะไรดี https://youtu.be/C4l5KNXIjfk?si=q372etymqx5-4ofB EP.6 ปัญหาของอาหารอีสาน https://youtu.be/jxJpJ4n7fz8?si=AJARW0H0Yu-ylpb0 EP.7 ไก่แบบไหนทำข้าวมันไก่อร่อย https://www.youtube.com/watch?v=cUuQz7Egd_Q EP.8 10 อาหารที่ต้องกินในปี 2025  https://youtu.be/JLcm7LypU3s?si=k_h1BkY1cC94qezW EP.9 เลือกไวน์ยังไงให้เหมาะกับอาหาร https://www.youtube.com/watch?v=ehUkng2s2NI&t=21s  EP.10  วิธีกินซูชิให้เป็น  https://youtu.be/wSpq87KTUWY?si=L8qsdRsojsK-hWFK EP.11 อาหารเชียงใหม่สายลึก https://youtu.be/nw208m1tsQY?si=JPQV5JvNlVhwF7Uh EP.12 เบื้องหลังของ Food Blogger https://www.youtube.com/watch?v=pD_HQmYzYDI  EP.13 วิธีกินข้าวแช่ พร้อมเครื่อง 40 อย่าง https://youtu.be/4dLSSgF8IAw?si=UfnqEgPTA1KvBXvb  EP.14 สอนสูดเส้น และความรู้เบื้องต้นก่อนเข้าร้านราเมง https://youtu.be/VL5U1BGcRKM?si=pHLi_QMO5YdvJyjd  EP.15 ขนมปังเปรี้ยวและเปลือกแข็งต้องกินยังไง https://youtu.be/pi2zx5VrJtM?si=yhX_LBDAt7zFyF1d EP.16 คู่มือเข้าใจชีส ฉบับคนอยากลอง https://youtu.be/K591jbc8W-w?si=HjRX0gFbvHywkDe-

    52 min
  6. Coming of Age | EP. 257 | พลัง โลกศิลป์ เล่นตลกในจีน สอนโอเปราในไทยและบทรุ่ยเจี๋ยใน สงคราม ส่งด่วน - The Cloud Podcast

    4 JUN

    Coming of Age | EP. 257 | พลัง โลกศิลป์ เล่นตลกในจีน สอนโอเปราในไทยและบทรุ่ยเจี๋ยใน สงคราม ส่งด่วน - The Cloud Podcast

    พลัง โลกศิลป์ เติบโตในครอบครัวที่คุณพ่อเป็นนักประพันธ์เพลงจีน เขาย้ายไปเรียนที่ประเทศจีนตั้งแต่มัธยม แม้จะไม่มีพื้นฐานภาษาจีนและไม่ได้สนใจดนตรีจีนในตอนแรก แต่พรสวรรค์ทางดนตรีกลับผลักดันให้เขาเป็น 1 ใน 25 คนที่สอบติดมหาวิทยาลัยชั้นนำของจีน เขาค้นพบตัวเองผ่านการเข้าชมรมการแสดง แม้จะไม่ถูกใจครอบครัวที่อยากให้เป็นศาสตราจารย์ แต่พลังก็เอาดีด้านนี้พร้อมคว้าปริญญาเอกมาได้ พลังเริ่มต้นเส้นทางในวงการบันเทิงจีนจากการออกรายการหาคู่ ก่อนจะโดดเด่นด้วยมุกตลกที่ไปเข้าตาผู้จัดรายการคอเมดี้ โอกาสในวงการทยอยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เพราะเขาไม่ได้มีแค่เซนส์ด้านการแสดง แต่ยังมีทักษะภาษา การร้องเพลง และการวางตัวอย่างเข้าใจวัฒนธรรมจีน  วันนี้พลังกลับมาปรากฏตัวในสื่อไทยในฐานะหนึ่งในนักแสดงจากซีรีส์ สงคราม ส่งด่วน (Mad Unicorn) ที่รับบทเป็น ‘รุ่ยเจี๋ย’ ตัวละครสุดโหด ดุดัน ต่างจากตัวจริงที่สุขุมและนิ่งกว่าอย่างเห็นได้ชัด รายการ Coming of Age ชวนฟังบทสัมภาษณ์ยาวครั้งแรกของชายคนนี้ พร้อมติดตามซีรีส์ได้แล้วทาง Netflix

    54 min
  7. อารามบอย | SS 01 EP. 15 | ของแปลกในวัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา​⁠ ที่ ร.5 ตั้งใจสร้างให้คนไทยเห็น - The Cloud Pod

    2 JUN

    อารามบอย | SS 01 EP. 15 | ของแปลกในวัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา​⁠ ที่ ร.5 ตั้งใจสร้างให้คนไทยเห็น - The Cloud Pod

    ‘วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร’ ตั้งอยู่บนเกาะทางใต้ของพระราชวังบางปะอิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2419 เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชกุศลในคราวเสด็จแปรพระราชฐาน  หากคุณกำลังมองหาวัดที่ไม่เหมือนวัด ทั้งแปลกตา งดงาม และเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ รายการอารามบอย โดย ต้า-ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล และแขกรับเชิญพิเศษ ดร.กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์ เจ้าของรายการพอดแคสต์ คอลัมน์ และพ็อกเกตบุ๊ก Business Family จะพาคุณนั่งกระเช้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปยังเกาะกลางน้ำซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นพื้นที่สงบสำหรับบำเพ็ญพระราชกุศลของรัชกาลที่ 5  วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร เป็นวัดพุทธที่หน้าตาเหมือนโบสถ์คริสต์ พระอุโบสถสีเหลืองทรงโกทิก หอระฆังยอดแหลม หน้าต่างกระจกสี และซุ้มประตูโค้งแหลม ล้วนดูคล้ายศาสนสถานตะวันตก หากแต่ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปที่วิจิตรงดงาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้เพียงออกแบบวัดให้แปลกตา แต่ยังมีพระราชดำริความตอนหนึ่งว่า เพื่อให้อาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงชมเล่นเป็นของแปลก ยังไม่เคยมีในพระอารามอื่น แลเป็นของมั่นคงถาวรสมควรเป็นพระอารามหลวงในหัวเมือง อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญภายในพระอุโบสถ คือพลับพลาสไตล์ตะวันตก ซึ่งหน้าบันประดับตราช้างเผือกสามเศียร สัญลักษณ์ของสยามเหนือ สยามกลาง และสยามใต้ พลับพลาองค์นี้เป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 5 ในคราวเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐิน เป็นอีกสิ่งที่ตอกย้ำสถานะว่าเป็นวัดหลวงโดยแท้ บริเวณด้านในสุดของอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธนฤมลธรรโมภาส พระพุทธรูปกึ่งสมจริงในซุ้มแบบตะวันตกโดย พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ประติมากรหลวงผู้สร้างพระสยามเทวาธิราช รายล้อมด้วยพระสาวกทั้ง 8 ปางจงกรม และปางลอยถาด แต่ละองค์ล้วนมีนัยเชื่อมโยงถึงบูรพกษัตริย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระราชวังบางปะอิน เหนือแท่นพระประธานมีกระจกสีรูปรัชกาลที่ 5 ประทับนั่งในฉลองพระองค์ครุย ด้านล่างมีจารึกภาษาละตินว่า ‘Chulalongkorn Rex Siamensis จุฬาลงกรณ์ กษัตริย์แห่งสยาม’  กระจกสีชิ้นนี้มีเพียงชิ้นเดียวในประเทศไทย และอาจมีไม่กี่ชิ้นในโลกที่รวมอัตลักษณ์ตะวันออกกับตะวันตกไว้ในบานเดียวกัน ข้างพระอุโบสถเป็นสุสานสวนหินดิศกุลอนุสรณ์ ซ่อนประวัติของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเคยผนวช เคยประทับที่พระตำหนัก และเคยเริ่มต้นงานการศึกษาสมัยใหม่จากห้องเรียนเล็ก ๆ ข้างวัด ท้ายที่สุดก่อนกลับ อย่าลืมแวะชมพิพิธภัณฑ์ของวัด ซึ่งจัดแสดงข้าวของเก่าแก่ ภาพกระจกสีต้นฉบับ และทศชาติชาดกแบบที่หาชมยาก

    31 min
  8. 30 MAY

    Talk of The Cloud | EP. 41 | เบื้องหลัง ‘สงคราม ส่งด่วน’ ที่โหดสุดของ ไก่ ณฐพล บนความจริงกับฟิกชันและกำแพงภ

    ชวนคุยหลังดูจบกับผู้กำกับ ไก่-ณฐพล บุญประกอบ ในซีรีส์ Netflix ของไทยเรื่องล่าสุดอย่าง Mad Unicorn สงคราม ส่งด่วน จากวันที่ได้สัมภาษณ์คนต้นเรื่องตัวจริง วิธีแคสติงนักแสดงมารับบทต่าง ๆ และการสร้างยาวนานถึง 4 ปีที่เต็มไปด้วยความบ้าพลังมากมาย พร้อมเผยวิธีทำงานเบื้องหลังสุดโหด ไม่ว่าจะเป็นการกำกับนักแสดงไทยให้พูดจีน การกำกับนักแสดงจีนที่พูดไทยไม่ได้ การถ่ายทำถึง 128 โลเคชัน 2 ประเทศ จนกลายเป็นสเกลซีรีส์ที่ใหญ่ที่สุดของ ไก่ ณฐพล และ GDH ในตอนนี้ ดำเนินรายการ : ทรงกลด บางยี่ขัน กำกับ : ศวิตา ศีลตระกูล  ช่างภาพ : ศวิตา ศีลตระกูล, ทรัพย์ทวี สมีแจ้ง, เมธี สมานทอง ลำดับภาพ : กิตติรักษ์ คงอาวุธ ควบคุมการผลิต : วรัมพร ศิริสวัสดิ์, ชนกพัดชา สินอาษา นักศึกษาฝึกงาน : กานต์ ปิยารักษ์

    42 min
4.5
out of 5
97 Ratings

About

เรื่องที่ The Cloud อยากเล่าให้คุณฟัง

More From The Cloud Podcast

You Might Also Like

To listen to explicit episodes, sign in.

Stay up to date with this show

Sign in or sign up to follow shows, save episodes and get the latest updates.

Select a country or region

Africa, Middle East, and India

Asia Pacific

Europe

Latin America and the Caribbean

The United States and Canada